โครงการ KM การดูแลผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน


ในที่สุดวันงานก็มาถึงแล้วค่ะ โครงการ KM การดูแลผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน

ในที่สุดวันงานก็มาถึงแล้วค่ะ  "โครงการ KM การดูแลผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน" ซึ่งเป็นอีกหนึ่งโครงการในช่วงโค้งสุดท้ายของปีงบประมาณ 2551  ที่ต้องเร่งดำเนินการ แผนก ฯ ได้กำหนดไว้ในวันที่ 3 กันยายน  2551 ณ ห้องประชุม 89 พรรษาสมเด็จย่า โรงพยาบาลศรีนครินทร์  โดยเชิญพยาบาลจากทุกแผนกการพยาบาล และชาวอุบัติเหตุและฉุกเฉิน (ER) ในจังหวัดขอนแก่น จำนวน  60 คน มาร่วมเล่าเรื่องการบริการพยาบาลสู่ความเป็นเลิศของแต่ละหน่วยบริการตามกระบวนการงานหลักด้านอุบัติเหตุและฉุกเฉิน  ทั้งนี้โดยจะแบ่งเนื้อหาออกเป็น 4 ประเด็น  ดังนี้

  1. การคัดกรองและจำแนกประเภทผู้ป่วย
  2. การใช้กระบวนการพยาบาลและการบันทึกทางการพยาบาล ตอน การวางแผนการจำหน่าย 
  3. การประเมินผลลัพธ์ทางการพยาบาล
  4. การพัฒนาระบบการรับส่งต่อระหว่างโรงพยาบาล

เริ่มต้นด้วย รศ.สุรพล  วีระศิริ  ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิด และบรรยายพิเศษเรื่อง การจัดการความรู้อะไร "ไม่ทำ  ไม่รู้" ให้กับพวกเราด้วยค่ะ 

ประเภทของความรู้

เกิดจากประสบการณ์  จากการเรียนรู้ ถือเป็น  Excit Knowledge 

กระบวนการจัดการความรู้  แล้วเอาความรู้ไปใช้ประโยชน์ต่อได้ 

คนเราสามารถเรียนรู้   คนสามารถเอาความรู้ไปใช้ประโยชน์ได้  นี่แหละ คือ KM

ทำอะไรบ้าง  ไม่ทำ ก็ไม่รู้   อย่างน้อยถ้าทำแล้ว  เราได้พัฒนาตนเอง

ได้เอาสิ่งที่เรามีมาโชว์ และแชร์ ให้คนอื่นรู้ และนำไปใช้ประโยชน์ 

ทุกที่ก็ได้พัฒนางาน  และทำให้ทำงานง่ายขึ้น

ความหมาย

KM  กระบวนการอะไรก็แล้วแต่ ทำให้ได้มาซึ่งความรู้  ทำให้คงอยู่  ทำให้คนที่เกี่ยวข้องทำให้คนเข้าถึงการเรียนรู้นั้น หรือนำไปต่อยอดพัฒนาให้ดียั่งขึ้น  หรือ มีการนำไปใช้ประโยชน์  ขยายผลต่อ ให้คงอยู่นี่แหละ คือ KM

อาจารย์ยัง ให้ดูตัวอย่าง  โครงการ KM ที่ผ่านมา คือ การที่คนมานั่งคุยกัน ค้นหาปัญหา และหาทางแก้ไข ขยายผลต่อยอดเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด

 

หลังจากนั้นต่อด้วย  คุณพนอ  เตชะอธิก ผู้ตรวจการพยาบาลของพวกเรา มาบรรยาย เรื่อง "วิธีการจัดการความรู้อย่างง่าย"

 

บรรยาย เรื่อง "วิธีการจัดการความรู้อย่างง่าย" เป็นการเล่านิทานการเรียนรู้ของลิงเรื่องกับคนขายหมวก

          กาลละครั้งนานการแล้ว พ่อค้าขายหมวก เดินทางไปขายหมวก ระหว่างนั้นมานอนพักอยู่ใต้ต้นไม้ หลับไป พอตื่นขึ้นมาหมวกที่นำมาขายนั้นหายไปหมด พอมองขึ้นบนต้นไม้พบว่าลิงสวมหมวก พ่อคิด...พ่อค้าอามือจับหมวกที่ตนสวมอยู่ ทำท่าโยนหมวก ลิงทำตาม พ่อค้าได้หมวกทั้งหมดคืนมา

          ต่อมาหลานชายคนขายหมวก ก็มาเป็นพ่อค้าขายหมวกเช่นเดียวกับปู่ ก็เดินทางมาอยู่จุดเดิน แล้วนอนพักและหลับระหว่างทาง ลิงก็เอาหมวกไปใส่เช่นเดิม หลานชายคนขายหมวกก็ทำเหมือปู่ แต่หลานลิงไม่ยอมทิ้งหมวก

          หลานคนขายหมวก จึงถามว่า ทำไม ไม่ทิ้งหมวก เหมือนที่ปู่บอกหลานลิงตอบว่าปู่ลิงก็สอนเหมือนกัน

          สรุปว่า ลิงยังรู้จักการเรียนรู้ แล้วคนล่ะ เพราะฉะนั้นคนจะทำได้มากกว่าการเรียน คือ การจัดการเรียนรู้

 

และต่อ ด้วย Model KM ปลาทู ของ ดร.ประพนธ์ ผาสุกยืด องค์ประกอบหลักของ KM  ได้แก่ KV ส่วนหัว ส่วนตา คือ Knowledge Vision  มองว่ากำลังจะไปทางไหนต้องคุยก่อนทำ KM ไปเพื่ออะไร เช่น อย่างพยาบาลอุบัติเหตุ เราทำเพื่อพัฒนาระบบบริการให้ดีขึ้น KS ส่วนต้วปลา Knowledge Sharing  เป็นส่วนหัวใจ ให้ความสำคัญกับแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ช่วยเหลือ แล้วสรุปบทเรียน คือ ส่วนหางปลา KA  Knowledge Asset ทำเครือข่ายเชื่อมโยงการทำงานร่วมกัน  เช่น การสร้าง Cop 

          ประสบการณ์ วิธีการจัดการความรู้กันแบบง่าย  เราทุกคนที่ปฏิบัติงาน มีประสบการณ์และความรู้ ถือว่ามีคลังความรู้  ต้องดึงความรู้และประสบการณ์เอาออกมา Share กัน เราเป็นนักปฏิบัติ เรียกจับเข่าคุยกัน

          ขอให้พวกเราประสบความสำเร็จในการKM

เบรค  พักผ่อนอริยบทกันสักเล็กน้อย

หลังเบรค แนะนำตัวกันหน่อยนะคะ  เน้นผู้มาจากเครือข่ายของพวกเราค่ะ

แล้วให้เราแสดงความภาคภูมิใจในของเราชาว A&E ทุกคนค่ะ  โดยเขียนสิ่งที่น่าภาคภูมิใจลงในกระดาษแล้วนำไปติดที่ต้นใม้แห่งความภาคภูมิใจกันค่ะ

นี่คือ ผลงานความภาคภูมิใจของเราเครือข่ายชาวอุบัติเหตุและฉุกเฉินค่ะ

ต้นไม้แห่งความภูมิใจ

น้องๆที่ในหน่วยงานดี รพ.ขอนแก่น

ได้ CPR ผู้ป่วย โรงพยาบาลศรีนครินทร์มีระบบ

รพ.ศูนย์ขอนแก่นสัมพันธภาพดีมากกับรพ.ศรีนครินทร์

ดวงอาทิตย์ แสงสว่างที่ช่วยนำทางให้ฉันไปสู่ความสำเร็จ

-                    เพื่อนร่วมงานที่ดีๆ

-                    อุปกรณ์ที่พร้อมและเพียงพอ

-                    การทำงานเป็นทีมและมีระบบ ผู้นำที่มีความสามารถ ฉันจึงเป็นฉันทุกวันนี้

มีการเปลี่ยนแปลงในสิ่งใหม่ที่ดีกว่าเดิม

มีแผนอุบัติการณ์ชุมชนที่ชัดเจน

KKH มีระบบทำงาน ER+EMS กรณี Case Advanced

รพ.น้ำพอง มีอาหารสุขภาพรับประทาน

แจกน้ำเต้าหู้ เจ้าหน้าที่และผู้รับบริการ ช่วงรอตรวจ

มี รพศ.,รพม. ที่มีชื่อเสียง เป็นที่พึ่งของชาวอีสาน

การพัฒนาระบบบริการผู้ป่วย Trauma ศัลยกรรม ระบบประสาท รพ.ขอนแก่น

KKH มีระบบ Trauma Alert Team แนวทางปฏิบัติตำแหน่งการทำงาน Resus

พยาบาล รพ.ขอนแก่นเข้มแข็ง

ทำงานเป็นทีม พยาบาลมีความสามารถ

สอนเทคนิคในการทำงานใน ER ให้น้องๆจบใหม่ที่มาทำงาน ที่ ER ทุกคน เช่น การดูแลผู้ป่วยโรคต่างๆพร้อมการรักษาเบื้องต้นเพื่อบรรเทาอาการ

ศูนย์ CCC KKN มีระบบสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ

เป็นวิทยากรเครือข่ายด้วยค่ะ

ความเอื้ออาทร,ไม่มีพิธีรีตอง,การช่วยเหลือกัน

มีการทบทวน

มีการติดตามอาการผู้ป่วยทุกรายที่ Refer

มีการประชุมร่วมกันทุกเดือน

รพ.น้ำพอง มีระบบ EMS ที่บริการรวดเร็วประทับใจ

แม้จะเป็นส่วนเล็กๆส่วนหนึ่งก็มีความภาคภูมิใจที่เป็นส่วนช่วยในการเป็นพลังขับเคลื่อนและพัฒนาให้ รพ. ก้าวสู่การพัฒนาและได้รับรองการประกันคุณภาพ

โรงพยาบาลศรีนครินทร์เป็นที่ยอมรับของประชาชนภาคอีสาน

หลังจากนั้นก็ให้ผู้เข้าร่วมประชุมแบ่งเป็น 4 กลุ่ม  พูดคุยกันถึงงานตามกระบวนการหลักของแต่ละหน่วยงาน  ตามแผนที่วางไว้ค่ะ

 

พักกลางวัน  รับประทานอาหารกันอย่างเอร็ดอร่อย ค่ะ

Relax กันหน่อยช่วงบ่าย  พี่พัขรินทร์  พาเด็ดดอกลั่นทม ค่ะ ได้น้องลัด และคุณอู๋เป็น Presenter

ตอนบ่าย  ให้แต่ละกลุ่มนำเสนอข้อมูลที่พูดคุยเล่าเรื่องกันในช่วงเช้า กลุ่มละ 10 นาที ค่ะ

กลุ่มที่ 1  ระบบรับส่งต่อผู้ป่วย

กลุ่มที่ 1 KM ระบบรับส่งต่อผู้ป่วยอุบัติเหตุฉุกเฉิน

สถานการณ์การส่งต่อปัจจุบัน

  1. การประสานงานการส่งต่อ   บางครั้งส่งผู้ป่วยเข้าหอผู้ป่วย พยาบาลไม่ทราบขอมูลผู้ป่วย แจ้งแพทย์ฝึกหัด หรือการส่งผู้ป่วยมาฉายแสงไม่มี Call Center ไม่มีคนรับผิดชอบประสานงาน ทำให้ล่าช้า ไม่มีระบบประสานเรื่องเตียงว่างเมื่อส่งมาใช้เวลานานรอแพทย์ ให้คำตอบไม่ได้
  2. บุคลากรดูแลขณะส่งต่อ กรณีไม่หนักไม่มีเจ้าหน้าที่พยาบาลมาส่ง ผู้ป่วยบางรายสัญญาณชีพผิดปกติ เสี่ยงมีโอกาสทรุดขณะการเคลื่อน
  3. การบันทึกการส่งต่อ โดยเฉพาะเรื่องยา การบันทึกไม่สมบูรณ์
  4. การให้ข้อมูลผู้ใช้บริการ ซึ่งการส่งต่อไปยังโรงพยาบาลใหญ่ผู้ป่วยจะคาดหวังว่าต้องได้อยู่รักษา หรือการส่งต่อไปอีโรงพยาบาลต่อไปเรื่อยๆ อาจพบสภาพที่ผู้ใช้บริการไม่คาดหวัง เช่น เรื่อง สถานที่แออัดโดยเฉพาะผู้ใช้บริการที่มีเศษฐานะ

ระบบการส่งต่อในฝัน

  1. การประสานงานการส่งต่อ ควรมีการส่งต่อระหว่างหน่วยงานอย่างเป็นทางการแพทย์กับ พยาบาลกับพยาบาล เพื่อเตรียมการรับผู้ป่วยอย่างมีประสิทธิภาพ
  2. บุคลากรดูแลขณะส่งต่อ ควรมีการกำหนดบุคลากรนำส่ง กรณีผู้ป่วยกลุ่ม Emergent ควรเป็นแพทย์หรือพยาบาล และอาจจำเป็นต้องใช้ 2 คน เพราะอาจมีความเสียงต่อภาวะหยุดหายใจและหัวใจหยุดเต้น กรณีผู้ป่วยกลุ่ม Urgent ควรกำหนดให้พยาบาลเทคนิคหรือผู้ปฏิบัติการพยาบาล ส่วนผู้ป่วย Non -Urgent ต้องให้ข้อมูลญาติ สาเหตุการส่งต่อ ในกรณีนี้อาจมีโอกาสเสี่ยง ถ้าพิจารณาแล้วควรให้มีเจ้าหน้าที่มาส่ง และต้องส่งข้อมูลกับผู้รับผู้ป่วยด้วย
  3. การบันทึกการส่งต่อ การบันทึกการส่งต่อ ควรมีการพัฒนา และตรวจสอบคุณภาพระหว่างโรงพยาบาล
  4. การให้ข้อมูลผู้ใช้บริการ ควรมีมาตรฐานการให้ข้อมูล สำหรับผู้ใช้บริการทุกครั้ง จะเพิ่มความพึงพอใจและเข้าใจระบบบริการ

 กลุ่มที่ 2  ระบบคัดกรองผู้ป่วย

กลุ่มที่ การคัดกรองประเภทผู้ป่วยอุบัติเหตุ ฉุกเฉิน

 

การคัดกรองประเภทผู้ป่วยอุบัติเหตุ ฉุกเฉิน นี้เป็นการทำงานช่วงต้นของการบริการในงานอุบัติเหตุ ฉุกเฉิน ซึ่งรับผิดชอบโดยพยาบาล จึงเรียกว่าพยาบาลคัดกรอง แท้ที่จริงแล้ว มาจากศัพท์ภาษาฝรั่งคำว่า Triage ซึ่งแปลเป็นไทยว่า"คัดแยก" แต่ก็ไม่เห็นโรงพยาบาลใด เรียกพยาบาล ว่าพยาบาลคัดแยก จึงขอใช้ ว่าพยาบาลคัดกรองตามที่นิยมกัน น่าจะดีกว่า

ทำไมต้องคัดกรองผู้ป่วย เพราะที่ฉุกเฉินต้องด่วนอยู่แล้ว

เป็นเพราะว่า โดยปกติแล้ว จำนวนผู้ใช้บริการจะ มากกว่าแพทย์/พยาบาล

จึงจำเป็นต้องลำดับว่าใครด่วนมากที่สุด ที่ต้องพบ แพทย์ก่อน

การคัดกรองผู้ป่วย

พยาบาลมีสมรรถนะอย่างไร? มีขั้นตอนการปฏิบัติอย่างไรบ้าง

สมรรถนะของพยาบาลคัดกรอง  เช่น มีความรู้เรื่องโรคและอาการฉุกเฉินต้องดี อย่างเช่น โรคที่พบบ่อย5-10 อันดับแรก มีประสบการณ์ที่ห้องฉุกเฉินอย่างน้อยต้อง2ปีขึ้นไป พยาบาลต้องผ่านการอบรมการกู้ชีพเบื้องต้นและขั้นสูง และที่สำคัญมีมนุษยสัมพันธภาพ การสื่อสารที่ดี และมีความอดทน

การปฏิบัติการคัดกรอง

1.พยาบาลจะประเมินผู้ป่วยที่มาด้วยอาการอะไร และเดินได้หรือไม่ โดยแยกประเภท เป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่1Emergency=ฉุกเฉิน ต้องพบแพทย์ทันที หรือภายใน4นาที แสดงสัญญาลักษณ์สีแดง กลุ่มที่2Urgent=รีบเร่ง รอได้จะจัดให้พบแพทย์ภายใน30นาที แสดงสัญญาลักษณ์สีเหลือง กลุ่มที่3 Non urgent=ไม่รีบเร่ง อาจให้ข้อมูลให้ไปตรวจที่แผนกผู้ป่วยนอก แต่หากนอกเวลาราชการ จะตรวจที่แผนกฉุกเฉินต้องรอเป็น1ชั่วโมงหรือมากกว่าจนกว่าจะตรวจผู้ป่วยกลุ่ม1และกลุ่ม2เสร็จก่อน เหมือนสัญญาณไฟจราจร*บางที่อาจแบ่งเป็น4กลุ่ม โดยเพิ่มกลุ่ม Semi Urgent=กึ่งรีบเร่ง*ทำให้มีความละเอียดเพิ่มมากขึ้น

2.พยาบาลต้องวัดสัญญาณชีพในขั้นตอนที่ 2 เป็นยืนยันด้วยหลักฐานว่าการคัดกรองนั้นตามเกณฑ์ทางการแพทย์ อย่าลืมบันทึกไว้ด้วยในบัตรตรวจโรค เป็นการสื่อสารให้แพทย์ทราบ

3.พยาบาลจะต้องร่วมทีมปฐมพยาบาลหลังจากวินิจฉัยว่ามีอาการรบกวนหรือจำเป็น โดยเฉพาะกลุ่ม1ต้องช่วยกู้ชีพ แก้ภาวะฉุกเฉิน เป็นต้น เมื่อเสร็จสิ้น ต้งส่งสัญญาณให้พยาบาลห้องตรวจรับช่วงต่อด้วย

สิ่งที่ได้จากกลุ่มบรรยากาศ ตามรูปแบบของพยาบาลอุบัติเหตุ ฉุกเฉิน เอาจริงเอาจัง แต่ผ่อนคลายเพราะมีเสียงหัวเราะในกลุ่มตลอดเวลา ค่ะ

กลุ่มที่ 3 ระบบการวางแผนการจำหน่าย

กลุ่มที่ 3  การบันทึกทางการพยาบาล ตอน วางแผนการจำหน่าย

ประเด็นสำคัญ

1.การบันทึกในแผนการจำหน่ายแบบ Cheklist ใช้หลักD-METHOD เริ่มตั้งแต่เข้าโรงพยาบาลจนจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล

2.การบันทึกส่งต่อของพยาบาล สรุปจากหอผู้ป่วยให้ผู้ป่วยเอาไปให้พยาบาลที่หน่วยปฐมภูมิ เพื่อการรับช่วงงานดูแลผู้ป่วย

3.การบันทึกให้ข้อมูลเฉพาะโรค เช่น ความรู้เรื่องการดูแลบาดแผล การป้องกันแผลกดทับ เป็นต้น เพื่อเพิ่มศักยภาพของผู้ป่วยในการดูแลตนเอง ก็ลงภาระพยาบาลลงได้โดยทางอ้อม

4.การบันทึกการประสานงานกับหน่วยงาน เช่น การนัดติดตามผลการรักษาในการกลับมาตรวจในครั้งต่อไป เอื้อความสะดวกในการเข้าถึงบริการที่รวดเร็ว

สิ่งที่ได้จากการแลกเปลี่ยน คือ กระบวนการและเครื่องมือช่วยให้พยาบาลสะดวก ง่ายในการบันทึก ต้องทำเป็นมาตรฐานการบันทึกเพื่อผู้ป่วยจะได้รับการปฏิบัติการพยาบาลที่จำเป็นครบถ้วน ไม่เพียงเพื่อพัฒนาการบันทึกเพื่อให้พยาบาลผ่านการรับรองคุณภาพเท่านั้น

มีคำกล่าว ในเชิงคุณภาพ กล่าวว่า อะไรที่พยาบาลปฏิบัติแต่ไม่มีการบันทึก ถือว่า เหมือนไม่ได้ปฏิบัติสิ่งนั้น

การบันทึก คือ ตัวสะท้อนผลงานของพยาบาล น่าจะไม่ผิด

ปัจจุบันที่เราบันทึกกันนั้น แบ่งได้ 3 ระยะ คือ

1.ระยะรับใหม่ 2.ระยะให้การพยาบาลขณะอยู่รักษาและ 3. ระยะจำหน่าย

ประเภทการบันทึกทางการพยาบาล

1.การบันทึกแบบฟอร์มเป็นโครงสร้างชัดเจน ประโยชน์ จะช่วยให้พยาบาลสามารถปฏิบัติการพยาบาลตามความจำเป็นอย่างครบถ้วน เช่น บันทึกรับใหม่ การเตรียมผู้ป่วยผ่าตัด ฟอร์มปรอทเป็นต้น

2.การเขียนบันทึกกิจกรรมที่ปฏิบัติและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นหลังให้การพยาบาล รายงานความก้าวหน้าของการพยาบาล เช่น บันทึกของพยาบาลหรือที่เรียกว่าNurse,s note ปัจจุบันนิยมเขียนตามหลักAssessment-Implement-Evaluation (AIE) ซึ่งนอกจากนั้นในการปฏิบัติงานตามกระบวนการพยาบาลทั้ง5 ขั้นตอน เพิ่มการบันทึกขึ้นมาอีก เช่น แบบฟอร์มประเมิน แบบสรุปข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล แผนการพยาบาลสำเร็จรูป อาจใช่วิธีCheklist ร่วมกับการเขียน เป็นต้น

3.การบันทึกร่วมกับทีม เช่น การเขียน Progressive note เพื่อสื่อสารข้อมูลที่พยาบาลประเมินได้จากการพยาบาล เพื่อสื่อสารให้ทีมช่วยแก้ไขปัญหาร่วมกัน หรือเพื่อสนองตอบความต้องการของผู้ใช้บริการ เช่น ผู้ป่วยต้องทราบข้อมูลแผนการรักษาจากแพทย์ ต้องการคำแนะการเตรียมอาหารทางสายยางจากโภชนบำบัด หรือต้องการการเข้าโปรแกรมกายบำบัด  ต้องการควบคุมความเจ็บปวด เป็นต้น

แต่ปัจจุบันพยาบาลต้องการสื่อสารเพิ่ม การเขียนใบส่งต่อการพยาบาลไปยังหน่วยพยาบาลปฐมภูมิ(PCU) ได้มีการพัฒนาและลองปฏิบัติกันอยู่ มีประโยชน์มาก เพราะเมื่อผู้ป่วยจำหน่ายกลับบ้านแล้วอาจปัญหาด้านสุขภาพเล็กๆน้อยๆ ที่ไม่จำเป็นเดินทางการโรงพยาบาลใหญ่ๆ เพราะผู้ใช้บริการมาก ทำให้รอนาน ไม่สะดวก โรงพยาบาลศูนย์ใหญ่ๆจะบันทึกปัญหาสุขภาพพร้อมวางแผนการดูแลร่วมกับPCU ผู้ป่วยของเราก็จะได้รับความสะดวก

การบันทึกทางการพยาบาล

เป็นกระบวนการปฏิบัติงานที่ต้องการตรวจสอบความถูกต้อง ครบถ้วน

ดังนั้นพยาบาลจึงต้องมีการวางระบบการตรวจสอบคุณภาพอย่างต่อเนื่อง

ภายในปี 2551-2552 นี้ทางสภาการพยาบาลแห่งประเทศไทย มีแผนการตรวจเยี่ยมเพื่อรับรองคุณภาพองค์กรพยาบาลทั่วประเทศ (โรงพยาบาลที่สมัครเข้าร่วมโครงการ) การบันทึกจึงเป็นเครื่องมือที่จะสะท้อนคุณภาพทีสามารถตรวจสอบได้

 

 

 กลุ่มที่ 4 ระบบการประเมินผลลัพธ์ทางการพยาบาล 

หมายเลขบันทึก: 205489เขียนเมื่อ 4 กันยายน 2008 00:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:30 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (15)

สวัสดีค่ะค่ะ

ครูอ้อยชอบการเขียนของน้อง

และชอบตอนนี้ ตรงนี้มากๆค่ะ ....KM  กระบวนการอะไรก็แล้วแต่ ทำให้ได้มาซึ่งความรู้  ทำให้คงอยู่  ทำให้คนที่เกี่ยวข้องทำให้คนเข้าถึงการเรียนรู้นั้น หรือนำไปต่อยอดพัฒนาให้ดียั่งขึ้น  หรือ มีการนำไปใช้ประโยชน์  ขยายผลต่อ ให้คงอยู่นี่แหละ คือ KM

เป็นกำลังใจให้เสมอนะคะ

รักษาสุขภาพด้วยค่ะ

ยินดีกับการเริ่มต้นที่ดีของ KM Show&Share AE2008 ค่ะ

ได้งาน ได้ใจ และสุขที่จะทำ นั่นแหละค่ะ KM

แวะมาทักทาย   และดูกิจกรรมดีๆค่ะ  พี่ไก่

มีแต่สิ่งดีๆในทุกๆวัน  นะคะ

เก็บดอกกุหลาบที่บ้าน...มาฝากค่ะ

สวัสดีค่ะ คุณ ครูอ้อย แซ่เฮ

  • สำหรับคำชม ถือเป็นกำลังใจสำคัญของผู้เขียนเลยค่ะ  ปลื้มค่ะ 
  • : )  : )  :  )
  • ขอบคุณค่ะ

สวัสดีค่ะพี่แก้ว..อุบล จ๋วงพานิช

งาน KM Show & Share AE2008 ผ่านไปแล้ว ใช่ค่ะพี่แก้ว เหมือนที่พี่บอกเลย

  •  ได้งาน ได้ใจ และสุขที่จะทำ นั่นแหละค่ะ KM


สวัสดีค่ะน้อง @..สายธาร..@

  • ขอโทษด้วยที่ตอบช้า ประชุมกรรมการ QA งานบริการพยาบาลพึ่งเสร็จค่ะ
  • ขอบคุณสำหรับดอกกุหลาบสีแดงค่ะ
  • โอโห พี่ไก่
  • งานเต็มเลยครับ
  • ขอไปทานข้าวก่อนนะครับ
  • พี่ไก่สบายดีไหม

สวัสดีค่ะ อ.7. ขจิต ฝอยทองที่ปรึกษา~natadee

  • งานเต็มที่ทุกวัน ค่ะ
  • หากยังไม่หมดแรง  ต้องปั่นกันไปค่ะ
  • สุขภาพพอไหวค่ะ ขอบคุณสำหรับความห่วงใย  
  • แวะมาเยี่ยมพี่ไก่ครับ
  • กิจกรรมแต่ละขั้นตอน
  • ครบถ้วนสมบูรณ์
  • ป็นกำลังใจให้ทีมงานและพี่ไก่ครับ
  • คิดถึงครับผม

สวัสดีค่ะ น้องโย่ง  ครูโย่ง หัวหน้า~ natadee

  • ขอบคุณค่ะที่มาเยี่ยมและให้กำลังใจแก่ทีมงาน
  • ได้รู้จักกัน พูดคุยกัน มีความเข้าใจกัน เห็นใจกันมากขึ้น
  • KM เครือข่าย ดีจังค่ะ

มาติดตามการรายงานเรื่องKM

ต้องขอบใจน้องๆโดยเฉพาะปุ๊กกับไก่ และน้องเออีที่ช่วยกันรับผิดชอบงานจนลุล่วงไปด้วยดี

เอาฝรั่งมาที่บ้านผมเองมาฝากครับ

P  ขอบคุณพีแขกที่เป็นกำลังสำคัญในการพัฒนางานและกำลังใจของทีมงานในการจัดการความรู้ร่วมกันค่ะ

P  ขอบคุณค่ะท่าน

รู้สึกอิ่ม  ฝรั่ง กรอบ อร่อย นะคะ

 

สวัสดีค่ะ

วันพรุ่งนี้ 23 กันยายน 2551 มีนัดต่อเนื่อง  พยาบาล ER ของทีมเรา จะไปพบกับพยาบาล ER ของทีมจังหวัดขอนแก่น  โดยพบกันที่โรงพยาบาลขอนแก่น มีพี่ติ้ม อัญชลี โสภณ หัวหน้า ER โรงพยาบาลศูนย์ขอนแก่นเป็นผู้เชิญ ค่ะ 

เสร็จแล้วจะนำบรรยากาศมาให้อ่านและดูภาพกันนะคะ

กัญญา

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท