โรงเรียนทอสี ทอแสงแห่งธรรม


โรงเรียนทอสี ทอแสงแห่งธรรม

โรงเรียนทอสี ทอแสงแห่งธรรม

สร้างภูมิคุ้มกันความพอเพียง

                                                                                                              ประพจน์  ภู่ทองคำ

                                                                                                                        สุชาดา  ภู่ทองคำ

ท่ามกลางการแข่งขันการศึกษา  โรงเรียนหลายแห่งจูกใจให้ผู้ปกครองตัดสิ้นใจส่งลูกหลานมาเรียน ด้วยหลักสูตรการเสริมสร้างทักษะต่างๆ  ไม่วาจะเป็นหลักสูตร2-3ภาษา  การเรียนโดยมีเด็กเป็นจุดศูนย์กลาง กล้าแสดงออกแต่โรงเรียนทอสี ซึ่งเปิดสอนระดับอนุบาล ชั้นประถมศึกษาป.6กลับมีปรัชาในการจัดการศึกษาโรงเรียนว่า   สร้างที่พึ่งแห่งตนเร่งฝึกฝนตนเป็นบัณฑิต   เป็นตัวอย่างหนึ่งของการจัดการศึกษาโดยใช้ปรัญาเป็นพระพุทธศาสนา ซึ่งมีหลักการสอดค้องกับปรัชญาเศรฐกิจพอเพียงที่เน้นการสร้างกระบวนการเรีการเรียนรู้ต่างๆ โดยสามารถบรูณาการเนื้อหาวิชาการให้เด็กได้เรียนรู้อย่างรอบด้าน เช่นฐานการทำอาหาร  เพื่อสร้างความตระหนักรู้ในการดำเนินชีวิตอย่างพอเพียง มีความรับผิดชอบและเป็นมิตรต่อสังคมสิ่งแวดล้อมและผู้คน

               ถ้าศึกษาพระพุทธศาสนาจริงๆ จนเข้าใจ จะพบว่าทุกอย่างล้วนเกี่ยวกับการดำรงชีวิต แม้แต่เรื่องง่ายๆ อย่างการกิน พุทธศาสนาสอนให้บริโภคอย่างพอเพียง  กินอย่างรู้คุณค่า ไม่ใช่อร่อย  บุปผาสวัสดิ์ รัชชตาตะนันท์ครูใหญ่โรงเรียงทอสีกล่าว การจัดการศึกษาของโรงเรียนทอสีจึ่งแตกต่างจากโรงเรียนโดยทั่วไป ด้วยยึดมันในปรัชญาของการสร้างที่พึ่ง ความพอดีพอเพียง ภายในจิตใจ ของเด็กๆและได้พิสูจน์แล้วว่าการจัดการศึกษาในแนวทางนี้ไม่ได้ทำให้เด็กด่อยโอกาสในการเรียนรู้ด้านวิชาการ และยังช่วยสร้างภูมิคุ้มกันใจแก่เด็กๆ ที่จะเป็นอนาคตของชาติ

               โรงเรียนทอสี  เป็นโรงเรียนเอกชน ที่กำเนิดขึ้นจากความรักในการจัดการเรียนรู้ให้เด็กๆ ของ บุปผาสวัสดิ์  รัชชตาตะนันท์ หรือครูอ้อนครูใหญ่โรงรียนทอสี เดิมโรงเรียนเน้นการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการเตรียมความพร้อมให้แก่เด็กๆ  จนเมื่อหลานชายของครูอ้อนมีปัญหาด้านบุคลิกภาพจึงไปกราบขอคำปรึกษาจากพระอาจารย์ชยสาโร  จนครูอ้อนเริ่มมองเห็นแนวทางในการนำพุทธธรรมมาประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียน

               กระบวนการจัดการเรียนรู้ของโรงเรียนทอสี  ใช้วิธีบูรณาการคุณธรรม จริยธรรมเข้าไปในบทเรียน ที่เน้นการเรียนรู้การใช้ชีวิตประจำวัน เพื่อให้เด็กๆ ซึมซับวิถีพุทธอย่างเป็นธรรมชาติ เช่น  การเรียนรู้เรื่องพืชประเภท ต่างๆ นอกจากจะบูรณาการชีววิทยาเกี่ยวกับลักษณะของพืชแล้ว ยังบูรณาการพุทธศาสนา  ด้วยการตั้งคำถาม ให้เปรียบเทียบ ว่านักเรียนอย่างจะเป็นต้นไม้ประเภทไหน ไม้แบบไหนมีประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อม  ตลอดจนการเรียนภาษา ไม่ว่าไทยหรือเทศ   ครูจะพยายามแทรกแนวคิดเรื่องวัตถุประสงค์ของการใช้ภาษาว่า ต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขและสร้างสันติแก่สังคม  ไม่ควรใช้ความสามารถทางภาษาในการทำร้ายผู้อื่นหรือนำไปหาประโยชน์แก่ตนเท่านั้น

ที่มา: หนังสือชีวิตที่พอเพียง รวมเรื่องราว นวัตกรรมการสร้างสุขภาพทีดำเนินชีวิตด้วยหลักเศรษฐกิจพอเพียง ของ สำนักงานปฏิรูปการศึกษาแห่งชาติ

 

หมายเลขบันทึก: 205565เขียนเมื่อ 4 กันยายน 2008 10:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:44 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • ครูจะพยายามแทรกแนวคิดเรื่องวัตถุประสงค์ของการใช้ภาษาว่า ต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขและสร้างสันติแก่สังคม ไม่ควรใช้ความสามารถทางภาษาในการทำร้ายผู้อื่นหรือนำไปหาประโยชน์แก่ตนเท่านั้น
  • เห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งค่ะ

เป็นโรงเรียนที่เน้นคุณธรรมซึ่งบ่มเพาะต้นกล้าที่ดีสู่สังคม ถ้าสอนให้เด็กเก่งเพียงอย่างเดียวสังคมคงอยู่ไม่ได้จึงเน้นให้เด็กเป็นคนดีด้วยชอบแนวคิดของโรงเรียนทอสีมากค่ะ คุณครูและนักเรียนคงจะมีความสุขมากเลยนะค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท