ชวนกัน...มาทำวิจัยเชิงคุณภาพกันดีไหม


เรียนการวิจัยเชิงคุณภาพ

เราเรียนวิจัยเชิงคุณภาพ 1 วัน 6 ชั่วโมง ศ. ดร. ศิริพร จิรวัฒน์กุล สอน

อาจารย์บอกว่า  เรียนจบไป เราจะยังทำวิจัยเชิงคุณภาพไม่ได้ แต่จะรู้ว่าเราจะเริ่มต้นได้อย่างไร อ่านงานวิจัยเชิงคุณภาพเป็น นำมาใช้งานได้และสามารถประเมินได้ว่างานไหนมีคุณภาพ

ลักษณะของวิจัยเชิงคุณภาพ

  • ศึกษาในภาวะธรรมชาติ เฝ้ามองปรากฏการณ์แต่ไม่ควบคุม
  • วิธีการเก็บข้อมูลแบบ Inductive  มีการเก็บแบบ face to face แล้วนำมา Conceptualize
  • มองแบบ Holistic
  • Thick description
  • Personal contact
  • Dynamic งานจะมีการปรับเปลียนได้
  • Unique case selection ต้องการหาความแตกต่าง การเลือกผู้ให้ข้อมูลมีความสำคัญ เลือกภายใต้ purposive sampling พอหรือไม่พอ ขึ้นอยู่กับข้อมูลที่ได้ซ้ำกันไหม ถ้าข้อมูลไม่มีอะไรใหม่แล้วก็พอ
  • Context sensitivity มีความละเอียดอ่อน เข้าใจผู้คนและประวัติศาสตร์
  • Empathic เอาใจเขาไปใส่ใจเรา ห้ามตัดสิน
  • Flexible design นักวิจัยต้องพร้อม

การเก็บข้อมูล

  • ควรเลือกวิธีการเก็บมากกว่า 2 ชนิดขึ้นไป เช่น Focus group, Indept interview

 

คุณสมบัตินักวิจัย

  • รู้& เข้าใจ
  • มนุษยสัมพันธ์ดี
  • รู้หลายเรื่อง
  • ยืดหยุ่น
  • Conceptualize ได้
  • มีจริยธรรม
  • สามารถถ่ายทอดโดยการเขียนได้

 

การตรวจสอบข้อมูล

  • Medthod triangulator
  • Vesigator triangulator
  • Theoretical triangulator

 

การเขียนรายงาน

  • ผู้เขียนจะต้องมีทักษะการเขียน
  • เขียนให้เห็นภาพของปรากฏการณ์ในแง่มุมต่างๆได้อย่างชัดเจนนะคะ

 

ถ้าสนใจทำวิจัยเชิงคุณภาพ ต้องถูกเตรียมตัวนักวิจัยให้พร้อมก่อนนะคะ

หมายเลขบันทึก: 206465เขียนเมื่อ 6 กันยายน 2008 19:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 พฤษภาคม 2012 08:27 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (16)

ตามมาดูพี่เราเตรียมเป็นนักวิจัย น้องทำวิจัยเชิงคุณภาพมากกว่าเชิงปริมาณครับ

P

พี่อยากขอคำแนะนำด้วยนะคะ ในอนาคตอันไม่ไกลนี้

คิดอยากทำเหมือนกันค่ะ

แต่ยังไม่ค่อยเข้าใจหลักการเท่าไรค่ะ

จำไม่ได้ว่า เคยเรียนมาก่อน รึเปล่าด้วยค่ะ

P

ป้าแดงคะ ถ้าเราอยากทำ เราจะทำได้ค่ะ แต่ต้องผ่านการฝึกก่อนนะคะ

ส่วนตอนไปทำจริง เรานักปฏิบัติทำได้อยู่แล้ว เพราะเราอยู่กับแหล่งข้อมูลค่ะ

ติดตามถามข่าวคะ่ ท่านพี่

ตอนนี้จะวิจัยเชิงคุณภาพ นะคะ่ เห็นด้วยคะ่ เพราะมันติดดินดี(ภาษาเข้าใจง่าย) เพราะไม่มีการควบคุม...

แต่เมืื่อได้ผลแล้วการนำองค์ความรู้ไปใช้ประโยชน์ ก็เป็นโจทย์...สำหรับผู้ปฏิบัติต่อไป.....

P

สบายดีไหมคะ

ตอนนี้พี่ก็หมกมุ่นกับเรื่อง เรียน ไม่ยุ่งกับใคร ยุ่งแต่เรื่องตัวเอง

หนักกาย แต่ไม่หนักใจค่ะ

ขอให้มีความสุขกับการเรียนนะคะพี่แก้วขา...

นักวิจัยเชิงคุณภาพต้องเปิดใจด้วยความน้อบนอม ต่อสิ่งที่ศึกษาด้วยค่ะ ไม่ยัดเยียด ไม่แทรกซึม...

(^__^)

ขอบคุณกะปุ๋มนะคะ ที่ให้ความรู้เพิ่มเติมค่ะ

 

ขอเติมว่า คำถามต้อง ไม่ชี้นำด้วยนะคะ

P

คำถามงานวิจัยเชิงคุณภาพ เป็นข้อเท็จจริงทางสังคมที่นักวิจัยต้องการแสวงหา เพื่อมาอธิบายปรากฏการณ์นั้นๆ

คำถามจะขึ้นต้นด้วย How เช่น ประสบการณ์การดำเนินชีวิตของผู้ป่วยเบาหวานชาวอิสานเป็นอย่างไร?

คำถามจะต้องไม่ชี้นำค่ะ

ขอบคุณคุณศศินันท์มากค่ะที่มา ลปรร

ลักษณะการวิจัยเชิงคุณภาพ

  • คำถามวิจัย จะขึ้นต้นด้วย ทำไม อย่างไร เพราะเหตุใดค่ะ
  • วิธีการศึกษา ใช้อุปมานมากกว่าอนุมาน
  • กรอบแนวคิด กำหนดกว้างๆไว้ เพื่อเป็นจุดเริ่มในการศึกษา สามารถปรับได้ตามองค์ความรู้ใหม่ที่ได้
  • นักวิจัย ถือว่าเป็นเครื่องมือวิจัย ต้องฝึกวิธีการคิด การเก็บข้อมูล การวิเคราะห์ ตีความ และพัฒนาคุณสมบัติเฉพาะมาเป็นอย่างดี
  • ความแม่นตรง ใช้ความเข้มงวด(rigorous)และไว้ใจได้(credibility) คุณภาพนักวิจัย
  • การวิเคราะห์ข้อมูล ตีความ (content analysis) ทำไปพร้อมกับการเก็บข้อมูล ผู้วิเคราะห์ข้อมูล ต้องเป็นนักวิจัยเองเท่านั้น เพราะต้องเป็น Expert content เอง
  • การเขียนรายงาน รูปแบบไม่ตายตัว เน้นการบรรยายสภาพแวดล้อม บริบท ปรากฏการณ์และความเชื่อมโยงกับทฤษฎีแนวคิดต่างๆ พร้อมนำเสนอองค์ความรู้จากผลการศึกษา

Ref:  ศิริพร จิรวัฒน์กุล. การวิจัยเชิงคุณภาพในวิชชาชีพพยาบาล. ขอนแก่น; ศิริภัณฑ์ออฟเซ็ท, 2546

การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ

  • วิเคราะห์แบบคนนอก(etic approach) มองเข้าไปในปรากฏการณ์นั้นๆ ซึ่งอาจได้รับอิทธิพลจากความคิด ทฤษฎีต่างๆที่นักวิจัยผ่านการหล่อหลอมความคิด ความเชื่อมาตลอดชีวิต

 

  • วิเคราะห์แบบคนใน (emic approach) โดยนักวิจัยพยายามเข้าใจหรืออธิบายพฤติกรรมที่เกิดขึ้นคล้ายสายตาของคนที่อยู่ในเหตุการณ์นั้นให้มากที่สุด โดยไม่อยุ่ภายใต้แนวคิดทฤษฎีนำไปใช้ในการตีความ

เทคนิคในภาคสนาม

1. การสังเกต

  • แบบมีส่วนร่วม โดยเข้าไปคลุกคลีในกลุ่มที่จะศึกษา จนสังคมนั้นยอมรับเราในฐานะสมาชิก
  • แบบไม่มีส่วนร่วม ทำตนอยู่วงนอก ไม่เข้าไปรบกวนการดำเนนชีวิตของผู้ถูกสังเกต

การสังเกตทั้งชีวิตประจำวัน แบบแผนขนบธรรมเนียม ประเพณีวัฒนธรรม  สังเกตความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล กิจกรรมในสังคมและสภาพสังคมทั่วไป

การบันทึกย่อ 3 ส่วน

  • เล่าสิ่งที่เห็น (observation note)  เล่าฉาก บุคคล เหตุการณ์ คำพูด การกระทำ โดยไม่ใส่ความเห็นนักวิจัย
  • ตีความเบื้องต้น (theoretical note) สะท้อนความคิด ความเห็นนักวิจัยต่อสิ่งที่พบ
  • บันทึกเชิงเทนิควิธี บันทึกความสำเร็จ ความล้มเหลว ข้อบกพร่องในการเก็บข้อมูล รวมทั้งข้อมูลที่ตกหล่น เพื่อจะได้วางแผนการเก็บข้อมูลครั้งต่อไป

 

2. การสัมภาษณ์

  • สามารถขออนุญาตอัดเทปได้และบันทึกย่อ
  • การถอดเทปและบันทึกสิ่งที่สังเกตได้คำต่อคำ
  • ฟังเทปอีกเพื่อจับประเด็นใหม่ ปรับบันทึก
  • อ่านทบทวนบันทึก เพื่อดึง สกัดประโยคและวลีที่เด่น แล้วเขียนประโยคและวลีที่เด่นนั้นออกมา
  • แล้วนำข้อมูลที่ได้ไปร่วมวิเคราะห์กับข้อมูลที่เก็บได้โดยวิธีอื่น

 

3. การสนทนากลุ่ม(focus group)

การสนทนาอยู่ในระดับลึกของข้อมูลที่จะคุย ทำให้เกิดความรู้ ความเข้าใจจิตใจ พฤติกรรมของคน รวมทั้งเข้าใจปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรม ไม่ควรเกิน 8 คน เพศ วัยใกล้เคียงกัน

 

การทำวิจัยคุณภาพให้มีความสุข

เป็นการศึกษาท่ามกลางการปฏิบัติ สั่งสมประสบการณ์ ไม่มีใครรู้ทั้งหมด แต่เราต้องบอกให้ได้ว่าทำไมจึงทำเช่นนั้น ภายใต้หลักอะไร มีเหตุผลใดรองรับ  เท่านั้นเราก็จะสุขได้ค่ะ

Ref: ดารุณี จงอุดมการณ์. การวิจัยเชิงคุณภาพ. วารสารคณะพยาบาลมหาวิทยาลัยขอนแก่น.2545.25(1):85-98.

 

การเขียนรายงานวิจัยเชิงคุณภาพ

  • นักวิจัยต้องมีทักษะการเขียนให้เป็นเหตุ เป็นผล ต่อเนื่อง มีชีวิตชีวา  
  • นักวิจัยต้องสามารถมีการถ่ายทอดความคิด ความรู้ ความเข้าใจ เรื่องราวผู้คนในสังคม ผ่านสื่อสิ่งพมพ์เป็นอย่างดี

การอ่านงานวิจัยเชิงคุณภาพ

  • ต้องเข้าใจลักษณะงานและยอมรับธรรมชาติของงาน เพราะต้องอธิบายความหมายและความเข้าใจต่อปรากฏการณ์ที่ศึกษา
  • อ่านรายงานทั้งหมด ไม่ใช่อ่านผ่านๆ แล้วสนใจเฉพาะบทสรุปไม่ได้ เพราะจะไม่เข้าใจว่าข้อสรุปนั้นมาจากแนวคิดอะไร
  • ตามมาอ่านสรุป สุดยอดคนขยันค่ะ
  • การวิจัยเชิงคุณภาพ เริ่มเข้ามามีบทบาทใน Health science มากขึ้น

P

พี่กำลังทำความเข้าใจเรื่องใหม่ คือ Systematic review

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท