การศึกษาในระบบ...ลวงตาหรือเรื่องจริง


“การศึกษาในระบบ”

การศึกษาในระบบ  (Formal Education) เป็นการศึกษาที่มีรูปแบบและระบบแบบแผนชัดเจน มีการกำหนดวัตถุประสงค์ หลักสูตร วิธีการจัดการเรียนการสอน การวัดผล และการประเมินผลที่แน่นอน ซึ่งการศึกษาในระบบของไทยประกอบไปด้วยการศึกษาขั้นพื้นฐานและการศึกษาในขั้นอุดมศึกษา โดยการศึกษาขั้นพื้นฐาน ถูกแบ่งออกเป็นระดับต่าง ๆ คือ ระดับก่อนประถมศึกษาระดับประถมศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ยังถูกแบ่งเป็นประเภทสามัญศึกษาและประเภทอาชีวศึกษาอีกด้วย

สำหรับในการศึกษาขั้นอุดมศึกษานั้น จะถูกแบ่งออกเป็นระดับต่าง ๆ คือ ต่ำกว่าปริญญาตรี ปริญญาตรี ประกาศนียบัตรบัณฑิต ปริญญาโทและปริญญาเอก

แม้ว่าจะมีความพยายามในการปฏิรูปการศึกษาอย่างต่อเนื่อง และเริ่มมีรูปธรรมอย่างจริงจัง หลังจากมีกฎหมายแม่บททางการศึกษาฉบับแรก นั่นคือ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 ส่งผลให้เกิดการตื่นตัวอย่างกว้างขวางในสังคมไทย แต่อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันนี้ การศึกษาในระบบโรงเรียนของประเทศไทยกำลังดำเนินไปสู่ภาวะวิกฤต โดยมีสาเหตุหลักมาจากความล้มเหลวในการบริหารจัดการระบบการศึกษา จนทำให้ตกอยู่ในภาวะวิกฤติทุกระดับ ตั้งแต่ชั้นเด็กเล็กถึงระดับอุดมศึกษา จำนวนผู้สำเร็จการศึกษาทุกระดับชั้นยังต่ำกว่าจำนวนผู้มีโอกาสได้เรียน เพราะยังมีปัญหาการออกกลางคัน โดยเฉพาะมัธยมศึกษาและอาชีวศึกษา ประกอบกับการที่การศึกษาในระบบเป็นหลักสูตรตายตัว ไม่ยืดหยุ่น  ผู้เรียนบางส่วนจึงไม่สามารถเรียนได้ตลอดรอดฝั่ง ขณะเดียวกันนักเรียนส่วนใหญ่ยังคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ได้น้อย เน้นการท่องจำ และความรู้ด้านวิชาการก็ยังไม่สูงขึ้นด้วย

สำหรับ ในระดับอุดมศึกษา มีการขยายตัวเชิงปริมาณมากกว่าเชิงคุณภาพ คนจบปริญญาตรีในแต่ละปีมีเพิ่มขึ้น แต่ในขณะเดียวกันอัตราการว่างงานก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน ยิ่งกว่านั้นการหาคนที่มีรู้ความสามารถนั้น ก็ยิ่งยากขึ้นไปอีก

จากปัญหาที่ใกล้ตัวดังกล่าว จึงเกิดคำถามว่า การพัฒนาการศึกษาในระบบของไทยนั้น จะช่วยผลักดันการพัฒนาประเทศให้ก้าวหน้าได้จริงหรือ ความสัมพันธ์ของการศึกษาในระบบของไทยกับต้นทุนที่เกิดขึ้น สิ่งที่เป็นปัจจัยด้านการศึกษาที่รัฐบาลจัดสรรและแจกจ่ายไปยังระบบการศึกษาทั่วประเทศนั้น ผลที่ได้กลับเป็นสิ่งที่คุ้มค่าหรือไม่    หรือแท้ที่จริงแล้วการศึกษาในระบบของไทยเป็นเพียงภาพลวงตา เพื่อเป็นใบเบิกทางให้กับชีวิตในอนาคตเท่านั้น

หมายเลขบันทึก: 206993เขียนเมื่อ 8 กันยายน 2008 23:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 02:00 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

อาจจะใช่ ถ้านักเรียนได้รู้จักครูแนะแนวที่เก่ง ๆ สามารถให้เด็กคนพบตัวตนของตนเอง

ว่าอยากทำอะไร อยากเป็นอะไร แล้วมุ่งไป พยายามเรียนจนเกิดความเชียวชาญ

และทำสิ่งนั้นให้ดีที่สุด เหมือนนักกีฬายกน้ำนักเรียนทองไง คนที่เรียนจบปริญญาถ้าหยุดการเรียนรู้แค่ปริญญา โดยไม่ได้เรียนรู้ชีวิตและโลกร่วมไปด้วย ก็คงยากที่จะดำรงชีวิตอย่างมีความสุข อีกทั้งยังก่อปัญหาให้ตนเองและสังคมด้วย

ขอบคุณครับ ที่แวะเข้ามาให้ความเห็น ถูกต้องเลยครับ ถ้ามีครูแนะแนวให้เด้กดีๆ ล่ะก็ไม่ต้องห่วงเรื่อง การศึกษาที่เป็นกับดักแล้ว เพราะครูที่ดีจะชี้นำใหลูกศิษย์ไปในทางที่มีแสงสว่าง แต่สมัยนี้น่ะสิครับ ครูไม่ว่างเลย งานนอกเข้า งานในไม่มีเวลา ทำให้ประสิทธิผล ที่เกิดจากประสิทธิภาพลดลง เฮ้อ สงสารเด็กไทยกับครูไทย จริงๆ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท