การจัดพิมพ์ปริญญานิพนธ์


การจัดรูปแบบการพิมพ์ไม่ยากอย่างที่คิด

บทที่ 3

ข้อแนะนำการพิมพ์ปริญญานิพนธ์

 

การจัดพิมพ์เนื้อหาภายในเล่ม

 

การจัดพิมพ์เนื้อหาภายในเล่มของปริญญานิพนธ์ให้จัดทำดังนี้

1.     จัดพิมพ์ต้นฉบับโดยเครื่องพิมพ์ระบบเลเซอร์ แล้วนำต้นฉบับไปถ่ายเอกสารด้วยเครื่องที่มีคุณภาพ สำเนาถ่ายเอกสารต้องชัดเจนคมเข้ม ไม่มีรอยสกปรกเลอะเทอะ  การถ่ายเอกสารให้ใช้กระดาษสีขาว ชนิดไม่ต่ำกว่า 70 แกรม  ขนาด เอ 4  หรือ ขนาด 8.25 x 11.50 นิ้ว กระดาษหนึ่งแผ่นใช้พิมพ์หรือถ่ายเอกสารเพียงหน้าเดียวเท่านั้น ตลอดทั้งเล่มของปริญญานิพนธ์

2.     ปริญญานิพนธ์ที่จัดส่งจะต้องเป็นเล่มต้นฉบับหนึ่งเล่ม และเล่มที่เหลือสามารถถ่ายเอกสารได้ตามจำนวนที่มหาวิทยาลัยกำหนด 

3.     ส่วนของเนื้อหาในปริญญานิพนธ์ที่จำเป็นต้องเขียนด้วยหมึก ให้ใช้หมึกสีดำและปากกาที่มีคุณภาพดี เครื่องหมาย หรือสัญลักษณ์ต่างๆ ที่ไม่มีในเครื่องพิมพ์ ให้เขียนด้วยหมึกดำ และเขียนทีละฉบับ  

4.     การผนึกภาพลงในกระดาษควรใช้กาวที่มีคุณภาพดี เมื่อผนึกแล้วไม่เป็นรอยย่น

5.     ในตัวปริญญานิพนธ์ฉบับที่ส่งบัณฑิตวิทยาลัยต้องไม่มีรอยลบ ขูด ขีด ฆ่า มากมายจนดูเลอะเทอะ  หากจำเป็นต้องแก้ไขเล็กน้อยให้ใช้หมึกดำ และกระทำด้วยความประณีต

6.     การพิมพ์ปริญญานิพนธ์ ผู้วิจัยต้องรับผิดชอบในการจัดหาผู้พิมพ์ที่มีความชำนาญในเการพิมพ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

 

รูปแบบการพิมพ์ของเนื้อหา

 

1. กรอบของข้อความ  กรอบของข้อความในแต่ละหน้าให้มีขอบเขตดังนี้  จากขอบบนของกระดาษลงมาถึงข้อความบรรทัดแรกเว้นระยะ 1.25 นิ้ว จากขอบล่างของกระดาษถึงข้อความบรรทัดล่างสุดแต่ละหน้า ให้เว้นระยะ 1.0 นิ้ว  จากขอบซ้ายของกระดาษถึงอักษรตัวแรกของแต่ละบรรทัดซึ่งเป็น แนวคั่นหน้า ให้เว้นระยะ 1.25 นิ้ว จากขอบขวาของกระดาษถึงอักษรตัวสุดท้ายในแต่ละบรรทัดโดยประมาณ ให้เว้นระยะ 1.0 นิ้ว

 

2. เลขกำกับหน้า

2.1 เลขกำกับหน้า  ให้พิมพ์ไว้ที่มุมขวาตอนบน ห่างจากขอบบนของกระดาษเป็นระยะ 0.75 นิ้ว  และจากริมขวาของกระดาษเป็นระยะ 1.0 นิ้ว (ตรงกับแนวอักษรตัวสุดท้ายของแต่ละบรรทัด)

2.2 เลขหน้าให้เริ่มนับ 1 ตั้งแต่หน้าแรกของบทที่ 1 เป็นต้นไปจนถึงบรรณานุกรม  ภาคผนวก  ดรรชนี (ถ้ามี)  ส่วนเนื้อหาในส่วนแรกก่อนบทที่ 1  ถ้าจำเป็นต้องมีและต้องบอกเลขหน้า ให้ใช้ตัวอักษรบอกแทน คือ  ,  ,  , .... สำหรับภาษาไทย  หรือ  เลขโรมันสำหรับภาษาอังกฤษ

2.3 หน้าที่สำคัญ  เช่น  หน้าประกาศคุณูปการ  หน้าแรกของสารบัญ  หน้าแรกของแต่ละบทไม่ต้องใช้หมายเลขหรืออักษรกำกับหน้า  แต่ให้นับเป็นจำนวนหน้า

2.4 หน้าที่ต้องพิมพ์ข้อความตามความยาวของกระดาษ ให้ใส่เลขหน้าในตำแหน่งเดิมที่ตรงกับหน้าอื่นๆ

2.5 หลังเลขหน้าไม่ต้องมีเครื่องหมายใดๆ

3. การจัดแบ่งบท

3.1 ปริญญานิพนธ์ต้องมีการแบ่งบท แต่ละบทต้องมีเลขบอกบท  ถ้าเป็นภาษาอังกฤษให้ใช้อักษรตัวพิมพ์ใหญ่ทั้งหมด  คำว่า บทที่ และ เลขบอกบท ให้พิมพ์ที่บรรทัดแรกสุดและวางข้อความไว้ที่กึ่งกลางหน้า ชื่อของบทให้วางไว้ในบรรทัดถัดไป และวางข้อความไว้กลางหน้ากระดาษเช่นกัน

3.2 ข้อความที่เริ่มเนื้อหา ให้ห่างจากชื่อของบทลงไปสองช่วงบรรทัด

4. การเลือกตัวอักษร

4.1 ปริญญานิพนธ์ภาษาไทย  แบบตัวอักษรทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษที่ใช้พิมพ์ให้เลือกใช้แบบ บราววัลเลีย ยูพีซี (BrowalliaUPC) หรือ บราววัลเลีย นิว (Browallia New) หรือ ไดเลนเนียยูพีซี (Dillenia UPC) หรือ คอร์เดีย นิว (Cordia New) หรือ คอร์เดีย ยูพีซี (Cordia UPC) ก็ได้  ถ้าเลือกใช้แบบใดก็ให้เป็นแบบเดียวกันตลอดทั้งเล่ม

4.2 ขนาดของตัวอักษรที่ใช้พิมพ์  ตัวอักษรที่เป็นเนื้อความทั่วไปให้ใช้ตัวอักษรขนาด 16 พอยต์  ตัวอักษรที่เป็นบทที่ และชื่อบทให้ใช้ขนาด 20 พอยต์ และใช้เป็นตัวหนาดำ ตัวอักษรที่เป็นหัวข้อใหญ่ให้ใช้ขนาด 18 พ้อยต์ ตัวหนาดำ และหัวข้อรอง หัวข้อย่อยให้ใช้ตัวขนาด 16 พอยต์ ตัวหนาดำ

5. การจัดย่อหน้าและวรรคตอน

5.1 การย่อหน้าให้เว้นดังนี้  ย่อหน้าแรกเว้นระยะ 7 ตัวอักษร  แล้วพิมพ์ตัวที่ 8  ย่อหน้าที่สอง ที่สาม หรือย่อหน้าต่อๆไป  ให้เว้นเข้าไปอีก 3 ตัวอักษร   ถ้าเป็นการพิมพ์ด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ที่การเคาะทีละระยะตัวอักษรนั้นมีความคลาดเคลื่อน  ถ้าเป็นอักษรแบบบราววัลเลียให้ตั้งแท็บที่ย่อหน้าแรกยาว 0.6 นิ้ว และย่อหน้าต่อๆไปอีกครั้งละ 0.25 นิ้ว  กล่าวคือ  เลขที่ตั้งแท็บจะเป็นไปตามลำดับดังนี้  0.6 นิ้ว,  0.85 นิ้ว,  1.10 นิ้ว  ถ้าเป็นอักษรไดเลนเนีย ให้ตั้งแท็บยาวตามลำดับดังนี้ 0.5 นิ้ว,  0.75 นิ้ว,  1.00 นิ้ว,  1.25 นิ้ว,..

5.2 หัวข้อใหญ่  ให้พิมพ์ที่แนวชิดซ้ายของหน้า และพิมพ์เว้นห่างสองช่วงบรรทัดจากเนื้อความในย่อหน้าก่อน

5.3 หัวข้อรอง  ให้พิมพ์ที่ย่อหน้าแรก   หัวข้อย่อยให้พิมพ์ที่ย่อหน้าสอง   หัวข้อย่อยๆ ถัดลงไปให้พิมพ์ที่ย่อหน้าสาม  หรือสี่  ไปตามลำดับ และข้อความภายใต้หัวข้อรองหรือหัวข้อย่อย  ให้พิมพ์บรรทัดถัดไปจากหัวข้อนั้นเลย

5.4 หัวข้อภาษาไทยที่จำเป็นต้องมีภาษาอังกฤษกำกับ คำภาษาอังกฤษทุกคำ ให้ขึ้นต้นด้วยตัวพิมพ์ใหญ่ ยกเว้นคำนำหน้านามที่อยู่ในวลีหรือประโยค คำบุพบท คำสันธาน

5.5 ข้อความในเนื้อหาบทนิพนธ์ที่จำเป็นต้องมีภาษาอังกฤษกำกับในบางส่วน ภาษาอังกฤษนั้นคำแรกให้ขึ้นต้นด้วยตัวพิมพ์ใหญ่  ส่วนคำถัดๆไปให้ใช้ตัวพิมพ์เล็กโดยตลอด  ยกเว้นชื่อเฉพาะ

5.6 ข้อความเนื้อหาที่เป็นสมการหรือสูตรที่ซับซ้อน  ให้แยกลงมาพิมพ์ไว้กลางหน้ากระดาษห่างจากข้อความบนและล่างอย่างละสองช่วงบรรทัดปกติ

5.7 การใช้ตัวเลขและเครื่องหมายกำกับการจำแนกหัวข้อ ใช้ได้ 2 รูปแบบดังนี้

5.7.1 ใช้ตัวเลขและเครื่องหมายมหัพภาคกำกับ เช่น

                   1.  ...........................................................................................

หมายเลขบันทึก: 209308เขียนเมื่อ 17 กันยายน 2008 00:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 พฤษภาคม 2012 21:19 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท