วิเคราะห์ข้อมูล


วิเคราะห์ข้อมูล

บทที่  3

วิธีดำเนินการวิจัย

 

                    การศึกษาค้นคว้าในครั้งนี้ ผู้วิจัยมุ่งศึกษาปัญหาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปราจีนบุรี  ซึ่งมีลำดับขั้นในการดำเนินการวิจัย ดังนี้

                    1.  ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

                    2.  เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล

                    3.  การสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

                    4.  การเก็บรวบรวมข้อมูล

                    5.  การวิเคราะห์ข้อมูล

                    6.  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล

 

ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

                    1.  ประชากรที่ศึกษา  ประชากรที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ครูผู้สอนโรงเรียน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปราจีนบุรี  สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน          ปีการศึกษา 2551  จำนวน  3,237 คน 

                    2.  กลุ่มตัวอย่าง  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทำวิจัยครั้งนี้ได้แก่  ครูผู้สอน  สำนักงาน

เขตพื้นที่การศึกษาปราจีนบุรี  สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน  ปีการศึกษา 2551  โดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling)  และสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling)  จากสถานภาพตามสถานภาพทางเพศ และประเภทโรงเรียน  โดยกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างของ  เครจซี่  และมอร์แกน (Krejcie & Morgan, 1970, pp. 607 - 608)  ได้กลุ่มตัวอย่าง  344  คน  ดังแสดงในตารางที่  1

 

 

 

 

 

 

ตารางที่ 1  จำนวนประชากรและกลุ่มตัวอย่างของครูผู้สอนโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปราจีนบุรี จำแนกตามสถานภาพทางเพศและประเภทโรงเรียน

 

ประเภทโรงเรียน

ประชากร

กลุ่มตัวอย่าง

เพศชาย

เพศหญิง

รวม

เพศชาย

เพศหญิง

รวม

โรงเรียนช่วงชั้นที่ 1 - 2

โรงเรียนช่วงชั้นที่ 1 - 3

โรงเรียนช่วงชั้นที่ 3 - 4

506

353

262

884

763

469

1,390

1,116

    731

     54

     37

     28

     94

     81

     50

  148

  118

    78

รวม

 1,121

 2,116

3,237

   119

   225

  344

 

เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล

                    เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลครั้งนี้ เป็นแบบสอบถามที่ผู้ศึกษาค้นคว้าสร้างขึ้นเอง  สำหรับใช้ศึกษาปัญหาการบริหารงานวิชาการโรงเรียนของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปราจีนบุรี สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน   แบบสอบถามแบ่งออกเป็น 2 ตอน คือ

                    ตอนที่ 1 เป็นแบบสอบถามที่เกี่ยวข้องกับสถานภาพทางเพศ และประเภทโรงเรียน     เป็นแบบตรวจสอบรายการ (Check List)  จำนวน 2 ข้อ

                    ตอนที่ 2 เป็นแบบสอบถามที่เกี่ยวกับการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน สำนักงาน  เขตพื้นที่การศึกษาปราจีนบุรี  สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน แบ่งเป็น  6 ด้าน  คือ  ด้านหลักสูตรและการบริหารหลักสูตร ด้านการวิจัยในชั้นเรียน  ด้านการจัดการเรียนการสอน  ด้านการนิเทศภายใน  ด้านการวัดผลและประเมินผลการศึกษา  และด้านการประกันคุณภาพการศึกษา

                    แบบสอบถามในตอนที่ 2 นี้  เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 4 ระดับ  (Rating  Scale)  คือ  มากที่สุด  มาก   น้อย  และน้อยที่สุด

 

การสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย       

               ในการสร้างเครื่องมือที่ใช้สำหรับเก็บรวบรวมข้อมูล  เพื่อวิจัย  ผู้วิจัยดำเนินการ  ดังนี้       

                    1.  ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับปัญหาการบริหารงานวิชาการ

                    2.  สร้างแบบสอบถามเป็นข้อคำถามให้ครอบคลุมขอบข่ายปัญหาการบริหารงานวิชาการ  ภายใต้กรอบเกณฑ์ของ สำนักพัฒนาระบบบริหารงานบุคคลและนิติการ (กระทรวงศึกษาธิการ, 2547, หน้า 163) และขอคำแนะนำจากอาจารย์ที่ปรึกษางานนิพนธ์

                    3.  นำแบบสอบถามที่สร้างขึ้นไปขอคำแนะนำจากประธานกรรมการและกรรมการควบคุมงานนิพนธ์  เพื่อพิจารณาตรวจสอบแก้ไขเนื้อคำถามและความถูกต้องของการใช้ภาษา

                    4.  นำแบบสอบถามที่ปรับปรุงแก้ไขแล้วไปให้ผู้ทรงคุณวุฒิตรวจสอบคำถาม    

ความเหมาะสมและให้ครอบคลุมเนื้อหา  ซึ่งผู้ทรงคุณวุฒิประกอบด้วย  บุคคลดังต่อไปนี้

                          4.1  ผศ. ดร. สิทธิพร  นิยมศรีสมศักดิ์                     ผู้ช่วยศาสตราจารย์ 

                                                                                                                ประจำภาควิชาบริหารการศึกษา

                                                                                                                คณะศึกษาศาสตร์  มหาวิทยาลัยบูรพา

                          4.2  ผศ. ดร. ภารดี  อนันต์นาวี                                ผู้ช่วยศาสตราจารย์ 

                                                                                                                ประจำภาควิชาบริหารการศึกษา

                                                                                                                คณะศึกษาศาสตร์  มหาวิทยาลัยบูรพา

                          4.3  นายวัฒนา  สุวิทยพันธุ์                                     ผู้อำนวยการโรงเรียนศรีมโหสถ

                    5.  นำแบบสอบถามที่ปรับปรุงแก้ไขตามข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิแล้วไปทดลองใช้ (Try - Out)  กับประชากรที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาวิจัยครั้งนี้  จำนวน  30  คน  แล้วนำมาวิเคราะห์หาค่าอำนาจจำแนกรายข้อ  (Discrimination)  โดยใช้สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน  (Pearson  Product – Moment  Correlation)  ระหว่างคะแนนรายข้อกับคะแนนรวมทั้งฉบับ  (Item – Total  Correlation)  โดยได้ค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง  .32 - .74

                    6.  นำแบบสอบถามที่มีค่าอำนาจจำแนกแต่ละข้อตั้งแต่  .20  ขึ้นไปมาหาความเชื่อมั่น  (Reliability)  ของแบบสอบถามทั้งฉบับ  โดยวิธีหาค่าสัมประสิทธิ์อัลฟา (Alpha  Coefficient)   ของครอนบาค (Cronbach, 1990, pp. 202 - 204) ได้ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับ  เท่ากับ  .96  ซึ่งสามารถนำไปใช้เพื่อเก็บตัวรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่กำหนดไว้

                    7.  นำแบบสอบถามที่ผ่านการทดลองใช้และได้ปรับปรุงแก้ไขแล้วจัดทำเป็นแบบสอบถามฉบับสมบูรณ์ต่อไป

 

การเก็บรวบรวมข้อมูล

                    ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยดำเนินการตามขั้นตอน ดังนี้

                    1.  ขอหนังสือจากภาควิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา        เพื่อขอความร่วมมือและความอนุเคราะห์จากผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปราจีนบุรี     เพื่อแจกแบบสอบถามไปยังกลุ่มตัวอย่างโรงเรียนของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปราจีนบุรี  สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

                    2.  ผู้วิจัยนำแบบสอบถามแนบหนังสือขอความร่วมมือการกรอกแบบสอบถามจากผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปราจีนบุรี  จัดส่งแบบสอบถาม  จำนวน  344  ฉบับ  ไปยังผู้บริหารโรงเรียน  และครูผู้สอนโรงเรียนของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปราจีนบุรี  สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน  ซึ่งเป็นกลุ่มตัวอย่างด้วยตนเองและทางไปรษณีย์และขอความอนุเคราะห์ให้ผู้ตอบแบบสอบถามส่งกลับทางไปรษณีย์  ตามที่อยู่ของผู้วิจัยที่ได้จ่าหน้าซองและติดแสตมป์ให้ไว้พร้อมแล้ว  ภายในเวลาที่กำหนด

                    3.  ในกรณีที่ยังไม่ได้รับแบบสอบถามคืนตามเวลาที่ผู้วิจัยกำหนดไว้  ผู้วิจัยได้ติดตามเก็บรวบรวมแบบสอบถามด้วยตนเองจนครบทุกฉบับ

                   

การวิเคราะห์ข้อมูล

                    แบบสอบถามที่ได้รับคืนมา นำมาจัดกระทำข้อมูล ดังนี้

                    1.  นำแบบสอบถามมาลงรหัส  ให้คะแนนตามน้ำหนักคะแนนแต่ละข้อ  และบันทึกข้อมูลลงคอมพิวเตอร์  เพื่อวิเคราะห์ด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป SPSS for Windows   

                    2.  นำผลการคำนวณ  มาวิเคราะห์ข้อมูลตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย

                    3.  การให้คะแนน  กำหนดการให้คะแนนตามเกณฑ์น้ำหนักความหมายดังนี้ คือ

                          มากที่สุด                                      มีค่าเท่ากับ             4              คะแนน

                          มาก                                               มีค่าเท่ากับ             3              คะแนน

                          น้อย                          &nb

หมายเลขบันทึก: 210209เขียนเมื่อ 20 กันยายน 2008 13:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 มิถุนายน 2012 23:30 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท