มาร้จักสายพันธ์กล้วยไข่กันเถอะ


สายพันธ์กล้วยไข่ กล้วยไข่โบราณ กล้วยไข่

มารู้จักสายพันธุ์กล้วยไข่กันเถอะ

            จากการศึกษาจากเอกสารสรุปการประชุมสัมมนากล้วยนานาชาติ  ครั้งที่1  พบว่ามีกล้วยไข่ก็มีอยู่หลายสายพันธุ์ด้วยกัน เช่น  กล้วยไข่โบราณ    กล้วยไข่พระตะบอง   กล้วยไข่ทองเงย   กล้วยไข่(กำแพงเพชร)  นอกจากนี้ยังมีกล้วยไข่พันธุ์ใหม่อีกหนึ่งสายพันธุ์คือกล้วยไข่เกษตรศาสตร์ 2

            ตอนที่ 1   มาศึกษาสายพันธุ์กล้วยไข่โบราณ   กันก่อนนะค่ะ

            ชื่อวิทยาศาสตร์  Musa ( AAB group)

           แหล่งที่พบ         จังหวัดตราด    จังหวัดจันทบุรี

                   

           ลักษณะทั่วไป    

               ต้น        ลำต้นสูง  2.5  -3.0  เมตร  กาบลำต้นด้านนอก   มีสีเขียว

อมแดง   มีประดำ    ด้านในมีสีแดงเล็กน้อย

               ใบ         ก้านใบมีสีชมพูอมแดง   ก้านใบผอม  ร่องก้านใบเปิด

                ดอก      ปลีเป็นทรงกระบอกยาวเรียว   สีแดงอมม่วง   เมื่อกาบปลีเปิดจะม้วนงอขึ้น

                ผล        เครือหนึ่งมี  5- 8  หวี  หวีหนึ่งมี 10 -15 ผล  ผลเหมือนกล้วยไข่แต่เปลือกหนากว่าปลายผลมีจุกขนาดเล็กเมื่อสุกมีสีเหลืองสด   เนื้อสีส้ม   แน่นเหนียวรสหวานมัน

              การใช้ประโยชน์   ผลใช้รับประทานสด

    ติดตามตอนต่อไปนะค่ะ  จะนำกล้วยไข่พันธุ์อื่นมาเสนอต่อ

 

      

หมายเลขบันทึก: 210917เขียนเมื่อ 23 กันยายน 2008 10:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:36 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)
  • ชอบ ๆ ๆ กินกล้วยไข่
  • ...เพราะมันไม่มีกระดูก..อ้าว..อิ อิ
  • แล้วจะแวะมาศึกษาข้อมูลต่อนะคะ
  • ขอบคุณค่ะ

* เป็นอาหารพื้นบ้านที่มีประโยชน์มากครับ

* มีราคาถูกและหากินได้ทั่วไปครับ

* ขอบคุณสำหรับความรู้ดีๆ ครับ

จักรพันธ์ ศักยพันธ์

ผมทำงาน กับมูลนิธิเอกชน ทำงานในพื้นที่ จ.สกลนคร นครพนม มุกดาหาร เห็นพื้นที่ของเกษตรกร ว่างเปล่ากันมากมายหมายถึงบริเวณบ้าน รั้วสวน กล้วยไข่ มี ข้อจำกัดในเรื่องพื้นที่ปลูก หรือไม่อย่างไร การปลูกกล้วยถือว่า ง่าย การส่งเสริมให้ปลูกในพื้นที่อีสานตอนบน เป็นไปได้หรือไม่ และแหล่งพันธ์ ที่ชุมชน จะเข้าถึง ในราคาที่เป็นธรรม หรือมีหน่วยงานที่สนับสนุนมีที่ไหนบ้างครับ ขอบคุณครับ

สวัสดีค่ะ คุณจักรพันธ์ ศักยพันธ์

ก่อนอื่นขอขอบคุณที่แวะมาอ่าน การปลูกกล้วยไข่ถ้าดูเผินๆจะง่ายแต่ในทางปฏิบัติมันมีข้อจำกัดหลายอย่าง ซึ่งเกษตรกรในจังหวัดกำแพงเพชรประสบปัญหาอย่

โดยเฉพาะภัยธรรมชาติเกี่ยวกับลม สำหรับพื้นที่เหมาะสำหรับกล้วยไข่ควรจะเป็นเป็นดินร่วนปนทราย และมีน้ำในช่วงฤดูแล้ง สำหรับแหล่งพันธ์ถ้าเป็นกล้วยไข่สายพันธ์กำแพงเพชร เกษตรกรจำหน่ายไม่เกินหน่อละ 5 บาท ณ.ที่สวน สำหรับกล้วยไข่พันธ์เกษตรศาสตร์ติดต่อที่สถานีวิจัยปากช่องหรือมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ราคาประมาณ

15-20 บาทต่อต้น(กล้วยเพาะเนื้อเยื่อ) สำหรับหน่วยงานที่สนับสนุนให้เปล่ายังไม่พบค่ะ ถ้าสนใจจะปลูกจริงๆไปคุยกับท่านผ้ว่าราชการจังหวัดสกลนครคนใหม่ได้เลยค่ะเพราะท่านมาจากจังหวัดกำแพงเพชร ท่านจะเดินทางไปสกลนครประมาณวันที่ 17 ตค.51นี้

ดีๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆมากๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆม๊ากม๊าก

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท