ร่วมแลกเปลี่ยน เรียนรู้ 2 วัน 2 งานติดกัน ได้ประโยชน์มากมาย สร้างสรรค์ประชาคม ตอนที่ 1 ว่าด้วยเรื่องไหมพันธุ์พื้นบ้าน


แต่ความเป็นจริงแล้ว ระหว่างความจริงของไหมพันธุ์พื้นบ้านทีเป็นอัตลักษณ์ กับความจริงที่ ปรากฎในตลาด เป็นความจริงคนละมุม ดังนั้นพวกเราผู้อยู่ในวงการจึงต้องมานำเสนอและนำภาพเก่าของคุณค่าดั้งเดิมกลับคืนมาให้ผู้เลี้ยงได้ตระหนักและเห็นคุณค่าและมูลค่าที่จะเกิดขึ้น ซึ่งยังสามารถดำเนินภารกิจได้ในปัจจุบัน อย่างดีด้วย

ร่วมแลกเปลี่ยน เรียนรู้ 2 วัน 2 งานติดกัน ได้ประโยชน์มากมาย สร้างสรรค์ประชาคม

ตอนที่ 1 ว่าด้วยเรื่องไหมพันธุ์พื้นบ้าน

วรรณศักดิ์พิจิตร บุญเสริม

        เมื่อวันอังคารที่ 23 และวันพุธที่ 24 กันยายน 2551 ที่ผ่านมา ผมได้มีโอกาสเข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และถอดถอนประสบการณ์กับประชาคมที่ผมดำรงตนอยู่ต่อเนื่อง สองวันติดกันแต่สองวันคนละงาน แต่เป็นการแบ่งปันความรู้ที่วิเศษสุดยิ่ง

        วันแรกเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่องไหมพันธุ์พื้นบ้าน ชื่อโครงการอนุรักษ์และฟื้นฟูการเลี้ยงไหมพันธุ์ไทยพื้นบ้าน ของศูนย์นวัตกรรมไหม มหาวิทยาลัยมหาสารคาม โดยมีอาจารย์ นิ่มนวล จันทรุญ เป็นผู้ดูแลโครงการ โดยมีเครือข่ายกลุ่มปลูกหม่อนเลี้ยงไหมในหมู่บ้านรอบ ๆ มหาวิทยาลัยและเป็นเครือข่ายในโครงการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม มาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในครั้งนี้ จัดที่ สถานประชุมแก่งเลิงจาน  ห่างจากตัวเมืองกิโลเศษ ๆ  ผม อาจารย์ ดร.วรรณทนา สินธุสิริ อาจารย์ธิดารัตน์ ติยะจามร อาจารย์นิ่มนวล อาจารย์สมจิตร พรหมโชติ และอาจารย์บุญเลิศ จันทรุญ มาร่วมนำเสนอ ความจำเป็นในการอนุรักษ์และฟื้นฟูการเลี้ยงไหม พันธุ์พื้นบ้าน ซึ่งธรรมดาชาวบ้านก็ยังคงเลี้ยงกันอยู่ แต่อาจละเลยความสำคัญลงไปเนื่องจาก ภาวะการณ์ของสถานการณ์โลกปัจจุบันกับการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมเปลี่ยนไป และการเลี้ยงพันธุ์พื้นเมืองดูจะทำให้ รายได้ของชาวบ้านในการทำไหม อาจจะไม่คุ้มกับการทำในสถานการณ์ปัจจุบัน

        แต่ความเป็นจริงแล้ว ระหว่างความจริงของไหมพันธุ์พื้นบ้านทีเป็นอัตลักษณ์ กับความจริงที่      ปรากฎในตลาด เป็นความจริงคนละมุม ดังนั้นพวกเราผู้อยู่ในวงการจึงต้องมานำเสนอและนำภาพเก่าของคุณค่าดั้งเดิมกลับคืนมาให้ผู้เลี้ยงได้ตระหนักและเห็นคุณค่าและมูลค่าที่จะเกิดขึ้น ซึ่งยังสามารถดำเนินภารกิจได้ในปัจจุบัน อย่างดีด้วย

       ในปัจจุบันในวงการหัตถกรรมไหมที่เกิดขึ้นในประเทศไทยของเรา มีพันธุ์ไหมที่ใช้ในวงการหัตถกรรมไหมอยู่สามประเภทใหญ่ ๆ

      ไหมอันแรกคือไหมพันธุ์พื้นบ้านไทย สีเหลืองทอง เช่น พันธุ์นางน้อย นางตุ่น ซึ่งมักจะตั้งชื่อขึ้นต้นด้วยนางต่าง ๆ เป็นต้น ไหมพวกนี้ สืบทอดพันธุ์มาจากบรรพบุรุษ ครอบครัวทอผ้าในชุมชน แบ่งปันกันไปตามสายเครือญาติ และสายหัตถกรรมทอผ้า ไม่ได้ซื้อหา แลกเปลี่ยนกันไปตาม เครือข่ายตระกูล เครือข่ายช่างทอ เครือข่ายเสี่ยว เกลอ คุณสมบัติ ทนต่อการเลี้ยง เลี้ยงง่าย รังไหมขนาดเล็ก จึงสาวได้เส้นไหมไม่ยาวนัก แต่เส้นใยใหญ่ ไม่ยาว มีกาวเยอะ กล่าวว่า นำเอาไปทำเส้นเครือ(เส้นยืน)ลำบาก ขาดง่าย สาวยาก หากแยกสาว ก็เป็น ไหมหลืบ ไหมน้อย ไหมอีโป้ ซึ่งใช้ประโยชน์ได้ต่างแบบต่างชนิดของการถักทอ

      ไหมอันที่สองคือไหมลูกผสม อันนี้นักวิชาการไหม ศูนย์ไหมของรัฐ ทำขึ้นผสมเพื่อให้ได้สายพันธ์ทีดีขึ้น เอาพันธุ์ดั้งเดิม กับ พันธุ์ไทยพื้นบ้าน ผสม ก็ได้พันธุ์ไหมหลายพันธุ์ ก็มีสีเหลืองทองก็มี มีสีขาว ๆ ก็มี คุณสมบัติเส้นยาวขึ้น ละเอียด สาวง่ายขึ้น ใช้สาวในโรงงานสาวขนาดเล็กได้ รังไหมใหญ่ขึ้น  เพราะสำหรับใช้ในงานกี่กระตุก เป็นเส้นเคือได้บ้าง แต่ ข้อเสีย เลี้ยงยากขึ้นต้องดูแล เอาใจใส่มากขึ้น  ใช้เป็นเส้นเครือได้

      ไหมอุตสาหกรรม เลี้ยงแบบสมัยใหม่ ใส่กล่องเลี้ยง พันธุ์เอามาจากต่างประเทศ ตัวใหญ่ พวกนี้ได้เส้นใยยาว เหมาะสำหรับงานไหมแบบอุตสาหรรม กินอาหารเม็ด เป็นทั้งเส้นพุ่งและเส้นยืนดี นิยมใช้ในงานกี่กระตุก เพราะขาดยาก ตอนนี้ก็นิยมเอามาใช้ในหัตถกรรมพื้นบ้านอยู่บางท้องถิ่นบางแห่ง เช่น ที่ ชนบท และ ชัยภูมิ ใช้ไหมโรงงานหรือไหมชนิดนี้ เป็นเส้นเครือเต็มรูปเลย เพราะเส้นเรียบ เสมอกัน เมื่อย้อมกินเสียสม่ำเสมอ เหมาะทอผ้าพื้นเรียบ อย่างยิ่ง

       พอฟังอย่างนี้แล้วจะเลี้ยงทำไม พันธุ์พื้นบ้าน เพราะไม่เห็นมีข้อดีเลย เลี้ยงลูกผสมกับไหมอุตสาหกรรมน่าจะดีกว่า ใช่มั้ย เลิกเลี้ยงดีกว่า เพราะทำแล้วก็ไม่คุ้มกับการเลี้ยงดู  เสียเวลา เสียการเสียงาน เพราะต้องใช้เวลาดำเนินภารกิจนานกว่า เช่น ถ้าให้สาวไหม 10 กิโล ไหมพื้นบ้านไทยอาจใช้เวลาหลายวันในการสาวจึงจะแล้วเสร็จ แต่ไหมโรงงานและไหมลูกผสมอาจใช้วันเดียวก็เสร็จ

       แต่เปล่าเลยนะครับ เพราะอย่างนี้เราจึงต้องสร้างเครือข่ายและสร้างการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน เห็นข้อดี ข้อเสีย คุณค่าและมูลค่าของไหมพื้นบ้านนั้นมีบทบาทต่อวิถีชีวิตชุมชนต่อวิถีชีวิตชาวบ้านอย่างไร โดยเฉพาะความอัศจรรย์ของไหมพื้นบ้านไทย ที่อาจารย์ธิดารัตน์ ติยะจามร ได้นำมาเล่าสู่กันฟังแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสามารถนำ คุณค่าของพันธุ์ไหมพื้นบ้านไทย มาสร้างมูลค่าให้เกิดขึ้นได้จริง ใน พอศอ นี้ เลยทีเดียว นี้คือของดีที่อยากจะมาเล่าสู่ ถอดถอนบทเรียนซึ่งกันและกัน เพื่อให้ชาวบ้านเราได้มีแรงฮึดและมีดวงตาที่มีความหวังมองเห็นหนทาง ที่ยังสดใสของไหมพื้นบ้านพันธุ์ไทยดั้งเดิม

นี่คือคุณค่าและมูลค่าที่โดดเด่นที่สุดของไหมพันธุ์พื้นบ้านไทย ที่ผมจะเล่าให้ฟังในวันพรุ่งนี้ 

 

หมายเลขบันทึก: 211526เขียนเมื่อ 25 กันยายน 2008 16:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:36 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)
  • ตามมาดู
  • ไป มมส
  • หลายครั้ง แต่ไม่ได้แวะในศูนย์ซักที
  • พี่คนนี้หายไปเลย
  • ศูนย์นวัตกรรมไหม มหาวิทยาลัยมหาสารคาม โดยมีอาจารย์ นิ่มนวล จันทรุญ
  • ฮือๆๆๆๆๆๆ

 

น้องพอ ชอบ ทาน ตัวไหม ขอความเห็นหน่อยค่ะ อาจารย์

ขอบคุณท่านอาจารย์ P 

อาจารย์นิ่มนวล ยังทำงานหนักเหมือนเดิมครับ

P สำหรับครูไหม่นะครับ  ผมยังติดเรื่องคครูไหม่อยู่เรื่องนะครับแต่เดียวจะส่งเมลล์ให้ สำหรับ ตัวไหม ถ้าพันธุ์พื้นเมือง ทานเลยครับ โปรตีน สูงสุด แต่พันธุ์อื่น โดยเฉพาะไหมพันธุ์เทศ ไม่แนะนำ ครับ

ไม่จำเป็นก็ไม่ทานครับ

ขอยพระคุณสำหรับกิจกรรมดีดครับครู

เยี่ยม ศูนย์ไหม มมส มีความเคลื่อนไหวอยู่เรื่อย ๆ เยี่ยมจริง ๆ

  • ผมเห็นด้วยกับการอนุรักษ์พันพื้นเมืองนะครับ
  • ผมอยากจะถามพ่อว่าศูนย์นวัตกรรมไหม มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มีเครือข่ายในภาคส่วนของประชาชนมามีส่วนร่วมไหมครับ

ต้องขอบคุณ ศูนย์นวตกรรมไหม (พี่นิ่มนวลและทีมแม่บ้าน) ที่ช่วยกันนำเสนอโครงการ ทำให้ได้รู้ถึงความแตกต่างระหว่างไหมจุนกับไหมพื้นบ้านค่ะ

 ต้องอนุรักษ์ไว้ค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท