เด็กตัวน้อย ๆ เรียนรู้สู่ชุมชน


ชุมชนที่นักเรียนอาศัยอยู่ มีประวัติความเป็นมาน่าสนใจ แบบเรียนสาระสังคมศึกษาศานาและวัฒนธรรมบางเนื้องหาเป็นเรื่องไกลตัว การจัดการเรียนรู้เรื่องของชุมชนที่นักเรียนอาศัยอยู่ทำให้นักเรียนรักและภาคภูมิใจในท้องถิ่นและเห็นคุณค่าในตนเอง

         การจัดทำหนังสือส่งเสริมการอ่าน  สาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ชุด "ชุมชนของเรา" มีเนื้อหาสาระที่เกี่ยวข้องกับประวัติความเป็นมาของคนในชุมชน  วิถีชีวิต วัฒนธรรมประเพณีและคติชนวิทยา มีจำนวน 25 เล่ม ดังนี้

1.  การละเล่นพื้นบ้าน  คนในชุมชนเคยมีความนิยมการละเล่นพื้นบ้าน  ในปัจจุบันการละเล่นได้เลือนหายไป  จึงนำมาให้นักเรียนได้เรียนรู้และฝึกเล่นเพื่อรักษาวัฒนธรรมการละเล่นเช่นการ "เสี่ยงผ้ารำวง"

2. แก่งบอนหวาน  บอนเป็นอาหารพื้นถิ่นของชาวบ้าน  แต่บอนที่เกิดบริเวณแก่งแห่งนี้เป็นบอนที่ไม่คัน เหมือนเช่นบอนทั่วๆไป ฤดูแล้งนำลดจะเหลือพื้นหินกว้างใหญ่ ชาวบ้านจะไปพักผ่อนหย่อนใจ

3. ขนมจีนคุณยาย  ขนมจีนเป็นอาหารยอดนิยมของคนในชุมชนเป็นอย่างมาก รวมทั้งนักเรียน และคนที่ขายขนมจีนมาช้านานก็คือคุณยาย

4. ขวัญของใคร  เป็นพิธีกรรมอย่างหนึ่งของคนในชุมชน  เมื่อได้รับความตกใจจากอุบัติเหตุหรืออย่างอื่น ๆ จะทำให้ผู้ป่วยเสียขวัญ   จึงไปเรียกขวัญและนำขวัญกลับมาให้ทำให้ผู้ป่วยสบายใจขึ้น

5. จ่มขวัญ เป็นพิธีการที่เป็นกำลังใจให้กับผู้ป่วยที่เพิ่งหายป่วย  คู่สมรส  นาคที่เตรียมตัวบวช หรือบุคคลที่จากไปนานแล้วกลับมาเยี่ยมบ้าน หรือคนที่จะจากบ้านไปทำงาน

6. จ้ำผู้สื่อสารทางวิญญาณ  เมื่อมีคนป่วยหรือกระผิด ลบหลู่สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวบ้านนับถือ  จะทำให้ป่วย ไม่สบายโดยไม่รู้สาเหตุ หรือเด็กร้องในเวลากลางคืน "จ้ำ" จะเป็นผู้สื่อสารทางวิญญาณทำให้อาการเป็นปกติได้

7. ชาเขียนสมุนไพรใบหม่อน  ในชุมชนมีคนนิยมปลูกใบหม่อน  ยอดของหม่อนนำมาปรุงอาหารเพื่อให้เกิดรสเปรี้ยวได้ ลูกหม่อนเด็ก ๆ นิยมนำมารับประทาน นักเรียนฝึกทำชาเขียวจากใบหม่อน

8. ชีวิตของลูกอ็อด  คนในชุมชนนิยมจับลูกอ็อด (ลูกกบ) มาเป็นอาหาร เป็นการฝึกให้นักเรียนเห็นคุณค่าของสิ่งมีชีวิตที่มีอยู่ตามธรรมชาติ

9. ชุมชนของฉัน  ชุมชนที่นักเรียนอาศัยอยู่มีประวัติความเป็นมาน่าสนใจ  เป็นชุมชนที่ก่อตั้งใหม่ และขยายตัวอย่างรวดเร็ว

10. โดนัทท้องถิ่น  ขนมชนิดหนึ่งทำจากแป้งข้าวเหนียวผสมแป้งข้าวจ้าว  ปันเป็นลูกกลม ๆ แล้วทำให้เป็นวง ชาวบ้านเรียกขนมวง  แต่นักเรียนคนหนึ่งของชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ตั้งชื่อว่า "โดนัทท้องถิ่น"

11. ตลาดนัดชุมชน  เดิมคนในชุมชนจะนิยมไปซื้ออาหารที่อำเภอ หรือที่ตำบลอื่น ๆ ภายหลังได้ร่วมมือกันจัดทำที่จำหน่ายอาหารเรียกว่า "ตลาดนัด"

12. ท่าทิดเต่า  ท่าทิดเต่าเป็นท่าน้ำและเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของคนในชุมชนและเด็ก เรียกชื่อตามผู้ชายคนหนึ่งชื่อทิดเต่า ไปตักน้ำที่ท่าแห่งนี้ เป็นลมบ้าหมูชักและเสียชีวิต

13. นวดแผนไทย  คนในชุมชนมีการรวมกลุ่มกันผลิตสมุนไพร เพราะพื้นที่มีสมุนไพรขึ้นอยู่ตามธรรมชาติจำนวนมาก

14. ผลิตภัณฑ์ไม้ไผ่ ในชุมชนมีไม้ไผ่จำนวนมาก  ขึ้นตามธรรมชาติ และมีภูมิปัญญาที่สามารถทำผลิตภัณฑ์ไม้ไผ่ออกจำหน่ายเป็นอาชีพ15. ผู้ดูแลรักษาคนป่วย

16. ผู้นำชุมชน  นักเรียนได้เรียนรู้และศึกษาแบบอย่างของผู้นำชุมชนคือผู้ใหญ่บ้าน  2  หมู่บ้าน  สมาชิก อบต. เจ้าหน้าที่อนามัย

17. พืชสมุนไพร  คนในชุมชนมีการรวมกลุ่มกันผลิตสมุนไพร เพราะพื้นที่มีสมุนไพรขึ้นอยู่ตามธรรมชาติจำนวนมาก  นักเรียนได้เรียนรู้การนำสมุนไพรในการรักษาปฐมพยาบาลเบื้องต้น

18. โรงเรียนของฉัน  โรงเรียนเป็นสถาบันการศึกษาที่คนในชุมชนให้ความร่วมมือดูแล รักและหวงแหน  มีประวัติความเป็นมาเพราะชื่อของโรงเรียนไม่ได้ใช้ชื่อวัด หรือชื่อหมู่บ้าน

19. ไร่สับปะรด  คนในชุมชนนิยมทำไร่สับปะรด  นักเรียนสามารถไปหารายได้ระหว่างเรียนเพื่อช่วยเหลือครอบครัว

20. วันพระของชาวพุทธ  นักเรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติตนเป็นพุทธศาสนิกชนที่ดี มีจิตสาธารณะในการช่วยทำความสะอาด

21. ศาลปู่  เป็นความเชื่อของคนในชุมชน จะมีการบวงสรวงไหว้ศาลปู่ในวันอังคารเดือน 8 ก่อนขึ้น 8 ค่ำ ของทุกปี  ทุกคนจะหยุดงานพร้อมกันนำอาหารไปไหว้ศาลปู่

22. สวนยางพารา  เป็นเรื่องใหม่สำหรับคนในชุมชน  เดิมเมื่อ พศ.2530 ชาวภาคใต้ได้ไปปลูกยางพาราในเขตพื้นที่ชุมชนและตั้งโรงงานขนาดเล็กขึ้น  และได้รับการแพร่หลายมาเมื่อ 3 ปีที่ผ่านมา

23.สวนสัก  คนในชุมชใช้พื้นที่ปลูกสร้างที่พักอาศัย และเป็นแหล่งทำกินของเขตวนอุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวง  มีสวนสักอยู่ในชุมชน นักเรียนเรียนรู้เพื่อป้องกันรักษาทรัพยากร

24. ห้วยละเมย  เป็นตำนานของคนในชุมชนที่เล่าสืบต่อกับมาเกี่ยวกับที่มาของชื่อหมู่บ้าน เมยหมายถึงกวาง  ละ หมายถึง ทิ้ง

25. อาหารตามฤดูกาล คนในชุมชนมีวิถีชีวิตที่ขึ้นอยู่กับธรรมชาติ มีอาหารตามฤดูกาลที่อุดมสมบูรณ์หน้าฝนมีเห็ดและหน่อไม้  หน้าหนาวมีเห็ดบด  หน้าร้อนมีไข่มด ผักหวาน

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 211658เขียนเมื่อ 26 กันยายน 2008 10:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:37 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

ดีจังเลยคะ เป็นนิทาน เหรอคะ

สวัสดีค่ะคุณครูใหม่บ้านนำจุน

เป็นหนังสือที่มีสาระให้นักเรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับชุมชนที่นักเรียนอาศัยอยู่  เป็นร้อยแก้วค่ะ

ขอขอบคุณที่กรุณาเข้ามาให้กำลังใจ

ตามมาขอบคุณ และจะขอ คำแนะนำ เรื่องหนังสืออ่านเพิ่มเติม เจ๊า

Pสวัสดีค่ะคุณ ครูใหม่ บ้านน้ำจุน

นักเรียนช่วงชั้นที่ 1 ยังอ่านหนังสือไม่เก่ง
เราได้จัดทำสาระสังคมฯ มีคำบรรยายประกอบ  นักเรียนวาดภาพ ระบายสี
เรื่องที่ทำเกี่ยวกับชุมชนที่นักเรียนอยู่
ตอนแรกทำโครงงาน  หาข้อมูลชุมชน
แล้วนำมาวิเคราะห์เนื้อหาที่เหมาะสมกับนักเรียนค่ะ
ขอขอบคุณค่ะที่มาให้ความสนใจ

+ สวัสดีค่ะครูนิน...

+ ว้าว ๆ ...อันนี้สุดยอดค่ะ....

+ ไอเดียเจ๋งค่ะ...ว้าว ๆ....

+ ทุกเล่มเป็นภาพวาดเองหมดเลยหรือค่ะ...

+ ไม่รู้จะกล่าวว่าอะไร...อืม...ให้มันได้ดั่งใจนะค่ะ....

+ สุดยอดมากค่ะ...

+ ครุนินเป้นครูที่ยอดเยี่ยมมากค่ะ....

สวัสดีค่ะP

คุณครูแอมแปร์~natadee

วันนี้ครูนินอยู่ที่บ้านพี่คิมค่ะ  อาการดีขึ้น  เพราะเมื่อคืนได้ไปฉีดยา ได้ยามาทาน
ตอนนี้มึน ๆ แต่ทำหน้าที่ดูแลคนอื่น ๆ อีก
หนังสือชุดนี้  มี 25 เล่ม ค่ะ
ถ้าคุณครูต้องการนำไปใช้เป็นรูปแบบ  ยินดีจะส่งมาให้เป็นแผ่น ซี.ดี.นะคะ  ไม่หวงหรอกค่ะ
ดีใจค่ะที่มีคนสนใจงานของเรา  ใช้เวลาทำมาตั้งแต่ ปีการศึกษา 2548  เพิ่งเรียบร้อยไปเมื่อเร็ว ๆ นี้ค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท