ชุดวิชาคุรุสภา


ภาวะผู้นำทางการศึกษา

หน่วยการเรียนรู้ที่ 1

 

 ภาวะผู้นำของนักบริหารการศึกษามืออาชีพ

 

 

แนวคิด

 

ผู้นำเป็นผู้ที่มีศิลปะที่สามารถมีอิทธิพลเหนือคนอื่นและนำบุคคลเหล่านั้นไป  โดยได้รับความไว้วางใจและเชื่อมั่นอย่างเต็มที่  ส่วนภาวะผู้นำเป็นศิลปะ หรือความสามารถของบุคคลที่จะจูงใจ หรือใช้อิทธิพลต่อบุคคลอื่นในสภาพการณ์ต่าง ๆ   เพื่อปฏิบัติการและอำนวยการ โดยใช้กระบวนการสื่อความหมายให้ผู้อื่นร่วมมือร่วมใจกับตนในการดำเนินการ จนกระทั่งบรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

ภาวะผู้นำที่ดีไม่ได้ติดตัวมาตั้งแต่กำเนิด หากแต่ได้รับการปรุงแต่งโดยผ่านกระบวนการศึกษาอบรมและประสบการณ์อย่างต่อเนื่อง  การศึกษาอบรมจึงทำให้เกิดภาวะผู้นำพื้นฐานขึ้นในตัวบุคคล  ส่วนสิ่งแวดล้อมสามารถทำให้ภาวะผู้นำพื้นฐานนั้นแปรเปลี่ยนไปได้อีกไม่ว่าจะในทางดีขึ้นหรือเลวลง 

ภาวะผู้นำเป็นสิ่งที่เรียนรู้ได้  พัฒนาขึ้นมาได้   นักบริหารการศึกษามืออาชีพจำเป็นต้องใช้ภาวะผู้นำในการบริหารจัดการองค์กร และต้องยึดหลักการบริหารจัดการบ้านเมืองและสังคมที่ดี   ซึ่งจะส่งผลต่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการปฏิบัติงานของผู้ใต้บังคับบัญชาและองค์กร

 

วัตถุประสงค์  

 

            เพื่อให้มีความรู้ ความเข้าใจ และสามารถ

1.   อธิบายความหมายและวิเคราะห์ความแตกต่างของคำว่า  ผู้นำ   ภาวะผู้นำ   ผู้บริหาร  และ การบริหารได้อย่างถูกต้อง       

2.   บอกคุณลักษณะของผู้นำที่มีความเป็นนักบริหารการศึกษามืออาชีพได้

3.   วิเคราะห์แนวคิดเกี่ยวกับภาวะผู้นำรูปแบบต่าง ๆ ได้  

4.   ประยุกต์รูปแบบภาวะผู้นำไปใช้ในการบริหารได้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์

5.   เปรียบเทียบผลที่เกิดขึ้นจากการใช้ภาวะผู้นำแบบต่าง ๆ ได้

6.   บอกหลักการและแนวทางบริหารราชการโดยยึดหลักการบริหารจัดการที่ดีได้ และประยุกต์หลักการไปใช้ในการบริหารองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

ตอนการเรียนรู้  

 

ตอนการเรียนรู้ที่ 1   ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับภาวะผู้นำ

ตอนการเรียนรู้ที่ 2   นักบริหารการศึกษามืออาชีพ

          ตอนการเรียนรู้ที่ 3   แนวคิดและทฤษฎีภาวะผู้นำ   

          ตอนการเรียนรู้ที่ 4   ภาวะผู้นำกับการบริหารในระบบราชการไทย

 

แนวการจัดการเรียนรู้

 

1.  ผู้สอนมอบหมายให้ผู้เรียนศึกษาตอนการเรียนรู้ทุกตอน พร้อมทำใบงานมาล่วงหน้า  และใช้เวลาในการบรรยายสรุป  3  ครั้ง  และตรวจใบงาน ประมาณ  3 ชั่วโมง

2.   จัดประชุมปฏิบัติการเพื่อศึกษาและทำความเข้าใจเกี่ยวกับหัวข้อต่อไปนี้

2.1    รูปแบบภาวะผู้นำทางการศึกษาที่เหมาะสมกับการบริหารจัดการในยุคปฏิรูปการศึกษา

2.2    การใช้ภาวะผู้นำในการบริหารจัดการองค์กรตามหลักการบริหารจัดการที่ดี

3.  มอบงานอาจเป็นงานประจำชุดวิชา หรือ อาจเป็นการตอบคำถามเพื่อทดสอบความเข้าใจ  โดยให้ทำเป็นกลุ่มหรือรายบุคคล

4.   ให้ผู้เรียนแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในชั้นเรียน

 

 

     

 

 

 


ตอนการเรียนรู้ที่ 1

 

ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับภาวะผู้นำ

 

 

วัตถุประสงค์

         

          เพื่อให้สามารถ

1.   อธิบายความหมาย  และวิเคราะห์ความแตกต่างของคำว่า  ผู้นำ   กับ ผู้บริหาร  ได้อย่างถูกต้อง 

2.   อธิบายและเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่าง การบริหารกับการแสดงภาวะผู้นำ ในการบริหารได้อย่างถูกต้อง

 

แนวการจัดการเรียนรู้

 

1.   มอบหมายให้ผู้เรียนศึกษาใบความรู้ที่ 1  และทำใบงานมาล่วงหน้า 

2.   ผู้สอนบรรยายสรุปในชั้นเรียน  โดยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการอภิปราย

3.   ให้ผู้เรียนวิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างของ ผู้นำ กับ ผู้บริหาร  และ ภาวะผู้นำ  กับ การบริหาร 

4.   นำเสนอผลการวิเคราะห์  เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้เรียน

5.   ตรวจใบงาน

 


ใบความรู้ที่ 1

เรื่อง

ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับภาวะผู้นำ

 

 

1. 1  ความหมายของผู้นำและภาวะผู้นำ 

 

ภาวะผู้นำหมายถึงอะไร?  (What is leadership? )   เป็นคำถามที่นักวิทยาศาสตร์สังคม   นักวิชาการ นักสังคมวิทยา และนักบริหารกล่าวถึงกันมากตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน  พระธรรมปิฎก (ประยุทธ ปยุตโต, 2540)  กล่าวว่า  ภาวะผู้นำ นั้น พูดด้วยภาษาชาวบ้านแปลง่าย ๆ ว่า ความเป็นผู้นำนั่นเอง    จากผลการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับภาวะผู้นำของบุคคลในหลาย ๆ สถานการณ์ที่แตกต่างกัน  ทำให้นักวิชาการให้ความหมายของคำว่าภาวะผู้นำไว้จำนวนมาก ดังนั้น เพื่อให้เกิดความเข้าใจชัดเจนในนิยามศัพท์ของคำดังกล่าว   จึงขอนำเสนอความหมายของ ผู้นำ และ ภาวะผู้นำไปพร้อม ๆ  กัน  ดังต่อไปนี้  

 

ผู้นำ  หมายถึง ผู้มีศิลปะที่สามารถมีอิทธิพลเหนือคนอื่น  และนำบุคคลเหล่านั้นไปโดยได้รับความไว้วางใจและเชื่อใจอย่างเต็มที่  อีกทั้งยังได้รับความเคารพนับถือ  ความร่วมมือ และความมั่นใจจากผู้ใต้บังคับบัญชาเหล่านั้นอย่างจริงใจ  (กิติ  ตยัคคานนท์, 2535)

ผู้นำ  หมายถึง  บุคคลที่เป็นหัวหน้าหน่วยงาน   ภายในองค์การที่มีบุคคลภายในหน่วยงานของตนยอมรับนับถือและเชื่อฟัง  ตลอดจนปฏิบัติตามที่ผู้นำต้องการ  (ชลอ ธรรมศิริ  และเสรี  เกียรติบรรลือ,  2535)

ผู้นำ  หมายถึง สมาชิกของกลุ่มที่สามารถนำทางหรือประสานงานระหว่างกลุ่มได้  และต้องมีคุณสมบัติข้อใดข้อหนึ่งดังต่อไปนี้   (Fiedler, quoted in Shaw and  Costanzo, 1982 )

·    ได้รับการแต่งตั้งโดยตัวแทนขององค์การหรือหน่วยงานที่ใหญ่กว่าหน่วยงานของกลุ่มที่ตนสังกัดอยู่

·    เป็นผู้ที่ได้รับการเลือกตั้งจากกลุ่ม

·    เป็นผู้ที่มีอิทธิพลเหนือกว่าสมาชิกคนอื่นๆ ในกลุ่ม        

ผู้นำ  หมายถึง ผู้ที่มีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งใน 5 ประการ ต่อไปนี้ (Carter, quoted in Shaw, 1976)

·    เป็นศูนย์รวมของพฤติกรรมกลุ่ม

·    เป็นผู้ที่สามารถนำกลุ่มไปสู่จุดมุ่งหมายที่ต้องการได้

·    เป็นผู้ที่ได้รับการเลือกจากสมาชิกของกลุ่มโดยใช้สังคมมิติ

·    เป็นผู้ที่มีอิทธิพลเหนือผู้อื่นในกลุ่มและสามารถทำให้กลุ่มเกิดการเปลี่ยนแปลง

·    เป็นผู้ที่มีคุณลักษณะหรือมีพฤติกรรมของความเป็นผู้นำ

ผู้นำ  หมายถึง   บุคคลที่มีผลกระทบมากที่สุดต่อพฤติกรรมและความเชื่อของกลุ่ม และมีลักษณะดังต่อไปนี้ (Sears, Freedman and Peplau , 1985)

·    เป็นผู้ที่ริเริ่มกระทำสิ่งใหม่ ๆ

·    เป็นผู้ออกคำสั่ง

·    เป็นผู้ตัดสินใจ

·    เป็นผู้ขจัดปัญหาการโต้แย้งภายในกลุ่ม

·    เป็นผู้ให้การสนับสนุน

·    เป็นหัวหน้าในการทำกิจกรรมกลุ่ม

ผู้นำ  หมายถึง บุคคลต่อไปนี้  (English and English, 1960)

·    บุคคลที่ชี้แนวทาง   ควบคุมเจตคติ  หรือพฤติกรรมของผู้ตามในสถานการณ์หนึ่ง ๆ และเป็นผู้ที่มีอิทธิพลหรืออำนาจเหนือคนอื่น

·    บุคคลซึ่งมีผู้เห็นว่ามีคุณสมบัติเหมาะสมที่จะเป็นผู้นำ

·    บุคคลที่ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่อย่างเป็นทางการ

·    บุคคลที่ได้คะแนนสังคมมิติสูงสุด 

 

ภาวะผู้นำ  หมายถึง  การปฏิบัติงานของผู้นำ  เพื่อทำให้กลุ่มประสบความสำเร็จในการบรรลุเป้าหมาย  (Fiedler, quoted in Shaw  and  Costanzo, 1982)

ภาวะผู้นำ  หมายถึง  กระบวนการที่ผู้นำมีอิทธิพลเหนือผู้ตามในการรักษาความเป็นกลุ่ม  การจัดระเบียบภายในกลุ่ม และการนำกลุ่มไปสู่เป้าหมาย  (Hollander, quoted in Deaux and  Wrightsman, 1984)

ภาวะผู้นำ  เป็นศิลปะในการทำงานอย่างหนึ่งของบุคคลที่มีอิทธิพลในการจูงใจผู้อื่นให้ร่วมกันปฏิบัติงานเพื่อให้สำเร็จตามความมุ่งหมาย  (Tead, 1953)

ภาวะผู้นำ หมายถึง  กระบวนการของการมีอิทธิพลต่อกิจกรรมของบุคคลหรือของกลุ่ม  เพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายที่ได้กำหนดไว้&n

คำสำคัญ (Tags): #ป.บัณฑิต 32550
หมายเลขบันทึก: 212154เขียนเมื่อ 27 กันยายน 2008 13:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 มีนาคม 2012 14:49 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท