กระบวนการสมัชชาสุขภาพเมืองอุทุมพร


บทเรียนการขับเคลื่อนกระบวนการสมัชชาสุขภาพ เครื่อมือใหม่ของสังคม

 

โครงการสมัชชาสุขภาพจังหวัดชุมพร  ว่าด้วย :

 ท้องถิ่นกับการจัดการสุขภาพ  เพื่อความอยู่ดีมีสุข ( ปี พ.ศ. 2551)

โดย .......คณะทำงานสมัชชาสุขภาพจังหวัดชุมพร

 นายทวีวัตร  เครือสาย   ผู้ประสานงานโครงการ ฯ  โทร. 081 - 2700216

  • ขั้นตอนการดำเนินงานสมัชชาสุขภาพจังหวัดชุมพร

1. คณะทำงานสมัชชา ฯ

ประกอบด้วย ประชาสังคม / ราชการ / การเมือง / สื่อ

2. การจัดการข้อมูล  ด้วยรวบรวมสถานการณ์สุภาวะ  และการทบทวนข้อมูล  / นวัตกรรมสุขภาพ  / จัดทำ mapping / พื้นที่กรณีศึกษา  โดยทีมวิชาการและเครือข่ายประชาสังคม

 

พัฒนาแผนความร่วมมือระดับท้องถิ่น (แผนสุขภาวะ / แผนที่ยุทธศาสตร์ /ฯลฯ)

การประชุมทีม/เครือข่ายสุขภาพ

วางแผนการขับเคลื่อน

3.การสื่อสารสาธารณะ      สื่อเอกสาร / วิดิทัศน์ / วิทยุชุมชน / เว็บไซด์

4. เวทีสมัชชาสุขภาพระดับพื้นที่  ( เวทีย่อย )   ต.นากระตาม, ต.หาดพันไกร, ต.ตะโก, ต.ละแม, ต.สวนแตง, เทศบาลเมืองหลังสวน

สรุปสังเคราะห์แผน / ร่างข้อเสนอเชิงนโยบาย  ... การจัดการสุขภาพ ฯ

5. จัดสมัชชาสุขภาพ ฯ  บันทึกข้อตกลง ( mou )  วิชาการ   / ประชาสังคม           รัฐ/  การเมือง

6. ผลักดันสู่การปฏิบัติ  - แผนสุขภาวะ  - กลไกของท้องถิ่น  - บูรณาการในพื้นที่  - กองทุนสุขภาพฯ

ความก้าวหน้าการดำเนินงานสมัชชาสุขภาพจังหวัดชุมพรนั้นมีรายละเอียดแต่ละขั้นตอนดังนี้

#  ขั้นการเตรียมการ  มีการดำเนินการดังนี้  ได้มีการจัดทำ mapping  สุขภาวะ  ( เดือนกุมภาพันธ์)โดยมีผู้เข้าร่วมได้แก่  เครือข่ายประชาสังคม,ตัวแทนส่วนราชการ ( สาธารณสุข/วัฒนธรรม/พัฒนาสังคม),เครือข่ายองค์กรชุมชน ฯลฯ  มีข้อสรุปดังนี้

  • สถานการณ์สุขภาวะ
  • ๑. ผลการจัดเวทีประชาธิปไตยชุมชน ( ปัญหาทางสังคม,วิถีประชาธิปไตย,การศึกษา )
  • ๒. การดำเนินงานสร้างสุขภาวะเชิงพื้นที่ โครงการชุมชนเป็นสุข ( พื้นปฏิบัติการ ๑๐ พื้นที่)
  • ๓. การดำเนินการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ( นำร่อง ๘ พื้นที่ / ขยาย ๖ พื้นที่ )
  • ๔. กรณีตัวอย่างการจัดการสุขภาพที่เด่น ๆ ( แพทย์แผนไทย,เครือสร้างสุขภาพ,สวัสดิการสังคม)
  • ๕. การจัดบริการสุขภาพ ( บุคลากรทางการแพทย์ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศ สามเท่า , สาเหตุการการตาย โรคมะเร็ง/โรคระบบหายใจ/โรคความดันโลหิต , พฤติกรรมด้านสุขภาพของประชาชน เป็นต้น )
  • ศักยภาพของพื้นที่ - องค์กรเครือข่ายที่จัดการสุขภาพ,องค์ความรู้/ภูมิปัญญาท้องถิ่น ( )
  • การคัดเลือกประเด็น " ท้องถิ่นกับการจัดการสุขภาพ "มีหลักเกณฑ์การพิจารณา เช่น

๑.ทิศทางการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นที่มีความสำคัญต่อการจัดการของประชาชนในพื้นที่

๒. ปัญหาการจัดการสุขภาพ ( สุขภาวะ) จะกระทบในวงกว้างมากยิ่งขึ้น

๓. มีตัวอย่าง หรือ ศักยภาพ ในการจัดการสุขภาพ เช่น กองทุนสุขภาพ,เครือข่าย,นวัตกรรมการจัดการสุขภาพ , การสร้างสุขภาวะเชิงพื้นที่ มีกรณีศึกษา  เป็นต้น  

๔.โอกาสความสำเร็จในการผลักดันนโยบาย  โดยเฉพาะเรื่องกองทุนสุขภาพ,กองทุนสวัสดิการชุมชน , ฯลฯ  ซึ่งสามารถขยายผลสู่นโยบายสาธารณะได้

วัตถุประสงค์ของโครงการสมัชชาสุขภาพ

๑.)เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และตระหนักต่อกระบวนการจัดการสุขภาพอย่างเป็นองค์รวมของประชาชนและองค์กรที่เกี่ยวข้อง

๒.) เพื่อค้นหารูปแบบและกระบวนการจัดการสุขภาพในท้องถิ่น  และพัฒนาเป็นนโยบายสาธารณะด้วยกระบวนการสมัชชาสุขภาพ

๓.)เพื่อให้เกิดการเชื่อมร้อยเครือข่ายจัดการสุขภาพในพื้นที่  และรวมพลังในการผลักดันนโยบายสาธารณะในท้องถิ่นและระดับจังหวัด

 # เป้าหมายที่ตั้งไว้ในหนึ่งปีของโครงการฯ

๑.) ให้เกิดการเรียนรู้   การจัดการความรู้  การสื่อสารสาธารณะ  และกระบวนสมัชชาสุขภาพ ในการขับเคลื่อนการจัดการสุขภาพของท้องถิ่น   เพื่อความอยู่ดีมีสุข    โดยเป้าหมายในปี  51  นี้มุ่งเน้นการผลักดันนโยบายสู่การปฏิบัติไปที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

๒.)ตัวชี้วัดความสำเร็จ

๒.๑ องค์กรปกรองส่วนท้องถิ่นจำนวน 6  องค์กร  เกิดการมีส่วนร่วมในการจัดการสุขภาพของท้องถิ่น

เกิดแผนงานการจัดการสุขภาพในท้องถิ่นและมีการแปลงแผนงานสู่การปฏิบัติ อย่างน้อย 6 อปท.

     ๒.๒ มีกลไกการทำงานอันประกอบด้วยสามภาคส่วน(ภาครัฐ/การเมือง, ภาควิชาการ และภาคประชาสังคม) ที่เข้มแข็งในท้องถิ่น  จำนวน  6  อปท.

     ๒.๓ เกิดแกนนำสุขภาพ อย่างน้อย  30  คน  และเครือข่ายสุขภาพอย่างน้อย 20  เครือข่าย

     ๒.๔ เกิดระบบการสื่อสารงานสมัชชาสุขภาพจังหวัดชุมพร และเครือข่ายสื่อสารสุขภาพ

     ๒.๕ เกิดชุดบทเรียนการจัดการสุขภาพ และชุดบทเรียนกระบวนการสมัชชาสุขภาพ

# ผลการดำเนินงานที่ผ่านมา

 ๑. การจัดกลไกสมัชชาสุขภาพชุมพร ซึ่งมีคณะกรรมการอำนวยการ/คณะทำงานสมัชชาสุขภาพ 

๑.๑  คณะทำงานสมัชชามีองค์ประกอบของคณะทำงาน มี สามส่วน ได้แก่

๑.๑.๑  ภาคประชาสังคม ( เครือข่ายประชาสังคมจังหวัดชุมพร มีตัวแทนจากทุกอำเภอ , เครือข่ายสุขภาพ ,ตัวแทนกลุ่มองค์ชุมชน , สื่อสารมวลชน ) อาทิ เช่น  นายประสงค์ ,นายทวีวัตร  ฯลฯ

๑.๑.๒ ภาคนโยบาย (ราชการ/การเมือง) ตัวแทนส่วนราชการ ( สสจ.: นางเบญจา ,พม. :นางพสธร,ท้องถิ่น,วัฒนธรรม : นางอารีย์ ,ศพส ๑๑ ชพ.: นางสุลักขณา และ ตัวแทน อบต. : นายประทีป )

๑.๑.๓  ภาควิชาการ ( ฝ่ายแผนยุทธศาสตร์ สสจ. :นางพิมพา / งานหลักประกันสุขภาพ : นางนวาริญ /เอกชน : นางกฤษณา / )

๒.การจัดการข้อมูล  ได้มีการจัดเก็บรวบรวมข้อมูลสถานการณ์สุขภาวะในพื้นที่เป้าหมาย  ๖ พื้นที่ และ การถอดบทเรียนกรณีศึกษา ( ต.นากระตาม: การจัดการกองทุนสุขภาพเชิงบูรณาการของท้องถิ่น, ต.ละแม : กองทุนทุนสุขภาพสร้างสุขภาวะ , เทศบาลหลังสวน : ศูนย์สุขภาพชุมชนสู่กองทุนสุขภาพ )

๓. การสื่อสารสาธารณะ  ได้ดำเนินการดังนี้

๓.๑  สื่อสารทางวิทยุชุมชน  ผ่านคลื่น  ๘๙.๐๐ วิทยุชุมชนละแม , ๙๓.๒๕ นากระตาม

๓.๒  จัดทำเว็บไซด์  " ประชาสังคมชุมพร "

๓.๓  จัดทำไวนิลประชาสัมพันธ์  โดยนำไปเสนองาน นวัตกรรมกองทุนสุขภาพเขต ๗ สุราษฎร์ธานี

๓.๔  การรณรงค์/ประชาสัมพันธ์  ผ่านการจัดเวทีเรียนรู้งานอื่น ๆ เช่น เวทีงานสร้างสุขภาวะ ๑๐ ตำบล , งานสภาองค์กรชุมชน ,งานสวัสดิการสังคมเชิงบูรณาการ , งาน ๓๐ ปี ศูนย์สุขภาพประชาชนภาคใต้  ฯลฯ

๔. การจัดเวทีสมัชชาสุขภาพระดับพื้นที่  ๕  อบต. / ๑  เทศบาล  มีการดำเนินการสองลักษณะ

๔.๑  การต่อยอดจากงานเดิมในพื้นที่  เช่น งานสร้างสุขภาวะเชิงพื้นที่  (โครงการพัฒนาชุมชนเป็นสุขที่ภาคใต้  ดับบ้านดับเมือง: เรียนรู้อยู่ดีที่ปากใต้) ซึ่งมีแหล่งเรียนรู้การสร้างสุขภาวะ และ แผนสุขภาวะ และ กลไกการสร้างสุขภาวะระดับตำบล  ได้ใช้กระบวนการสมัชชาไปผลักดันให้เกิดนโยบายสาธารณะ  เช่น  นำสู่แผนงานของ อบต. , แผนงานของกองทุนหลักประกัน , การจัดการความรู้ท้องถิ่น  เป็นต้น  ซึ่งดำเนินการในพื้นที่ ต.นากระตาม,ต.ละแม,ต.สวนแตง,ต.ตะโก

๔.๒  การเสริมหนุนด้วยเครื่องมือใหม่ " แผนที่ยุทธศาสตร์ : การจัดการสุขภาพชุมชน " และ การจัดการความรู้ท้องถิ่น   โดยการบูรณาการงานกับ สสจ. งานหลักประกันสุขภาพ/งานการมีส่วนร่วม , สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ  เขต ๗  สุราษฎร์ธานี , งานสุขภาพภาคประชาชน  กระทรวงสาธารณสุข  ซึ่งดำเนินการในพื้นที่  ต.นากระตาม  และ เทศบาลเมืองหลังสวน

*  การเสนอแผนความร่วมมือการจัดการสุขภาพของท้องถิ่น  ไม่สามารถดำเนินการได้ด้วยเหตุเพราะเงื่อนไขการเลือกตั้งของท้องถิ่น

๕.  การประชุมคณะทำงาน / เครือข่ายสุขภาพ   ได้จัดให้มีการประชุมและมีเวทีเรียนรู้  โดยประสานความร่วมมือกับงานอืน คือ งานสร้างสุขภาวะเชิงพื้นที่ และ งานหลักประกันสุขภาพ และ งานสร้างสังคมสุขภาวะที่มีหัวใจของความเป็นมนุษย์ และ งานรับฟังความคิดเห็นธรรมนูญสุขภาพ และ การจัดทำ mapping สุขภาวะ  ซึ่งได้ดำเนินให้เป็นเนื้อเดียวกัน  เฉลี่ยมีการประชุมคณะทำงานหรือเวทีระดับจังหวัด เดือนละสองครั้ง

๕.๑ เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ องค์ความรู้และวัฒนธรรมการทำงาน ระหว่างเครือข่ายประชาสังคม และ เจ้าหน้าที่ราชการโดยเฉพาะ บุคลากรสาธารณสุข และบุคลากรของท้องถิ่น

๕.๒ การสังเคราะห์ข้อมูลการจัดการสุขภาพ  ดำเนินการได้ไม่ดีมากนักด้วยเพราะ  ความไม่สมบูรณ์ของข้อมูลองค์ความรู้ ( ขาดรายละเอียด)

๕.๓ การออกแบบเวทีสมัชชาสุขภาพระดับจังหวัด  ในวันที่  ๑๖-๑๗  ตค. ๕๑  ณ ห้องประชุมศูนย์วิจัยพืชสวนชุมพร

# ปัจจัยของความสำเร็จ และอุปสรรคในการดำเนินงานโครงการ

  • ปัจจัยของความสำเร็จ

๑.การจัดกระบวนการเรียนรู้ ด้วยข้อมูลและองค์ความรู้  และการสื่อสารสาธารณะ

๒.การกำหนดเป้าหมายร่วม และยุทธศาสตร์ร่วม  ในการจัดการสุขภาพของท้องถิ่น

๓.ความร่วมมือระหว่างภาคประชาชน  ภาครัฐหรือภาคการเมือง  และภาคีที่เกี่ยวข้อง  โดยมีแผนสุขภาวะ หรือแผนความร่วมมือการจัดการสุขภาพ  และมีกลไกการดำเนินงานของท้องถิ่น

๔.ความสัมพันธ์และท่าทีในการทำงาน  ควรยึดหลักการ แสวงจุดร่วม  สงวนจุดต่าง"  ของแต่ละฝ่าย  และการใช้กระบวนการมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน

  • อุปสรรคหรือข้อจำกัดจากการดำเนินงานที่ผ่านมา

๑.การเลือกตั้งการเมืองท้องถิ่นในพื้นที่เป้าหมายปฏิบัติการ จึงเป็นข้อจำกัดต่อการจัดเวทีเรียนรู้หรือการเสนอ ข้อเสนอเชิงนโยบายต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

๒. การดำเนินการในช่วงปลายปีงบประมาณ  แต่ละหน่วยงาน/องค์กร  ต่างก็เร่งดำเนินงานตามภารกิจเดิมของแต่ละองค์กร

๓.  สถานการณ์และการเคลื่อนไหวทางการเมือง ( พันธมิตรเพื่อประชาธิปไตยฯ)  ด้วยเพราะแกนนำคณะทำงานฯ  ส่วนหนึ่งต้องไปขับเคลื่อนงานนี้จึงไม่ได้ทุมเทกับงานสมัชชามากนัก

๔. ทัศนติเชิงลบต่อกระบวนการพัฒนาหรือประสบการณ์เดิม  ของแกนนำบางส่วนที่ไม่เชื่อมั่น ต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคมหรือระบบโครงสร้างทางสังคมไทย

 # ผลที่เกิดขึ้น / บทเรียนหรือความรู้ที่ได้จากการดำเนินงานโครงการฯ

  • ๑. การได้เรียนรู้ ข้อมูล / เครื่องมือ / รูปแบบ ในการจัดการสุขภาพในมิติต่าง ๆ เช่น การทำ mapping สุขภาวะ ,การถอดบทเรียน ,การจัดการความรู้ , การจัดทำแผนที่ยุทธศาสตร์จัดการสุขภาพ,กองทุนสุขภาพ ,กองทุนสวัสดิการชุมชน เป็นต้น
  • ๒. ได้เกิดแลกเปลี่ยนเรียนรู้และเกิดทีมทำงานระหว่าง เครือข่ายประชาสังคม , จนท.สาธารณสุข , องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ( ได้คน ได้เพื่อนใหม่ )
  • ๓. การใช้กระบวนการสนทนาในการประชุมหรือจัดเวทีเรียนรู้ และ การสรุปบทเรียนการทำงาน
  • ๔. การออกแบบ/วางแผนการจัดเวทีเรียนรู้ หรือ กระบวนการสมัชชา
  • ๕. เรียนรู้กระบวนการจัดทำนโยบายสาธารณะ และ การผลักดันนโยบาย

 #  แผนงานที่จะดำเนินการต่อไป

  • ๑. การจัดเวทีสมัชชาสุขภาพจังหวัด ( เดือนตุลาคม)
  • ๒. การจัดทำ mapping สุขภาวะ และ รับฟังความคิดเห็น ข้อเสนอประเด็นงานสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ๑๔ ประเด็น ( เดือนตุลาคม)
  • ๓. การผลักดันข้อเสนอเชิงนโยบายสู่การปฎิบัติ แก่ อปท. เช่น กองทุนหลักประกันสุขภาพ , กองทุนสวัสดิการชุมชน , แผนที่ยุทธศาสตร์ หรือ แผนสุขภาวะ ( เดือนตุลาคม - ธันวาคม )
  • ๔. การเสริมหนุนการขับเคลื่อนงาน ผ่าน กลไกการจัดการสุขภาพในท้องถิ่น ได้แก่ สภาองค์กรชุมชน , คณะทำงานตำบล , คณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ , เครือข่ายองค์กรชุมชน ฯลฯ
  • ๕. การหนุนเสริมการจัดการสุขภาพในท้องถิ่นแก่เครือข่ายต่าง ๆ ให้เกิดแผนงาน/โครงการ ผ่านช่องทาง กระบวนการสมัชชาสุขภาพ ( เชิงประเด็นและเชิงพื้นที่) และการเสริมสร้างสุขภาพ ของ สสส. หรือ หน่วยงานอื่น ๆ ที่สนับสนุนงานพื้นที่ เช่น สกว.

 #  ข้อเสนอแนะต่อ สช.

  • ๑. ควรเร่งรณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ หน่วยงานราชการ อื่น ๆ ได้รับรู้และเข้าใจกระบวนการสมัชชา และ สช. และ พรบ.สุขภาพ
  • ๒. สนับสนุนสื่อสารสนเทศ ให้แก่พื้นที่และเครือข่ายสุขภาพเพื่อการเผยแพร่อย่างเพียงพอ
คำสำคัญ (Tags): #social chumphon
หมายเลขบันทึก: 212436เขียนเมื่อ 28 กันยายน 2008 13:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 07:30 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท