เป็น “ผู้นำ” หรือ “ผู้บริหาร”


ความเหมือนที่แตกต่างของคำว่าผู้นำกับผู้บริหาร น่าสนใจมาก

เป็น ผู้นำหรือ ผู้บริหาร

Leader or Manager

รศ. สุเทพ   พงศ์ศรีวัฒน์

http://suthep.ricr.ac.th 

Managers, on the other hand, fall back on their

role power to achieve productivity.

Maxwell : 1998

 

 

                        แม้ในภาษาอังกฤษคำว่า “leadership” (ภาวะผู้นำหรือการเป็นผู้นำ) กับคำว่า “management” (การบริหารจัดการ) มักพบว่าสามารถใช้แทนกันได้ก็ตาม แต่โดยสาระในแง่กระบวนการและแนวคิดแล้วแท้จริงมีความแตกต่างกัน กล่าวคือ เมื่อพูดถึงการบริหารจัดการ ก็มักมองถึงการดำเนินการตามหน้าที่หลัก (functions) ซึ่งเป็นกลไกปกติขององค์การ เช่น การวางแผน (planning) การจัดองค์การ (organizing)  การอำนวยการ (directing) และการกำกับควบคุม (controlling) ในขณะที่ภาวะผู้นำหรือการเป็นผู้นำ เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล (interpersonal aspects) โดยเฉพาะในยุคปัจจุบันถือว่า ภาวะผู้นำหรือการเป็นผู้นำเกี่ยวข้องกับเรื่องความเปลี่ยนแปลง (change) การสร้างแรงดลใจ (inspiration) การสร้างแรงจูงใจ (motivation) และการใช้อำนาจเชิงอิทธิพล (influence) เป็นต้น

                        ก่อนที่จะอ่านรายละเอียดถึงที่มาและความสำคัญของคำทั้งสอง ขอให้ผู้อ่านได้ตรวจสอบตนเอง โดยทำแบบวัดความเป็นผู้นำและผู้บริหาร (Leader/Manager Inventory) ต่อไปนี้

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

คำอธิบาย :      แบบทดสอบนี้มีจำนวน 10 ข้อ ในแต่ละข้อมี 2 ตัวเลือก คือ a กับ b ขอให้ท่านเลือก

                        เพียง 1 ตัวเลือกที่ตรงกับพฤติกรรมขณะนี้ของท่านมากที่สุด

1 a. มุ่งทำงานให้สำเร็จ                                  

2 a. รวบรวมความคิดตนเองแล้วฟังผู้อื่น      

 

3 a. หลีกเลี่ยงหรือลดความเสี่ยงให้น้อยที่สุด

4 a. ไม่ยอมอดทนรอ ถ้าเป็นความคืบหน้า

       เร่งด่วน                                                   

5 a. ให้ความใส่ใจต่องานมากขึ้น                  

 

6 a. กังวลต่องานที่ไม่อาจทำสำเร็จได้           

7 a. เก็บความตื่นเต้นเกี่ยวกับงานไว้ในใจ     

 

8 a. สร้างเหตุการณ์ตื่นเต้นผจญภัย                 

9 a. เก็บทัศนะ / ความเห็นไว้ในใจ                

 

10. a สร้างความแปลกใจต่อผู้อื่นบ่อย ๆ        

1 b. ตั้งคำถามว่าเป็นงานที่ถูกต้องไหม          

2 b. ฟังความคิดคนอื่นอย่างตั้งใจแล้ว

        เลือกความคิดหนึ่งที่ตนเห็นตาม            

3 b. พร้อมที่จะเสี่ยง                                       

4 b. สร้างความคืบหน้าสู่เป้าหมายอย่าง

        มั่นคง                                                     

5 b. ให้ความใส่ใจความสัมพันธ์กับคน

        มากขึ้น                                                    

6 b. ภูมิใจต่องานที่ทำได้สำเร็จแล้ว               

7 b. แสดงความตื่นเต้นเกี่ยวกับงานออก

       นอกหน้า                                                

8 b. สร้างแผนเพื่อใช้ควบคุมเหตุการณ์        

9 b. ยอมเสียเวลาชักชวนคนอื่นมา

        คล้อยตามความเห็น                               

10 b.ไม่ค่อยสร้างความแปลกใจให้ใครเห็น  

 

 

(หมายเหตุ : ขอให้ตรวจสอบการแปลผลของคะแนนในท้ายบทความต่อไปเมื่ออ่านจบ)

 

                        โดยปกติคนที่อยู่ในองค์การจะแสดงบทบาทใดบทบาทหนึ่งในสามบทบาทที่สำคัญต่อไปนี้คือ 1) บทบาทเป็นผู้ผลิต (producer) 2) บทบาทเป็นผู้บริหาร (manager) 3) บทบาทเป็นผู้นำ (leader) แต่ละบทบาทล้วนจำเป็นต่อความสำเร็จขององค์การทั้งสิ้น

                        กล่าวคือ ถ้าไม่มีผู้ผลิต ก็มิอาจทำให้ความคิดดี ๆ และการตัดสินใจที่สำคัญลงสู่การปฏิบัติได้ พูดง่าย ๆ คือ งานที่รับผิดชอบจะไม่สำเร็จ ถ้าไม่มีผู้บริหารบ้าง ผลก็คือจะเกิดความขัดแย้งด้านบทบาทหน้าที่ของผู้ทำงานเนื่องจากขาดความชัดเจน ผลคือ ทุกคนพยายามแย่งกันเป็นผู้ผลิต ต่างคนต่างทำงานแยกอิสระจากกัน แทบไม่มีระบบและขั้นตอนการทำงานที่ดี แต่กรณีถ้าขาดผู้นำ ก็จะขาดวิสัยทัศน์ และทิศทางของการทำงาน ส่งผลให้คนค่อยๆเบี่ยงเบนไปจากภารกิจที่ต้องรับผิดชอบในที่สุด

                        แม้แต่ละบทบาทต่างมีความสำคัญต่อองค์การก็ตาม แต่บทบาทที่มีความสำคัญที่สุดก็คือ ผู้นำ โดยเฉพาะถ้าขาดผู้นำกลยุทธ์ (strategic leadership) ก็เชื่อได้ว่าเหมือนผู้คนที่ร่วมเดินป่าเพื่อจะเดินทางกลับให้ถึงบ้านในตอนเย็น ก็คงหลงวนเวียนอยู่ในป่านั่นเอง เพราะขาดผู้นำทาง ขาดผู้กำหนดวิธีการเดินทาง รวมทั้งขาดคนปลอบประโลมให้กำลังใจยามท้อแท้ให้หันกลับมาสู้เอาชนะอุปสรรคจนบรรลุเป้าหมายได้ในที่สุด

                        จึงกล่าวได้ว่า บทบาทของผู้นำมีความสำคัญมากในการสร้างความต่อเนื่องไปสู่ความสำเร็จโดยการเป็นผู้นำ (leadership) จะเกี่ยวกับเรื่องกำหนดทิศทาง (direction) คอยช่วยให้ทุกคนมั่นใจว่า การเดินป่าครั้งนี้ไม่มีใครหลงทางอย่างแน่นอน ในขณะที่การบริหาร (management) เกี่ยวข้องกับความเร็ว (speed) ในการเดินทาง ผู้อ่านลองจินตนาการดูว่า คนเดินป่าที่เดินได้รวดเร็ว แต่ไม่รู้ทิศทางจะเป็นอย่างไร ในองค์การนั้น การเป็นผู้นำหรือภาวะผู้นำจึงเกี่ยวกับเรื่องวิสัยทัศน์ (vision) และการทำให้พันธกิจ (mission) มีความชัดเจนไม่ถูกละเลย หรือเบี่ยงเบนไปโดยผู้ปฏิบัติงาน นั่นคือ สามารถบรรลุผล (result) หรือความมีประสิทธิผล (effectiveness) นั่นเอง ส่วนการบริหารจัดการเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการจัดโครงสร้าง (structure) และระบบ (system) เพื่อช่วยให้บรรลุผลที่ดีหรือมีประสิทธิภาพ (efficiency) โดยเน้นเรื่องการวิเคราะห์ต้นทุนกำไร (cost-benefit analysis) นโยบาย ขั้นตอนวิธีการ และการใช้หลักเหตุผลเชิงตรรกวิทยา เป็นต้น ภาวะผู้นำจะยึดการมองเกณฑ์ที่สูงสุด (top line) ในขณะที่การบริหารจัดการมองที่เส้นเกณฑ์ที่ต่ำสุด (bottom line) ในการทำงาน ภาวะผู้นำได้รับอำนาจ (ในลักษณะการมีอิทธิพล) มาจากการที่ตนประพฤติดีประพฤติชอบ มีหลักการและค่านิยมที่ดีในการปฏิบัติงาน ส่วนการบริหารจัดการได้อำนาจมากับตำแหน่ง หน้าที่รับผิดชอบให้ปฏิบัติงานเกิดผลผลิตได้ตามเกณฑ์ขั้นต่ำที่องค์การกำหนด

                        อย่างไรก็ตามการบริหารจัดการกับภาวะผู้นำมิอาจแยกจากกันได้ และโดยข้อเท็จจริงอาจพูดได้ว่า ภาวะผู้นำเป็นองค์ประกอบสูงสุดของงานบริหาร นอกจากนี้ภาวะผู้นำเอง ยังสามารถแยกออกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการสร้างวิสัยทัศน์ (vision) การกำหนดทิศทาง (direction) ค่านิยม (values) และ วัตถุประสงค์ (purposes) กับอีกส่วนหนึ่งที่เกี่ยวกับการทำให้เกิดแรงดลใจ (inspiriting) และการจูงใจ (motivating) ให้คนทำงานตามวิสัยทัศน์และวัตถุประสงค์ร่วมกัน แต่บางครั้งมักพบว่าผู้นำบางคนมีวิสัยทัศน์ดีแต่ขาดความสามารถในการสร้างทีมงาน ในขณะที่ผู้นำอีกคนอาจเก่งการสร้างแรงดลใจผู้อื่นและสร้างทีมงานแต่ขาดวิสัยทัศน์

                        ในฐานะผู้สร้างทีมงาน ผู้นำต้องพยายามลดแรงเสียดทานที่ขัดขวางการทำงานแบบทีม โดยต้องยอมรับว่า สิ่งที่ช่วยเสริมเติมเต็มความแข็งแกร่งเพิ่มให้กับทีมคือ การที่มีความแตกต่าง (diversity) อยู่ในทีม ดังนั้นผู้นำต้องเลิกความคิดที่จะทำให้ทุกคนในทีมเหมือนกันซึ่งคิดคล้ายวิธีการโคลนนิ่งคน (clone people) ทั้งนี้ตราบเท่าที่ทุกคนมีเป้าหมายเดียวกัน ก็ไม่มีความจำเป็นใดเลยที่ทุกคนต้องมีบทบาทอย่างเดียวกัน เพราะเมื่อสมาชิกทีมงานต่างให้ความยอมรับนับถือต่อกันแล้ว ความแตกต่างของแต่ละคนจะกลายเป็นพลังเสริมเพิ่มจากปกติที่เรียกว่า “synergy” หรือ การประสานพลังย่อมเพิ่มความแข็งแกร่งและเพิ่มผลงานมากยิ่งขึ้น ความแตกต่างจึงเป็นจุดแข็งแทนที่จะเป็นจุดอ่อน

                        หน้าที่แรกของผู้นำก็คือ การทำให้สมาชิกแต่ละคนให้การยอมรับนับถือต่อกัน และสร้างเสริมทีมงานให้ใช้จุดแข็งมาเพิ่มผลผลิตพร้อมกับช่วยขจัดจุดอ่อนที่มีให้หมดไป ในขณะที่   บทบาทผู้บริหารจะมุ่งทำเพียงการยกระดับการทำงานของสมาชิกที่เป็นผู้ผลิตหรือผู้ปฏิบัติให้มีผลงานมากขึ้น ส่วนผู้ผลิตมีบทบาทคือ ก้มหน้าลงมือทำงานและแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นเท่าที่จำเป็นเพื่อให้เกิดผลงานขึ้นเท่านั้น มีประเด็นน่าศึกษาในเรื่องนี้ก็คือ ความสอดคล้องระหว่างคนกับงานเมื่อพิจารณาจากบทบาท 3 แบบที่กล่าวมาแล้ว ควรเป็นเช่นไร เช่น บางคนที่ดำรงตำแหน่งงานที่ใช้   บทบาทของผู้ผลิตน้อย ต้องการบทบาทของผู้บริหารจัดการสูง และต้องใช้บทบาทด้านภาวะผู้นำน้อยเช่นกัน กรณีเช่นนี้ถ้าบุคคลผู้นี้มีบทบาทเด่นเฉพาะตัว (personal style) คือสามารถเป็นนักผลิตตัวยงมากกว่าที่จะเป็นผู้บริหารและผู้นำแล้ว อาจคาดเดาได้ว่างานที่ต้องรับผิดชอบจะสร้างภาวะ   อึดอัดใจแก่ผู้นั้น เนื่องจากถูกวิพากวิจารณ์จากเพื่อนร่วมงานและหัวหน้าในฐานะที่ไม่สามารถสร้างผลงานได้ตามที่คาดหมายขององค์การ

                        อย่างไรก็ดีคอตเตอร์ (Kotter, 1966) ปรมาจารย์ด้านภาวะผู้นำเชื่อว่า ผู้เป็นหัวหน้าหน่วยงานจำเป็นต้องรอบรู้ทั้งด้านการบริหารจัดการ (management) ควบคู่ไปกับการมีภาวะผู้นำ (leadership) เพราะต่างก็มีความสำคัญและจำเป็นต่อองค์การ โดยที่การบริหารจัดการที่ดีจะช่วยให้องค์การสามารถตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้า ต่อผู้ถือหุ้นของบริษัท ต่อพนักงาน และบุคคลอื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ขณะเดียวกันองค์การก็จำเป็นต้องมีภาวะผู้นำที่เข้มแข็ง โดยเฉพาะในยุคแห่งการเปลี่ยนแปลงเพื่อทำหน้าที่ในการสร้างวิสัยทัศน์ สามารถกำหนดทิศทาง ค่านิยม และวัตถุประสงค์ขององค์การได้ดี พร้อมทั้งสามารถก่อให้เกิดแรงดลใจและแรงจูงใจขึ้นใน ตัวพนักงานให้มาทำงานร่วมกันอย่างมีชีวิตชีวาอีกด้วย เพื่อความชัดเจน คอตเตอร์ได้สรุปเปรียบเทียบข้อแตกต่างระหว่างการบริหารจัดการกับภาวะผู้นำ ดังภาพ ต่อไปนี้

  

 

                                                                  การบริหารจัดการ (management)                             ภาวะผู้นำ (leadership)

 

 

 


1.       การกำหนดทิศทาง :

(Direction)

·          การวางแผน การจัดงบประมาณ

·          มองที่เส้นเกณฑ์ต่ำสุด

หมายเลขบันทึก: 213947เขียนเมื่อ 4 ตุลาคม 2008 02:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 02:30 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท