ประเพณี...วิ่งควาย


ประเพณีวิ่งควาย เป็นประเพณีที่จัดเป็นประจำทุกปีในวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 11 ก่อนออกพรรษา 1 วัน เป็นประเพณีที่เป็นมรดกตกทอดมา แต่เก่าก่อน

การวิ่งควายมีเหตุผลเพื่อเป็นการทำขวัญควายและให้ควายได้พักผ่อน จากงานในท้องนา เพื่อให้สอดคล้องกับความเชื่อที่ว่า หากปีใดไม่มีการ วิ่งควายปีนั้นควายจะเป็นโรคระบาดกันมาก เพื่อแสดงรู้คุณต่อควายซึ่งเป็นสัตว์ที่จำเป็นในการประกอบอาชีพทำนา และเพื่อให้ชาวบ้านมาพบปะสังสรรค์กัน ส่วนใหญ่จัดงานในเขตเทศบาลเมืองชลบุรี และอำเภอบ้านบึง เดิมมีแต่คนใน ท้องถิ่นรู้จัก แต่ในปัจจุบันประเพณีวิ่งควายเป็นประเพณีประจำจังหวังชลบุรี ที่โด่งดังเป็นที่รู้จักกันไปทั่วทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ

          ในอดีตประเพณีวิ่งควาย เป็นประเพณีวิ่งควายที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อ ทางไสยศาสตร์ที่ว่า ถ้าควายของใครเจ็บป่วย เจ้าของควายควรจะนำควายของตน ไปบนกับเทพารักษ์ และเมื่อหายเป็นปกติแล้วจะต้องนำความมาวิ่งแก้บน ฉะนั้น ในปีต่อ ๆ มาชาวบ้านก็นำควายของตนมาวิ่งเพื่อป้องกันการเจ็บป่วยเสียแต่เนิ่น ๆ

          ส่วนความเชื่อในทางศาสนาพุทธนั้น เกิดจากการที่ชาวบ้านมาชุมนุมกัน ที่วัดใหญ่อินทาราม จังหวัด ชลบุรี เพื่อนำเครื่องกัณฑ์ใส่ควายเทียมเกียวนมาพักที่วัด เพื่อจะรอการติดกันเทศน์ในเทศกาลเทศน์มหาชาติ ขณะที่รอเด็กเลี้ยงควายต่างก็ นำควายของตนไปอาบน้ำที่สระบริเวณวัด เมื่อต่างคนต่างพาควายของตนไปก็เกิดมี  การประลองฝีเท้าควายเกิดขึ้น เพื่อทดสอบสุขภาพความแข็งแรงกัน การแข่งขันใน ระยะแรก ๆ จึงเป็นเพียงการบังคับควายขณะวิ่งในระยะที่กำหนดและห้ามตก จากหลังควาย ต่อมาจึงเชื่อว่าการวิ่งควายได้มีการพัฒนาขึ้นเรื่อย ๆ มีการวิ่งรอบตลาด เมื่อถึงเทศกาลก่อนออกพรรษา 1 วัน ชาวบ้านร้านตลาดต่างก็จะรอดูควายที่มาวิ่งมีการ ตกแต่งควาย ให้สวยงามและวิจิตรบรรจงมากขึ้นจนกลายเป็นประเพณีวิ่งควาย

           ส่วนขั้นตอนการวิ่งควายในปัจจุบันเจ้าของควาย จะตกแต่งควายอย่างงดงาม ด้วยผ้าแพรพรรณ ดอกไม้หลากสี ตัวเจ้าของควายก็แต่งตัวอย่างงดงามแปลกตา เช่น แต่งเป็นชาวเขา ชาวอินเดียแดงหรือตกแต่งด้วยเครื่องทองประดับเพชรเหมือนเจ้าชาย ในลิเก ละครที่แปลกตา แล้วนำควายมาวิ่งแข่งกัน โดยเจ้าของเป็นผู้ที่ขี่หลังควายไปด้วย ความ สนุกอยู่ที่ท่าทางวิ่งควายที่แปลกบางคนขี่ก็ลื่นไหลตกลงมาจากหลังควายและคนดู จำนวนมากจะส่งเสียงกันดังอย่างอื้ออึง และมีการเพิ่มประกวดสุขภาพควาย ประกวด การตกแต่งควายทั้งสวยงาม และตลกขบขัน

 มีการประกวดน้องนางบ้านนา ทำให้ ประเพณีวิ่งควายมีกิจกรรมมากขึ้น ชาวเกษตรกรรมต่างก็พอใจกัน พืชพันธุ์ธัญญาหาร ในไร่กำลังตกดอกออกรวง จึงคำนึงถึงสัตว์ เช่น วัว ควาย ที่ได้ใช้งานไถนาเป็นเวลา หลายเดือน ควรจะได้รับความสุขตามสภาพบ้าง จึงต่างตกแต่งวัว ควายของตนให้สวยงาม บรรดาเกษตรกรมีการสังสรรค์แลกเปลี่ยนความคิดเห็น ตลอดจนมีการประกวดความ
สมบูรณ์ของวัวและควายที่เลี้ยงกัน เหตุที่เลือกเอาวันนี้เพราะเป็นวันพระ ทุกคนจะต้อง หยุดงานไปวัดในวันพระ ประเพณีวิ่งควายไม่ใช่เรื่องไร้สาระเป็นเรื่องที่แฝงไว้ด้วย ความสามัคคีธรรม คนโบราณของเราเป็นคนที่ตระหนักในความกตัญญูกตเวทิตาคุณ และมีความเมตตาธรรมสูง เห็นวัวควายทำงานให้กับคน เป็นสัตว์ที่มีคุณแก่ชีวิตจึง สืบทอดประเพณีนี้ตลอดมา

ขอบคุณข้อมูลจาก MOOHIN.COM ครับ

ขอประชาสัมพันธ์เชิญชวนเลยนะครับ

งานวิ่งควายปีนี้ครับจะจัดขึ้นในวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 11 ซึ่งในปีนี้กำหนดจัดในวันที่ 12 และ 13 ตุลาคม 2551 ครั้งนี้เป็นครั้งที่ 137 แล้วครับ ซึ่งในปีนี้มีกิจกรรมน่าสนใจมากมายครับ ทั้งภาคกลางวันและกลางคืน เช่น การจำหน่ายและสาธิตขนมพื้นบ้านอาหารพื้นเมือง การแข่งขันกีฬาไทย การประกวดร้องเพลงร้องทุ่ง การแห่ขบวนเกวียนกัณฑ์ การประกวดน้องนางบ้านนา การประกวดสาว(เหลือ)น้อยบ้านนา และที่สำคัญคือการประกวดและแข่งขันวิ่งควายหลายประเภท

กิจกรรมภายในงานมีมากมาย อาทิเช่น

- การแข่งขันวิ่งควาย  รุ่นจิ๋ว  รุ่นเล็ก  รุ่นใหญ่
- การประกวดสุขภาพควาย ควายงาม พ่อพันธุ์ แม่พันธุ์
- การประกวดแต่งกายควาย ประเภทสวยงามและประเภทขบขัน
- กรแห่ริ้วขบวนเกวียนกัณฑ์ ขบวนคำขวัญจังหวัดชลบุรี  และขบวนอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยของแต่ละอำเภอ และหน่วยงานต่าง ๆ
- การประกวดน้องนางบ้านนา
- การแข่งขันกีฬาพื้นบ้านประเภทต่าง ๆ อาทิ การแข่งขันทายโจ๊ก  ปีนเสาน้ำมัน ตัดว่าวป่านคม ตะกร้อลอดบ่วง  ชดมวยไทย ยิงเป้าโดยหนังสติ๊ก
- การแข่งขันแกะหอยแมลงภู่

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

เทศบาลเมืองชลบุรี โทรศัพท์ 0 3828 - 5436 โทรสาร 0 3828 7035
สำนักงาน ททท. ภาคกลาง เขต 3 (ชลบุรี) โทรศัพท์ 0 3842 7667, 0 3842 8750

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 214525เขียนเมื่อ 7 ตุลาคม 2008 07:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 มิถุนายน 2012 18:01 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (26)

สวัสดีค่ะ

  • ครูอ้อย เคยดูในทีวี  แต่ยังไม่เคยไปดูจริงๆ  น่าสนใจมากเลยค่ะ  น่าจะสนุกกว่า  มาทาดอ  นะคะ
  • ใกล้จะถึงวันแล้วนี้  ครูอ้อยคงจะได้ดุภาพ ที่น่าสนุกด้วยนะคะ

จะรออ่าน รอชมภาพค่ะ

ขอบคุณค่ะ รักษาสุขภาพด้วยนะคะ

เดี๋ยวนำภาพมาฝากครับ พี่ครูอ้อย สนุกครับ มีการละเล่นเยอะเลยครับ

ขอบคุณครับ (แบบว่าได้รับค่าน้ำชามาประชาสัมพันธ์ (5 บาทเนี่ยนะ))

 

มีแผงกั้นคนแล้วจะมีการที่ควายเค้าวิ่งผิดลู่มาทางคนด้วยรึปล่าวคะน่ะ 

อยากทราบๆ พร้อมกับอยากไปดูเช่นกันค่ะ

คงมีโอกาสล่ะนะคะ  ( ฝันๆๆๆ จะไปเที่ยวอีกแล้วครูแอน คิคิคิ )

ขอบคุณค่ะ

ครับ คุณพี่มีบ้างเป็นบางครั้ แต่ถ้าตามแถวบ้านผม ที่ไม่ใช่ในเมืองก็จะมีบ่อย แต่สนุกดี ไม่ถึงกับอันตรายมากครับ เพราะควายไม่ได้เครียดเท่าไหร่

ขอบคุณครับ ที่แวะมาทักทายยามเช้า

ตามมาเที่ยวคะดูวิ่งควายคะ

ไม่สงสารคนแก่เลย

ตัวหนังสือน้องคนพลัดถิ่นเขียนตัวเล็กไปหน่อยพี่อ่านยาก

ขอบคุณคะ

อิอิ ทดสอบสายตาน่ะครับ ขอบคุณครับ พี่ประกาย เดี๋ยวปรับใหม่ครับ

บล็อกสวยดีมากน้อง มีความสุขมากมายนะ คิดถึง..

          เพื่อนผมเคยไปประกวด "ธิดาควาย" ครับ

                         เมื่อปี 2525

  • ประเพณีนี้จัดเพื่อให้ควายได้พักผ่อน
  • ได้สันทนาการ
  • แต่ถ้ามีการแข่งขัน  จะไม่ใช่การพักผ่อน
  • เพราะอะไรก็แล้วแต่ถ้ามีการแข่งขัน
  • ย่อมต้องการเอาชนะ
  • ก่อนจะชนะ  ต้องมีการซ้อมๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ
  • เพราะงั้นประเพณีนี้  จะดีใจกับควาย
  • หรือสงสารควายดีน้า...อิ  อิ..มองอีกมุม..

สวัสดีค่ะพี่เอ๊ะ

อิอิ ขี่ควายกันเหมือนขี่ม้าเลยนะค่ะ

น่าสนุกดีค่ะ..แต่ถ้าเห็นควายวิ่งแถวบ้าน

นาก้เผ่นเหมือนกันแหละค่ะ 5555+ กลัวๆๆ

คิดถึงค่ะ....รักษาสุขถาพด้วยเด้อจ้า

ขอบคุณครับ พี่อ๊อด สบายดีนะครับ คิดถึงพี่ๆจังเลย

แต่ก็ยินดีที่พี่ๆจะจบพร้อมกัน

ขอบคุณครับ ท่านรอง ธิดาควายนี่ สวยๆทั้งนั้นเลยนะครับ

โห ตั้งแต่ผมยังไม่เกิดเลย 2525

ผมก็สงสารควายเหมือนกันนะครับ คุณพี่ สีหน้าควายดูไม่ค่อยสู้ดีนักเวลามีการแข่งขัน คงจะบ่น ว่า โอย หนักอีกแล้ว ตรู อะไรประมาณนี้ อิอิ

ขอบใจจ๊า น้องนา สบายดีนะ

ขี่ควายก็ดี ขี่ม้าก็ดี ตกได้เหมือนกันหมดอ่ะ อิอิ

เจริญพร โยมคนพลัดถิ่น

ประเพณีประจำของแต่ละจังหวัด

เป็นภูมิปัญญาชาวบ้านอย่างหนึ่ง

ควรที่คนรุ่นต่อไปสืบสานให้คงอยู่

 

เจริญพร

ขอบพระคุณครับ

ประเพณีนี้เป็นประเพณีดั้งเดิมมานานแล้ว

สมควรที่ลูกหลานรุ่นใหม่ควรจะอนุรักษ์ครับ

 

  • พี่สงสารควาย
  • แต่ไม่รู้ว่าควายมันบ่นว่าอะไร  อิ  อิ
  • เพราะไม่ได้เป็นญาติกันกับควาย
  • แล้วน้องเอ๊ะรู้หรือเปล่า...
  • ว่ามันบ่นว่าไร
  • แต่ดู ท่า  จะไม่รู้  เพราะน้องเอ๊ะ เป็น เรือ
  • เนอะ....อิ อิ ๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ

ก๊ากๆๆๆๆๆๆขอบคุณครับ คุณพี่ แต่ผมเห็นรูปนี้แล้วควายดูมีความสุขนะครับ

  • งั้นของพี่ก็ดูเท่ไม่เบา
  • แย่งกันยื่นหน้าเก๊กหล่อ
  • ลองดูสายตาที่เว้าวอน....
  • ว่า...เอาพวกผมไปทำอะไรก็ได้  ผมทนได้...
  • แต่อย่าเอาผมไปฆ่าเลยนะครับ

 

                  

  • เหมือนได้ออกกำลังกาย
  • แล้วคุณควาย เขาจะสนุกมั๊ยเนี่ยะ
  • เจ๊เขี้ยว มนัญญา ช่วนมาดูประเพณีไทยๆ เจ้าค่ะ

ขอบคุณท่านพี่ทั้งสองครับ ก็น่าสงสารควายอยู่นะครับ

แหม คุณพี่เขี้ยวมาแนวเศร้าเลยนะครับ

- อิอิ ...อ่านบันทึก เรื่องบนเตียง ที่ คนพลัดถิ่น~natachoei(หน้าตาเฉย)นำมาลงไว้ แล้วอยู่ดีๆบันทึก มันหายไปเฉยเลย เห็นมะ ...อยู่ดีไม่ว่าดี ไปยุ่งเรื่องบนเตียงของเขา ฮิฮิ (ล้อ..เล่น) ขนาดบอกแล้วนะ ว่าเป็น FW..55

- จะมาเล่าเรื่องงานวิ่งควาย ให้ฟัง เนื่องจากพี่นัด เป็นคนแถวๆนั้นเหมือนกัน แต่อยู่ออกไปทางบ้านนอก หลังเขาโน่นนะ

- วิ่งควายเนี่ย มันจะจัดทุกตำบล ทุกอำเภอของจังหวัดชล เลยนะ ส่วนมากตามอำเภอต่างๆเขาก็จะจัดไม่ให้ตรงกับของตัวจังหวัดที่จัดยิ่งใหญ่กว่าที่อื่น สมัยก่อนเวลามีงานวิ่งควายจะค่อนข้างตื่นเต้นสำหรับเด็กบ้านนอกแบบพี่นัด ที่ตื่นเต้นเพราะ จะมีขนมมาขาย มีของเล่นมาขายเยอแยะ แล้วมีพวกเล่นกลต่างๆมาให้ดูด้วย เดี๋ยวนี้ไม่เคยไปเที่ยวงานวิ่งควายหลายปีแล้ว

อิอิ เหรอครับ

อ้าวคนบ้านเดียวกันนี่ครับ อิ

ผมเพิ่งจะไปมาเองครับ สนุกมากๆเลย ขอบคุณครับพี่นัด เรื่องการเมืองผมจะไม่ยุ่งแล้ว อยู่แบบเด็กๆดีกว่า อิอิ

น่าจะมีกติกา

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท