แผลที่เท้าของผู้ป่วยเบาหวาน โดย คุณมัณฑนา


ปลายประสาทเสื่อมเป็นสาเหตุหลักของการเกิดแผลที่เท้าของผู้ป่วยเบาหวาน

แผลที่เท้าของผู้ป่วยเบาหวาน พบร่วมกับ

1. peripheral neuropathy  alone           70 %

2. peripheral vascular disease  alone 15 %

3. พบneuropathy ร่วมกับ vascular        15 %

 

peripheral neuropathy (ปลายประสาทเสื่อม)

            เป็นสาเหตุหลักของการเกิดแผลที่เท้าของผู้ป่วยเบาหวาน เมื่อเส้นประสาทส่วนปลายเสื่อม จะเกิดผลต่อเท้าคือ

-          เส้นประสาทรับความรู้สึกเสื่อม (sensory neuropathy) ทำให้ผู้ป่วยชา ไม่รู้สึก ไม่สามารถรับรู้ความร้อน ความเย็น ของแหลมคม ตลอดจนแรงกดทับที่ผิดปกติ เช่นแรงบีบของรองเท้า เมื่อเกิดแผล ผู้ป่วยจะไม่รู้สึกเจ็บ

-          เส้นประสาทสั่งการเสื่อม (motor neuropathy) ทำให้กล้ามเนื้อในเท้าอ่อนแรง ฝ่อลีบ เกิดภาวะเท้าผิดรูป

-          เส้นประสาทอัตโนมัติเสื่อม (autonomic neuropathy) ทำให้การผลิตเหงื่อน้อยลง เกิดภาวะผิวแห้งแตก เป็นร่อง(Fissure)เกิดแผลได้ง่าย

                                                                                             

peripheral vascular disease (PVD)

          ไม่ใช่สาเหตุหลักของการเกิดแผล แต่เป็นตัวขัดขวางการหายของแผลจากการขาดเลือด

มีระดับ Oxygenในเนื้อเยื่อต่ำ การไหลเวียนเลือดบกพร่อง ทำให้อาหารและยาเข้าไม่ถึงแผล

 

peripheral neuropathy + vascular

            พบร่วกับแผลประมาณ 15%

 

ความเสี่ยงต่อการเกิดแผลจำแนกเป็น 4 ระดับ คือ

ระดับ 0 : ลักษณะเท้าปกติ คือไม่มีลักษณะนิ้วจิก นิ้วงอ (No Loss of Protective Sensation)

ระดับ 1 : กลุ่มเสี่ยง (risky Group) คือมีเท้าชา แต่ไม่มีนิ้วงอ นิ้วจิก (Loss Of Protective                                          Sensation),การไหลเวียนเลือดปกติ ,ไม่เคยมีประวัติแผลเบาหวานที่เท้า

ระดับ 2 : กลุ่มเสี่ยงสูง (High Risk) คือมีเท้าชา มีนิ้วงอ นิ้วจิก (LoPS +PathoBiomachanics) เท้าผิดรูป การเคลื่อนไหวของข้อลดลง เกิดตาปลา หรือมีการสูญเสียความรู้สึกร่วมกับการไหลเวียนของเลือดผิดปกติ (LoPS + Vasculopathy)

ระดับ 3 : กลุ่มความเสี่ยงสูงมาก (Very High RisK) คือ เคยมีแผลหรือถูกตัดขา

 

**การสูญเสียความรู้สึกในการป้องกันอันตรายของเท้า (LoPS) หมายถึงไม่สามารถรับรู้ 5.07 (10 gm.) Monofilament ตั้งแต่ 1 ตำแหน่ง ขึ้นไปใน 10 ตำแหน่ง คือ plantar surface of Toe 1-3-5 ,Metatarsal head 1-3-5,Mid foot medial-lateral , dorsal of foot.

 

หมายเลขบันทึก: 214811เขียนเมื่อ 7 ตุลาคม 2008 21:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:40 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท