ขอเชิญชมภาพยนตร์สารคดีสั้น ณ ห้องสมุดวิลเลียมวอรร์เรน


ภาพยนตร์สารคดีสั้น พื้นที่แห่ง"สาธารณะ ณ ห้องสมุดวิลเลียมวอรร์เรน

 

หอศิลป์บ้านจิม ทอมป์สัน ขอเชิญชมภาพยนตร์สารคดีสั้น พื้นที่แห่ง"สาธารณะ" ณ ห้องสมุดวิลเลียมวอรร์เรน อาคารเฮนรี่บี เลขที่ 6 ซอยเกษมาสันต์ 2 ถนนพระรามที่ 1 แขวงวังใหม่ ปทุมวัน กรุงเทพ ในวันอาทิตย์ที่ 19 ตุลาคม 2551 เวลา 14.00-15.00 และฉายซ้ำในวันจันทร์ที่ 20 ตุลาคม 2551 เวลา 18.00-19.00

กิจกรรมครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของเทศกาล Bangkok Design Festival

 

Program will be in only Thai

 

พื้นที่แห่ง สาธารณะ

 

แนวคิดเรื่องพื้นที่สาธารณะดูเหมือนเป็นที่ยอมรับและเข้าใจตรงกันว่ามีความจำเป็นต่อการดำรงอยู่ของชีวิตในเมือง แต่ความเข้าใจในเรื่องดังกล่าวเป็นเสมือนตาบอดคลำช้าง แต่ละฝ่ายต่างก็เข้าใจกันไปตามมุมมองของตนเอง อย่างไรก็ตาม พื้นที่กำเนิดมาจากคน พื้นที่สาธารณะในเมืองอย่างกรุงเทพแตกต่างจากเมืองอื่นๆเพราะเงื่อนไขในการกำเนิดและคลี่คลายของมันเอง นับแต่อดีตจนปัจจุบัน

 

ภาพยนตร์สั้นจำนวน 5 เรื่องจะเป็นการค้นหามุมมองใหม่เกี่ยวกับพื้นที่สาธารณะในกรุงเทพ กรุงเทพเป็นหนึ่งในเมืองที่มีผู้อยู่อาศัยที่ซับซ้อน หลายเผ่าพันธ์มากที่สุดในโลก คนเหล่านี้ผลิตและมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งของและพื้นที่แวดล้อมตัวเอง ทั้งจากความบังเอิญและจากกรอบวัฒนธรรม ปฏิสัมพันธ์นี้มีส่วนในการพัฒนาการ คลี่คลายสภาวะทางกายภาพของเมือง ในขนาดย่อยและขนาดใหญ่ ภาพยนตร์นับว่าเป็นสื่อที่เหมาะสมแก่การนำเสนอแนวคิดที่หลากหลายของพื้นที่สาธารณะในเมือง เนื่องจากเป็นสื่อที่กินพื้นที่และเวลาในตัวเอง เฉกเช่นเดียวกับเมืองที่เป็นพื้นที่รองรับเวลาแห่งกิจกรรม

 

เรื่องที่หนึ่ง กำเนิด

 

ถ้าความหมายของพื้นที่เกิดจากคน กรุงเพทก็แตกต่างจากเมืองอื่นๆในแง่ที่ถือกำเนิดจากสถานะการณ์เฉพาะตัว ต้นกำเนิดของพื้นที่สาธารณะในเมืองหลวงของเรามีความเป็นมาอย่างไร

 

เรื่องที่สอง ปฏิกิริยา

 

เรามีปฏิสัมพันธ์กับพื้นที่และสิ่งของตามสัญชาตญาณและตามวิถีวัฒนธรรม มาลองดูกันใกล้ๆว่าคนกรุงเทพทำตัวกลมกลืนและ/หรือขัดแย้งกับสภาพแวดล้อมของเมืองอย่างไร

 

เรื่องที่สาม ทัศนะเบื้องบนและล่าง

 

ชั้นของข้อมูลข่าวสารบนพื้นที่สาธารณะที่ทับซ้อนกัน ส่งผลให้การรับรู้เกี่ยวกับพื้นที่บริเวณเดียวกันของคนที่อยู่คนละ

ตำแหน่งแตกต่างกัน

 

เรื่องที่สี่ สาธารณะหรือส่วนตัว

 

พื้นที่ที่คนกลุ่มหนึ่งมองว่าสาธารณะแต่คนกลุ่มหนึ่งมองว่าเป็นพื้นที่ส่วนตัว อาณาบริเวณเหล่านี้เหลื่อมทับกันอย่างไร ตามมุมมองของคน

 

เรื่องที่ห้า สินค้าและพื้นที่

 

เมืองตะวันตกเป็นกายภาพและทัศนียวิทยา เมืองแบบญี่ปุ่นเป็นชุดของเหตุการณ์ เมืองกรุงเทพเป็นชุดของการแลกเปลี่ยน? พิจารณาแง่มุมของการแลกเปลี่ยนบนพื้นที่สาธารณะในระดับต่างๆ บนพื้นที่ต่างๆ

 

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร.  02 612 6741

อีเมล์ library@jimthompsonhouse.com

 

หมายเลขบันทึก: 215271เขียนเมื่อ 9 ตุลาคม 2008 16:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 มิถุนายน 2012 13:55 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

มีค่าใช้จ่าย ค่าลงทะเบียนหรือเปล่าครับ

งานนี้ไม่มีค่าใช้จ่ายค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท