ทบทวนเรียนรู้กับกลุ่มผู้เชี่ยวชาญสหสาขา : การสนทนากลุ่ม (Focus Group) ตอนที่ ๒)


"...ดังนั้น แม้เป็นก้าวย่างเล็กๆ แต่ก็สะท้อนการริเริ่มและฝ่าฟันความยุ่งยาก ที่น่าสนใจมากทีเดียว..."

             การออกแบบกระบวนการการวิจัยทำวิทยานิพนธ์ ให้มีมิติการปฏิสัมพันธ์ทางวิชาการแบบหลากหลายประสบการณ์  สามารถทำได้หลายเทคนิควิธี ซึ่ง  การจัดสนทนากลุ่ม หรือ การทำ Focus Group  ก็เป็นหนึ่งในวิธีการที่ดี 

             ผมได้มีส่วนในการควบคุมดูแลการทำวิจัยในสาขานี้ของนักศึกษา ก็เกิดความสนใจ  เพราะในแวดวงการวิจัยทางการศึกษา และการวิจัยทางเทคโนโลยีทางการศึกษา  ไม่ว่าจะในหรือต่างประเทศนั้น  มักมีข้อจำกัดที่จะออกแบบให้เกิดความเชื่อมโยงและเกิดการปฏิสัมพันธ์ทางวิชาการหลากหลาย  ที่สะท้อนความเป็นจริงของโลกที่ซับซ้อนมากขึ้น 

            ดังนั้น  การออกแบบกระบวนการอย่างผสมผสาน และสนับสนุนให้นักศึกษาทำวิจัยแบบนี้  จึงเป็นความก้าวหน้าแบบค่อยเป็นค่อยไปตามสภาพที่มีคนช่วยกันดูแลให้คนรุ่นใหม่สามารถริเริ่มและทำได้ ซึ่งจากข้อสังเกตของผม  คิดว่าก่อให้เกิดผลเชิงกระบวนการที่สำคัญ คือ

  • สร้างผู้นำทางวิชาการรุ่นใหม่ เป็นกระบวนการที่ได้มากกว่าการมุ่งสู่จุดหมายปลายทางที่ผลการวิจัย เพราะการปฏิสัมพันธ์กับกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ  ทั้งมีความทรงคุณวุฒิ  อาวุโส และมีประสบการณ์มากมาย  ทำให้นักศึกษาได้พัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการอย่างยิ่ง
  • ประมวลผลบทเรียนจากของจริง ก่อเกิดการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ของผู้เชี่ยวชาญหลายแหล่ง ซึ่งเป็นองค์ความรู้ผสมผสานทั้งทฤษฎีและประสบการณ์การปฏิบัติ   นอกตำรา  และเชื่อมโยงกับความเป็นจริงหลากหลายเงื่อนไข
  • ขับเคลื่อนชุมชนทางวิชาการ การค้นหากลุ่มผู้เชี่ยวชาญ และกระบวนการที่ดำเนินการขึ้น  เป็นกระบวนการทางสังคมในทางอ้อม   ที่ก่อให้เกดบรรยากาศการแลกเปลี่ยนเรียนรู้  สร้างเสริมเครือข่ายนักวิชาการในวิถีประชาสังคม  ภาวะผู้นำแบปัจเจก  ถักทอเสริมพลังทางปัญญา และก่อเกิดชุมชนทางวิชาการในแนวราบ   ทำให้การวิจัยของนักศึกษาเป็นการปฏิบัติการขับเคลื่อนทางสังคมไปในตัว

           อย่างไรก็ตาม  การพัฒนาการวิจัยทางเทคโนโลยีทางการศึกษา  ในลักษณะดังกล่าว  ถึงแม้จะมีความก้าวหน้าขึ้นเล็กน้อย  ทว่า ก็เป็นสิ่งที่ก่อเกิดได้ยาก  เพราะถึงแม้แนวคิดและการเห็นความจำเป็นต่างๆจะไปข้างหน้าแล้ว  แต่เพื่อความมั่นใจ  ก็ต้องคำนึงถึงแนวทางของกระแสหลัก อีกทั้งมักขาดคนที่จะช่วยกันดูแลและเป็นที่ปรึกษาในแนวทางดังกล่าวให้นักศึกษา 

          ดังนั้น  แม้เป็นก้าวย่างเล็กๆ  แต่ก็สะท้อนการริเริ่มและฝ่าฟันความยุ่งยาก ที่น่าสนใจมากทีเดียว.

หมายเลขบันทึก: 216460เขียนเมื่อ 14 ตุลาคม 2008 11:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 กันยายน 2013 08:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีค่ะอ.วิรัตน์

มาอ่านเพิ่มเติมความรู้ค่ะ

แม้เป็นก้าวย่างเล็กๆ ... แต่ความมั่นคงและจริงใจจากผู้รับผิดชอบและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง คงเป็นสิ่งที่ต้องปลูกฝังให้เกิดขึ้นก่อนอื่น

ขอบคุณที่แบ่งปันและจุดประกายความคิดดี ๆ ค่ะ

สวัสดีคุณ คนไม่มีราก ขอบคุณที่แวะเข้ามาเยือน คุณคนไม่มีรากเขียนหนังสือ และมีลีลาการเล่าเรื่องดี๊-ดี ภาษาสวย มุมมองดี ข้อสังเกตและบทสรุปดี หากมีเรื่องดีๆจากพื้นที่มาเล่าอีกก็อยากตามไปอ่านนะครับ

เลยลิ๊งค์ให้ไปแวะหาไอเดียเล่นนะครับ บล๊อกแรกเป็นของนักเขียนและคนทำงานทางศิลปะ อันที่จริงเป็นเพื่อนผมด้วย แต่เขาเป็นมืออาชีพกว่า ตอนนี้ 4-5 ปีมานี้ อีออกจากกรุงเทพฯแล้วใช้ชีวิต หาวัตถุดิบมาทำงาน ทั้งงานศิลปะและงานเขียน นี่ก็เขียนหนังสือดีมากเลย ดีจนไม่อยากเจอมันเพราะอยากอ่านที่เขาเขียนมากกว่า ลองไปดูนะครับ

http://www.oknation.net/blog/nilsamai/2008/09/29/entry-1

อีกบล๊อกหนึ่ง เป็นบล๊อกทางศิลปะ งานของคุณแม่ ศักดิ์สิริ มีสมสืบครับ

http://www.pohchang.org/webboard/index.php?topic=1653.0

อีกบล๊อกหนึ่งเป็นงานอ่านงานศิลปะ ของผมเอง ดูแล้วน่าจะเหมาะกับคุณคนไม่มีราก เลยนำมาฝาก

http://www.pohchang.org/webboard/index.php?topic=2358.0

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท