ชาวเอ๋ยชาวนา ทำไปทำมาจะเหลืออะไรหนอ?


       ตลอดระยะทางกว่า 320 ก.ม. จากศรีสะเกษ  ถึง อำเภอบ้านเขว้า ชัยภูมิ  ที่ครูวุฒิขับรถผ่านปีหนึ่งๆหลายครั้ง (เป็นเวลาอย่างน้อย 22 ปีมาแล้ว) โดยส่วนใหญ่ก็จะเป็นในระยะช่วงปิดภาคเรียนเดือนเมษายนและตุลาคม  ซึ่งจะเป็นระยะต้นฤดูการทำนา และต้นระยะการเก็บเกี่ยวข้าวพอดี

(ภาพบน) ความเสียหายของพี่น้องเกษตรกรแถวอำเภอชุมพลบุรี จ.สุรินทร์ เมื่อช่วงหว่านราวๆเดือนพฤษภาคมปีนี้ (เป็นผลพวงจากพายุนาร์กีส ที่ทำให้เกิดความเสียหายเป็นวงกว้างมาก) และเมื่อน้ำงวดในอีก 2 เดือนต่อมา พี่น้องชาวนาก็ลงมือหว่ารอบ 2 อีก  ทำให้ต้นทุนสูงมาก ค่าใช้จ่ายต่างๆตามมาอีกบาน

(ภาพบน) ความเสียหายจากฝนทิ้งช่วงนาน และชาวนาไม่มีระบบน้ำสำรองในไร่นา

(ถ่าย 16 ต.ค.51 ที่ อ.บ้านเขว้า ชัยภูมิ)

        ทุกครั้งที่ขับรถผ่าน  สิ่งที่จะอยู่ในสายตาและห้วงความสนใจของครูวุฒิตลอดก็คือไร่นาของพี่น้องเกษตรกร 2 ข้างทาง  ซึ่งก่อนนั้นจะเห็นพี่น้องชาวนาส่วนใหญ่ทำนาด้วยวิธีการปักดำ ทำให้เห็นมีข้าวงอกงามเต็มนาน่าชื่นใจตลอดฤดู  แต่ในระยะหลังๆประมาณ 5-6 ปีมานี้  จะเห็นพี่น้องชาวนาทำเป็นนาหว่านเป็นส่วนใหญ่  และสิ่งที่เห็นในความเป็นนาหว่านก็คือ "ความเปราะบางเสียหายง่าย" โดยเฉพาะในฤดูการผลิต 2551 นี้  เท่าที่ประเมินด้วยสายตาจะเห็นความเสียหายแบบสิ้นเชิงของการทำนาแบบเสี่ยงดวงของพี่น้องชาวนามากกว่าร้อยละ 15-20 ของพื้นที่  และเสียหายแบบไม่สิ้นเชิง(ได้บ้างไม่ได้บ้าง)กว่าร้อยละ 20-30 ของพื้นที่  ซึ่งถือว่าเป็นความเสียหายที่คิดเป็นมูลค่าไม่น้อยเลย  ยิ่งเมื่อเทียบกับการลงทุนที่สูงขึ้นทุกปีๆ  ก็ยิ่งจะเห็นสถานการณ์ความปราะบางทางเศรษฐกิจและสังคมของพี่น้องชาวนา  ที่เป็นทั้งเส้นเลือดใหญ่และกระดูกสันหลังของชาติ  นี่ยังไม่รวมถึงการดิ่งเหวของพืชผลทางการเกษตรอื่น ที่ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจ "แฮมเบอเกอร์ดีซีส" ของสหรัฐ

(ภาพบน) ความเสียหายอันเกิดจากการทำนาแบบมักง่าย  ไม่ใส่ใจ  (หว่านแล้วทิ้งให้ต้นข้าวเผชิญชะตากรรมกันเอาเอง) เมื่อฝนมาในช่วงท้ายฤดู ก็จะโกยปุ๋ยออกจากเมืองมาดั๊มลง (คนขายปุ๋ยรวยลูกเดียว)

(ภาพบน)  ความเสียหายอันเกิดจากการทำนาโดยปราศจากความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับข้าว (ปักดำด้วยต้นกล้าที่แก่เกินไป ใส่ปุ๋ยไว้ให้หญ้า เพราะข้าวหมดแรงกินไปก่อน)

***************

         จากภาพที่นำมาลงไว้  แสดงให้เห็นถึงความเปราะบางของระบบเศรษฐกิจของชาวนา  ที่ปัจจุบันทำนาด้วยทุนที่สูงขึ้น  แต่เปราะบางเสียหายได้ง่ายกว่าสมัยก่อน  จึงเป็นความเสียหายแบบยกกำลัง 2  นั่นหมายความว่าชาวนามีโอกาสสูญเสียทีทำกินเร็วขึ้นกว่าเดิมอย่างน้อย 2 เท่า

***************

หมายเลขบันทึก: 217354เขียนเมื่อ 18 ตุลาคม 2008 14:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:43 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

สวัสดึ คะ ครูวุฒิ ( ท่าน ผอ.เปล่าวเนี่ย )

แถวบ้านน้ำท่วมหมดเลย

เศร้า เนอะ

สวัสดีครับคุณครู P  Dialactic

  • ครับ เรียกครูวุฒิเถอะครับ
  • ขอบคุณที่แวะมานะครับ
  • ผมว่าเรื่องไร่นาเสียหายเนี่ย เป็นเรื่องเศร้ามากๆเลยนะ  เพราะมันคือความหวังหลักแลสำคัญที่สุดของพี่น้องชาวนาเลยล่ะ (ผมว่าน่ายิ่งกว่าครูโดนลงโทษตัดเงินเดือน 5 ขั้นอีกนะน่ะ)
  • และผมว่าถ้าพี่น้องชาวนาทำนาได้ผลดีเกินกว่า 80 %  ในทุกปี เศรษฐกิจไทยไปโลดแน่ การศึกษาของโคกเพชรจึงเน้นการแก้ปัญหาในเรื่องนี้เป็นหลักครับ
  • ผมแวะไปเยี่ยมที่บล๊อกแบบแว๊บๆแล้ว  แต่ยังไม่ได้เม้นท์  ไว้โอกาสดีๆ จะร่วมแจมน้ะ
  • อย่าลืมแวะมาอีกล่ะ
  • สวัสดีครับ

สวัสดีครับ อาจารย์

  • มาเป็นกำลังใจซึ่งกันและกัน
  • ค้นความคิด..ชีวิตที่พอเพียง  กันต่อไปครับ

ชีวิตที่พอเพียง  เศรษฐกิจไทยไปโลดแน่ ค่ะ

สวัสดีครับ

ปลายเดือนที่แล้ว เดินทางไปอีสาน หลายแห่งน้ำท่วมที่นาเยอะพอดูครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท