เล่าสู่กันฟัง..แนวทางการพัฒนาโรงเรียนในฝันรุ่นที่ 2


" แนวทางการพัฒนาโรงเรียนในฝันรุ่นที่ 2 เพื่อรองรับการตรวจเยี่ยม "

ต่อจากบันทึกที่แล้ว บันทึกนี้คงเป็นแนวทางและกรณีตัวอย่างที่จะพัฒนาโรงเรียนเพื่อไปสู่ความเป็นต้นแบบโรงเรียนในฝันซึ่งผมมีโอกาสได้ไปเยี่ยมเยียนและนิเทศมา ก็เลยอยากนำมาเขียนเพื่อเล่าสู่กันฟัง

ตัวอย่างที่ 1 เป็นโรงเรียน ตั้งอยู่บนยอดดอยแม่สลอง ชื่อว่าโรงเรียนบ้านห้วยผึ้ง อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย เป็นโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา มีนักเรียนประมาณ 1,100 คนเศษซึ่งเป็นเด็กชนเผ่า ร้อยเปอร์เซนต์ วันที่ผมเข้านิเทศอยากจะบอกว่าโรงเรียนนนี้คงต้องเหนื่อยกันอีกมากกว่าจะเป็นต้นแบบในฝันได้ ท่านผู้บริหารก็เพิ่งย้ายมาใหม่ยังไม่เข้าใจว่าโรงเรียนในฝันจะต้องทำอย่างไร...???? ผมก็ได้เสนอแนะไว้หลายเรื่องด้วยกัน และสิ่งสำคัญก็คือท่านอยากพัฒนาโรงเรียนของท่านอย่างไรก็ไม่ต้องยึดติดกับกรอบหรือทำตามโรงเรียนอื่น และโรงเรียนนี้อยู่บนดอยคงจะยากที่จะมีภาคีเครือข่ายอุปถัมภ์ทำอย่างไรจะให้ชาวบ้านมามีส่วนร่วมในการพัฒนาโรงเรียนโดยให้เขาได้เป็นเจ้าภาพห้องเรียนต่าง ๆ หมู่บ้านละห้อง มันก็จะพอมองเห็นทางพัฒนาได้ .....หลังจากนั้นอีกไม่นานผมก็ได้ทราบข่าวว่าโรงเรียนพัฒนาโดยใช้วิธีการให้ชาวบ้านมามีส่วนร่วมและก็ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดียิ่ง ก็คงคิดว่าอีกไม่นานเราคงจะได้เห็นโรงเรียนนี้ได้รับการตรวจเยี่ยมเพื่อรับรองเป็นต้นแบบในฝัน...ขอให้กำลังใจนะครับ...ผมเชื่อว่าท่านทำได้...เพราะบุคลากรที่นั่นมีแต่ครูหนุ่มสาวทั้งนั้น และมีเครื่องคอมพิวเตอร์โน็ตบุคส่วนตัวกันทุกคน...(พูดแบบนี้ไม่ได้หมายความว่าคนสูงอายุไม่มีความสามารถนะครับแต่คนหนุ่มสาวต้องทำงานหนักกว่าคนสูงอายุจะได้มีประสบการณ์ไล่ตามคนสูงอายุได้ทัน)

ตัวอย่างที่ 2 ก็เป็นโรงเรียนเล็ก ๆชื่อว่าโรงเรียนบ้านยางเมือง ตั้งอยู่กลางท้องนาในอำเภอคีรีมาศ จ.สุโขทัย เป็นโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษามีนักเรียนประมาณ 200 คน มีผู้บริหารเป็นสุภาพสตรี วันที่ผมไปถึงโรงเรียนนี้ผมสัมผัสความเป็นโรงเรียนในฝันได้ตั้งแต่รถยนต์ที่พาเราไปวิ่งไปถึงเขตโรงเรียน ซึ่งเห็นรั้วโรงเรียนเพิ่งสร้างเสร็จทาสีสวยงามและที่สำคัญก็คือมีชื่อผู้บริจาคติดไว้ทุกช่องรั้ว พอรถยนต์ไปจอดก็มีนักเรียนมาต้อนรับประมาณ 4-5 คน ครั้งแรกผมนึกว่าเขาคงไปยืมนักเรียนโรงเรียนเอกชนที่ไหนมาต้อนรับเพราะชุดนักเรียนเขาเปลี่ยนเป็นชุดนักเรียนแบบโรงเรียนเอกชนในกรุงเทพฯ ก็เลยต้องแอบถามว่าทำไมต้องเปลี่ยนเครื่องแบบนักเรียนและเปลี่ยนตั้งแต่เมื่อไหร่ ก็ได้รับคำตอบว่าเปลี่ยนเมื่อเข้าสู่โรงเรียนในฝันรุ่นที่ 2 ก็เพื่อต้องการให้เกิดความรู้สึกทางด้านจิตวิทยาว่านักเรียนที่นี่ต้องมีบุคลิกที่ดี (ก็ไม่ได้บอกว่าทุกโรงเรียนต้องทำตามนะครับ) ก็บอกแล้วว่าโรงเรียนในฝันที่จะพัฒนานั้นท่านสามารถทำได้ทุกรูปแบบถ้าทำแล้วดีขึ้น....พอผมได้เดินเยี่ยมชมบรรยากาศและแหล่งเรียนรู้ทุกห้องเรียนก็พบว่า ห้องเรียนได้รับการพัฒนาทุกห้องมีเครื่องคอมพิวเตอร์ติดตั้งไว้เพื่อให้ครูและนักเรียนได้ใช้ประโยชน์ทุกห้องโดยได้รับความอุปการะจากชุมชน....มีอาคารห้องสมุดขนาดใหญ่ที่ได้รับการบริจาคจากชุมชน.....มีถนนคอนกรีตภายในโรงเรียนที่เพิ่งได้มาซึ่งผมชอบวิธีการได้มาก็คือ ผู้ปกครองนักเรียนช่วยเหลือกันโดยบริจาคข้าวเปลือกที่เขามีอยู่จากผลิตผลการเกษตรคนละ 5 ถังโรงเรียนก็นำมาเปลี่ยนเป็นงบประมาณเพื่อสร้างถนน...ผมก็เลยเสนอแนะกับชุมชนซึ่งนำโดยท่านกำนันที่มานั่งร่วมฟังการนิเทศด้วยว่า ควรตั้งชื่อถนนนี้ว่า " ถนนข้าวเปลือก " เพื่อให้เป็นเกียรติประวัติของถนนเส้นนี้...ก็ขอให้กำลังใจท่านผู้บริหารและครูทุกท่านที่ช่วยกันสร้างสรรโรงเรียนดีดีขึ้นในชุมชนที่ห่างไกลเมืองมาก ๆ เพื่อเยาวชนของชาติ และคิดว่าโรงเรียนนี้คงจะขอรับการตรวจเยี่ยมเพื่อรับรองต้นแบบในฝันในไม่ช้านี้...

ตัวอย่างที่ 3 เป็นโรงเรียนประถมศึกษาขนาดกลาง ๆ มีนักเรียนประมาณ 500 คนตั้งอยู่ในตัวอำเภอไม่อยากจะบอกชื่อโรงเรียน เนื่องจากพอผมและคณะไปถึงโรงเรียนก็พบกับท่านผู้บริหารโรงเรียน ซึ่งท่านก็บอกรายละเอียดเหมือนจะให้เรารู้ว่าโรงเรียนนี้ไม่จำเป็นต้องมานิเทศหรอก เขามีอะไรทุกอย่างดีอยู่แล้วเป็นโรงเรียนที่มีโครงการดี ๆ เข้ามาอยู่ในโรงเรียนทั้งหมดเช่น

1.โรงเรียนปฐมวัยต้นแบบ
2.โรงเรียนคุณธรรมชั้นนำ
3.โรงเรียน B.B.L
4.โรงเรียนวิถีพุทธ
5.อนุรักษ์ดนตรีไทยและวัฒนธรรมไทย
6.โรงเรียน Top  Star
7.โครงการทักษะอาชีพ
8.โครงการวิถีพุทธวิถีธรรมนำเศรษฐกิจพอเพียง
9.กิจกรรมชินบัญชร
10.โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับทอง
11.กิจกรรมตักบาตรประจำปีวันขึ้นปีใหม่
12.ศูนย์อีริคประจำอำเภอ
13.โครงการคณะกรรมการประจำห้องเรียน 

นักเรียนแถวนี้ไม่ไปเรียนที่ไหนหรอกต้องเข้ามาเรียนที่นี่ทั้งนั้น ผมก็เลยต้องนั่งอ้าปากค้างเพราะไม่รู้จะนิเทศอย่างไรเพราะผู้บริหารไม่ต้องการ การนิเทศ และก็เลยสมมุติตัวเอาเองว่าเกินความเป็นในฝันไปแล้ว...

จากทั้ง 3 ตัวอย่างที่นำมาเล่าให้ฟัง ท่านก็พิจารณาและเลือกเอาเองว่า โรงเรียนไหนน่าที่พัฒนาไปสู่ความเป็นต้นแบบโรงเรียนได้ดีและเร็วกว่ากัน.....โอกาสหน้าจะมาเล่าให้ฟังอีกนะครับ...มีอีกมากครับเรื่องที่ไปพบมา....สุดท้ายอยากจะสรุปว่า  โรงเรียนในฝัน  คือโรงเรียนที่มีการพัฒนาหรือการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นในทุก ๆเรื่อง คงไม่ใช่โรงเรียนที่มีโครงการมาก ๆ หรือโรงเรียนประจำจังหวัด.... เพราะเราต้องการสร้างโรงเรียนนอกเมืองในทุกอำเภอให้ดีเท่า หรือดีกว่าโรงเรียนในเมืองเพื่อ "สร้างโอกาสให้เด็กไทย " นั่นเอง.

หมายเลขบันทึก: 217518เขียนเมื่อ 19 ตุลาคม 2008 11:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:44 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (27)

ผมได้อ่านการตรวจเยี่ยมนิเทศโรงเรียนในโครงการโรงเรียนในฝันรุ่น 2 แล้ว รู้สึกว่ามีกำลังใจในการจะพัฒนาโรงเรียนผมซึ่งอยู่ในโครงการรุ่น 2 เหมือนกัน  แต่ก็แอบกังวลอยู่บ้างเพราะโรงเรียนผมยังต้องมีการพัฒนาทุกด้านอยู่มาก  และการสร้างความตระหนักให้กับบุคลากรทุกฝ่ายก็สำคัญอยู่ไม่ใช่น้อยซึ่งคงต้องใช้เวลาอยู่บ้าง  ผมอยากได้แนวทางหรือวิธีการในการพัฒนาด้านต่าง ๆ จากโรงเรียนต้นแบบมาศึกษาเพิ่มเติมบ้างเพื่อขยายผลในโรงเรียน  ให้บุคลากรในโรงเรียนได้มีกำลังใจบ้างว่าการพัฒนาเพื่อเข้าสู่โรงเรียนในฝันนั้นไม่ยากเกินกว่าความสามารถของทุกฝ่ายถ้ามีความตั้งใจจริง

ดีใจกับคุณ สถิตย์ ฟักฟูม ครับที่มีใจที่จะสร้างโรงเรียนดี ๆ ยังไงขอรายละเอียดเกี่ยวกับโรงเรียนท่านครับผมและทีมงานยินดีไปช่วยครับ

ผมอยู่โรงเรียนบ้านบุ่งคล้า อ.หล่มสัก จ.เพชรบูรณ์ครับ ที่ผมตัดสินใจส่งข้อความคุยกับท่านนั้นเพราะว่าด้วยความเป็นห่วง มีความกังวลว่าโรงเรียนผมดำเนินการพัฒนาเข้าสู่โรงเรียนในฝันช้ามาก (น่าเห็นใจผู้บริหาร) ที่คืบหน้าไปบ้างก็มีแต่ครูเข้ารับการอบรมตามโครงการโรงเรียนในฝัน ที่ผมอยากเห็นคือกระบวนการพัฒนาที่ส่งผลต่อพัฒนาการการเรียนรู้ของเด็กนักเรียนอย่างชัดเจนขึ้น ถึงแม้โรงเรียนผมจะได้รับการรับรองการประเมินมาตรฐานจาก สมศ.ก็ตามแต่ก็ติดปัญหาตรงผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ผลการสอบ nt ปี 50ต้องได้รับการเยียวยาหลายวิชา รับฟังปัญหาแล้วถ้าสามารถพัฒนาและยกระดับเป็นโรงเรียนในฝันได้คงเป็นบุญของเด็กบ้านบุ่งคล้านะครับ

ผมรู้จักโรงเรียนครูสถิตย์ดีครับ วันหลังผมจะแวะเข้าไปนะครับ

โรงเรียนบ้านโพนจาน เป็นอีกโรงเรียนหนึ่งที่กำลังพัฒนาโรงเรียนในสู่ในฝันรุ่นที่ 2 อยู่ที่ จ.นครพนม ค่ะ ซึ่งโรงเรียนของเราเตรียมการมานานแล้วเพราะต้องพัฒนาหลาย ๆ ด้านและยังขาดงบประมาณที่ต้องนำมาพัฒนาด้านสื่ออุปกรณ์โดยเฉพาะด้าน ICT และเทคโนโลยีต่าง ๆ แต่ที่น่าดีใจและภาคภูมิใจมากเพราะผู้บริหารคนเก่าที่ท่านเกษียณไปแล้ว คือท่านผอ.คำตา ราชมณี วางรากฐานไว้ดีมากค่ะ และคณะครูทุกท่านและผู้บริหารคนใหม่ท่าน ผอ.ดำรง ไชยศล ก็มีความพยายามที่จะทำให้โรงเรียนของเราเป็นโรงเรียนในฝันเพื่อเด็กในชุมชนนี้ โดยใช้งบประมาณที่มีค่อย ๆ ทำไป และได้รับความร่วมมือจากชุมชน ผู้ปกครองเป็นอย่างดีมาก ๆ ค่ะ เรามีชุมชนหมู่บ้านวัฒนธรรมชนเผ่าไทโส้ มีภาษาโส้สื่อสารในชุมชน ถึงแม้นักเรียนส่วนใหญ่จะเป็นเด็กนักเรียนด้อยโอกาสและยากจน แต่นักเรียนและคณะครูผู้บริหารและชุมชน ร่วมมือช่วยกันมันเป็นภาพที่น่าประทับใจมากค่ะ ถึงแม้งบประมาณจะมีน้อยและยังไม่พร้อมเตรียมรับประเมินในตอนนี้ก็ตามแค่นี้ก็ทำให้รุ้สึกดีมากเลยค่ะ ขณะนี้การพัฒนาสถานที่ปรับปรุงภูมิทัศน์ควบคู่กับการพัฒนานักเรียนทั้งด้านความรู้คู่คุณธรรม แต่ถึงอย่างไรก็ยังอดกังวลกันทั้งโรงเรียนไม่ได้ว่าเราทำอย่างไรถึงจะถูกต้องตามเกณฑ์การประเมินโรงเรียนในฝัน อีกนานไหมโรงเรียนเราถึงจะพร้อมซักที ขอขอบคุณค่ะ

เฉลิมศักดิ์ พุ่มคุ้ม

ต้องการให้การประเมินเป็นเชิงประจักษ์นักเรียนมีความกระตือรือร้นได้ด้วยตนเอง มีความยั่งยืน มีความต่อเนื่องมากๆ ผลน่าจะอยู่ที่นักเรียนดีไม่ใช่ผู้อำนวยการ ไม้ที่ดีอยู่ที่แก่นไม่ได้อยู่ที่เปลือกครับ เนื่องจากขณะนี้โรงเรียนที่สังกัดเตรียมลิเกโรงใหญ่ไว้ให้ท่านชมครับพี่ โรงเรียนในฝันรุ่น 2 โรงเรียนหน้าพระลาน(พิบูลสงเคราะห์)สระบุรีเขต 1ซึ่งสภาพโรงเรียนมีขนาดใหญ่ และโครงการมากแต่ขาดประสิทธิผล คือนักเรียนหรือแก่นยังไม่ดีครับไม่อยากให้เชื่อในสิ่งที่เห็นในเวลาอันจำกัด

ก็ขอเป็นกำลังใจให้กับโรงเรียนที่จะได้รับการประเมินโรงเรียนในฝันรุ่น 2 ทุกโรงเรียนคะจะได้มีโรงเรียนดี มีคุณภาพให้กับอนาคตของประเทศคะ

ทุกโรงเรียนที่เป็นตัวอย่างล้วนแต่มีความเหมาะสมเฉพาะของแต่ละสถานที่ซึ่งไม่มีการลอกเลียนแบบได้นอกจากจะมีปัจจัย และบุคคล ยังมีสิ่งแวดล้อมที่แตกต่าง โรงเรียนที่จะก้าวมาสู่ฝันตรงนี้ได้ต้องเข้าใจพื้นฐานเดิมของตนเอง และรู้จุดมุ่งหมายของโรงเรียนในฝัน แล้วจึงจะนำไปปฎิบัติให้ฝันเป็นจริงได้ แต่ก็คงไม่มียากเกินฝันถ้าหากทุก ๆ ปัจจัยจะช่วยทำให้ฝันนั้นเป็นจริง ขอชื่นชมจากใจโรงเรียนที่เป็นต้นแบบที่มีความกล้าหาญ กล้าสู้เพื่อเยาวชนของชาติในอนาคต

หนูก็เป็นโรงเรียนดีใกล้บ้าน คือโรงเรียนในฝันรุ่น 2 ใช่ไหมค่ะ โรงเรียนแม่หอพระวิทยาคม เชียงใหม่ เขต 2 สภาพตอนนี้กำลังขับเคลื่อนแบบช้าๆ ท่านจะมานิเทศก่อนไหมเราจะได้จัดแนวทางที่เป็นเชิงรุกมากกว่าค่อยเป็นค่อยไปค่ะ

สำหรับโรงเรียนในภาคเหนือผมและทีมงานได้เข้าไปนิเทศ 1 ครั้งแล้วครับส่วนโรงเรียนแม่หอพระวิทยาคมผมยังไม่ได้เข้าไป คงต้องหาเวลาไปแน่นอนครับ

ดีใจกับในฝัน ที่ทำให้นักเรียนได้รับโอกาส.ดีดี...

ดูเหมือนโรงเรียนจะเชื่อมั่นแต่ทีมงานส่วนกลางทำให้ท่านและทีมต้องทำงานหนัก แล้วRoving Team ล่ะ น่าจะได้พัฒนาหรือดูงานบ้างนะครับเพื่อให้โรงเรียนเชื่อมั่นและสามารถให้แนวทางการพัฒนาโรงเรียนไปในแนวทางเดียวกัน ท่านและทีมจะได้เบาเเรงลง ที่สำคัญ Roving Team..คือทีมที่จะขับเคลื่อนโรงเรียนในเขตพื้นที่ ที่เขาดูแลให้เกิดความยั่งยืนในการพัฒนา เกิดความเข้มแข็ง ยืนได้ด้วยตัวเองไม่ใช่รอแต่ส่วนกลาง

เป็นห่วงจริงจริงและสงสาร Roving Team ที่ตั้งมาแต่โรงเรียนไม่เชื่อถือ ที่กล่าวมาคงไม่ใช่ทั้งหมด Roving Team ที่เข้มแข็งก็มีแต่อยากให้เขาได้รับการพัฒนาบ้าง เหมือนต้นไม้ที่เราต้องให้ปุ๋ยเป็นระยะ ไม่ใช่ให้แต่ต้นใดต้นหนึ่ง หรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง แล้วกลุ่มอื่นปล่อยให้แห้งเหี่ยวหรือหากินเองนะครับ รักและอยากเห็นโครงการในฝันที่เราภาคภูมิใจคงอยู่ต่อไปอย่างเข้มแข็งและสง่างามคู่กับการศึกษาไทยตลอดไป...

จริง ๆ Roving team คือทีมงานสำคัญของโครงการในฝันครับ ไม่ได้แปลว่าส่วนกลางสำคัญอย่างเดียวไม่อยากให้คิดแบบนั้น แต่เหตุที่ส่วนกลางต้องออกไปนิเทศโรงเรียนด้วยก็เพื่อที่เราจะได้ไปเห็นโรงเรียนอย่างแท้จริงในฐานะผู้รับผิดชอบประจำภาคเพื่อมีข้อมูลเบื้องต้นที่จะนำไปใช้ดูการพัฒนาของโรงเรียนในวันประเมินจริง ก็คงจะไปได้แค่โรงเรียนละ 1 ครั้งเท่านั้นก็หมดเวลาแล้วครับ แต่ Roving team คือคณะทีมงานที่ต้องไปเป็นพี่เลี้ยงโรงเรียนอย่างใกล้ชิดและบ่อยครั้ง มากกว่าส่วนกลาง และเท่าที่ผมออกไปโรงเรียน ๆ มักจะชื่นชม Roving team มากกว่าที่จะชื่นชมส่วนกลางนะครับและผมจะพูดกับโรงเรียนเสมอว่าบุคคลที่จะช่วยเหลือท่านได้เป็นอย่างดี คือ Roving team ของท่านไม่ใช่ส่วนกลาง ขอให้มั่นใจในการทำงานเถอะอย่าพูดแบบน้อยใจเลยทุกคนก็ทำงานเพื่อเยาวชนของชาติทั้งนั้น คงไม่มีใครคิดว่าไปทำงานแล้วจะต้องให้ใครมาให้ความสำคัญหรอกครับ ขอบคุณที่ระบายความรู้สึกออกมา เราจะได้เข้าใจตรงกัน ส่วนเรื่องการพัฒนา Roving team ส่วนกลางเองก็คิดเรื่องนี้อยู่ตลอดครับคงไม่ได้ทอดทิ้งท่านแต่เรื่องสำคัญคือ งบประมาณซึ่งช่วงนี้ในฝันมีงบประมาณที่ต้องให้โรงเรียนรุ่น 2 ซึ่งเรามีงบประมาณอยู่ในวงจำกัดครับ

เรียน ท่าน ดร.อภิชาต พุทธเจริญ โรงเรียนบ้านหัวดง อ.สูงเม่น จ.แพร่ เป็นโรงเรียนในฝันรุ่นที่ 2 มีครู 12 คน นักเรียน 201 คน กำลังขับเลื่อนสู่ฝัน ต้องอาศัยภาคีเครือข่ายชุมชน เป็นส่วนใหญ่ เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2551 ท่านได้ประชุมชี้แจง ที่ ร.ร.วิไลเกียรติอุปภัมถ์ เรื่อง งบประมาณ ว่า"จะให้เร็วๆนี้ 300,000 บาทก่อน กระผมขอขอบคุณมากๆเพราะใช้เครดิตมากมากแล้ว และขอให้ส่งตรงเป็นเงินอุดหนุนไปที่โรงเรียนเลยโดยไม่ผ่านเขตพื้นที่การศึกษาฯ จะได้หรือไม่เพื่อความสะดวกในการจัดซื้อจัดจ้าง?/ตั้งแต่เข้าโครงการโรงเรียนในฝันรุ่นที่2 ผมได้เน้นที่ให้ครูปรับวิธีเรียนเปลี่ยนวิธีสอน โดยนำ ICT ช่วยมากกว่าการปรับภูมิทัศน์ ท่านมีความเห็นอย่างไรบ้าง

ลิขิต ปรีดาลิขิต /ผอ.ร.ร.บ้านหัวดง สพท.แพร่เขต 2

 

คณะผู้จัดทำได้รวบรวมเนื้อหากระทู้ของคุณสมถะหรือปราชญ์ขยะ
ที่ได้ถามตอบเกี่ยวกับความรู้ทั่วไปในพระพุทธศาสนา และสมาธิภาวนาวิชชาธรรมกายในเวปบอร์ดต่างๆ
นำมาจัดเก็บไว้ ณ ที่นี้ เพื่อให้ผู้สนใจสะดวกในการติดตามอ่านและความทำความเข้าใจได้สมบูรณ์ที่สุด

 

ห้องสนทนา ถามตอบปัญหาพุทธศาสนาและวิชชาธรรมกาย http://forums.212cafe.com/samatha/board-8/list.html

สถานที่ใดต้องการให้คณะวิทยากรไปช่วยสอนหรือฝึกสมาธิเรายินดีไปฝึกให้ฟรี  ติดต่อในห้องสนทนาของเวปได้เลยครับ... http://forums.212cafe.com/samatha/board-4/list.html

จึงขอเรียนเชิญท่านผู้สนใจติดตามอ่านและพูดคุยสนทนาธรรมกันได้ที่  http://khunsamatha.com/

ตามตัวอย่างของโรงเรียนที่ท่านดร.อภิชาติ นำเสนอมา ในฐานะผู้อ่านเข้าใจว่ากรณีตัวอย่างที่ 1 และ ที่ 2 มีการต้อนรับที่ตรงใจผู้ไปเยี่ยม และคงไม่ยากสำหรับการรับรองให้เป็นโรงเรียนในฝัน โรงเรียนดีใกล้บ้าน ส่วนกรณีตัวอย่างที่ 3 น่าจะเป็นการนำเสนอโรงเรียนในการทำกิจกรรมต่างๆ ที่มีโครงการมากมาย เพื่อให้ท่านได้รู้จักโรงเรียนมากขึ้น แต่กลับเป็นผลเสียที่ท่านไม่เข้าใจ หรืออาจเป็นการเข้าใจไม่ตรงกันก็เลยทำให้ท่านรู้สึกไม่ดีกับโรงเรียนที่ 3 อ่านแล้วรู้สึกสงสารโรงเรียนนี้มาก ดูแล้วคงยากที่จะได้รับการรับรองเป็นโรงเรียนในฝัน เพราะไม่ตรงใจคณะกรรมการตั้งแต่แรกซะแล้ว

สวัสดีครับท่านอภิชาติ ผมตั้ม ครูคอมฯโรงเรียนเชียงกลมวิทยาแต่ตอนนี้ย้ายมาอยู่โรงเรียนเชียงคานแล้วครับ เพิ่งจะประเมินรับรองโรงเรียนดีใกล้บ้านเมื่อวันอังคารที่ 24 ก.พง ครับ ตื่นเต้นเหมือนเดิม แต่ก็ ok ครับ มีหลายอย่าที่ต้องพัฒนาครับ

ก็ขอเป็นกำลังใจให้ท่านครับ

สวัสดีครับท่านอภิชาติ ผมตั้ม ครูคอมฯโรงเรียนเชียงกลมวิทยาแต่ตอนนี้ย้ายมาอยู่โรงเรียนเชียงคานแล้วครับ เพิ่งจะประเมินรับรองโรงเรียนดีใกล้บ้านเมื่อวันอังคารที่ 24 ก.พง ครับ ตื่นเต้นเหมือนเดิม แต่ก็ ok ครับ มีหลายอย่าที่ต้องพัฒนาครับ

ก็ขอเป็นกำลังใจให้ท่านครับ

สวัสดีครับท่านอภิชาติ ผมตั้ม ครูคอมฯโรงเรียนเชียงกลมวิทยาแต่ตอนนี้ย้ายมาอยู่โรงเรียนเชียงคานแล้วครับ เพิ่งจะประเมินรับรองโรงเรียนดีใกล้บ้านเมื่อวันอังคารที่ 24 ก.พง ครับ ตื่นเต้นเหมือนเดิม แต่ก็ ok ครับ มีหลายอย่าที่ต้องพัฒนาครับ

ก็ขอเป็นกำลังใจให้ท่านครับ

สวัสดีค่ะ ท่าน ดร.อภิชาติ

โรงเรียนชุมชนบ้านดอยเต่า ก็เป็นอีกโรงเรียนหนึ่งค่ะที่ยังต้องพัฒนาให้เป็นโรงเรียนดีใกล้บ้านให้จงได้ (บนความขาดแคลนจริงๆค่ะ) เราพร้อมที่จะทำหน้าที่ของเราให้ดีที่สุดค่ะ

ที่ผ่านมาเราได้รับรางวัลชนะเลิศระดับชาติ กิจกรรมโครงงานอาชีพ ช่วงชั้นที่ 2

"เก่ง สร้าง ชาติ" ด้วยค่ะ ....เป็นความภูมิใจเป็นอย่างยิ่ง....

...เชิญท่านเยี่ยมชมโรงเรียนได้ที่ www.bandoitao.com ค่ะ

เรียนอ.ดร.อภิชาติ พุทธเจริญ

ผมได้ประสานไปยังโรงแรมแอมบาสเดอร์ จอมเทียนแล้ว เรื่องที่จะพาครูทีมนำของโรงเรียน 3 คนร่วมรับฟังการสัมมนาผู้บริหารโรงเรียนในฝัน ส่วนผมจะอยู่ในโซนที่พักของสพท.เชียงใหม่ เขต4 ครับ ขอขอบพระคุณที่ท่านกรุณาให้คำชี้แนะครับผม

จำนงค์ อภิญดา

โรงเรียนบ้านหัวดง ผ่านการประเมินโรงเรียนในฝัน รุ้น 2 และได้เป็นโรงเรียนต้นแบบโรงเรียนในฝันแล้วครับ เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2553 ขอแสดงความยินดีอย่างยิ่ง อนึ่ง โรงเรียนนี้มี ผู้อำนวยการเป็นผู้ชายคนเดียว นักเรียน 192 คนเท่านั้น เยี่ยมๆ

โรงเรียนชุมชนบ้านด่านซ้าย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเลย เขต 3 โรงเรียนดีใกล้บ้าน โรงเรียนในฝันรุ่น 2 มี คณะRoving team มาให้คำแนะนำที่มีค่ายิ่งก่อนรับการประเมิน ในวันที่ 11 มีนาคม 2553 ขอขอบคุณท่านมาก

นักเรียนร.รบ้านห้วยผึ้ง

อยากให้โรงเรียนของหนูผ่านการประเมินโรงเรียนในฝันค่ะ เพราะถ้าผ่านนักเรียน คณะครู เเละชาวบ้านคงดีใจมากเพราะเหนื่อยกันมามากเเล้วทุกๆคนต่างก็พยายามเเละทำสุดความสามารถ ถึงจะมีข้อผิดพลาดบ้าง เเต่พวกหนูก็ทำสุดความสามารถเเล้ว หนูคิดว่าถ้าโรงของหนูผ่านการประเมิน โรงเรียนที่อยู่บนยอดดอยอย่างโรงเรียนบ้านห้วยผึ้งคงจะพัฒนาให้ดีกว่าเดิม

โรงเรียนบ้านห้วยผึ้ง

วันนี้หนูตื่นเต้นมากเพราะเป็นวันที่ กรรมการประเมินโรงเรียนในฝันจะมาประเมินโรงเรียนของหนู ทุกคนต่างก็ตื่นเต้นมาก เพื่อนๆที่อยู่สาระศิลปะมาถึงโรงเรียนตี2เพื่อมาเเต่งหน้าเเละซ้อมการเเสดง ชาวบ้านต่างก็ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี

สวัสดีค่ะท่าน หนูนักเรียนโรงเรียนบ้านสงเปลือยดงสามสิบค่ะ ในเดือน ก.พ. 2554 ที่ท่านจะมาประเมินค่ะ

ท่านค่ะ โรงเรียนของพวกหนู ประเมินโรงเรียนพระราชทาน ผ่านแล้วค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท