กพฐ.ไฟเขียวนำร่องหลักสูตรใหม่ปี 52 ลุยใช้เต็ม รูปแบบทั่วประเทศปี 53 ปรับลดเวลาเอื้อเด็ก


เปิดโอกาสให้เทียบโอนผลการเรียนได้

กพฐ.ไฟเขียวนำร่องหลักสูตรใหม่ปี 52 ลุยใช้เต็ม รูปแบบทั่วประเทศปี 53 ปรับลดเวลาเอื้อเด็ก

ดร.สมเกียรติ ชอบผล รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) ว่า ที่ประชุมได้เห็นชอบร่างหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2544 (ฉบับปรับปรุง) ที่จะนำร่องใช้ในโรงเรียน 155 แห่งในปีการศึกษา 2552 และจะใช้เต็มรูปแบบในปีการศึกษา 2553 โดยสาระสำคัญที่ปรับเปลี่ยน อาทิ 1. การจัดเวลาเรียน ได้กำหนดกรอบโครงสร้างเวลาเรียนขั้นต่ำในกลุ่มสาระการเรียนรู้ 8 กลุ่ม  และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนที่สถานศึกษาเพิ่มเติมได้ตามความพร้อมดังนี้ ระดับประถม (ป.1-6) ให้สถานศึกษาจัดเวลาเรียนเป็นรายปี   โดยมีเวลาเรียนวันละประมาณ 4-5 ชั่วโมง และไม่เกิน 1,000 ชั่วโมง/ปี ม.ต้น (ม.1-3) จัดเวลาเรียนเป็นรายภาค เรียนวันละ 5-6 ชั่วโมงและไม่เกิน 1,200 ชั่วโมง/ปี โดยคิดน้ำหนักของรายวิชาที่เรียนเป็นหน่วยกิตใช้เกณฑ์ 40 ชั่วโมงต่อภาคเรียน มีค่าน้ำหนักวิชาเท่ากับ 1 หน่วยกิต ระดับ ม.ปลาย (ม. 4-6) จัดเวลาเรียนเป็นรายภาค เรียนวันละไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง รวม 3 ปี เวลาเรียนไม่น้อยกว่า 3,600 ชั่วโมง คิดน้ำหนักรายวิชาที่เรียนเป็นหน่วยกิตใช้เกณฑ์ 40 ชั่วโมงต่อภาคเรียน มีค่าน้ำหนักวิชาเท่ากับ 1 หน่วยกิต ซึ่งจะน้อยกว่าการเรียนในปัจจุบันที่เด็กเรียนหนัก

รองเลขาธิการ กพฐ. กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ได้กำหนดเกณฑ์การจบในแต่ละระดับ  ดังนี้  ประถมศึกษาผู้เรียนต้องเรียนครบสาระการเรียนรู้แกนกลางตามที่หลักสูตรสถานศึกษากำหนดไม่เกิน 1,000 ชั่วโมงต่อปี มีผลการประเมินผ่านเกณฑ์ตามที่สถานศึกษากำหนด 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ มีผลการประเมิน การอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียนในระดับผ่านเกณฑ์การประเมินตามที่กำหนด และผู้เรียนต้องเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนและมีผลการประเมินผ่านเกณฑ์การประเมินตามที่สถานศึกษากำหนด ระดับ ม.ต้น เรียนรายวิชาตามสาระการเรียนรู้แกนกลาง 63 หน่วยกิต และรายวิชาเพิ่มเติมรวมแล้วไม่เกิน 81 หน่วยกิต โดยทุกวิชาในหลักสูตรแกนกลางต้องมีผลการเรียนผ่าน ระดับม.ปลาย รายวิชาสาระการเรียนรู้หลักสูตรแกนกลาง 39 หน่วยกิต และรายวิชาเพิ่มเติมตามที่สถานศึกษากำหนดรวมแล้วไม่น้อยกว่า 81 หน่วยกิต โดยเปิดโอกาสให้เทียบโอนผลการเรียนได้.

อ้างอิงจาก : http://203.151.217.76/news.php?section=education&content=91656
หลักสูตรที่เราใช้กันมามีกี่หลักสูตรแล้วครับ.......

หมายเลขบันทึก: 217593เขียนเมื่อ 19 ตุลาคม 2008 19:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 02:50 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

สวัสดีครับ

เปลี่ยนอีกแล้วเหรอ

สองสามปีก่อนเห็นเด็กเห่อกันทำพอร์ตฟอลิโอ ไม่ทราบตอนนี้ยังทำกันอยู่หรือเปล่าครับ

เรื่องเวลาเรียน หลักสูตรปัจจุบัน(2544) กำหนด ม.ต้น 1000-1200 ม.ปลาย ไม่ต่ำกว่า 1200 ไม่ใช่หรือ? จะว่าหลักสูตรที่จะให้ใช้ใหม่(2553)มีเวลาเรียนน้อยกว่าปัจจุบัน ซึ่งเด็กเรียนหนักได้อย่างไร?

สวัสดีครับ คุณธ.วั ช ชั ย คุณครูธนิตย์ สุวรรณเจริญ

ที่มาทักทายครับ ...สิ่งที่น่าสนใจครับ คือ

การประเมินหลักสูตรเดิม(2544)ว่าผลประเมินที่ใช้แล้วเป็นอย่างไร...

เพราะเหตุใดจึงหลักสูตรใหม่...(ใครทราบช่วยกรุณาตอบด้วยครับ)

และใหม่ ดีกว่าเก่าอย่างไร...

ขอบคุณครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท