...บำรุงประชาชน...หรือ....บำรุงตนเอง...


...บำรุงประชาชน...หรือ....บำรุงตนเอง...

เพื่อนๆครับ...

ช่วงนี้หลายคนคงได้เห็นโฆษณาแปลกๆใหม่ๆเยอะขึ้น บางชิ้นเห็นแล้วก็รู้สึกดีอารมณ์ดีตามไปด้วย เช่น โฆษณาของบริษัทมือถือสัญชาติสิงโตพ่นน้ำ ที่ใช้ตัว animation สีฟ้า ดูน่ารัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งตอนขัดขาผู้หญิงให้ไปชนกับผู้ชาย...ดูแล้วกุ๊กกิ๊กดีนะครับ

แต่ชิ้นหนึ่งที่ผมดูแล้วค่อนข้างอดสูใจ และกลัวผลที่จะตามมา คือการทำให้ประชาชนเข้าใจผิดในด้านการรักษาพยาบาล โดยใช้สโลแกนคล้ายๆว่า ...เราไม่ประนีประนอมกับคุณภาพการรักษา...

มองในแง่ดีก็ดีครับ ที่เห็นว่ามาที่นี่แล้ว รักษาเต็มที่ ไม่อั้น...

แต่มองอีกแง่หนึ่ง คือแปลว่า ที่อื่นเค้าประนีประนอมกับคุณภาพการรักษา...จริงหรือ???

อันหนึ่งที่ต้องรู้คือ...การรักษาพยาบาลทุกอย่าง ล้วนมีมาตรฐานการดูแลรักษากำกับไว้ทั้งสิ้นครับ...

ไม่จำเป็นที่คนจน ใช้สิทธิบัตรทอง สิทธิประกันสังคม สิทธิข้าราชการ สิทธิรัฐวิสาหกิจ หรือแม้แต่จ่ายเอง จะได้รับการรักษาที่มีมาตรฐานและคุณภาพที่แตกต่างกัน...

หากมีคนเถียง ก็คงจะเป็นบางกรณีที่เค้าเจอประสบการณ์ไม่ดีจากสถานพยาบาลหรือผู้ให้บริการทางการแพทย์ที่ไม่ดี...ซึ่งเป็นส่วนน้อย 

แต่คราวนี้ การโฆษณาดังกล่าว เป็นการเล่นกับกระแส หรือโหนกระแส เพื่อสร้างช่องว่างหรือขยายความแตกต่างและสร้างความแตกแยกให้เกิดขึ้น โดยวิถีทางวัตถุนิยม โดยไม่ได้พูดความจริงอีกอย่างที่ว่า

...เราไม่ประนีประนอมกับคุณภาพการรักษา...แต่คุณต้องมี "เงิน"...

ทำไมหรือครับ...ผมจะบอกให้ว่า ในอดีตโรงพยาบาลรัฐกับเอกชน มีความแตกต่างกันในแง่ความแออัดของประชาชนผู้มารับบริการ และการมีจำนวนผู้ให้บริการต่อผู้รับบริการที่แตกต่างกัน โดยราคาค่าใช้จ่ายต่างกันประมาณ 2-5 เท่า...

แต่มาปัจจุบัน ค่าใช้จ่ายนั้นแตกต่างกันราวฟ้ากับเหว ยกตัวอย่างเล็กๆ เช่น คนท้องเสียไปนอนโรงพยาบาล 2 วัน 1 คืน ในอดีตราคาไม่กี่ร้อยบาทที่โรงพยาบาลรัฐ แต่ประมาณ 3-5 พันบาทที่เอกชน แต่ปัจจุบัน ราคาที่เอกชน 10000-15000 บาท...หรืออีกตัวอย่างหนึ่งเด็กกระดูกหักที่แขน รักษาโดยการผ่าตัดยิง K-wire (ลวดเล็กๆ) ตัวละ 19 บาทที่โรงพยาบาลรัฐ เสียค่าใช้จ่ายรวมดมยาผ่าตัด ประมาณ 15000 บาท แต่ไปเอกชนราคา 130000 บาท...แบบนี้บำรุงใครครับ???

นอกจากนี้ เราจะสังเกตได้ว่าค่านิยมของประชาชนถูกชักจูงให้มีการใช้การตรวจพิเศษที่ไม่จำเป็นมากขึ้นๆทุกที เช่น การได้รับข้อมูลจากเอกชน ให้ไปตรวจสุขภาพโดยทำ Ultrafast CT-scan เพื่อดูหินปูนที่เกาะหลอดเลือดหัวใจทุกปี การเจาะเลือดตรวจหา marker ของมะเร็งชนิดต่างๆ เช่น CA-125, CEA, PSA แทนการตรวจร่างกายที่ปกติแพทย์จะแนะนำคนไข้เป็นมาตรฐาน โดยหารู้ไม่ว่าการเจาะเลือดตรวจมะเร็งหลายๆชนิดนั้น หลายอย่างมีความไวน้อยและไม่เหมาะที่จะนำมาใช้ในการตรวจแบบคัดกรอง (Screening test)...

พูดถึงตอนนี้แล้ว ผมก็ได้แต่ห่วงว่า กระแสบริโภคนิยม วัตถุนิยมตามแบบตะวันตก ที่บางคนว่าประเทศเราจะเดินตามแบบ Defensive Medicine ของอเมริกานั้น คงจะเป็น Exaggerated Medicine มากกว่ากระมัง...

 

 

หมายเลขบันทึก: 219225เขียนเมื่อ 28 ตุลาคม 2008 09:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 พฤษภาคม 2012 16:20 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

มีความคิดที่ตรงกัน น่าเป็นห่วงจริงๆ แล้วเราจะมีทางแก้อย่างไรกันครับ

พี่เป็นห่วงและแนะนำให้คนไข้เจาะlabให้น้อยลง แต่ส่วนใหญ่จะถูกชักชวนจากคนที่ได้ประโยชนืเช่นไปในโรงงาน ให้คนมาเจาะเลือดและเสียเงิน ผลก็ไม่อธิบายต้องวิ่งมาหาหมอเช่นHct 36เปอร์เซ็นต์ก็รีบมาหาหมอเพื่อรักษาซีด อะไรที่คนไข้ควรทำแต่ไม่ได้เงินก็ไม่สนใจสื่อสารค่ะ

ได้ปลงและช่วยเท่าที่ช่วยได้ค่ะ

คิดถึงคุณหมอเสมอค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท