แหล่งอาหารอร่อย สถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจ


แหล่งอาหารอร่อย สถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจในจังหวัดอุตรดิตถ์
จังหวัดอุตรดิตถ์ :: ข้อมูลทั่วไป
 

จังหวัดอุตรดิตถ์ ตั้งอยู่ทางภาคเหนือตอนล่าง เมืองแห่งพระแท่นศิลาอาสน์ ตำนานเมืองลับแล ที่มีแม่ม่ายและสาวสวย เมืองแห่งลางสาดหวานหอม และบ้านเกิดของพระยาพิชัยดาบหัก ขุนศึกคู่บารมีสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช อุตรดิตถ์เป็นเมืองที่มีความสำคัญทางด้านประวัติศาสตร์มาแต่อดีตกาล โดยมีประวัติความเป็นมาอันยาวนาน ผ่านพัฒนาการมาหลายยุคหลายสมัย นับแต่ชุมชนสมัยก่อนประวัติศาสตร์จนถึงปัจจุบัน

จากการค้นพบกลองมโหระทึก ทำด้วยทองสัมฤทธิ์ที่ ตำบลท่าเสา อำเภอเมือง เมื่อปี พ.ศ. 2470 ทำให้เราทราบว่าอุตรดิตถ์ เป็นดินแดนที่มีผู้คนเข้ามาอาศัยอยู่ก่อน พ.ศ. 1000 แล้ว เพราะโบราณวัตถุที่ค้นพบดังกล่าว เป็นโลหะที่มีใช้กันอยู่ในยุคสัมฤทธิ์ หรือยุคโลหะตอนต้น อันเป็นยุคก่อนประวัติศาสตร์นั้นเอง จึงนับได้ว่า อุตรดิตถ์เป็นแหล่งศิลปวัฒนธรรม และขนบธรรมเนียมอันดีงาม มาโดยลำดับ และสิ่งที่ยังเป็นความภาคภูมิใจของชาวอุตรดิตถ์ ก็คือ ความเกรียงไกรของพระยาพิชัยดาบหัก เดิมทีตัวเมืองอุตรดิตถ์เป็นเพียงตำบลชื่อ "บางโพธิ์ท่าอิฐ" ขึ้นกับเมืองพิชัย แต่เพราะบางโพธิ์ท่าอิฐ ซึ่งอยู่ริมฝั่งขวาของแม่น้ำน่านมีความ เจริญรวดเร็ว เพราะเป็นท่าเรือขนถ่ายสินค้า ดังนั้นในสมัยรัชกาลที่ 5 พระองค์จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ยกฐานะตำบลบางโพธิ์ท่าอิฐขึ้นเป็นเมือง "อุตรดิตถ์" ซึ่งมีความหมายว่าท่าน้ำแห่งทิศเหนือ แต่ยังคงขึ้นกับเมืองพิชัยอยู่ ต่อมาอุตรดิตถ์จึงได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นจังหวัด และเมืองพิชัย เลื่อนลงไปเป็นอำเภอหนึ่ง ขึ้นกับจังหวัดอุตรดิตถ์จนทุกวันนี้

 
ร้านอาหาร : จังหวัดอุตรดิตถ์

อำเภอเมือง

รูปภาพ

ชื่อร้าน

ที่ตั้ง

เวลาเปิด/ปิด

อาหารแนะนำ

ร้านป้าสำราญ ร้านป้าสำราญ จาก ถ.ประชานิมิตมุ่งหน้าตัวเมืองอุตรดิตถ์ ร้านอยู่ขวามือ ตรงข้ามกับหลังสถานีรถไฟศิลาอาสน์ โทร. 055-411793 8.00-22.00 น. ผัดเผ็ด
ร้านข้าวมันไก่ศรีวัย ร้านข้าวมันไก่ศรีวัย ร้านอยู่ในตัวเมืองอุตรดิตถ์ บน ถ.บรมอาสน์ ติดโรงแรมสีหราช ตรงข้ามธนาคารออมสิน สาขาคลองโพ โทร. 055-414121 6.00-17.00 น. ข้าวมันไก่
ร้านเล้งเลือดหมู ร้านเล้งเลือดหมู เร้านอยู่ในตัวเมืองอุตรดิตถ์ บน ถ.บรมอาสน์ เยื้องฟรายเดย์ สรรพสินค้า โทร. 055-412053 5.00-14.00 น. ต้มเลือดหมู
ร้านปักเป้า ถนนย่านศิลาอาสน์ โทร. 055-413364 0.00-0.00 น. ยำเห็ดโคน, แกงคั่วเห็ดเผา
ร้านคุณใหญ่ ตั้งอยู่ถนนสุขเกษม โทร. 055-411937 0.00-0.00 น. ปลาช่อนคุณใหญ่, เมี่ยงหมูหยอง

อำเภอท่าปลา

รูปภาพ

ชื่อร้าน

ที่ตั้ง

เวลาเปิด/ปิด

อาหารแนะนำ

ร้านเกษณี อยู่บริเวณท่าเรืออ่างเก็บน้ำเขื่อนสิริกิติ์ 0.00-0.00 น. ปลาเผารมควัน
ร้านเรือนริมน่าน เป็นร้านอาหารเรือนแพจอดในอ่างเก็บน้ำ เขื่อนสิริกิติ์ ของ กฟผ. 0.00-0.00 น. ปลาตะโกกเผา

จังหวัดอุตรดิตถ์ :: สถานที่ท่องเที่ยว อำเภอเมือง
 

วัดธรรมาธิปไตย
ตั้งอยู่ในตัวเมืองใกล้สี่แยกจุดตัดของถนนอินใจมีกับถนนสำราญรื่น เป็นที่เก็บบานประตูของวิหารหลังใหญ่ และเก่าแก่มากของวัดพระฝาง บานประตูทำจากไม้ปรูขนาดกว้าง 2.2 เมตร สูง 5.3 เมตร และหนา 16 เซนติเมตร แกะสลักในสมัยอยุธยาเป็นลายกนกก้านขด มีลายพุ่มทรงข้าวบิณฑ์ 7 พุ่ม ระหว่างพุ่มมีกนกใบเทศขนาบสองด้าน กล่าวกันว่า เป็นบานประตูไม้แกะสลักที่มีความงามเป็นที่สองรองลงมาจากประตูวิหารวัดสุทัศน์ที่กรุงเทพฯ

หลวงพ่อเพชรวัดท่าถนน
หลวงพ่อเพชรเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดอุตรดิตถ์ ประดิษฐานอยู่ที่วัดท่าถนน วัดท่าถนนนี้เดิมชื่อว่า วัดวังเตาหม้อ ตั้งอยู่ในตัวเมืองอุตรดิตถ์บริเวณริมแม่น้ำน่านถนนเกษมราษฎร์ ตำบลท่าอิฐ เป็นพระพุทธรูปสัมฤทธิ์สมัยเชียงแสน นั่งขัดสมาธิเพชร หน้าตักกว้าง 32 นิ้วครึ่ง สูง 41 นิ้ว ตามประวัติกล่าวว่า ในปี พ.ศ. 2436 ขณะหลวงพ่อด้วงเจ้าอาวาสวัดหมอนไม้ เดินทางกลับจากรับนิมนต์ที่วัดสว่างอารมณ์ ตำบลไผ่ล้อม อำเภอลับแล เมื่อผ่านวัดสะแกที่เป็นวัดร้าง ได้พบเนินดินเป็นจอมปลวกขนาดใหญ่มีเกศพระพุทธรูปโผล่ขึ้นมา เมื่อขุดดูพบว่าเป็นพระพุทธรูปสัมฤทธิ์ มีลักษณะงดงามมาก จึงนำมาประดิษฐานไว้ที่วัดท่าถนน มีคนมากราบไหว้บูชาเป็นจำนวนมาก ประกอบกับเป็นพระพุทธรูปนั่งขัดสมาธิเพชร จึงเรียกกันว่า "หลวงพ่อเพชร"

วัดใหญ่ท่าเสา
ตั้งอยู่ที่ตำบลท่าเสา อยู่ทางทิศตะวันออกของตัวเมืองอุตรดิตถ์ โดยเดินทางไปตามถนนสำราญรื่น แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าซอย 10 เดินทางต่อไปอีกประมาณ 3 กิโลเมตร วัดนี้มีวิหารเก่าแก่ซึ่งมีบานประตูไม้แกะสลัก 2 บาน ตลอดจนลายไม้ที่วิหารด้านหน้า

อนุสาวรีย์พระยาพิชัยดาบหัก
ประดิษฐานอยู่หน้าศาลากลางจังหวัดอุตรดิตถ์ สร้างขึ้นเพื่อเป็นเกียรติประวัติของท่านในความองอาจกล้าหาญ รักชาติและเสียสละ เมื่อครั้งพระยาพิชัยซึ่งครองเมืองพิชัยในสมัยธนบุรี ท่านได้สร้างเกียรติประวัติไว้โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อปี พ.ศ. 2316 พม่ายกทัพมาตีเมืองพิชัย พระยาพิชัยได้ยกทัพไปสกัดทัพพม่าจนแตกพ่ายกลับไป การรบในครั้งนั้น ดาบคู่มือของพระยาพิชัยได้หักไปหนึ่งเล่ม แต่ก็ยังรบได้ชัยชนะต่อทัพพม่าด้วยวีรกรรมดังกล่าว จึงได้สมญานามว่า "พระยาพิชัยดาบหัก" อนุสาวรีย์แห่งนี้ออกแบบและหล่อโดยกรมศิลปากร ทำพิธีเปิดเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2512

หอวัฒนธรรมจังหวัดอุตรดิตถ์
อยู่ที่อาคารจวนผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นศูนย์รวมโบราณวัตถุที่สำคัญของชาวอุตรดิตถ์ เหมาะแก่การศึกษาค้นคว้า และเป็นหลักฐานอ้างอิงทางประวัติศาสตร์ โบราณวัตถุที่สำคัญชิ้นหนึ่ง คือ "ยานมาศ" หรือ คานหามไม้แกะสลักโปร่ง 3 ชั้น กว้าง 73 เซนติเมตร ยาว 3.50 เมตร สูง 1.45 เมตร เป็นฝีมือช่างสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลายยานมาศนี้ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ได้ทรงบันทึกไว้ในจดหมายเหตุเมื่อคราวเดินทางมาตรวจราชการ หัวเมืองฝ่ายเหนือ พ.ศ. 2444 ว่าทรงพบยานมาศแบบนี้ 4 คัน คันแรกทรงพบที่อำเภอมโนรมย์ จังหวัดชัยนาท อีก 2 คัน พบที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดพิษณุโลก ครั้นมาถึงอุตรดิตถ์ก็พบอีกคันที่วัดท่าเสา ซึ่งก็ได้นำมาจัดแสดงไว้ให้ประชาชนชมที่ศูนย์วัฒนธรรมแห่งนี้

จิตรกรรมฝาผนังวัดกลาง
อยู่ที่ตำบลบ้านแกะ ห่างจากตัวอำเภอ 3 กิโลเมตร วัดกลางเป็นวัดเก่าแก่ มีพระอุโบสถที่มีลวดลายรูปปั้นสวยงาม ภายในมีจิตรกรรมฝาผนังที่เก่าแก่หายากสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น เป็นภาพพระเวสสันดรชาดกและเทพชุมนุม

วัดพระฝาง
ตั้งอยู่ หมู่ที่ 3 บ้านพระฝาง ตำบลผาจุก ห่างจากตัวเมืองประมาณ 25 กิโลเมตร จากตัวเมืองไปตามทางหลวงหมายเลข 1045 ถึงทางหลวงหมายเลข 11 เลี้ยวขวาไปทางพิษณุโลก 2 กิโลเมตร แล้วเลี้ยวซ้ายจากทางแยกเข้าไป 14 กิโลเมตร วัดนี้มีชื่อเต็มว่า "วัดพระฝางสวางคบุรีมุนีนาถ" เคยเป็นวัดที่จำพรรษาของ "เจ้าพระฝาง" เมืองสวางคบุรี ซึ่งอยู่ในสมณเพศ แต่นุ่งห่มผ้าแดง และมิได้สึกเป็นฆราวาส ท่านได้ซ่องสุมผู้คนสมัยกรุงศรีอยุธยาแตกครั้งที่ 2 เพื่อจะกู้เอกราช ปัจจุบันวัดพระฝางประกอบด้วย โบสถ์ วิหาร และพระธาตุเจดีย์ เป็นสถาปัตยกรรมสมัยอยุธยาตอนปลาย สำหรับบานประตูแกะสลักของพระวิหาร ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ที่วัดธรรมาธิปไตยในตัวเมือง

เขื่อนสิริกิติ์ จังหวัดอุตรดิตถ์
 
ข้อมูลทั่วไป
 

เขื่อนสิริกิติ์ เป็นเขื่อนที่ใหญ่ที่สุด ในประเทศไทย ก่อสร้างขึ้นตามโครงการพัฒนาลุ่มน้ำน่าน เดิมชื่อ เขื่อนผาซ่อม ต่อมาได้รับพระบรมราชานุญาต ให้เชิญพระนามาภิไธย สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ขนานนามว่า "เขื่อนสิริกิติ์"

เขื่อนสิริกิติ์ นอกจากจะเป็นหัวใจของโครงการ พัฒนาลุ่มน้ำน่านแล้ว ยังเป็นสถานที่ท่องเที่ยว ที่สวยงาม มีนักท่องเที่ยว ให้ความสนใจ เดินทางไปเยี่ยมชม ปีละหลายหมื่นคน

การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย มีความภูมิใจ และยินดีที่ได้มีโอกาส ต้อนรับทุกท่าน ที่มาเยือนเขื่อนสิริกิติ์ โดยเปิดให้ชมได้ทุกวัน ตั้งแต่เวลา ๘.๐๐ - ๑๘.๐๐ น.

 
ลักษณะเขื่อน
 

เขื่อนสิริกิติ์ สร้างปิดกั้นลำน้ำน่าน ที่ตำบลผาเลือด อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ ดำเนินการก่อสร้าง โดยกรมชลประทาน เมื่อปี ๒๕๐๖ แล้วเสร็จในปี ๒๕๑๕ ลักษณะของเขื่อน เป็นเขื่อนดิน แกนกลางเป็นดินเหนียว สูง ๑๑๓.๖๐ เมตร ยาว ๘๑๐ เมตร กว้าง ๑๒ เมตร อ่างเก็บน้ำ สามารถเก็บกักน้ำได้ ๙,๕๑๐ ล้านลูกบาศก์เมตร ความจุของอ่างมากเป็นที่สาม รองจากเขื่อนศรีนครินทร์ และเขื่อนภูมิพล

โรงไฟฟ้าและองค์ประกอบ ดำเนินการก่อสร้าง โดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เมื่อปี ๒๕๑๑ แล้วเสร็จในปี ๒๕๑๕ ติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้า รวม ๔ เครื่อง กำลังผลิตเครื่องละ ๑๒๕,๐๐๐ กิโลวัตต์ รวมกำลังผลิต ๕๐๐,๐๐๐ กิโลวัตต์ ให้พลังงานไฟฟ้าเฉลี่ยปีละ ๑,๒๔๕ ล้าน กิโลวัตต์ชั่วโมง

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนิน พร้อมด้วย สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ไปทรงประกอบพิธี เปิดเขื่อนสิริกิติ์ และโรงไฟฟ้า เมื่อวันที่ ๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๒๐

 
ประโยชน์
 

เขื่อนสิริกิติ์ จัดเป็นเขื่อนอเนกประสงค์ ประโยชน์ที่ได้จากเขื่อนนี้มีหลายประการ คือ

การชลประทาน
น้ำจากอ่างเก็บน้ำจะถูกปล่อยออกไปยังพื้นที่เพาะปลูกในทุ่งราบสองฝั่งแม่น้ำน่าน กับพื้นที่ทุ่งเจ้าพระยา ทั้งในฤดูฝน และฤดูแล้ง ในปริมาณที่ได้มีการตกลงร่วมกันไว้กับกรมชลประทาน

การบรรเทาอุทกภัย
อ่างเก็บน้ำจะช่วยเก็บกักน้ำที่อาจจะไหลบ่าลงมา ช่วยลดการเกิดอุทกภัย ในทุ่งราบสองฝั่งแม่น้ำน่าน ตลอดจนทุ่งเจ้าพระยาลงมาถึงกรุงเทพมหานคร

การผลิตกระแสไฟฟ้า
น้ำที่ปล่อยออกไปเพื่อการชลประทาน จะผ่านเครื่องกำเนิดไฟฟ้าทั้ง ๔ เครื่อง ให้พลังไฟฟ้า ๕๐๐,๐๐๐ กิโลวัตต์ ช่วยเสริมระบบไฟฟ้าของประเทศให้มั่นคงยิ่งขึ้น

การคมนาคมทางน้ำ
ช่วยให้การคมนาคมทางน้ำ บริเวณเหนือเขื่อนไปยังจังหวัดน่านสะดวก และใช้งานได้ตลอดปี

การท่องเที่ยว
เขื่อนสิริกิติ์ มีทิวทัศน์ที่สวยงาม โดยเฉพาะในฤดูหนาว ความเงียบสงบของบรรยากาศ ประกอบกับพืชพันธุ์ไม้ที่งามสะพรั่ง เป็นเสน่ห์ดึงดูดใจนักท่องเที่ยวให้ไปเยือนไม่ขาดสาย

นอกจากนี้ ในบริเวณเขื่อนยังมีสวนสาธารณะที่ให้ความร่มรื่นอีกแห่งหนึ่ง คือ สวมสุมาลัย ซึ่ง กฟผ. สร้างขึ้น เพื่อถวายเป็นราชสักการะแด่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และเป็นสถานที่ท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจ แก่ประชาชนโดยทั่วไป ภายในสวนประกอบไปด้วยพันธุ์ไม้หลากชนิด สระบัว ลานประติมากรรมซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของสวน ชื่อ ประติมากรรมสู่แสงสว่าง ลานอเนกประสงค์ และลานสุขภาพ

 
การเดินทาง
 
จังหวัดอุตรดิตถ์ อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ ๔๙๑ กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทาง โดยรถยนต์ประมาณ ๗ ชั่วโมง ตามเส้นทางกรุงเทพฯ - นครสวรรค์ - พิษณุโลก - อุตรดิตถ์ และ จากตัวเมืองอุตรดิตถ์ ไปตามทางหลวงหมายเลข ๑๐๔๕ ถึงเขื่อนสิริกิติ์ อีก ๕๘ กิโลเมตร
 
สิ่งอำนวยความสะดวก
 

เมื่อเดินทางถึงเขื่อนสิริกิติ์ ท่านจะสามารถติดต่อ สอบถามรายละเอียด การเข้าชม หรือพักแรม ได้ที่แผนกธุรการ และบริการเขื่อนสิริกิติ์ โทร. (ภายใน) ๒๔๕๐ , ๒๔๕๑ หรือ (๐๕๕) ๔๑๒๖๓๙ - ๔๐ สำหรับผู้ที่อยู่ในกรุงเทพฯ ติดต่อได้ที่ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย นนทบุรี โทร. ๔๓๖๓๑๗๙

นอกเหนือจากการบริการบ้านพักรับรองแล้ว ภายในบริเวณเขื่อนยังมี "เรือนน้ำพุ" ไว้บริการอาหาร ห้องประชุม และสัมมนา สนามกีฬาต่างๆ เช่น แบดมินตัน ฟุตบอล เทนนิส ปิงปอง กอล์ฟ และสระว่ายน้ำ เป็นต้น แต่ถ้าต้องการชม ทิวทัศน์ที่สวยงาม ของอ่างเก็บน้ำ เหนือเขื่อน ทางเขื่อนก็มีเรือขนาดใหญ่ ไว้คอยให้บริการ นำเที่ยวชมอีกด้วย

 
สถานที่ท่องเที่ยวใกล้เคียง
 

สถานที่ท่องเที่ยวตามระยะทางก่อนถึงเขื่อนสิริกิติ์ มีสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ และสถานที่ท่องเที่ยว น่าสนใจหลายแห่ง อาทิ

อนุสาวรีย์พระยาพิชัยดาบหัก
ตั้งอยู่หน้าศาลากลาง จังหวัดอุตรดิตถ์

หลวงพ่อเพชร
วัดท่าถนน เป็นพระพุทธรูป คู่บ้านคู่เมืองของ จังหวัดอุตรดิตถ์ สร้างในสมัย เชียงแสน เป็นพระพุทธรูปสำริด นั่งขัดสมาธิมีความสวยงามมาก

วัดพระแท่นศิลาอาสน์
ตั้งอยู่บนยอดเขา ห่างจากตัวเมือง ประมาณ ๖ กิโลเมตร เป็นที่ประดิษฐาน พระแท่นศิลาอาสน์ ปูชนียวัตถุ ที่สำคัญ ของจังหวัดนี้

อำเภอลับแล
ห่างจากตัวเมือง ๖ กิโลเมตร เป็นอำเภอ ที่มีชื่อเสียง ในการทำไม้กวาดตองกง ผ้าซิ่นตีนจก ทอฝีมือละเอียด และลางสาดรสหวาน

วนอุทยานสักใหญ่
อยู่ในอำเภอน้ำปาด มีต้นสักใหญ่ที่สุดในโลก อายุ ๑,๕๐๐ ปี อยู่เลยเขื่อนสิริกิติ์ ไปประมาณ ๑๙ กิโลเมตร

บ่อเหล็กน้ำพี้
ห่างจากอำเภอทองแสนขัน ๑๔ กิโลเมตร มีบ่อเหล็กกล้าชั้นดี หลายบ่อ แต่มีบ่อหนึ่ง ชื่อ "บ่อพระแสง" ซึ่งสงวนไว้ ใช้ทำพระแสงดาบ สำหรับพระมหากษัตริย์เท่านั้น

พระบรมธาตุเจดีย์ หรือ พระธาตุทุ่งยั้ง
องค์ที่เห็นปัจจุบัน เป็นองค์ใหม่ ที่สร้างขึ้นแทนองค์เก่า ที่พังทลายไป มีอายุประมาณ ๗๐ ปี วัดนี้อยู่ตรงตลาดทุ่งยั้ง ห่างจากตัวเมืองประมาณ ๕ กิโลเมตร

อุทยานแห่งชาติภูสอยดาว ::
:: ข้อมูลทั่วไป ::
อุทยานแห่งชาติภูสอยดาว มีพื้นที่ครอบคลุมอยู่ในท้องที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าน้ำปาด ท้องที่ตำบลม่วงเจ็ดต้น ตำบลนาขุม ตำบลบ้านโคก อำเภอบ้านโคก อำเภอห้วยมุ่น อำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์ ตำบลบ่อภาค อำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก เป็นพื้นที่ที่มีสภาพป่าค่อนข้างสมบูรณ์ปกคลุมไปด้วยป่าธรรมชาติที่สวยงาม เป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร มีจุดเด่นที่น่าสนใจและเป็นที่ดึงดูดใจของนักท่องเที่ยว ได้แก่ น้ำตกภูสอยดาว เป็นน้ำตก 5 ชั้น มีเนื้อที่กว้างประมาณ 1,000 ไร่ มีความสวยงามมาก มีถนนลาดยาง เข้าถึงพื้นที่ทำให้สะดวกสบายในการเดินทางพักผ่อนหย่อนใจ อุทยานแห่งชาติภูสอยดาวมีเนื้อที่ 125,110 ไร่ หรือ 200.18 ตารางกิโลเมตร
 
อุทยานแห่งชาติภูสอยดาว แต่เดิมเป็นวนอุทยานแห่งชาติภูสอยดาว ได้สำรวจจัดตั้งเป็นวนอุทยาน แห่งชาติภูสอยดาว โดยสำนักงานป่าไม้เขตพิษณุโลก เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2533 มีพื้นที่เพียง 20,000 ไร่ จนกระทั่งปีงบประมาณ 2535 กรมป่าไม้ได้จัดสรรงบประมาณ ให้สำนักงานป่าไม้เขตพิษณุโลก ทำการสำรวจพื้นที่เพิ่มเติม เพื่อผนวกเข้ากับพื้นที่เดิม ของวนอุทยานภูสอยดาว ผลการสำรวจพื้นที่เพิ่มเติมในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าน้ำปาด ท้องที่อำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์ และในเขตป่าไม้ถาวรตามป่าภูสอยดาวท้องที่อำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์ป่าภูสอยดาว ท้องที่อำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก ตามมติคณะรัฐมนตรีได้เนื้อที่รวม 48,962.5 ไร่ หรือ 78.34 ตารางกิโลเมตร
 
ต่อมาสำนักงานป่าไม้เขตพิษณุโลกได้มีหนังสือที่ กษ 0725.07/5819 ลงวันที่ 11 สิงหาคม 2536 เรื่อง ขอจัดตั้งวนอุทยานแห่งชาติภูสอยดาวเป็นอุทยานแห่งชาติภูสอยดาว ได้รายงานให้กรมป่าไม้ทราบว่า พื้นที่วนอุทยานแห่งชาติภูสอยดาวซึ่งตั้งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าน้ำปาด ท้องที่อำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์ และเขตป่าไม้ถาวรตามมติคณะรัฐมนตรีป่าภูสอยดาว ท้องที่อำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก เป็นพื้นที่ที่มีสภาพป่าค่อนข้างสมบูรณ์ ปกคลุมไปด้วยป่าธรรมชาติที่สวยงาม เป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร สภาพพื้นที่โดยทั่วไปเป็นภูเขาสูงชัน บางจุดสูงจากระดับน้ำทะเล 1,600 เมตร เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า และเป็นพื้นที่ชายแดนติดต่อประเทศลาว ซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อความมั่นคงของชาติ มีจุดเด่นที่น่าสนใจเป็นที่ดึงดูดให้ประชาชน นักท่องเที่ยวเข้ามาเที่ยวชม ได้แก่ น้ำตก 5 ชั้น ชื่อว่า ภูสอยดาว มีเนื้อที่กว้าง 1,000 ไร่ มีความสวยงามมากและพื้นที่ใกล้เคียงยังมีสภาพป่าธรรมชาติที่สมบูรณ์ สามารถผนวกเป็นเขตอุทยานแห่งชาติได้อีกเป็นจำนวนมาก จึงเห็นสมควรที่จะ รักษาพื้นที่ป่าแห่งนี้ไว้เป็นพื้นที่ป่าอนุรักษ์ โดยกำหนดให้เป็นอุทยานแห่งชาติภูสอยดาว
 
ปัจจุบันคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ เห็นชอบในการจัดตั้งอุทยานแห่งชาติแล้ว และอยู่ในขั้นตอนจัดทำ/ปรับปรุง/แก้ไข รายละเอียดเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรี อนุมัติในหลักการ ให้จัดตั้งอุทยานแห่งชาติต่อไป
:: ลักษณะภูมิประเทศ ::

ลักษณะภูมิประเทศเป็นเทือกเขาสลับซับซ้อนตั้งแต่ทิศเหนือจดทิศใต้ เป็นเทือกเขากั้นพรมแดนระหว่างประเทศไทย กับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว มีความสูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 500-1,800 เมตร พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาและป่าไม้ประมาณร้อยละ 85 ของพื้นที่ทั้งหมด เป็นที่ราบประมาณร้อยละ 15 ของพื้นที่ทั้งหมด เป็นแหล่งต้นน้ำลำธารของลำน้ำภาค และลำน้ำปาด

:: ลักษณะภูมิอากาศ ::

อากาศเย็นสบายตลอดปี อุณหภูมิสูงเฉลี่ย 35.0 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย 13.0 องศาเซลเซียส อุณหภูมิโดยเฉลี่ยทั่วไป 27.0 องศาเซลเซียส ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 1,334.4 มิลลิเมตร/ปี ฤดูฝนเริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม ฤดูหนาวเริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนถึงเดือนกุมภาพันธ์ ฤดูร้อนเริ่มตั้งแต่เดือนเมษายนถึงเดือนมิถุนายน

:: พรรณไม้และสัตว์ป่า ::
สภาพป่าในพื้นที่ที่จัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติภูสอยดาว มีความหลากหลายผสมกัน มีความต่าง ระดับของพื้นที่มาก ในพื้นที่ประกอบด้วย
 
ป่าสนเขา พบขึ้นในระดับความสูงจากน้ำทะเล 1,400 เมตรขึ้นไป เป็นป่าผืนใหญ่ขึ้นเป็นกลุ่ม ชนิดไม้ที่สำคัญที่พบได้แก่ สนสามใบ ก่อชนิดต่างๆ พืชพื้นล่างเป็นพวกหญ้าชนิดต่างๆ ดอกไม้ดิน เช่น ดอกหงอนนาค ดอกกุง เป็นต้น
 
ป่าดิบเขา พบในพื้นที่ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเล 1,000 เมตรขึ้นไป ชนิดไม้ที่ขึ้นประกอบด้วย ก่อ ทะโล้ จำปาป่า กำลังเสือโคร่ง พืชพื้นล่างและพืชอิงอาศัยเป็นพวกพืชในตระกูลขิง ข่า กูด กล้วยไม้ เป็นต้นไม้พุ่มชนิดต่างๆ
 
ป่าดิบชื้น พบขึ้นอยู่ทั่วไปในเขตอุทยานห่งชาติในระดับความสูงจากน้ำทะเล 400-1,000 เมตร พันธุ์ไม้สำคัญได้แก่ กระบาก ยาง จำปีป่า พะอง ก่อเดือย ก่อรัก พืชพื้นล่างและพืชอิงอาศัยได้แก่ สะบ้า กูด และกล้วยไม้ชนิดต่างๆ
 
ป่าดิบแล้ง พบมากตอนกลางของพื้นที่อุทยานแห่งชาติในบริเวณที่เป็นหุบเขา พันธุ์ไม้ที่ขึ้นมี ตะแบกใหญ่ สมพง พะยอม ตะเคียนทอง มะค่าโมง ยมหอม กระบก ฯลฯ
 
ป่าเบญจพรรณ พบอยู่ทั่วไปในแขตอุทยานแห่งชาติ ในระดับความสูงจากน้ำทะเล 300-600 เมตร บริเวณที่ราบเชิงเขา พันธุ์ไม้ที่พบได้แก่ ตะแบก แดง ชิงชัน ประดู่ สมอพิเภก ตีนนก ตะคร้ำ พืชพื้นล่างได้แก่ ไผ่และหญ้าชนิดต่างๆ
 
ป่าเต็งรัง พบขึ้นในพื้นที่บริเวณตอนล่างและตอนบน ขึ้นอยู่ในไหล่เขา เนินเขา และบริเวณที่ราบซึ่งเป็นดินลูกรัง ประกอบด้วย เต็ง รัง เหียง มะขามป้อม ส้าน อ้อยช้าง มะกอกป่า พืชพื้นล่างประกอบด้วยหญ้าคา และหญ้าเพ็ก เป็นต้น
 
ส่วนสัตว์ป่ามีอยู่ชุกชุมหลายชนิดที่พบเห็นและปรากฏร่องรอยได้แก่ เลียงผา กวางป่า เสือโคร่ง เก้ง หมีควาย หมูป่า ลิง อีเห็น เม่น กระต่ายป่า ไก่ป่า ไก่ฟ้าพญาลอ นกเขาไฟ นกขุนทอง นกกระปูดใหญ่ งูจงอาง งูเหลือม ตะกวด ตะพาบน้ำ เป็นต้น
:: ที่ตั้งและการเดินทาง ::
อุทยานแห่งชาติภูสอยดาว
ต.ห้วยมุ่น อ. น้ำปาด จ. อุตรดิตถ์  53110
โทรศัพท์ : 0 5541 9234-5
 
รถยนต์
จากจังหวัดพิษณุโลก ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 11 แล้วแยกเข้าทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1246 ถึงบ้านแพะแยกเข้าทางหลวงหมายเลข 1143 ผ่านอำเภอชาติตระการ แยกเข้าทางหลวงหมายเลข 1237 ผ่านบ้านบ่อภาคไปบรรจบกับเส้นทางแผ่นดินหมายเลข 1268 ถึงน้ำตกภูสอยดาว อุทยานแห่งชาติภูสอยดาว รวมระยะทางประมาณ 188 กิโลเมตร
 
จากจังหวัดอุตรดิตถ์ใช้ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1047 (อุตรดิตถ์-น้ำปาด) จนถึงอำเภอน้ำปาดแล้วเข้าสู่ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1239 ไปอีก 47 กิโลเมตร จึงเข้าสู่ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1268 ไปอีก 18 กิโลเมตร จะถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติ รวมระยะทางประมาณ 133 กิโลเมตร
 
รถโดยสารประจำทาง
การเดินทางด้วยรถโดยสารวิธีที่ 1
- ช่วงที่ 1 จากกรุงเทพฯ ขึ้นรถโดยสารที่สถานีขนส่งหมอชิต สายกรุงเทพฯ-พิษณุโลก ไปลงที่จังหวัดพิษณุโลก
- ช่วงที่ 2 จากจังหวัดพิษณุโลก เดินทางด้วยรถโดยสารระหว่างอำเภอ ไปอำเภอชาติตระการ ระยะทางประมาณ 100 กิโลเมตร
- ช่วงที่ 3 จากอำเภอชาติตระการ เดินทางด้วยรถสองแถว ซึ่งมีวันละ 1 เที่ยว รถออกเดินทางไม่เกิน 09.00 น. ไปที่ทำการอุทยานแห่งชาติภูสอยดาว ระยะทางประมาณ 70 กิโลเมตร
 
การเดินทางด้วยรถโดยสารวิธีที่ 2
- ช่วงที่ 1 จากกรุงเทพฯ ขึ้นรถโดยสารที่สถานีขนส่งหมอชิต สายกรุงเทพฯ-พิษณุโลก ไปลงที่จังหวัดพิษณุโลก
- ช่วงที่ 2 จากจังหวัดพิษณุโลก เดินทางด้วยรถรับจ้างเหมาไป-กลับ ราคาประมาณ 2,600 บาท ไปอุทยานแห่งชาติภูสอยดาว ระยะทางประมาณ 170 กิโลเมตร
 
หมายเหตุ หากนักท่องเที่ยวเดินทางไปถึงอุทยานแห่งชาติภูสอยดาวแล้ว ไม่สามารถขึ้นยอดภูสอยดาวได้ทัน (อุทยานแห่งชาติเปิดให้ขึ้นลานสนภูสอยดาวตั้งแต่เวลา 8.00 - 14.00 น.) ทางอุทยานแห่งชาติได้จัดเตรียมสถานที่กางเต็นท์ไว้บริการ บริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติที่อยู่ด้านล่างไว้แล้ว
:: แหล่งท่องเที่ยว ::
อุทยานแห่งชาติภูสอยดาว มีสภาพภูมิทัศน์ที่สวยงาม ทิวเขาส่วนมากทอดตัวจากทิศตะวันออกสู่ทิศตะวันตกมีความลดหลั่นสูงสลับซับซ้อน หุบเขา เนินเขา ก่อให้เกิดภาพรวมของภูมิทัศน์ที่สวยงามทั้งในการมองมุมกว้างและมุมแคบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยามเช้ามีเมฆหมอกปกคลุม อีกทั้งสภาพอากาศโดยทั่วไปค่อนข้างเย็น และความชื้นในอากาศทุกฤดูก็มีอยู่สูง ก่อให้เกิดความชุ่มชื้นของอากาศน่าพักผ่อนหย่อนใจ ในฤดูหนาวอุณหภูมิโดยทั่วไปอยู่ระหว่าง 1-20 องศาเซลเซียส ส่วนในฤดูร้อนมีลมจากหุบเขาพัดผ่านจากทิศตะวันตกเฉียงใต้ ทำให้อากาศเย็นสบายไม่ร้อน
 
อุทยานแห่งชาติเปิดให้ขึ้นลานสนภูสอยดาว ตั้งแต่เวลา 8.00 - 14.00 น. ของทุกวัน โดยมีช่วงเวลาที่เหมาะสมต่อการเดินทางไปเยือนดังนี้ ช่วงเดือนกันยายน - ต้นพฤศจิกายน บนลานสนภูสอยดาวจะเต็มไปด้วยพรรณไม้ดอกนานาชนิด เช่น หงอนนาค สร้อยสุวรรณา กระดุมเงิน บานสะพรั่งอวดความงามทั่วลานสนสามใบ ช่วงกลางเดือนพฤศจิกายน - กลางเดือนมกราคม เป็นช่วงที่อากาศหนาวเย็น เหมาะแก่การสัมผัสความหนาวเย็นพร้อมชมทิวทัศน์ที่สวยงาม ชมพระอาทิตย์ขึ้นและพระอาทิตย์ตกที่สวยงามไม่แพ้ที่ใดในประเทศไทย เป็นช่วงที่กล้วยไม้รองเท้านารีพันธุ์อินทนนท์ ออกดอกอวดสายตาผู้ที่ขึ้นไปเยือน รวมถึงใบเมเปิลแดงที่เปลี่ยนสีเพิ่มสีสันแก่ลานให้น่าสนใจมากขึ้น และในช่วงตั้งแต่วันที่ 15 มกราคม-31 มิถุนายน ของทุกปี อุทยานแห่งชาติปิดการพักแรมบนลานสนภูสอยดาว
:: ด้านธรรมชาติที่สวยงาม ::
ลานสนสามใบภูสอยดาว   เป็นพื้นที่ป่าธรรมชาติ มีพื้นที่ประมาณ 1,000 กว่าไร่ เป็นที่ราบบนเทือกเขาภูสอยดาว ตั้งอยู่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,633 เมตร สภาพพื้นที่ของลานสนสามใบจะเป็นเนินสูงต่ำสลับกันไป เป็นป่าสนสามใบ พืชชั้นล่างเป็นทุ่งหญ้ากว้างใหญ่ ช่วงฤดูฝน เดือนสิงหาคมถึงเดือนกันยายนของทุกปี กลางทุ่งหญ้ามีดอกไม้ดินชูช่อแย่งกันออกดอกเป็นกลุ่มหนาแน่น เช่น ดอกหงอนนาคจะมีดอกสีม่วง ดอกสร้อยสุวรรณาจะมีดอกสีเหลือง และดอกหญ้ารากหอมจะมีดอกสีม่วงเข้มสวยงามมาก ฤดูหนาวจะมีอุณหภูมิระหว่าง 1-5 องศาเซลเซียส มีดอกกระดุมเงิน, กล้วยไม้รองเท้านารีอินทนนท์ ,ใบเมเปิลซึ่งจะเปลี่ยนเป็นสีแดงสวยงามมาก การเดินทางไปเที่ยวลานสนสามใบภูสอยดาว ต้องเดินทางเท้าจากน้ำตกภูสอยดาวริมเส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1268 ขึ้นสู่ยอดภูสอยดาวระยะทางประมาณ 6.5 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินเท้าประมาณ 4-6 ชั่วโมง โดยระหว่างเดินเท้าขึ้นสู่ลานสนสามใบภูสอยดาวจะพบ สภาพป่าที่สมบูรณ์และสวยงามมาก ยอดสูงสุดของภูสอยดาวสูงจากระดับน้ำทะเล 2,102 เมตร ซึ่งสูงเป็นอันดับ 4 ของประเทศไทย
 

น้ำตกภูสอยดาว   ตั้งอยู่ในท้องที่ตำบลห้วยมุ่น อำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์ เป็นน้ำตกขนาดกลางในลำห้วยน้ำพายไหลลงสู่แม่น้ำปาดที่อำเภอน้ำปาด มีชั้นน้ำตกทั้งหมด 5 ชั้น แต่ละชั้นมีชื่อไว้อย่างไพเราะว่า ภูสอยดาว สกาวเดือน เหมือนฝัน ก

หมายเลขบันทึก: 220275เขียนเมื่อ 2 พฤศจิกายน 2008 09:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 เมษายน 2012 18:13 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ขอบคุณมากค่ะ ข้อมูลดีมากค่ะ

บ้านเรามีสถานที่ท่องเที่ยวมากมายครับ

ผมเองยังไปได้ไม่ถึงครึ่งลิสต์เลยครับ

ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆครับ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท