ลักคณา พบร่มเย็น
อาจารย์ ลักคณา ลักคณา พบร่มเย็น พบร่มเย็น

นิยามศัพท์และขอบเขตการศึกษาสิทธิในที่ดินรัฐของบุคคลบนพื้นที่สูง


การศึกษาสิทธิในที่ดินรัฐของบุคคลบนพื้นที่สูง

--------------------------

นิยามศัพท์

--------------------------

“พื้นที่สูง” หมายความว่า พื้นที่ที่เป็นที่อยู่ของชาวเขาเผ่าต่างๆและชนกลุ่มน้อย ซึ่งเป็นที่ตั้งบ้านเรือนและที่ทำกินที่มีความลาดชันโดยเฉลี่ยมากกว่าร้อยละ 35 หรือมีความสูงกว่าระดับน้ำทะเล 500 เมตรขึ้นไป ในจังหวัดต่างๆ 20 จังหวัด คือ เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน เชียงราย พะเยา น่าน ลำพูน ลำปาง แพร่ ตาก เพชรบูรณ์ เลย พิษณุโลก สุโขทัย กำแพงเพชร กาญจนบุรี อุทัยธานี สุพรรณบุรี ราชบุรี ประจวบคีรีขันธ์ และเพชรบูรณ์ 

“บุคคลบนพื้นที่สูง”  หมายถึง บุคคลที่อาศัยอยู่บนพื้นที่สูงซึ่งเป็นชาวไทยภูเขา และชนกลุ่มน้อยที่ทางราชการยอมรับโดยกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย จัดทำทะเบียนประวัติและออกบัตรประจำตัวชนกลุ่มน้อยให้ รวม 18กลุ่ม  ได้แก่ ญวนอพยพ, อดีตทหารจีนคณะชาติ, จีนฮ่ออพยพพลเรือน, จีนฮ่ออิสระ, อดีตโจรจีนคอมมิวนิสต์มลายา (จคม.), , ไทยลื้อ, ลาวอพยพ, เนปาลอพยพ, ผู้พลัดถิ่นสัญชาติพม่า, ผู้หลบหนีเข้าเมืองจากพม่า  ประเภทมีถิ่นที่อยู่ถาวร,ผู้หลบหนีเข้าเมืองจากพม่า  ประเภทที่เข้ามาใช้แรงงาน, ผู้ผลัดถิ่นสัญชาติพม่าเชื้อสายไทย, บุคคลบนพื้นที่สูง, ผู้อพยพเชื้อสายไทยจากจังหวัดเกาะกงกัมพูชา, ผู้หลบหนีเข้าเมืองจากกัมพูชา,  เผ่าตองเหลือง (มลาบรี) หรือผีตองเหลือง และชุมชนบนพื้นที่สูง โดยในปัจจุบันบัตรประจำตัวชนกลุ่มน้อยเหล่านี้ได้ถูกยกเลิก โดยมีการจัดทำบัตรประจำตัวคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทยแทน 

“ที่ดินของรัฐ” หมายถึง  ที่ดินยังมิได้ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของบุคคลหนึ่งบุคคลใด หรือบุคคลหนึ่งบุคคลใดยังไม่มีสิทธิครอบครองตามประมวลกฎหมายที่ดิน ซึ่งได้แก่ทรัพย์ของแผ่นดิน และสาธารณสมบัติของแผ่นดิน[1] 

(1) ทรัพย์ของแผ่นดิน  จึงได้แก่  ที่ราชพัสดุ  ที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ที่ดินส่วนพระมหากษัตริย์

(2) สาธารณสมบัติของแผ่นดิน สำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันเพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะ ได้แก่  แม่น้ำ  ถนน  ที่สาธารณประโยชน์  ที่ดินที่ได้หวงห้ามหรือสงวนไว้ตามความต้องการของทบวงการเมืองใด เพื่อประโยชน์ของแผ่นดิน ได้แก่  ที่ดินในเขตอุทยานแห่งชาติ  ที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติ  เป็นต้น 

 

--------------------------

ขอบเขตการศึกษา

--------------------------

สำหรับวิทยานิพนธ์ เรื่อง สิทธิในที่ดินรัฐของบุคคลบนพื้นที่สูง  จะจำกัดขอบเขตการศึกษา  ดังนี้

 

๑.     ข้อมูลด้านพื้นที่ 

โดยศึกษาพื้นที่สูงทางภาคเหนือของไทย   ซึ่งได้แก่ จังหวัดกำแพงเพชร  ตาก  ลำปาง เชียงใหม่  แม่ฮ่องสอน  เชียงราย  พะเยา  แพร่  น่าน  อุตรดิตถ์  เนื่องจาก พื้นที่เหล่านี้มีกลุ่มชาติพันธุ์หรือชาวเขาเผ่าต่างๆ อาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก  ประกอบกับพื้นที่ทางภาคเหนือของไทยส่วนใหญ่เป็นพื้นที่สูงที่มีปัญหาความขัดแย้งในเรื่องที่ดินทำกินอยู่เป็นจำนวนมาก การจำกัดพื้นที่ศึกษาให้เล็กลงจะทำให้สะดวกต่อการศึกษาในเชิงลึกและทำให้เกิดความชัดเจนมากยิ่งขึ้น

 

๒.      ข้อมูลด้านบุคคล

โดยศึกษาบุคคลอาศัยอยู่บนพื้นที่สูงทางภาคเหนือของไทย ใน 10 จังหวัด  โดยแบ่งประเภทบุคคลบนพื้นที่สูงที่ต้องการทำการศึกษา  ดังนี้

2.1  บุคคลบนพื้นที่สูงหรือชาวเขาที่ได้รับสัญชาติไทย ไม่ว่าจะได้รับสัญชาติไทยโดยการเกิด หรือได้รับสัญชาติภายหลังการเกิดก็ตาม

2.2 บุคคลบนพื้นที่สูงหรือชาวเขาที่ยังไม่ได้รับสัญชาติไทย แต่มีสิทธิอาศัยอยู่ในประเทศไทยอย่างถาวร  ดังนั้น บุคคลเหล่านี้จึงถือบัตรประจำตัวคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทยได้

 

3.  ข้อมูลด้านข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายที่จะทำการศึกษา

โดยศึกษาข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นบุคคลบนพื้นที่สูงตามกลุ่มเป้าหมายในข้อ 2 ที่อาศัยอยู่บนพื้นที่สูงทางภาคเหนือของไทยใน 10 จังหวัดที่กล่าวมาข้างต้น  โดยแบ่งการศึกษาถึงข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายที่ต้องการทำการศึกษาดังนี้

3.1  ศึกษาสิทธิในที่ดิน ทั้งที่เป็นสิทธิของปัจเจกชนและสิทธิของชุมชน

3.2 ศึกษาเฉพาที่ดินของรัฐ  โดยศึกษาที่ดินในเขตป่าเป็นสำคัญ เช่นที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติ  อุทยานแห่งชาติ  แต่เนื่องจาก ได้มีการนำที่ดินในเขตป่ามาจัดให้ประชาชนเข้าทำประโยชน์  จึงต้องศึกษาถึงที่ดินในเขตนิคมสร้างตนเอง  เขตนิคมสหกรณ์  และเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม  และที่ราชพัสดุ เป็นต้น

3.3  ศึกษาสิทธิในที่ดินของรัฐของบุคคลบนพื้นที่สูง

 



[1] ประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 2  และประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 4 วรรค 3

หมายเลขบันทึก: 222192เขียนเมื่อ 11 พฤศจิกายน 2008 14:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มิถุนายน 2012 17:24 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

ป่าชุมชน ค่ะ

ขออนุญาตเสนอว่าประเด็นนี้ต้องมีด้วยหนา

คำว่า "บุคคลบนพื้นที่สูง" ในปกติประเพณีทางปกครองไทยหมายถึง

๑. คนที่ไม่มีสัญชาติไทย หรือยังพิสูจน์ไม่ได้ว่า มีสัญชาติไทย

๒. เป็นคนที่ถือบัตรชนกลุ่มน้อย ซึ่งแปลว่า เป็นคนเข้าเมืองผิดกฎหมาย แต่ได้รับผ่อนผันให้อาศัยชั่วคราวค่ะ

อาจต้องมีการศึกษาถกเถียงมังคะ มันไม่อาจสรุปง่ายหรอกค่ะ ลองไปอ่านดูดีๆ

พอได้รับการลงรายการสัญชาติไทย สถานะบุคคลบนพื้นที่สูงก็สิ้นสุด

บุคคลบนพื้นที่สูงสัญชาติไทยจึงไม่อาจมีได้ค่ะในสายตาปกติประเพณีปกครอง

คำว่า "บุคคลบนพื้นที่สูง" ในปกติประเพณีทางปกครองไทยหมายถึง

๑. คนที่ไม่มีสัญชาติไทย หรือยังพิสูจน์ไม่ได้ว่า มีสัญชาติไทย

๒. เป็นคนที่ถือบัตรชนกลุ่มน้อย ซึ่งแปลว่า เป็นคนเข้าเมืองผิดกฎหมาย แต่ได้รับผ่อนผันให้อาศัยชั่วคราวค่ะ

อาจต้องมีการศึกษาถกเถียงมังคะ มันไม่อาจสรุปง่ายหรอกค่ะ ลองไปอ่านดูดีๆ

พอได้รับการลงรายการสัญชาติไทย สถานะบุคคลบนพื้นที่สูงก็สิ้นสุด

บุคคลบนพื้นที่สูงสัญชาติไทยจึงไม่อาจมีได้ค่ะในสายตาปกติประเพณีปกครอง

ปี 2517 ระเบียบกระทรวงมหาดไทย เรียกว่า "ชาวเขา"

ปี 2535 ระเบียบสำนักทะเีบียนกลางฯ เรียก "ชาวไทยภูเขา"

ปี 2543 ระเบียบสำนัำกทะเบียนกลางฯ เรียก "บุคคลบนพื้นที่สูง"

่่ส่วน "ชนกลุ่มน้อย" เป็นนโยบาย (โดย สมช. + กรมการปกครอง)

ที่กว้าง และบางส่วนอาจไปคลุมถึง "บางคน" ที่เป็น "ชาวเขา" , "ชาวไทยภูเขา" , "บุคคลบนพื้นที่สูง" หากบางคนนั้น ถือบัตรสีฟ้า, เขียวขอบแดง หรือบัตรสีอื่นๆๆ

ซึ่งระเบียบฯ 2547 รวมบัตรทุกสีเป็นสีชมพูแบบอ.ปุ๋มว่า และเรียกมัน (ใหม่อีกครั้ง) ว่า

"บุคคลผู้ไม่มีสัญชาติไทย"

ขออนุญาตแสดงความคิดเห็นดังนี้

-กลุ่มคนอาจจะต่างอย่างที่อ.แหววแนะ--ซึ่งเราเห็นพ้อง--ตามข้อมูลหลายบรรทัดบนข้างต้น

-แต่ปัญหาร่วมของคนทุกกลุ่มข้างต้นคือ ข้อเท็จจริงทางปฏิบัิตที่เรามักเห็นทั้งคนไทยดั้งเดิม (ขออนุญาตเพิ่ม--ให้สับสนวุ่นวายมากขึ้น) "ชาวเขา" "ชาวไทยภูเขา" "บุคคลบนพื้นที่สูง" และ"ชนกลุ่มน้อย" มีปัญหาเรื่องการถือครอง/ครอบครองที่ดิน จนล่าสุดกรณีไทยใหญ่ที่เข้ามาหางานทำในเมืองเชียงใหม่ ก็ไปถือครองที่ดินสปก. ที่อ.แม่แตง

สถานะบุคคล เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้สิทธิในการถือครอง/มีที่ดินของแต่ละคนต่างกันออกไป

--เอ.. จะบอกอะไรต่อนะ--ลืมเฉยเลยอ่ะ--

งั้น--ขออนุญาตไปซักผ้าก่อนนะคะ

เดี๋ยวกลับมาใหม่

จึงต้องถาม อ.ปุ๋มว่าจะศึกษาใครกันแน่ ????

บางทีอาจไม่ต้องใช้คำว่า "บุคคลบนพื้นที่สูง" ก็ได้

ใช้คำเทคนิคนะ มันมีข้อจำกัด

เรื่องนี้ เอามาคุยได้ทีละสามเดือนเลยล่ะ

รอบเก้าเดือนนี้นะ เอาแผนการทำงานมาให้ได้เสียทีเถอะค่ะ

        ขอบคุณค่ะ อ.  ตอนนี้ปุ๋มกำลังให้คำนิยามที่ชัดเจนขึ้นค่ะ  เพราะปุ๋มคงศึกษาชาวไทยภูเขาที่ได้สัญชาติไทย  คนไม่มีสัญชาติไทย  โดยเคยมีบัตรเขียวขอบแดงมาก่อน (ศึกษาในลักษณะชุมชน  ซึ่งตอนนี้การจัดนิคมโดยส.ป.ก.ที่อ๋อมก๋อยมีกลุ่มนี้อยู่ด้วย  โดยสปก.คงรอให้เขาได้สัญชาติไทย  โดยบันทึกว่ากำลังอยู่ในระหว่างขอสัญชาติไทย  แต่ไม่ตัดสิทธิเขาเลยนะคะ  ยังคงให้เขาถือครองและเข้าทำประโยชน์ในที่ดินอยู่ก่อนค่ะ)  ส่วนคนไม่มีสถานะบุคคล  คงต้องพิจารณาว่าหน่วยงานรัฐได้มีการจัดโครงการให้หรือไม่  เช่นกรณีโครงการหลวง  โครงการหมู่บ้านคจก. หรือโครงการอื่นๆ หรือไม่  เพราะถ้ามีคงต้องพิจารณาสิทธิการใช้ประโยชน์ในที่ดินมีมากน้อยแค่ไหน  แต่ถ้าไม่มีโครงการอะไรไปสนับสนุน  ก็จะไม่มีสิทธิ

     ปุ๋มจะส่งอันใหม่มาอีกทีค่ะ

 

  

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท