น้อง นศพ.รามา มาแจม


เมื่อตั้องออกไปทำงานที่โรงพยาบาลชุมชุนซึ่งอยู่ห่างไกลความเจริญ เพียงวิธีง่ายๆนี้ ก็ทำให้เราเป็นส่วนหนึ่งที่จะป้องกันการเกิดแผลติดเชื้อในผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานได้และลดอุบัติการณ์ของการตัดเท้าในผู้ป่วยเบาหวานลงได้

เรียนอ.เชิดพงศ์ที่เคารพ

                เนื่องด้วยพวกเรา 3 คน นศพ.รามาธิบดีชั้นปีที่ 5 ได้ไป ฝึกปฏิบติงานที่รพ.สงฆ์ ในเดือนสิงหาคมที่ผ่านมานั้น นับเป็นความโชคดีของพวกเราอย่างยิ่งที่ได้ พบกับอาจารย์ และได้มีโอกาสเรียนรู้เรื่องเกี่ยวกับเท้าที่

ใครหลายๆคนมองข้าม ซึ่งพวกเราพบว่ามันน่าสนใจและสมควรต่อการใส่ใจอย่างมาก เนื่องจากเท้าเป็นส่วนที่สำคัญที่คอยแบกรับน้ำหนักของพวกเราทุกคน แต่เวลาที่เท้าเรามีปัญหาเรากลับมองข้ามมันไป

                สังคมสงฆ์เป็นกลุ่มสังคมหนึ่งซึ่งพระสงฆ์ต้องใช้เท้าอยู่เป็นประจำ เนื่องจากต้องเดินอยู่ตลอดเวลา และยิ่งพระภิกษุที่เคร่งๆมากด้วยแล้ว ยังเดินเท้าเปล่าอีกด้วย เท้าจึงต้องรับภาระหนักอยู่ตลอดเวลา ในขณะ

เดียวกันนั้น พระภิกษุกำลังเผยแผ่พระธรรมซึ่งเป็นเหมือนยาใจให้พุทธศาสนิกชนทุกคนอยู่นั้น โอกาสที่พวกท่านจะได้ดูแลสุขภาพตนเองกลับน้อยลง ตั้งแต่การเลือกอาหารที่เหมาะสม หรือการใส่ใจกับเท้าที่ใช่อยู่ทุกวัน

                ทุกคนทราบดีว่า เบาหวานเป็นปัญหาใหญ่ระดับชาติ เบาหวานทำให้หลอดเลือดทั่วร่างกายเสื่อม เส้นประสาทเสื่อม และแน่นอนว่าปลายเท้าที่ไร้ความรู้สึกนั้นย่อมจะเกิดแผลได้ง่ายจากการขาดความระมัดระวัง ซ้ำ

ร้ายจากภาวะที่หลอดเลือดเสื่อมนั้น ทำให้แผลนั้นหายช้ากลายเป็นแผลเรื้อรังอีกด้วย

                ในผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานนั้น  มีความเสี่ยงที่จะเกิดแผลติดเชื้อที่เท้าได้ง่าย เนื่องจากในเส้นเลือดของผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานนั้นมักเกิดการอักเสบหรือ vasculitis ได้ ทำให้มีภาวะแทรกซ้อนต่างๆของโรคเบา

หวานตามมา ท่สำคัญคือเกิดภาวะ  neuropathy ซึ่งเป็นได้ทั้งแบบ Sensory neuropathy , Motor neuropathy และ Autonomic neuropathy โดยเฉพาะภาวะ Sensory neuropathy นั้นมักเริ่มเกิดบริเวณปลายมือปลาย

เท้า  ผู้ป่วยจะมีอาการชาและสูญเสียการรับความรู้สึกเจ็บปวดโดยเฉพาะที่มือและเท้า ซึ่งทางการแพทย์เรียกว่า stocking and glove pattern  

ในคนปกติที่สามารถรับรู้ความรู้สึกได้ตามปกติจะสามารถรับรู้ความรู้สึกเจ็บปวดได้เมื่อร่างกายได้รับ trauma และจะตอบสนองโดยกายถอยหนี    แต่ในผู้ป่วยที่เป็นโรคบาหวานซึ่งมีภาวะ Sensory neuropathy นี้จะไม่

สามารถรับรู้ความรูสึกเจ็บปวดนี้ได้ จึงทำให้เกิดการขาดความระมัดระวัง  ผู้ป่วยโรคเบาหวานนี้จึงมักเกิด repetitive trauma อยู่เสมอ  โดยเฉพาะ trauma ที่เรียกว่า microtrauma ซึ่งเป็น trauma แบบเล็กน้อยที่มักเกิดใน

การใช้ชีวิตประจำวัน เช่น trauma ที่เกิดจาก pressure ที่กระทำต่อเท้าในขณะที่มีการเดิน  เมื่อได้รับ trauma นี้อยู่บ่อยๆ จึงก่อให้เกิดแผลขึ้นได้ง่าย  แผลดังกล่าวจะใช้เวลาในการ healing นานเนื่องจากการขาดเลือดมา

เลี้ยง ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดการติดเชื้อตามมา ซึ่งหากปล่อยไว้นานแผลอาจลุกลามจนผู้ป่วยสูญเสียเท้าได้

                การป้องกันการเกิดแผลดังกล่าวจึงเป็นสิ่งสำคัญ จากประสบการณ์การเรียนรู้ที่เราได้จากการไปฝึกปฏิบัติงานกับอาจารย์เชิดพงศ์ที่โรงพยาบาลสงฆ์นั้น เป็นสิ่งล้ำค่ามากที่จะช่วยพระภิกษุสงฆ์เหล่านี้

อาจารย์เชิดพงศ์ได้สอนวีธีการดูแลปฐมพยาบาลเท้าเบื้องต้น โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายซื้อรองเท้าที่สิ้นเปลืองเกินเหตุ เนื่องจากประชาชนชาวไทย ไม่ค่อยมีเงินสั่งตัดรองเท้าพิเศษราคาสูง อาจารย์จึงได้สอนให้ทำการ

กระจายแนวแรงออกจากบริเวณแผลที่ถูกกดทับ โดยการนำผ้ากอซมาพันเป็นเกลียวแล้วทำเป็นรูปวงกลมๆ และนำห่วงนี้ไปวางบริเวณแผล โดยให้แผลอยู่ที่ตรงกลางห่วง เพื่อไม่ให่เกิดแรงกดทับบริเวณแผลและกระจายแนว

แรงไปบริเวณรอบๆแผลแทน ซึ่งวิธีการดังกล่าวนี้เป็นวิธีง่ายๆที่คนทั่วไปก็สามารถทำได้และได้ผลอย่างดีเยี่ยม สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตการเป็นแพทย์ได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะเมื่อตั้องออกไปทำงานที่โรงพยาบาล

ชุมชุนซึ่งอยู่ห่างไกลความเจริญ เพียงวิธีง่ายๆนี้ ก็ทำให้เราเป็นส่วนหนึ่งที่จะป้องกันการเกิดแผลติดเชื้อในผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานได้และลดอุบัติการณ์ของการตัดเท้าในผู้ป่วยเบาหวานลงได้

                สุดท้ายนี้พวกเราต้องกราบขออภัยอาจารย์เชิดพงศ์อย่างยิ่งที่ไม่ได้ส่งงานตามที่ตกลงกับอาจารย์ในตอนแรก เนื่องจากพวกเราทำนามบัตรอาจารย์หาย จึงอยากให้อาจารย์ให้อภัยและให้โอกาสพวกเราในการส่ง

งานแก้ตัวในครั้งด้วยครับ/ค่ะ

 

 

ขอร่วมอนุโมทนาบุญกับอาจารย์ด้วยครับ

 

นศพ.ปีที่ 5 รพ.รามาธิบดี

นศพ.ธนพัฒน์  เลิศวิทยากำจร

นศพ.ปิยะรัตน์  ลิมปวิทยากุล

นศพ.ธีรนันท์  มิตรภานนท์

คำสำคัญ (Tags): #dm foot#ulcer
หมายเลขบันทึก: 223237เขียนเมื่อ 16 พฤศจิกายน 2008 00:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:52 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท