ธรรมะของครูบาอาจารย์


สติเป็นสภาวะธรรมอันหนึ่งซึ่งให้ธรรมทั้งหลายเกิดขึ้นโดยพร้อมเพรียง สติก็คือชีวิตถ้าขาดสติเมื่อใดก็ตามเหมือนตาย

หลวงพ่อชา สุภทฺโท

http://www.fungdham.com/images/char.jpg

ใจจะสงบได้ ก็ด้วยความเห็นที่ถูก

คนตายแล้วเดินได้ พูดได้ หายใจได้ ใครเคยเห็นไหม ใครเคยคิดไหม ตายทางจิต... ตายทางสติปัญญา

ดูซิ... เราข้ามกันไปหมด พากันทำบุญ แต่ว่าไม่พากันละบาป ...ผ้าสกปรก ไม่ฟอก แต่อยากจะรับน้ำย้อมนะ

...เราจึงไม่จำกัดรูปแบบการปฏิบัติ แต่มักสอนให้ภาวนา พุทโธ หรือ อานาปานสติ คือการกำหนดลมหายใจเข้าออก ทำไปพอสมควรแล้วจึงค่อยทำความรู้ความเห็นของเราให้ถูกต้องเรื่อยไป
ที่เรามาปฏิบัติ

ที่เรามาปฏิบัติกันอยู่ทุกวันนี้ ก็เพื่อให้เห็นจิตเดิม เราคิดว่าจิตเป็นสุขเป็นทุกข์ แต่ความจริงจิตไม่ได้สร้างสุขสร้างทุกข์ อารมณ์มาหลอกลวงต่างหาก มันจึงหลงอารมณ์ ฉะนั้น เราจึงต้องมาฝึกจิตใจให้ฉลาดขึ้น ให้รู้จักอารมณ์ ไม่ให้เป็นไปตามอารมณ์ จิตก็สงบเรื่องแค่นี้เอง ที่เราต้องมาทำกรรมฐานกันยุ่งยากทุกวันนี้

สติ เป็นสภาวธรรมอันหนึ่งซึ่งให้ธรรมทั้งหลายเกิดขึ้นโดยพร้อมเพรียง สติ ก็คือ ชีวิต ถ้าขาดสติเมื่อใดก็ตามเหมือนตาย

การทำจิตใจของเราให้มีกำลัง กับการทำกายของเราให้มีกำลังมันต่างกัน การทำกายให้มีกำลังก็คือ การออกกำลังกาย บริหาร มีการประโดด การวิ่ง นี่คือการทำกายให้มีกำลัง
การทำจิตให้มีกำลังก็คือ ทำจิตให้สงบ ไม่ใช่ทำจิตให้คิดนั่นคิดนี่
ไปต่าง ๆ ให้อยู่ในขอบเขตของมัน เพราะว่าจิตของเรานั้นไม่เคยได้สงบ ไม่เคยมีกำลัง มันจึงไม่มีกำลังทางด้านสมาธิภายใน

การฝึกจิตไม่เหมือนฝึกสัตว์ จิตนี่เป็นการฝึกยากแท้ๆ แต่อย่าไปท้อถอยง่าย ๆ ถ้ามันคิดไปทั่วทิศก็กลั้นใจมันไว้ พอใจมันจะขาดมันก็คิดอะไรไม่ออก มันก็วิ่งกลับมาเอง ให้ทำไปเถอะ

จิตของเรานี้ เมื่อไม่มีใครตามรักษา มันก็เหมือนคนคนหนึ่งที่ปราศจากพ่อแม่ที่ดูแล เป็นคนอนาถานั้นเป็นคนที่ขาดที่พึ่งก็เป็นทุกข์ จิตนี้ก็เหมือนกัน ถ้าขาดการอบรมบ่มนิสัย หรือทำความเห็นให้ถูกต้องแล้ว จิตนี้ก็ลำบากมาก

ผู้ไปยึดอารมณ์จะเป็นทุกข์ เพราะอารมณ์มันไม่เที่ยง

การทำความเพียรให้ทำอย่าหยุด อย่าปล่อยไปตามอารมณ์ให้ฝืนทำไป ถึงจะคร้านก็ให้ทำ จะขยันก็ให้ทำ จะนั่งก็ทำ จะเดินก็ทำ เมื่อจะนอนก็ให้กำหนดลมหายใจว่า "ข้าพเจ้าจะไม่เอาความสุขในการนอน" สอนจิตไว้อย่างนี้ พอรู้สึกตัวก็ลุกขึ้นมาทำความเพียรต่อไป...
เวลานอน ให้นอนตะแคงข้างขวา กำหนดอยู่ที่ลมหายใจ "พุทโธ พุทโธ" จนกว่าจะหลับ ครั้นตื่นก็เหมือนกับมี "พุทโธ" อยู่ไม่ขาดตอนเลย จึงจะเป็นความสงบเกิดขึ้นมา มันเป็นสติอยู่ตลอดเวลา

สมเด็จพระบรมศาสดา ท่านตรัสสอนไว้แล้วทุกอย่างในเรื่องการประพฤติปฏิบัติ แต่พวกเราทั้งหลายยังไม่ได้ปฏิบัติกันหรือไม่ก็ปฏิบัติแต่ปากเท่านั้น
หลักของพระพุทธศาสนานั้น ไม่ใช่การพูดกันเฉย ๆ หรือด้วยการเดา หรือการคิดเอาเอง หลักของพระพุทธศาสนาที่แท้จริ
งคือ การรู้เท่าทันความจริงตามความเป็นจริงนั่นเอง ถ้ารู้เท่าทันตามความเป็นจริงนี้แล้ว การสอนก็ไม่จำเป็น แต่ถ้าไม่รู้ถึงความเป็นจริงอันนี้ แม้จะฟังคำสอนเท่าใด ก็เหมือนกับไม่ได้ฟัง

เวลาในชีวิตของเรามีไม่มากนัก ให้สอนตัวเอง ไม่ต้องไปพยายามสอนคนอื่น เดินไปเดินมาก็ให้สอนตัวเอง เอาชนะตัวเอง ไม่ต้องเอาชนะคนอื่น จะยืน จะเดิน จะนั่ง จะนอน จะไป จะมา ทุกอย่างจิตกำหนดอยู่เสมอ... ถ้าเราตามดูจิตเรา มันจะเห็นกิเลส มันจะเห็นจิตของเราสม่ำเสมอ สติจะติดต่อเป็นวงกลม ปฏิบัติเช่นี้เร็วเร็วมาก ปัญญามันจะเกิดขึ้น มันจะเห็นตามสภาวะมันเองทุกๆ อย่าง

การนั่งสมาธิ นั่งให้ตัวตรง อย่างเงยหน้ามากไป อย่าก้มหน้าเกินไป เอาขนาดพอดี เหมือนพระพุทธรูปนั่นแหละ มันจึงสว่างไสวดี
ครั้นจะเปลี่ยนอิริยาบถ ก็ให้อดทนจนขีดสุดเสียก่อน ปวดก็ให้ปวดไป อย่างเพิ่งรีบเปลี่ยน อย่าคิดว่า "บ๊ะ ไม่ไหวแล้ว พักก่อนเถอะน่า" อดทนมันจนปวดถึงขนาดก่อน พอมนถึงขนาดนั้นแล้วก็ให้ทนต่
อไปอีก ทนต่อไป ๆ จนมันไม่มีแก่ใจจะว่า "พุทโธ" เมื่อไม่ว่า "พุทโธ" ก็เอาตรงที่มันเจ็บนั่นแหละมาว่าแทน "อุ๊ย เจ็บ เจ็บแท้ ๆ หนอ" เอาเจ็บนั้นมาเป็นอารมณ์แทน "พุทโธ" ก็ได้ กำหนดให้ติดต่อกันไปเรื่อยๆ นั่งไปเรื่อย ดูซิว่าเมื่อปวดถึงที่สุดแล้วมันจะเกิดอะไรขึ้น
พระพุทธเจ้าว่ามันปวดเอง มันก็หายเอง ให้มันตายไปก็อย่าเลิก บางครั้งมันเหงื่อแตกเม็ดโป้ง ๆ เท่าเม็ดข้าวโพดไหลย้อยมาตามอก ถ้าครั้นทำจนมันได้ข้ามเวทนาอั
นหนึ่งแล้ว มันก็รู้เรื่องเท่านั้นแหละ ให้ค่อยทำไปเรื่อย ๆ อย่าเร่งรัดตัวเองเกินไป

จิตนี้ ถ้าอารมณ์มาถูก มันก็กวัดแกว่งไปตามอารมณ์ ยิ่งมันไม่รู้เรื่องธรรมะแล้ว ก็ยิ่งปล่อยไปตามอารมณ์ของเจ้าของเรื่อยไป อารมณ์สุขก็ปล่อยตามไป อารมณ์ทุกข์ก็ปล่อยตามไป วุ่นวายไปเรื่อย ๆ จนชาวมนุษย์ทั้งหลายเกิดเป็นโรคประสาท เพราะไม่รู้เรื่อง ปล่อยไปตามอารมณ์ ไม่รู้จักรักษาจิตของเจ้าของ

การปฏิบัติจริงๆ ต้องปฏิบัติเมื่อมีอารมณ์ มีสติตามรู้เท่าทันอารมณ์อยู่ตลอดเวลา ไม่เลือกเวลา สถานที่ หรือโอกาส ทุกอิริยาบถเป็นการปฏิบัติอยู่ทั้งนั้น

ผู้ใดมีสติอยู่ทุกเวลา ผู้นั้นก็ได้ฟังธรรมของพระพุทธเจ้าอยู่ตลอดเวลา

หลวงปู่หล้า เขมปตฺโต

ต้องเป็นผู้มีสัจจะ ตั้งฐานทัพไว้ให้ดี ตั้งมั่นด้วยความอดทน มานะ สัจจะ เพียรเพ่งเร่งภาวนา ขยันหมั่นเพียร ฝนทั่งให้เป็นเข็มต้องถือว่าเป็นเรื่องธรรมดาเล็กน้อย ความเพรียรเป็นตบะเผากิเลส

ศรัทธาเชื่อในเป้ากรรมฐานที่ตั้งไว้ เพียรประกอบกับกรรมฐานที่ตั้งไว้ สติระลึกไว้ในกรรมฐานที่ตั้งไว้ สมาธิตั้งมั่นในกรรมฐานที่ตั้งไว้ ปัญญารอบรู้ในกรรมฐานที่ตั้งไว้นั้น ผลรายรับก็ต้องปรากฏเอง ตามส่วนควรค่าที่ทำน้อยและมาก ให้ผลไม่ลำบาก ไม่นิยมกาลเวลา ไม่เหมือนต้นไม้ผลไม้ อันเป็นของนอก ขอให้สร้างเหตุดีพลีไว้ที่ดวงใจ


กรรมฐานแต่ละอย่าง ๆ มีพระคุณอยู่ก็จริง ยาแก้โรคแต่ละอย่าง ๆ มีคุณอยู่ก็จริง ถ้าวางไม่ถูกกับโรค โรคก็หายยากด้วยข้อนี้ต้องขึ้นอยู่กับเจ้าตัวของใครของมัน จะสังเกตรู้เองส่วนตัว

พระธรรมเป็นของลุ่มลึก แต่จะลึกสักเพียงใดก็ลึกลงที่ใจ จะตื้นก็ตื้นขึ้นที่ใจ ไม่ใช่ลึกตื้นอยู่ที่ดินฟ้าอากาศ ลม ไฟ น้ำ ภายนอก

มุ่งดีในโลกีย์เป็นทางวนเวียน
มุ่งดีในทางโลกุตตระเป็นทางพ้
นทุกข์

ถ้ามุ่งแต่เป็นภาระน้อมออกนอก สอนผู้อื่นโดยถ่ายเดียวก็ขาดเมตตาตน เมื่อขาดเมตตาตนแล้ว จะเมตตาต่อท่านผู้อื่นอย่างไรได้ เพราะไม่มีทุน จะเอาทุนที่ไหนไปจ่าย ถ้ายืมไปจ่าย ดอกเบี้ยก็ท่วมทับถมมากขึ้นทวีหาไม่ทัน

มองตัวเองให้มากจึงจะเป็นคนดีได้ มัวแต่มองท่านผู้อื่นแล้วไซร้ ก็กลายเป็นคนพาลไปไม่รู้ตัว เพราะนิสัยคนพาล ย่อมเพ่งโทษผู้อื่นเป็นวัตร โบราณท่านกล่าวว่า อุจจาของตน นั่งดมอยู่ก็พอดมได้ อุจจาระท่านผู้อื่นเล่า มากระทบจมูกเข้าก็เกิดเป็นพิษเป็นภัยขึ้น (โลกทั้งปวงย่อมเป็นแบบนี้เป็นส่วนมาก)

ถ้าหากโลกทั้งปวงหนักไปทางสอนตนเองเป็นชั้นหนึ่ง และเป็นของจำเป็นมากกว่าสิ่งใดๆ แล้ว การโต้เพียงเกี่ยงงอนรังเกียจเบียดสีกัน ก็คงสงบไปในตัวเท่าที่ควร และพุทธศาสนาก็ยืนยันว่า "สอนตนดีแล้ว จึงสอนท่านผู้อื่น" จึงไม่เดือดร้อนในภายหลัง

ถ้าเราท้อแท้ในการพิจารณาให้ติดต่อ การเห็นธรรมตามเป็นจริงก็ไม่ชัด เมื่อไม่ชัด ความปีติยินดี ความอิ่มใจก็ไม่มี ความอ่อนแอและขี้เกียจก็ได้ช่อง วิชาผัดวันประกันพรุ่งและหลีกเลี่ยง แก้ตัวก็สอบได้ชั้นเอก ติดนิสัยเสียเวลาไปวันละเล็กวันละน้อย บวกคูณทวีไปในตัว กลายเป็นหมันไปโดยมิรู้ตัว

ผู้ที่ไม่มีสติลืม ๆ หลง ๆ เป็นเจ้าใหญ่นายโตของขันธสันดาน แล้วไม่พอใจกำหนดลมออกเข้า ความลืม ๆ หลงๆ นั่นเล่าก็ยิ่งบวกทวีคูณหนักเข้

การแก้ใจในด้านพระสติ พระปัญญา ถ้าสำคัญใจว่าเป็นตน ตนเป็นใจแล้ว ก็ไม่มีที่จะขุดรากกิเลสออกจากใจได้โดยง่าย

พระนิพพานไม่ใช่ผู้รู้ เหนือผู้รู้ไปจนไม่มีที่หมาย


--

สว่างตา ด้วยแสงไฟ

สว่างใจ ด้วยแสงธรรม

พุทธัง สรณัง คัจฉามิ

ธัมมัง สรณัง คัจฉามิ

สังฆัง สรณัง คัจฉามิ

ธรรมรักษาทุกชีวิต

หมายเลขบันทึก: 223820เขียนเมื่อ 18 พฤศจิกายน 2008 13:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 03:27 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

นมัสการเจ้าค่ะหลวงพี่

แวะมาอ่านสาระน่ารู้ ได้ข้อคิดดีๆ นะเจ้าค่ะ

ชีวิตสดใจ ใจเบิกเบิน มีธรรมะในหัวใจเจ้าค่ะ

เรียนพระคุณเจ้าแวะมาเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครับ

  • ธรรมสวัสดีโยมหนูกล้วยแขก
  • อนุโมทนาสาธุบุญด้วย
  • ธรรมรักษา
  • ธรรมสวัสดีโยมเบดูอิน
  • อนุโืมทนาสาธุ
  • ธรรมรักษา
  • นมัสการพระคุณเจ้า
  • สว่างใจ...ด้วยแสงธรรม
  • กราบขอบพระคุณครับ
  • ธรรมสวัสดีโยม liverbird
  • อนุโมทนาสาธุ
  • ธรรมรักษา

P

 

  • ธรรมสวัสดีโยมครู@..สายธาร..@
  • อนุโมทนาสาธุบุญด้วย
  • ธรรมรักษาผู้ประพฤติธรรม

นมัสการเจ้าค่ะ

อ่านแล้ว เหมือนมีแสงสว่างเกิดขึ้นในใจตนเองถ้าได้อ่านบ่อยๆก็จะเป็นการเตือนสติที่บ่อยครั้งเตลิดไปโดยไม่ทันได้ยั้ง กราบขอบพระคุณเจ้าค่ะ

  • ธรรมสวัสดีโยมครูลี่
  • อนุโมทนาสาธุบุญด้วย
  • ที่อ่านแล้วมีแส่งสว่างเกิดขึ้น
  • ปัญญาคือแสงส่ว่าง
  • ที่เกิดจากการมีสติรู้ตัว
  • สติมาปัญญาเกิด
  • สติเตลิดเิกิดปัญหา
  • ธรรมรักษา
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท