เยี่ยมตรวจจากสภาการพยาบาล ทีม 1 ทำอะไร ที่ไหน? (2)


สภาการพยาบาลตรวจเยี่ยม 3ก

วันที่สอง (14 พฤศจิกายน 2551 )  ทีม 1 เยี่ยมอะไร ที่ไหนบ้าง ?

ผู้เยี่ยมจากสภาการพยาบาล 

ผู้รับการเยี่ยมตรวจ   คือ  ผู้ปฏิบัติงานที่หน้างานของหน่วยงานตามแผนการเยี่ยมตรวจ หอผู้ป่วย 3ก (ศัลยกรรม)

ผู้เขียนลองใช้โปรแกรม MindManager สรุปแนวคำถามการเยี่ยมตรวจมาให้ชมค่ะ

กัญญา

หมายเลขบันทึก: 223995เขียนเมื่อ 18 พฤศจิกายน 2008 23:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:53 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (14)

ตามมาดู โอโห พี่ไก่มาดึกมากๆๆ ชอบดูพี่ทำ KPI ท่าทางสภาฯตรวจละเอียดนะครับ

อ.ขจิตก็อยู่ดึกเหมือนกันนะคะ

แน่นอนค่ะ สภาฯคาดหวังสูงกับบทบาทพยาบาลระดับมหาวิทยาลัยค่ะ

ข้อคิดเห็น Comment บางส่วนเกี่ยวกับ KPI  

 " เราควรมีแนวทางการจัดเก็บข้อมูล KPI  เฉพาะกลุ่มโรค  ทั้งในระดับหน่วยงานเพื่อส่งข้อมูลให้เป็น  KPI ระดับองค์กรของงานบริการพยาบาล ซึ่งเราควรรู้ค่า คะแนนตัวเลข และใช้ Control  Chart  ตรงนี้จะทำให้ผู้ตรวจเยี่ยมรู้ว่า พวกเรามีการใช้ KPI เป็นกันหรือเปล่า 

        ปัญหาที่มักพบจากการตรวจเยี่ยมเสมอ ก็คือ ไม่มีการกำหนด KPI เฉพาะโรค หรือ มีการกำหนด แต่ไม่ตัวเลข  KPI กำกับ  ตัวเลขหายไปไหน  ปีนี้ปีอะไรแล้ว  ข้อมูลไม่ทันสมัย  อะไรประมาณนี้ค่ะ

   สภาการพยาบาลมีความคาดหวังสูงกับการทำงานของพยาบาลในระดับมหาวิทยาลัยและระดับตติยภูมิ ซึ่งจะมีระดับความคาดหวังในมุมมองที่แตกต่างกันจากพยาบาลในระดับทุติยภูมิและปฐมภูมิ 

        ดังนั้นเราจึงต้องมีส่วนร่วมกำหนด KPI เฉพาะกลุ่มโรค ด้วย และกำหนดแนวทางจัดทำตัวเลขเพื่อมากำกับผลการปฏิบัติงานของเราอย่างต่อเนื่อง

      เราควรฝึกใช้เครื่องมือคุณภาพเหล่านี้ให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนางานของเรา  เช่น  Grant Chart  และ Histogram Chart , Control Chart เพื่อนำมาช่วยทำให้เรามีความฉลาดในการทำงานในบทบาทของเราให้มากยิ่งขึ้น" 

สรุปได้ดีมากค่ะ

เรามีแนวทางจะทำงานกันแล้วล่ะค่ะ

สวัสดีคะพี่ไก่

สุดยอดคะ

สรุปได้ใจความคำถามครบถ้วน

กำลังจะ Cilk ดูคำตอบในโปรแกรม อ้าว Clilk ไม่ได้

ไก่อ่านแล้วยังได้ยินเสียงอาจารย์ดร.ยุวดี อยู่เลยคะ

แวะมาเยี่ยมพี่ไก่ค่ะ

มีความสุขในการทำงานนะคะ

  • จริงค่ะพี่แก้ว  เรามีแนวทางจะทำงานกันแล้วล่ะค่ะ
  • จะรอรับการมอบหมายงานให้อีกครั้งค่ะ
  • ขอบคุณพี่แก้วค่ะ 
  • น้องไก่ ก็เป็นแฟนนักอ่านทุกวันเหมือนกันนะคะ
  • ขอบคุณที่ชม เราคงมีวาระได้ทำงานร่วมกันต่อไปนะคะ
  • ขอบคุณน้องสายธารที่แวะมาเยี่ยม
  • มีความสุขมากมายในการทำงานเช่นกันค่ะ

เราควรมีแนวทางการจัดเก็บข้อมูล KPI  เฉพาะกลุ่มโรค  ทั้งในระดับหน่วยงานเพื่อส่งข้อมูลให้เป็น  KPI ระดับองค์กรของงานบริการพยาบาล ซึ่งเราควรรู้ค่า คะแนนตัวเลข และใช้ Control  Chart  ตรงนี้จะทำให้ผู้ตรวจเยี่ยมรู้ว่า พวกเรามีการใช้ KPI เป็นกันหรือเปล่า 

        ปัญหาที่มักพบจากการตรวจเยี่ยมเสมอ ก็คือ ไม่มีการกำหนด KPI เฉพาะโรค หรือ มีการกำหนด แต่ไม่ตัวเลข  KPI กำกับ  ตัวเลขหายไปไหน  ปีนี้ปีอะไรแล้ว  ข้อมูลไม่ทันสมัย 

ขอบคุณพี่ไก่ค่ะ

ที่ให้ข้อสรุป

P ใช่แล้วค่ะ น้องกระติก 

KPI เป็นเรื่องที่ทุกหน่วยงานต้องทบทวน โดยเฉพาะ KPI เฉพาะโรค  พี่เคยติดตาม Surveyor หลายท่าน ก็พอจำได้บ้างค่ะว่า ไม่ควรเป็น KPI ที่วัดยาก หรือเป็น KPI ที่มองไม่เห็นภาพของการพัฒนาระบบบริการของทีมเรา  เช่น อัตราการตาย  พิการ เป็นต้น แต่ควรเป็น KPI ที่วัดง่ายจากการปฏิบัติงานให้บริการของเราเอง ซึ่งเป็นการประกันงานที่เราทำว่าผู้ใช้บริการจะได้รับบริการจากเราในเรื่องใด ด้านใดบ้าง ทั้งด้านความครบถ้วนตามแนวทางการรักษาพยาบาลตามมาตรฐานวิชาชีพ และ ตามระยะเวลาตอบสนอง  ระยะเวลาการทำหัตถการ  ระยะเวลาการรอคอย ระยะเวลาการได้รับยา หรืออาจเป็นผลลัพธ์จากการปฏิบัติการพยาบาลของเราเอง  เช่น  การรับรู้ ฯลฯ ความปวด แผลกดทับ ความพึงพอใจ  เป็นต้นค่ะ

ทีมผู้รักษาพยาบาลต้องกำหนดร่วมกัน พร้อมตั้งเป้าหมายเอาไว้ แล้วเฝ้าดูตัวเลข KPI นั้นเป็นระยะ ๆ ว่าอยู่ในเกณฑ์ที่กำหนดหรือไม่  ส่วนใหญ่ควรนำเสนอเป็นแผนภูมิควบคุม (Control Chart)  ค่ะ

พี่ไก่ หนูจำพี่ได้ พอดีกำลังค้นหา kpi อยู่พอดี (ย้ายมาอยู่ รพ ที่สมุทรปราการ ) กำลังจะเริ่มทำคะ ไม่ค่อยเข้าใจเลย ช่วยอธิบายหน่อยนะคะ ขอบคุณล่วงหน้านะคะพี่

อยู่แผนกศัลยกรรมเหมือนกันเข้ามาเจอพอดี มีประโยชน์มากมาก..... ขออนุญาต copy แนวคิดนี้ไปใช้นะค่ะ ขอบคุณค่ะ

กำลังจะตรวจมาตรฐานค่ะตอนแรกมองภาพไม่ออกค่ะหลักการได้จากพี่แล้วขอบคุณมากค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท