เมื่อคนที่คุณรักเป็น...เบาหวาน


ดูแล.. ใส่ใจ

  อันที่จริงแล้ว   น่าจะให้ความสนใจกับโรคเบาหวานมาตั้งแต่หลายปีที่ผ่านมา  กลับเฉย ๆ ไม่รู้สึกอยากรู้มากนัก แต่เมื่อคุณพ่อ(ป่วยเป็นเบาหวาน ตัดขา...ต่อมาไม่นานก็เสียชีวิต) ใจก็ยังคิดว่าเขาก็เป็นกันทั่วไป เมื่อสิ้นคุณพ่อ...ไม่นาน... คุณแม่มีอาการเหนื่อยง่าย  ปัสสาวะบ่อย และน้ำหนักลด จึงไปตรวจ พบว่าเป็นเบาหวานอีกเช่นกัน (ใกล้ตัวเข้ามาอีกแล้วสินะ) พอรับรู้ข้อมูล ว่า ปี 2550 พบผู้ป่วยเบาหวานแล้วถึง 246 ล้านคน โดยผู้ป่วยเบาหวานทั่วโลก 4 ใน 5 เป็นชาวเอเชีย (เราก็เอเชียนี่นา...) และได้สืบค้นข้อมูลจากหลายแห่งจึงขออนุญาตบอกเล่าชาว go to Know  ค่ะ
    เบาหวาน
เป็นความผิดปกติของร่างกายที่มีการผลิตฮอร์โมนอินซูลินไม่เพียงพอ อันส่งผลทำให้ระดับน้ำตาลในกระแสเลือดสูงเกิน โรคนี้มีความรุนแรงสืบเนื่องมาจากการที่ร่างกายไม่สามารถใช้น้ำตาลได้อย่างเหมาะสม  (ขอบคุณสารานุกรมเสรี วิกีพีเดีย)

                         
 

     เบาหวานสามารถแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่ 
     
ชนิดที่  1  เกิดจากภูมิต้านทานของร่างกายทำลายเซลล์ ซึ่งสร้างอินซูลินในส่วนของ ตับอ่อนทำให้ร่างกายหยุดสร้างอินซูลิน ดังนั้นผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่  1 จึงจำเป็นต้องฉีดอินซูลินเพื่อควบคุมน้ำตาลในเลือดระยะยาว
     ชนิดที่ 2  ยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด  แต่มีส่วนเกี่ยวกับพันธุกรรม และยังมีความสัมพันธ์กับภาวะน้ำหนักตัวมาก และขาดการออกกำลังกาย + วัยที่เพิ่มขึ้น

          


   ใครที่ควรจะต้องเจาะเลือดหาโรคเบาหวาน (http://www.siamhealth.net/public_html/Disease/endocrine/DM/intro.htm)
 ผู้ที่สมควรได้รับการเจาะเลือดตรวจตรวจหาเบาหวาน คือ 

  • ประวัติครอบครัวพ่อแม่ พี่ หรือ น้อง เป็นเบาหวานควรจะตรวจเลือดแม้ว่าคุณจะไม่มีอาการ
  • อ้วน ดัชนีมวลกายมากกว่า27% หรือน้ำหนักเกิน20%ของน้ำหนักที่ควรเป็นสำหรับประเทศในเอเซียเราพบว่าเมื่อดัชนีมวลกายมากกว่า 23 จะพบผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวานมากดังนั้นแนะนำว่าควรจะเจาะเลือดตรวจเบาหวานเมื่อดัชนีมวลกายมากกว่า 25 อยากทราบว่าดัชนีมวลกายเท่าไรคลิกที่นี่
  • อายุมากกว่า45ปี
  • ผู้ที่ตรวจพบ IFG หรือ IGT
  • ความดันโลหิตสูงมากกว่า140/90 mmHg
  • ระดับไขมัน HDL น้อยกว่า35 มก%และหรือ TG มากกว่า250 มก.%
  • ผู้ที่ไม่ค่อยได้ออกกำลังกาย
  • ประวัติเบาหวานขณะตั้งครรภ์หรือน้ำหนักเด็กแรกคลอดมากกว่า4กิโลกรัม

       มีอีกสารพัดโรคที่จะตามมาคือ  ความดันโลหิตสูง   หลอดเลือดสมอง  หัวใจ  ไขมันในเลือดสูง  ร่างกายขาดน้ำ  ไตวาย   
       เป็นอย่างไรบ้างคะ พอจะทำให้เกิดความกลัวในอัตราเสี่ยงหรือยังเอ่ย  แต่หากจะป้องกันโรคเบาหวานก็พอมีวิธีมาฝากกันค่ะ  จาก  http://www.siamhealth.net/public_html/news/endocrine/dm20070516.html
เขาบอกว่า   รับประทานผักและแมกนีเซียมจะช่วยป้องกันโรคเบาหวานชนิดที่2

    สมาคมโรคเบาของอเมริกาและประเทศยุโรปได้ให้คำแนะนำว่าให้รับประทานผักและผลไม้เพื่อป้องกันโรคเบาหวาน แต่ยังขาดหลักฐานสนับสนุุนประเทศทางยุโรปได้จัดทำการศึกษาที่ชื่อว่า the European Prospective Investigation Into Cancer and Nutrition–Potsdam study โดยศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่าง cereal ผัก และผลไม้ต่อการป้องกันโรคเบาหวานโดยศึกษาคนจำนวน 176117 คนใช้เวลาศึกษาเฉลี่ย 7 ปี อายุเฉลี่ย 49 ปีโดยการสัมภาษชนิดและปริมาณอาหารที่รับประทาน พบว่า

  • มีผู้ป่วยเบาหวานทั้งหมด 844 คน
  • การรับประทานผักและผลไม้ไม่ได้ลดอัตราการเกิดโรคเบาหวาน
  • การรับประทาน cereal จะลดอัตราการเกิดโรคเบาหวาน
  • การรับประทานขนมปังธัญพืชก็ลดอัตราการเกิดโรคเบาหวาน
  • การรับประทานแมกนีเซียมก็ไม่ได้ลดอัตราการเกิดโรคเบาหวาน

และได้ศึกษาการศึกษาลักษณะแบบเดียวกันที่ตีพิมพ์ปี 2006

  • พบว่าการรับประทาน cereal ลดอัตราการเกิดโรคเบาหวาน
  • การรับประทานแมกนีเซียมช่วยลดอัตราการเกิดโรคเบาหวาน

    วันนี้ มี Cereal ในอาหารแต่ละมื้อหรือยัง สำหรับ แมกนีเซียมมีอยู่ทั่วไปในธรรมชาติ ได้แก่ เนื้อสัตว์  อาหารทะเล  ปลาน้ำจืด นมโมลาส  ข้าว  ข้าวกล้อง  ข้าวบาร์เล่ย์  ข้าวโพด  จมูกข้าวสาลี ถั่วลิสง มะม่วงหิมพานต์  อัลมนต์ งา  ผักสีเขียว(จัด) และผลไม้เปลือกแข็ง

   ... ดูแล ...
   ... ใส่ใจ ...
   ...ห่วงใยคนที่คุณรัก เพื่อเป็นหลักยึดเหนี่ยวใจของคุณไปนานตราบเท่านานนะคะ 
  

 

หมายเลขบันทึก: 224048เขียนเมื่อ 19 พฤศจิกายน 2008 10:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:53 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

ขอได้รับความขอบคุณ จากผู้ที่มีความหวานครับ อิอิ

ถ้าทั้งคุณพ่อและคุณแม่เป็นเบาหวานทั้งคู่..

ดิฉันขอเรียนว่าท่านจัดอยู่ในกลุ่มเสี่ยงเบาหวานนะค่ะ..

ควรไปรับการคัดกรองเบาหวานจากสถานบริการสาสุขใกล้บ้านค่ะ..

ขอให้ปลอดภัยนะคะ..

* อัยการชาวเกาะ
   เชื่อว่าท่านต้องหวานจริงค่ะ เพราะพรุ่งนี้จะครบ 28 ปี ของชีวิตคู่ ขอร่วมยินดีและฉลองก่อนหนึ่งวันนะคะ
* คุณลดา
  ขอบคุณสำหรับคำแนะนำค่ะ จะปฏิบัติตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญในไม่ช้าค่ะ

ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมในblog นะคะ

สดชื่น สดใส รับปีใหม่ค่ะ

คุณ phayorm แซ่เฮคะ

เท่าที่อ่านจึงรู้ว่าข้อมูลเรื่องเบาหวานแน่นพอสมควรนะคะ อยากเพิ่มเรื่องออกกำลังกายให้นะค่ะ

แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวานพ.ศ. 2551 แนะนำให้ออกกำลังกายทั้งแบบแอโรบิคและแบบ resistance ค่ะ

ยางยืดเป็นการออกกำลังกายที่มหัศจรรย์เป็นทั้งแบบแอโรบิคและแบบ resistance ได้ค่ะ

คนเป็นเบาหวานการออกกำลังกายเพื่อทำให้ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ ลดน้ำหนักตัวและรอบเอวได้ ลดไขมันร้ายLDLในหลอดเลือด เพิ่มไขมันดี HDL ในหลอดเลือด จึงลดความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด

ส่วนคนที่เสี่ยงตามที่คุณ phayorm แซ่เฮได้สืบค้นมาจะช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด เพราะลดน้ำหนักตัวและรอบเอวได้ ลดไขมันร้ายLDLในหลอดเลือด เพิ่มไขมันดี HDL ในหลอดเลือด ลดความดันโลหิต

ยางยืดช่วยได้มากกว่านั้นค่ะ

ทีมเบาหวานรพ.อุดรธานีรู้จักยางยืด มา 2 ปี จึงมีประสบการณ์ในการใช้และสอนผู้อื่นมาพอสมควร รศ. เจริญ กระบวนรัตน์ ผู้คิดค้นรับพวกเราเป็นศิษย์และฝึกฝนติดตามการปฏิบัติของพวกเรามาอย่างต่อเนื่องค่ะ

ขอแบ่งประโยชน์จากยางยืดเป็น ใน 3 กลุ่มเป้าหมายนะคะ

1.กลุ่มปกติ เพื่อส่งเสริมสุขภาพ ผลลัพธ์ ทำให้แข็งแรงขึ้น สดชื่น คลายเครียด คล่องตัว กระชับกระเฉง รูปร่างได้สัดส่วนสวยงาม ( เน้นตำแหน่งที่เราต้องการได้ เช่น ลดหน้าท้อง , เพิ่มความกระชับของต้นแขน ) ลดอาการท้องผูก ภูมิแพ้

2.กลุ่มเสี่ยง เพื่อป้องกันโรค ผลลัพธ์ น้ำหนักตัวลด รอบเอวลด ลดอาการปวดข้อ ข้ออักเสบ ลดอาการปวดหลัง ปวดเอว ปวดเข่า ฯลฯ และป้องกันกระดูก

3.กลุ่มป่วย เพื่อบำบัดโรคและฟื้นฟูสภาพ ผลลัพธ์ แก้อาการข้อติด ปอดอักเสบ เพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อฟื้นฟูสภาพได้เร็วขึ้น เช่น อัมพาต ควบคุมโรคได้ดีขึ้น เช่น เบาหวาน ความดัน ปอดอุดกั้นเรื้อรัง

ตอนนี้เราใช้ยางยืดอย่างแพร่หลายทั้ง 3 กลุ่มเป้าหมาย มีเรื่องราวมากมายที่อยากบอกเล่า จะทะยอยเขียนบันทึกเป็นระยะค่ะ

คุณ phayorm แซ่เฮคะ ขอให้สุขภาพแข็งแรง มีจิตใจที่ผ่องใส สร้างสรรค์งานที่มีคุณค่าได้ต่อเนื่องนะค่ะ

สวัสดีวันศุกร์นะครับ  ฟังดูอะไรอะไรที่หวานน่าจะดี  แหมแต่เบาหวานไม่ชอบเลยไม่อยากเป็นพบเรื่องดีต้องขอเข้าไปศึกษาดีมากครับ  จะได้ดูแลใส่ใจให้มากๆ  ขอบพระคุณมากครับ ขอให้โชคดี สุขภาพแข็งแรงนะครับ

P เต้าเจี้ยว ต.ที่2 ทีมเลขา 3 ต. 
     สวัสดีค่ะ พี่เต้าเจี้ยว ...
     กัลยาณมิตร..หลากหลายอาชีพทำให้เราได้แลกเปลี่ยนหลายความรู้ค่ะ
     เริ่มที่จะสนใจเรื่องประโยชน์ของยางยืดตัวนี้แล้วสิคะ
     เพราะเชื่อแน่ว่าตัวเองตัวเองเป็นกลุ่มเสี่ยงพอควรดีเดียวค่ะ

    จะรอภาพท่าในการใช้ยางยืดขจัดส่วนเกินของท้อง แขน และส่วนอื่น ๆ ที่ร่างกายไม่ต้องการค่ะ 
    ให้คุณพี่เต้าเจี้ยว มีสุขภาพแข็งแรงเช่นกันค่ะ

สวัสดีค่ะคุณพี่พยอมคนสวย

ให้กำลังใจกลุ่มเสี่ยงเบาหงาน กลุ่มป่วยและคนสุขภาพดีค่ะ

P ท่านผอ. นายประจักษ์~natadee
     เบาหวาน แม้จะเป็นเรื่อง ...เบา...แต่ไม่มีใครอยากจะเป็นกันนัก
     อยากเอาใจใส่ดูแลคุณแม่ แต่ก็ได้เพียงห่าง ๆ เพราะอยู่กันคนละอำเภอ พยายามที่จะไปเยี่ยมท่านบ่อย ๆ เสมอค่ะ

P  ♥.·° ♥paula ที่ปรึกษา~natadee·° ..✿
      น้องพรหล้า คนหน้าตาดีกว่าพี่พยอม อิๆ

     กำลังใจที่ส่งมา จะทำให้ทานอาหารและของชอบได้น้อยลงหรือเปล่าน๊า (ต้องยับยั้งชั่งใจมาก ๆ  ๆ ๆ ) 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท