องค์ประกอบของระบบการเรียนการสอนอีเลิร์นนิง


e-Learning

การเรียนการสอนในระบบอีเลิร์นนิ่งหรือการศึกษาทางไกล จะมีองค์ประกอบที่สำคัญ คือ

1. สื่อการเรียน (และกระบวนการผลิตสื่อการเรียน)

2. ระบบนำส่งสารสนเทศและสื่อการเรียน

3. ระบบการสื่อสารและปฏิสัมพันธ์ทางการเรียน

4. ระบบการวัดและการประเมินผล

5. ระบบสนับสนุนการเรียน

6. ผู้สอนและผู้เรียน

1. สื่อการเรียน (และกระบวนการผลิตสื่อการเรียน)

สื่อการเรียน เป็นหัวใจสำคัญข้อหนึ่งของระบบการศึกษาทางไกล เพราะเป็นแหล่งความรู้หลัก (เทียบ

ได้กับอาจารย์ในการศึกษาระบบชั้นเรียน) การออกแบบสื่อการเรียนต้องยึดหลักสำคัญอย่างน้อย 3 ประการ คือ

1.       สื่อการเรียนต้องชัดเจน สมบูรณ์จบในตัวเอง ไม่จำเป็นต้องพึ่งพาอาจารย์ให้มาอธิบายอีก

2. สื่อการเรียนต้องออกแบบมาให้ผู้เรียน สามารถวัดความรู้ความเข้าใจของตนเองได้เป็นระยะ และประเมินความเข้าใจของตัวเองในภาพรวมได้

3. สื่อการเรียนต้องออกแบบมาให้เหมาะสมกับผู้เรียน และทำงานได้ดีในระบบนำส่งสารสนเทศ

 

2. ระบบการนำส่งสารสนเทศและสื่อการสอน

1. ระบบนำส่งสารสนเทศและการสื่อสารในระบบการศึกษาทางไกล มีหลายรูปแบบทั้งแบบที่ใช้เทคโนโลยีน้อยจนถึงระบบที่ใช้เทคโนโลยีสูง

2. หากสถาบันการศึกษา หรือผู้สอนเลือกใช้ระบบการนำส่งสารสนเทศและการสื่อสารที่เหมาะสม(เหมาะกับลักษณะผู้เรียน มีความเสถียร) จะช่วยส่งเสริมให้เกิดคุณภาพในการจัดการศึกษาทางไกลได้อย่างดี

3. การสื่อสารและปฏิสัมพันธ์ทางการเรียน

1. การสื่อสารและปฏิสัมพันธ์ทางการเรียน เป็นหัวใจสำคัญของการศึกษาทุกอย่าง การสื่อสารและปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนและผู้สอนจะช่วยให้ผู้เรียนมีความเข้าใจมากขึ้น ขณะเดียวกันผู้สอนก็จะได้ทราบถึงความก้าวหน้าของผู้เรียน รวมทั้งสามารถวินิจฉัยความคลาดเคลื่อนในความรู้ของผู้เรียน และให้ความรู้ที่ถูกต้องได้

2. ในระบบการศึกษาทางไกลแต่เดิม การสื่อสารและปฏิสัมพันธ์มีค่อนข้างน้อย ซึ่งเป็นไปตามธรรมชาติของการที่ผู้สอนและผู้เรียนไม่ได้มีอยู่ในสถานที่เดียวกันในระหว่างการเรียนการสอน แต่ด้วยเทคโนโลยีการนำส่งสารสนเทศและการสื่อสารใหม่ๆ เช่น ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ที่สามารถเชื่อมผู้เรียนและผู้สอนที่อยู่ไกลกันให้สามารถสื่อสารและปฏิสัมพันธ์กันเสมือนอยู่ในสถานที่เดียวกัน ได้เข้ามาเพิ่มคุณภาพการศึกษาทางไกลได้อย่างดี

 

4. การวัดและการประเมินผล

1. การวัดและการประเมินผลในระบบการศึกษาทางไกลใช้หลักการประเมินตามแนวทางการจัดการศึกษาแบบเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญโดยในการประเมินระหว่างการเรียน (formative evaluation) นั้นผู้เรียนจะเป็นผู้ประเมินตัวเองเป็นหลัก และผู้สอนจะคอยให้คำแนะนำและความช่วยเหลือ ส่วนการประเมินผลสัมฤทธิ์จะประเมินโดยผู้สอน

2. วิธีการประเมินผล ก็จะใช้ตัวอย่าง ผลงานที่ผู้เรียนทำขึ้นเป็นเครื่องมือในการแสดงว่าผู้เรียนได้เรียนรู้อะไร ? อย่างไร ? และอาจจะให้ผู้เรียนประมวลความรู้ ความเข้าใจออกมาในรูปแบบรายงานหรือการนำเสนองาน

 

5. ระบบการสนับสนุนการเรียน

1. ระบบสนับสนุนการเรียนด้านเทคนิค (Technical support) เนื่องจากใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และระบบเครือข่ายเป็นสภาพแวดล้อมการเรียนการสอน หากเทคโนโลยีหยุดชะงักก็จะทำให้การเรียนการสอนมีปัญหาได้

2. ระบบสนับสนุนการเรียนด้านวิชาการ (Academic support) เพื่อให้ความช่วยเหลือและคำแนะนำด้านการเรียนการสอน และหลักสูตร

3. ระบบสนับสนุนด้านสังคม (Social support) เพื่อทดแทนสังคมในการเรียนที่ขาดหายไปของผู้เรียนรวมทั้งช่วยให้กำลังใจ เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความมั่นใจ เกิดความมุ่งมั่น ที่จะเรียนต่อจนจบ

 

6. ผู้สอนและผู้เรียน

ผู้เรียนและผู้สอนมีความสำคัญของระบบการศึกษาทางไกลมาก ความพร้อมของผู้สอนและผู้เรียน เจตคติ (ทัศนคติ) ความรู้ ความเข้าใจในการเรียนการสอนทางไกล และการปฏิบัติตัวที่ถูกต้องจะช่วยให้เกิดสัมทธิ์ผลทางการเรียนการสอนได้อย่างดี องค์ประกอบต่างๆเหล่านี้จะต้องมีการเตรียมการให้พร้อม และรองรับการใช้งาน เพื่อความสมบูรณ์และลดปัญหา อุปสรรคในการดำเนินการ

 

 

คำสำคัญ (Tags): #e-learning
หมายเลขบันทึก: 225578เขียนเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2008 11:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 19:08 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

สวัสดีค่ะคุณ tourngatt แวะเข้ามาอ่านเรื่องe-learning เพราะที่ทำงานของดิฉันปีนี้ได้งบประมาณมาให้ทำเรื่อง e-learning ค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท