ตรวจสอบคุณภาพบันทึกทางการพยาบาล


บันทึกทางการพยาบาล

แบบตรวจสอบบันทึกทางการพยาบาล

งานผู้ป่วยนอกและอุบัติเหตุ ฉุกเฉิน กลุ่มการพยาบาลโรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา

หอผู้ป่วย/แผนก..........................................................................ประจำเดือน .....................................................

<td sty

ลำดับ

รายการประเมิน

ผลการประเมิน

หมายเหตุ

มี

ไม่มี

 

ด้านความถูกต้อง (Correct)

 

 

 

1.

บันทึกชื่อ สกุลของผู้ใช้บริการที่ด้านบนของ OPD Card ทุกแผ่น มีคำนำหน้าชื่อได้แก่ นาย นาง นางสาว เด็กหญิงและเด็กชาย กรณีที่ใช้คำย่อนำหน้าชื่อ นางสาว=น.ส. เด็กชาย = ด.ช. เด็กหญิง = .ญ. ยกเว้น นายและนาง ห้ามย่อ  

-                     กรณีที่มีชั้นยศให้บันทึกชั้นยศนำหน้าชื่อ-สกุลของผู้ใช้บริการ กรณีที่เป็น

-          สมณเพศ ให้ระบุนำหน้า ชื่อ สกุล

 

 

 

2.

บันทึกเลขที่ผู้ป่วยนอก(HN) ที่หัวมุมด้านขวาของ OPD Card ทุกแผ่น

 

 

 

3.

ข้อมูลที่บันทึกมีความสอดคล้องกับปัญหาและความต้องการของผู้ใช้บริการ

 

 

 

4.

การแก้ไขข้อความต้องขีดฆ่าและเซ็นชื่อกำกับทุกครั้ง ไม่ใช้น้ำยาลบคำผิด

 

 

 

5.

บันทึกการประเมินและกิจกรรมการพยาบาลสอดคล้องกับแผนการรักษา

 

 

 

6.

บันทึกผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการถูกต้อง ครบถ้วน

 

 

 

 

ความครบถ้วน (Complete)

 

 

 

7.

บันทึกวันที่ เดือน พ.ศ. ทุกครั้งที่มารับบริการ

 

 

 

8.

บันทึกอุณหภูมิของร่างกายทุกครั้งเมื่อผู้รับบริการมีไข้ โดยใช้คำย่อ T ตามด้วยอุณหภูมิของร่างกายและหน่วยเป็น 0 C

 

 

 

9.

บันทึกความดันโลหิตหรือใช้คำย่อ BP ทุกครั้งที่มารับบริการตามด้วยความดัน Diastolic / Systolic ตามด้วยหน่วยของความดันโลหิตคือ mmHg ทุกครั้งที่มารับบริการ

 

 

 

10.

บันทึกชีพจรทุกครั้งเมื่อผู้ป่วยมาตรวจด้วยโรคทางอายุรกรรมหรือโรคที่มีความจำเป็นต้องติดตามการทำงานของหัวใจโดยใช้คำย่อ P ตามด้วยตัวเลขจำนวนครั้งของชีพจร ต่อนาที โดยใช้คำย่อเป็น   / min

 

 

 

11.

บันทึกจำนวนครั้งของการหายใจทุกครั้งเมื่อผู้รับบริการมาตรวจด้วยโรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจหรือในรายที่ต้องติดตามการหายใจ โดยใช้คำย่อเป็น R ตามด้วยตัวเลขจำนวนครั้งของการหายใจ ต่อนาที โดยใช้คำย่อเป็น   / min

 

 

 

12.

บันทึกน้ำหนักผู้มารับบริการทุกครั้ง ยกเว้นในรายที่ผู้ป่วยไม่สามารถชั่งน้ำหนักได้ โดยใช้คำย่อเป็น น.น. ตามด้วยตัวเลขของน้ำหนักและหน่วยเป็นกิโลกรัม โดยใช้คำย่อเป็น  Kgs

 

 

 

13.

บันทึกอาการสำคัญที่มาโรงพยาบาลไม่ควรเกิน 2 อาการพร้อมบอกระยะเวลาที่เกิดอาการดังกล่าว เช่น มีไข้และปวดศีรษะมา 2 วัน

 

 

 

14.

บันทึกโรคประจำตัวหรือประวัติการเจ็บป่วยในอดีต

 

 

 

15.

กรณีที่มีผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการหรือผลการตรวจพิเศษบันทึกให้ครบถ้วน

 

 

 

16.

บันทึกกิจกรรมการพยาบาลและการประเมินผลการพยาบาลให้ครบถ้วน

หมายเลขบันทึก: 225768เขียนเมื่อ 27 พฤศจิกายน 2008 10:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 16:28 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท