การเลือกนวัตกรรมให้สอดคล้องกับธรรมชาติหรือเนื้อหาวิชา ในงานประเภท R&D


การเลือกนวัตกรรมที่สอดคล้องกับเนื้อหาสาระหรือจุดประสงค์การเรียนรู้ จะเพิ่มน้ำหนักหรือคุณค่าของงานวิจัยและพัฒนาได้อย่างมาก การเลือกนวัตกรรมแบบไม่พิถีพิถัน แม้จะดำเนินการวิจัยและพัฒนาแบบสมบูรณ์ ครบวงจร การวิจัยครั้งนั้นก็ไร้ความหมาย

       เมื่อวานนี้(30 พ.ย.2551) ได้ไปฟังการนำเสนอความก้าวหน้าของการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ ของคณาจารย์กลุ่มหนึ่งจากโรงเรียนในจังหวัดนนทบุรีและเครือข่าย ที่ห้องประชุม โรงเรียนโพธินิมิตวิทยาคม จังหวัดนนทบุรี ในการนี้ ผมเห็นจุดอ่อนบางประการ ที่คิดว่าควรนำเสนอเพื่อเพื่อนครูจะได้ตระหนักตรงกัน และระวังให้มากขึ้น ในอันที่จะหลีกเลี่ยงจุดอ่อนเช่นนี้ จุดอ่อนที่ว่านี้ คือ “การเลือกนวัตกรรมที่ไม่ได้พิจารณาอย่างถ่องแท้ว่า เหมาะสมกับเนื้อหาสาระที่จะสอนหรือธรรมชาติของวิชาหรือไม่” ผมขอยกตัวอย่างต่อไปนี้

1) ครูคนที่ 1 ต้องการพัฒนาบทเรียนสำเร็จรูป(ประเภทเอกสาร) เพื่อสอนเรื่อง “เซลล์ และ การแบ่งเซลล์” ....จุดอ่อน คือ เรื่องที่สอน เป็นเรื่องที่เป็นนามธรรม  การเลือกนวัตกรรมประเภทที่ทำบนกระดาษ ก็ยังคงไม่สามารถช่วยให้มองเห็นภาพเซลล์ หรือการแบ่งเซลล์ที่เป็นรูปธรรม ได้(รวมทั้ง ไม่ทันสมัยด้วย) ในที่นี้ ครู อาจเลือกนวัตกรรมอื่น เช่น  บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน หรือ จัดทำเป็น ชุด E-Learning เป็นต้น

2) ครูคนที่ 2  ต้องการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เพื่อการเรียนรู้บนอินเตอร์เน็ต เรื่อง “การขยายพันธุ์พืช”....ในแง่หลักวิชา นวัตกรรมที่เลือก อาจช่วยได้ ในเรื่องความรู้ ความเข้าใจ แต่ในสภาพข้อเท็จจริง ผมคิดว่า ถ้าให้เด็กไปค้นคว้าในอินเตอร์เน็ต เรื่อง การขยายพันธ์พืช ผมคิดว่า เด็กสามารถสืบค้นองค์ความรู้หรือแนวปฏิบัติได้อย่างมากมายอยู่แล้ว ครูไม่ต้องสร้างเพิ่มเติมก็ได้...ในกรณีนี้ ครูอาจเลือกนวัตกรรมการสอนประเภท “ให้นักเรียนรวมกลุ่มกัน จัดทำโครงงาน การขยายพันธ์พืชที่สำคัญ ๆ หรือพืชเศรษฐกิจ ที่สามารถขยายพันธุ์ได้ในท้องถิ่น” โดยให้ทำงานร่วมกับปราชญ์ชาวบ้านหรือผู้รู้ในท้องถิ่น การออกแบบการสอนในลักษณะนี้ จะช่วยให้เกิดความรู้ เกิดประสบการณ์จริง และ เกิดความสนุกสนานในการเรียน ไม่เบื่อหน่าย

3) ครูคนที่ 3 ต้องการพัฒนาสื่อมัลติมีเดีย เพื่อสอน เรื่อง “พระธรรม”  รายวิชาพระพุทธศาสนา...สื่อที่เลือก อาจช่วยเสริมความรู้ได้ แต่จุดอ่อนที่อาจเกิดขึ้นคือ “เราควรเน้นสอนหลักธรรม เพื่อการนำไปใช้ในชีวิต ใช้เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต มากกว่าการเรียนเพื่อรู้”  ในที่นี้ สื่อ มัลติมีเดียที่ครูคนนี้พัฒนาขึ้น อาจบรรลุผลเพียงการสร้างความรู้เท่านั้น ซึ่งไม่น่าจะเป็นจุดมุ่งหมายสำคัญของวิชา พระพุทธศาสนา

โดยสรุป...ในการเลือกนวัตกรรม  ผมอยากให้ครูตั้งคำถามว่า 1)นวัตกรรมที่เลือกมีความเหมาะสม ทันยุค ทันสมัย หรือไม่  2) สื่อ/นวัตกรรมที่เลือกเหมาะสมกับจุดมุ่งหมายหลัก ของรายวิชาหรือไม่ เช่น วิชาการดูแลรักษาบ้าน  วิชาพระพุทธศาสนา หรือวิชาที่เน้นการปฏิบัติ เน้นการนำความรู้ไปใช้ ก็ควรเป็นนวัตกรรมที่เน้นการประยุกต์ใช้ หรือการปฏิบัติจริง มากกว่าสื่อ/นวัตกรรมที่เน้นการให้ความรู้ เป็นหลัก  3) สื่อ/นวัตกรรมที่เลือกเหมาะสมกับเนื้อหาวิชาเรื่องนั้น ๆ หรือไม่ มีสื่อในลักษณะอื่นที่ดีกว่าหรือไม่  ฯลฯ   การเลือกนวัตกรรมที่สอดคล้องกับเนื้อหาสาระหรือจุดประสงค์การเรียนรู้ จะเพิ่มน้ำหนักหรือคุณค่าของงานวิจัยและพัฒนาได้อย่างมาก  ในบางครั้ง การเลือกนวัตกรรมแบบไม่พิถีพิถัน  แม้จะดำเนินการวิจัยและพัฒนาแบบสมบูรณ์ ครบวงจร การวิจัยครั้งนั้นก็ไร้ความหมาย

หมายเลขบันทึก: 226508เขียนเมื่อ 1 ธันวาคม 2008 08:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 มิถุนายน 2012 18:53 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

สวัสดีค่ะ อาจารย์

  • อ่านแล้วได้ความรู้ และมีประโยชน์มากค่ะ
  • ผลงานของครูอ้อย กำลังส่งผู้เชี่ยวชาญให้อ่านเครื่องมือ นวัตกรรม อยู่ค่ะ
  • คิดว่า พลาดบ้างน่ะค่ะ

ขอบคุณอาจารย์มากค่ะ  รักษาสุขภาพนะคะ 

น่าจะเป็นอีกสาเหตุที่หลายคนพลาดโอกาศ อ.3 ไม่ผ่านการประเมินผล ขอร่วมเรียนรู้ด้วยคนครับ

ครู อ้อย

  • เอาใจช่วยนะครับ ขอให้สำเร็จในระยะอันใกล้นี้

คุณ ไทบ้านผำ

  • ขอบคุณครับที่เข้ามาเยี่ยม ยินดีครับ ที่จะได้แลกเปลี่ยน

ขอบคุณครับอาจารย์ ผมเคยไปอบรมกับอาจารย์ ทำให้ผมได้รู้จักกับเว็บ http://gotoknow.org/

คุณ rittichai

  • ขอบคุณครับ ที่เข้ามาเยี่ยม  และดีใจมากที่ได้เจอทางอินเตอร์เน็ตอีกครั้งหนึ่ง
  • มายิ้มๆๆ
  • บางทีคุณครูเลือกสื่อหรือนวัตกรรม
  • ที่ไม่ได้ไปด้วยกันจริงๆๆด้วย
  • อาจารย์สบายดีไหมครับ
  • ไปแถวๆๆ มสธ จะแวะไปทักทายครับ

อ.ขจิต

  • ขอบคุณครับที่เข้ามาเยี่ยม
  • ถ้าไปแถว มสธ. โทร.นัดหมายได้นะครับ  0817503380

เห็นด้วยทุกข้อ กับคำแนะนำของอาจารย์ค่ะ

มีความเห็นของตัวเอง ว่า.......

ครูควรเป็นตัวอย่างในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ หรือ ใช้ความคิดสร้างสรรค์งาน

อย่างมีวิจารณญาณด้วย จะช่วยให้ลูกศิษย์ได้เห็นและซึมซับเป็นแบบอย่างโดยไม่รู้ตัว

ถ้าทำแต่ผลผลิต => แล้วขึ้นหิ้ง เด็ก ๆ คงไม่ได้ประโยชน์เท่า ครูนำมาใช้จริง ๆ

และที่ว่า จะสร้างสรรค์งาน นั้นคงไม่ใช่ การ fix idea เด็กว่า

โครงงาน/ชิ้นงาน ต้องทำอย่างนั้น ทำอย่างนี้ตามที่ครูกำหนดไว้หมดแล้ว,

ถ้าจะฝึกเด็กให้สร้างสรรค์จริง ต้องเปิดกว้างให้ผู้เรียน เอาความรู้ที่เรียนไปประยุกต์

สร้างชิ้นงานอะไรก็ได้โดยผนวกกับความรู้ของตนที่เพิ่งเรียนผ่านมา => ถ้าทำอย่างนี้

ชิ้นงาน ตามโครงงานของครูก็จะออกมาคนละอย่าง งานแต่ละคนจะออกมาหน้าตาไม่

เหมือนกัน .....นี่น่าจะเป็น การส่งเสริมให้เด็กคิดสร้างสรรค์อย่างแท้จริง!!!

คุณ จิด้า

  • เห็นด้วยกับคุณจิด้า
  • ถ้าครูยอดเยี่ยม ได้ดังที่กล่าวข้างต้น จะดีมากเลยครับ
  • ปัจจุบัน เรายังไม่สามารถปฏิรูปการสอนของครูได้เต็มที่ ตลอด เวลาเกือบ10 ปีที่ผ่านมาของการปฏิรุปการศึกษา อาจเป็นเพราะเรามัวแต่ปฏิรูปโครงสร้างการบริหาร ทำให้ไม่มีโอกาสในการปฏิรูปการสอนของครูอย่างแท้จริง ถ้า ครูที่เก่งด้าน Instructional Design  ลูกศิษย์น่าจะเป็นเลิศได้แน่นอน

เข้าชมเวปของท่านดร.สุพักตร์ ได้เสนอข้อคิดห็นดีที่สุดเลยค่ะ การทำนวัตกรรมให้สอดคล้องตามธรรมชาติวิชา เป็นสร้างงานให้เด็ก้กิดจากการเรียนรู้ท่ีแท้จริง การทำผลงานส่งต้องนึกถึงส่ิงที่เป็นจริงท่ีนักเรียนควรได้รับ แต่กรรมการผู้ตรวจมิได้มีมุมมองอย่างท่านดร.สุพักตร์คิดค่ะ ส่วนมากพวกใครพวกมัน บางคนโดนคอมเมนมา7-8 หน้าได้ปรับปรุงแต่คนโดนคอมเน2-3หน้าให้ตกไม่ทราบว่าต้องใช้เกณฑ์แบบไหนแน่ที่วัดการให้ได้คศ.3 พอดีทำผลงานเรื่องหลักธรรมนำชีวิต ชั้น ป.6 ทำบทเรียนสำเร็จหรือว่าทำสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอนดีคะ ช่วยออกความเห็นให้หน่อยค่ะ เพราะต้องส่งปลายปี 53 เยียวยารุ่นที่ 2 งานเก่าท่ี่ส่งไปตกค่ะ ขอความอนุเคราะห์การให้แนวคิดด้วยค่ะจากครูผู้รอความหวัง ครูดอย******

ทำผลงาน "เรื่องหลักธรรมนำชีวิต"

....ถ้าอาจารย์ทำเรื่องนี้ ลองวิเคราะห์นะครับว่า จุดประสงค์ของเรื่องนี้ คือ อะไร คงจะมุ่งหวังให้เด็กนำไปปฏิบัติในชีวิตจริง มากกว่าการอ่านบทเรียนสำเร็จรูปเพื่อให้ได้ความรู้ ให้หันไปทำ "ชุดกิจกรรม ดำเนินชีวิตด้วยหลักธรรม" น่าจะเหมาะสมกว่า

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท