ประโยชน์ของ "Netter"


์ Netter เป็นชื่อของหนังสือเล่มหนึ่ง ใครที่ต้องเรียนวิชากายวิภาค มักต้องรู้จัก เพราะเป็นหนังสือ Atlas of Human Anatomy ซึ่งเป็นหนังสือที่ภาพสวยงามมาก ดูง่าย มีสีสัน ซึ่งวาดโดย คุณหมอ Frank H.(Henry)Netter ฝีมือวาดเรียกว่าปรมาจารย์ เสมือนจริง มีหลายมุมมองให้ดู ซึ่งผมคิดว่านอกจากความสามารถเรื่องการวาดภาพแล้ว ความรู้และเข้าใจของวิชากายวิภาคของอาจารย์ท่านนี้ต้องมีเสมือนอยู่ในจิตวิญญาณ สมัยเรียนผมไม่มีขนาดเป็นของตัวเอง ต้องอาศัยยืมห้องสมุด แต่มักไม่ค่อยได้ เพราะเพื่อนๆยืมไปหมดแล้ว(หนังสือในห้องสมุดมีจำกัด) อาศัยดูของเพื่อนที่ซื้อเป็นของส่วนตัวบ้าง กับจังหวะดีก็จะหลุดมาให้เราได้ยืม ตอนทำงานแล้วเวลาต้องอธิบายอะไรที่เกี่ยวกับโรคให้กับผู้ป่วยฟัง แล้วต้องวาดรูปให้ผู้ป่วยดู เช่น ตำแหน่งของโพรงไซนัสที่หน้า หรือตำแหน่งของกระดูกซี่โครงอ่อน ซึ่งคนไข้เข้าใจบ้างไม่เข้าใจบ้าง (ซึ่งมันขึ้นอยู่กับอารมณ์และเวลาของศิลปิน:ก็คือผมด้วย) ผมเลยนึกได้ว่าทำไมเราไม่เอารูปที่น่าจะดูง่ายมาให้ดูล่ะแทนที่จะวาดเอง ผมเลยนึกถึง Netter เป็นอันดับแรกเลยครับ หลังจากนั้นต้องขอโทษจริงๆ เรื่องละเมิดลิขสิทธิ์ ผมเลือกภาพที่ผมคิดว่าน่าจะใช้ แล้วเอาไป Scan แล้วพิมพ์ออกมา คิดว่าจะเอาไปเคลือบ แล้วทำเป็นคล้ายๆปฏิทินตั้งโต้ะไว้เปิดพับไปพับมาได้ คนไข้น่าจะเข้าใจดีขึ้น อ้อ มีไอเดียใหม่แล้วครับ นึกขึ้นได้พอดี เดี๋ยวผมเอา Film เก่าๆที่ แผนกX-rays จะจำหน่ายมาไว้ให้คนไข้ที่ชอบขอx-ray ดีกว่าร่วมกับภาพที่ผมทำขึ้นดังข้างบน (ที่มาคือผู้ป่วยชอบขอ x-ray ทั้งที่น่าจะเป็นโรคกระเพาะ หรืออาการที่ไม่น่าต้องทำ ให้นึกตอนนี้นึกไม่ออกครับ) จะได้เข้าใจ สร้างความเข้าใจดีกว่าพูดพูดพูด แล้วก็งงออกไปว่าทำไมไม่ทำวะ(ไม่สุภาพนิดนึงครับ)
คำสำคัญ (Tags): #netter
หมายเลขบันทึก: 22733เขียนเมื่อ 5 เมษายน 2006 19:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มิถุนายน 2012 16:26 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
     ชอบ idea ที่หมอบอกว่าจะใช้ภาพกับ Film X-rays เก่า ๆ เพื่อสร้างความเข้าใจกับคนไข้ นึกเห็นภาพชวนกันดูแล้วน่าจะอบอุ่นนะครับ ผมเชื่ออย่างนี้ด้วยเคยบันทึกไว้ครับที่ หมอรักษาได้ 20% ที่เหลืออีก 80% หายเพราะเหตุอื่น 
ผมก็เคยได้ยินอย่างนี้มานานแล้วเหมือนกันครับ พี่ชายขอบ รู้สึกครั้งแรกที่ได้ยินคือจากท่านอ.หมอประเวศ (นี่ก็เป็นศาสตร์ที่ไม่มีในโรงเรียนแพทย์เหมือนกัน) จำได้เล็กน้อยว่าตอนเรียนอ.แพทย์ก็เคยพูดว่าบางผู้ป่วยหายได้เองโดยไม่ต้องใช้ยา เวลาวิจัยจึงต้องไปเทียบกับยาหลอก เพราะบางวิจัย(ส่วนใหญ่ของงานวิจัยยา)ประสิทธิภาพเท่ากับยาหลอก(ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ) ซึ่งแสดงว่าคนไข้หายเอง บังเอิญปัจจุบันเรานิยมการแพทย์ แผนที่เป็นปัจจุบันทุกวันนี้ และผมก็เป็นส่วนหนึ่งของระบบการแพทย์ที่นิยมนี้ แต่ช่วงหลังผมพยายามที่จะทำความเข้าใจและผ่อนปรนตัวเองไม่ให้ยึดติดกับรูปแบบการรักษาที่ผู้ป่วยจะเลือก แต่ดูผลลัพธ์มากกว่า
ผมก็เคยได้ยินอย่างนี้มานานแล้วเหมือนกันครับ พี่ชายขอบ รู้สึกครั้งแรกที่ได้ยินคือจากท่านอ.หมอประเวศ (นี่ก็เป็นศาสตร์ที่ไม่มีในโรงเรียนแพทย์เหมือนกัน) จำได้เล็กน้อยว่าตอนเรียนอ.แพทย์ก็เคยพูดว่าบางผู้ป่วยหายได้เองโดยไม่ต้องใช้ยา เวลาวิจัยจึงต้องไปเทียบกับยาหลอก เพราะบางวิจัย(ส่วนใหญ่ของงานวิจัยยา)ประสิทธิภาพเท่ากับยาหลอก(ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ) ซึ่งแสดงว่าคนไข้หายเอง บังเอิญปัจจุบันเรานิยมการแพทย์ แผนที่เป็นปัจจุบันทุกวันนี้ และผมก็เป็นส่วนหนึ่งของระบบการแพทย์ที่นิยมนี้ แต่ช่วงหลังผมพยายามที่จะทำความเข้าใจและผ่อนปรนตัวเองไม่ให้ยึดติดกับรูปแบบการรักษาที่ผู้ป่วยจะเลือก แต่ดูผลลัพธ์มากกว่า
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท