การเข้าสู่ทะเบียนราษฎรของคนต่างด้าวที่มีชื่อใน ทร.๓๘ก


คนต่างด้าวที่ได้รับการบันทึกในทะเบียนราษฏรไม่จำต้องมีสิทธิอาศันเสมอไป เช่น คนต่างด้าวที่ได้รับการบันทึกในทะเบียนประวัติ ท.ร.๓๘ก เป็นต้น

             ท.ร.๓๘ก หรือชื่อเต็มว่าทะเบียนประวัติ ทร.๓๘ก  คือ  ทะเบียนสำหรับลงรายการของบุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียน เป็นไปตามข้อ ๒ แห่งระเบียบสำนักทะเบียนกลางว่าด้วยการสำรวจและจัดทำทะเบียนสำหรับบุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียน พ.ศ. ๒๕๔๘ โดยเป็นทะเบียนประวัติสำหรับคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทยประเภทหนึ่ง ตามบทบัญญัติมาตรา ๓๘ วรรคสองแห่ง พรบ.การทะเบียนราษฎร(ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๕๑ ซึ่งจัดทำขึ้นมาเพื่อขจัดปัญหาความไร้รัฐ อันจะนำไปสู่การพัฒนาสถานะบุคคล

             คนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย(คนต่างด้าว)ที่ได้รับการบันทึกในทะเบียนประวัติแม้จะไม่มีสิทธิอาศัย แต่โดยนโยบายตามยุทธศาสตร์การจัดการปัญหาสถานะและสิทธิของบุคคลตามมติ ครม.วันที่ ๑๘ มกราคม ๒๕๔๘ ถือว่าคนกลุ่มดังกล่าวเป็นบุคคลที่ควรได้รับการพัฒนาไปสู่การได้รับสิทธิให้อาศัยอยู่ในราชอาณาจักร(ควรได้รับสิทธิอาศัย)

             โดยมีกลุ่มบุคคลอันเป็นเป้าหมายที่จะได้รับการสำรวจและกำหนดสถานะบุคคลตามยุทธศาสตร์ฯ ฉบับนี้ รวมทั้งสิ้น ๖ กลุ่ม คือ (๑)กลุ่มคนที่อพยพเข้ามาอยู่ในประเทศไทยนานแล้ว (๒) กลุ่มเด็กและบุคคลที่เรียนอยู่ในสถานศึกษาในประเทศไทยแต่ไม่มีสถานะที่ถูกต้องตามกฎหมาย (๓)กลุ่มคนที่ทำคุณประโยชน์ให้แก่ประเทศ (๔)กลุ่มคนไร้รากเหง้า (๕) กลุ่มแรงงานต่างด้าวที่ได้รับการจดทะเบียนซึ่งไม่สามารถส่งกลับประเทศต้นทางได้ และ(๖)กลุ่มอื่นๆ นอกเหนือจากกลุ่ม ๑-๕ 

            โดยได้กำหนดวิธีการเข้าสู่ทะเบียนโดยให้นายทะเบียนอำเภอหรือนายทะเบียนท้องถิ่นเป็นผู้สำรวจและจัดทำทะเบียนประวัติให้แก่บุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียนที่มีภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่ขณะสำรวจในท้องที่นั้นๆ ตามข้อ ๔ แห่งระเบียบฯ และให้นายทะเบียนอำเภอหรือนายทะเบียนท้องถิ่นกำหนดเลขประจำตัว ๑๓ หลัก (ตามข้อ ๖แห่งระเบียบฯ)  ขึ้นต้นด้วยเลข "๐" (เป็นไปตามที่ผู้อำนวยการสำนักทะเบียนกลางกำหนด--ดูหนังสือสั่งการ) และจัดทำบัตรประจำตัว ตามข้อ ๗ แห่งระเบียบฯ

กรณีตัวอย่าง บุคคลที่ได้รับการสำรวจ

          ด.ช.หนุ่มแก้ว แก้วคำ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่๓ โรงเรียน....ซึ่งเกิดเมื่อวันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๗  จากบิดาและมารดาชาติพันธุ์ไทลื้อ ที่อพยพจากสิบสองปันนา เข้ามาอยู่ในประเทศไทย เมื่อ พ.ศ.๒๕๓๒  และต่อมาเมื่อวันที่ ๕ พค. ๒๕๓๗  บิดาและมารดาของนายหนุ่มก็ได้รับการสำรวจและจัดทำทะเบียนประวัติชุมชนบนพื้นที่สูง และโดยผลของบทบัญญัติมาตรา ๑๗ แห่ง พรบ.คนเข้าเมือง พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติครม.ลงวันที่ ๒๙ สิงหาคม ๒๕๔๓ ซึ่งผ่อนผันให้กลุ่มบุคคลซึ่งได้รับการสำรวจและจัดทำทะเบียนประวัติชุมชนบนพื้นที่สูงแล้ว ได้รับสิทธิที่จะอาศัยอยู่ในประเทศไทยได้เป็นการชั่วคราว ด้วยเหตุดังกล่าวด.ช.หนุ่มจึงได้รับการผ่อนผันให้อาศัยอยู่ในประเทศไทยเป็นการชั่วคราวเช่นเดียวกับผู้เป็นบิดาและมารดา ทั้งนี้ ด.ช.หนุ่ม ถือเป็นบุคคลที่จะได้รับการพัฒนาสถานบุคคลตามยุทธศาสตร์ฯ เนื่องจาก ด.ช.หนุ่ม เป็นกลุ่มเด็กที่เรียนอยู่ในสถานศึกษาในประเทศไทยแต่ไม่มีสถานะที่ถูกต้องตามกฎหมายซึ่งมีนโยบายให้สัญชาติไทยแก่บุคคลที่ศึกษาในระดับอุดมศึกษาในประเทศไทยต่อเนื่องกันอย่างน้อย ๔ ปีแล้ว เขายังเป็นกลุ่มบุตรของคนที่อพยพเข้ามาอยู่ในประเทศไทยนานแล้ว(ก่อน ตค.๒๕๓๘) ซึ่งสมควรจะได้รับการพัฒนาสถานะบุคคลต่อไป

หมายเลขบันทึก: 227848เขียนเมื่อ 7 ธันวาคม 2008 07:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 03:49 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

แวะมาอ่านเรียนรู้

ขอบคุณค่ะ

มีความสุขในทุกๆวัน นะคะ

สวัสดีครับ เข้ามาอ่านครับผม

ที่บ้านมีคนต่างด้าว 3-4 อิอิ

ขอความกรุณาไหมมาเขียนใหม่นะคะ

สำหรับ "กระบวนการเข้าสู่ทะเบียนราษฎรของคนต่างด้าว"

ซึ่งแน่นอน แยกออกเป็น ๒ ทิศทาง กล่าวคือ (๑) กรณีคนที่มีสิทธิอาศัยในประเทศไทย และ (๒) กรณีคนที่ไม่มีสิทธิอาศัยในประเทศไทย

คิดและเขียนให้ชัดกว่านี้ เขียนใหม่นะคะ ให้เวลาอีก ๗ วัน 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท