อะไรทำให้เราต้องเวียนว่ายตายเกิด...?


อ่านทั้งหมด ที่เวป http://khunsamatha.com/

อะไรทำให้เราต้องเวียนว่ายตายเกิด...?

พระพุทธศาสนาเรื่องกรรมและการให้ผลของกรรมก็เพื่อที่จะให้มองเห็นความสำคัญในเรื่องนี้   และใช้ปัญญาพิจารณาโดยแยบคาย   การให้ผลของกรรมย่อมแตกต่างกันไป  กรรมบางอย่างให้ผลในชาตินี้    เรียกว่าทิฏฐธรรมเวทนียกรรมกรรม  บางอย่างให้ผลในชาติหน้า  เรียกว่า  อุปปัชชเวทนียกรรม และ  กรรมบางอย่างให้ผลในชาติต่อ  ๆ  ไป เรียกว่า  อปราปรเวทนียกรรม  



กรรมเป็นของผู้ใด  ผลกรรมก็ย่อมเป็นของผู้นั้น   จะยกไปให้ผู้อื่นไม่ได้  นี้แสดงให้เห็นถึงความเป็นเหตุและเป็นผลของกันและกัน   เหตุอย่างใด    ผลก็อย่างนั้นเสมอ   การให้ผลของกรรมนั้นขึ้นอยู่ที่ว่าช้าหรือเร็วเท่านั้น  เมื่อมีผู้ทำกรรม ผลแห่งกรรมก็ย่อมตอบสนองอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ผู้กระทำกรรมดีย่อมได้รับผลดี  ครั้นตายไปเขาก็ต้องไปเกิดในสุคติ   ผู้กระทำกรรมชั่วก็ย่อมได้รับผลชั่ว  ครั้นตายไปเขาก็ต้องไปเกิดในทุคติ   กรรมดีก็ย่อมได้รับผลดี   ครั้นตายไปเขาก็ต้องไปเกิดในสุคติ  



กรรมดีและกรรมชั่วจึงมีความสัมพันธ์กันกับการเวียนว่ายตายเกิดใหม่อย่างแน่นอน  เพราะเหตุนี้  พระพุทธองค์จึงสอนเรื่องกรรมอันเป็นเหตุแห่งการเวียนว่ายตายเกิดกรรมเท่านั้นเป็นตัวนำสรรพสัตว์ให้ไปเกิดในที่ดีหรือไม่ดี   แต่คำว่า  กรรมในที่นี้หมายถึงกรรมที่เกิดจากการกระทำของตนเท่านั้น    ไม่ว่าจะเป็นกรรมในอดีตหรือในปัจจุบันแต่ก็สามารถปรับปรุงเปลี่ยนแปลงได้ เช่น  ในอดีตชาติเราทำกรรมชั่ว  พอมาในชาตินี้ผลของกรรมชั่วตอบสนอง  เราก็ทำกรรมดีเพื่อบรรเทาผลของกรรมชั่วในอดีตให้อ่อนกำลัง  แต่กรรมดีในชาตินี้จะเป็นอุปนิสัยปัจจัยในชาตินี้และชาติหน้าต่อไป  การเกิดใหม่ด้วยอำนาจผลของกรรมนั้น  ไม่ว่าจะเกิดในโลกมนุษย์   โลกสวรรค์   และโลกนรกถือว่าเป็นความทุกข์ทั้งสิ้น  สรรพสัตว์ทั้งหลายต้องวนเวียนอยู่ในภพน้อยภพใหญ่ชาติแล้วชาติเล่า  เนื่องมาจากกรรมนั่นเอง  ดังพระพุทธพจน์ว่า



ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  เรากล่าวเจตนาว่าเป็นกรรม  บุคคลคิดแล้วจึงกระทำกรรมด้วยกาย  ด้วยวาจา  ด้วยใจ  ก็เหตุเกิดแห่งกรรมเป็นไฉน  คือผัสสะเป็นเหตุเกิดกรรม  ก็ความต่างแห่งกรรมเป็นไฉน  คือ  กรรมที่ให้วิบากในนรกก็มี  ที่ให้วิบากในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานก็มี   ที่ให้วิบากในเปรตวิสัยก็มี   ที่ให้วิบากในมนุษย์โลกก็มี  ที่ให้วิบากในเทวโลกก็มี.....

(องฺ.ฉกฺก. ๒๒/๓๓๔/๔๖๔-๔๖๕. ฉบับ  สยามรฏฐสฺส  เตปิฎกํ ๒๕๒๕.)



จากพระพุทธพจน์นี้  แสดงให้เห็นว่า   ทั้งกุศลกรรมและอกุศลกรรม ถ้ากล่าวโดยปรมัตถ์แล้วก็คือ   การเกิด  แก่  เจ็บ  ตาย  เป็นทุกข์   เพราะว่า  ชีวิตสรรพสัตว์หาได้มีเพียงชาตินี้เดียวไม่  ชีวิตภายหลังความตายก็ต้องได้รับผลของกรรมอีกต่อไปวนเวียนไปในวัฏสงสารด้วยอำนาจของกิเลส  กรรม  และวิบาก  จนกว่าจะเข้าสู่พระนิพพาน  คือ  ความดับจากกิเลสและกองทุกข์ทั้งมวล  ดังนั้น   พระพุทธองค์จึงตรัสสอนใช้ดับกรรมก็เพื่อให้ดับต้นตอแห่งสังสารวัฏนั่นเอง



-->> จึงสรุปได้ว่า  บ่อเกิดแห่งสังสารวัฏหรือการเวียนว่ายตายเกิดได้แก่กรรมดีและกรรมชั่ว  เป็นเบื้องต้นนั่นเอง

หมายเลขบันทึก: 229339เขียนเมื่อ 14 ธันวาคม 2008 10:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 03:59 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท