@..กีฬาแห่งชาติ ครั้งที่ 37 "พิษณุโลกเกมส์” 14-24 ธ.ค.51..@


กีฬา....นับเป็นหนึ่งกิจกรรมที่สร้างเสริมสุขภาพ...

ที่ควรให้ความสำคัญ  ส่งเสริม  สนับสนุน

14 – 24 ธันวาคม 2551

"กีฬาแห่งชาติ  ครั้งที่ 37 พิษณุโลกเกมส์”

 ที่มาของ...พิษณุโลกเกมส์...         

พิษณุโลกเป็นเมืองศูนย์กลางของกลุ่มภาคเหนือตอนล่าง มีประชากร กว่า 800,000 คน เพื่อเกมส์กีฬาระดับชาติที่ยิ่งใหญ่ ประชาชนชาวจังหวัดพิษณุโลกจึงได้ร้อยดวงใจ ร่วมแรง ร่วมใจ แสดงพลัง เพื่อให้เกมส์การแข่งขัน เป็นเกมส์ของชาวพิษณุโลกอย่างแท้จริง และเป็นเกมส์กีฬาของประชาชนทั้งชาติจึงเป็นที่มาของชื่อ "พิษณุโลกเกมส์"

 คำขวัญกีฬาแห่งชาติ....

"กีฬา สานไมตรี สร้างคนดี พัฒนาชาติ"
"Sport encourages friendship’ builds character and helps the nation to

go forward"

 ด้วยคำขวัญดังกล่าวข้างต้น จังหวัดพิษณุโลก มีความมุ่งมั่นที่จะใช้กิจกรรมกีฬาเป็นสื่อ ในการสานสัมพันธ์ไมตรีของชนทุกหมู่เหล่าโดยไม่เลือกเชื้อชาติ ศาสนาในลักษณะของความสมานฉันท์ ด้วยกีฬาเป็นกิจกรรมที่มีกฎ กติกา มีการยอมรับในผลแพ้ ผลชนะ ซึ่งถือว่าเป็นกระบวนของการพัฒนาจิตใจของคนจะส่งผลให้ประชาชนตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเป็นคนดี เป็นการสร้างอนาคตของชาติ โดยให้คนดีเหล่านั้นไปเป็นกำลังในการพัฒนาประเทศชาติให้เจริญรุ่งเรืองสืบไป

 อ่านเพิ่มเติมที่นี่ค่ะ

http://www.phitsanulokgames.com/history.php

 

ประวัติกีฬาแห่งชาติ
          "กีฬาแห่งชาติ" ได้วิวัฒนาการมาจากกีฬาเขต ซึ่งมีประวัติความเป็นมาตั้งแต่ได้มีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าให้ตราพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การส่งเสริมกีฬาแห่งประเทศไทยขึ้น เมื่อวันที่ ๑๒ กันยายน พ.ศ. ๒๕๐๗ โดยการแข่งขัน กีฬาเขต ได้ริเริ่มขึ้นพร้อมๆ กับการ ก่อตั้งองค์การส่งเสริมกีฬาแห่งประเทศไทย ซึ่งได้วางโครงการในอันที่จะขยายการส่งเสริมกีฬาออกไปให้ทั่วราชอาณาจักรด้วยการ จัดการแข่งขันระหว่างจังหวัดภายในภาคต่างๆ ของประเทศขึ้นพร้อมกัน แต่โดยที่ประเทศไทยได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพจัดการ แข่งขันกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ครั้งที่ ๕ เมื่อเดือนธันวาคม ๒๕๐๙ ซึ่งโดยปกติจะต้องใช้เวลาเตรียมการประมาณ ๓-๔ ปี และองค์การส่งเสริมกีฬาแห่งประเทศไทยต้องรับภาระในด้านธุรการของงานครั้งนั้น จึงทำให้โครงการจัดการแข่งขันกีฬาเขต ต้องเลื่อนไปโดยไม่มีกำหนดจนกระทั่งเสร็จสิ้นการแข่งขันกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ครั้งที่ ๕ จึงเริ่มดำเนินการใหม่ความคิดในอันที่จะรวบรวมกีฬาทั่วประเทศ รวมทั้งการขยายการส่งเสริมกีฬาออกไปให้ทั่วถึงด้วยวิธีการ จัดการแข่งขันเป็นระดับจังหวัดและภาคนี้ ได้ทวีมากขึ้นเมื่อสิ้นการแข่งขันเอเชี่ยนเกมส์ครั้งที่ ๕ อันเป็นระยะที่ประชาชนได้ให้ความสนใจแก่การกีฬาอย่างกว้างขวางอยู่แล้ว คณะกรรมการองค์การส่งเสริมการกีฬาแห่งประเทศไทยจึงได้หยิบยกโครงการนี้ ขึ้นมาพิจารณาใหม่อย่างจริงจัง และในเดือนมีนาคม พ.ศ.๒๕๑๐ ได้มีมติยืนยันที่จะจัดการแข่งขันกีฬาภาคขึ้น เป็นงานประจำปีกำหนดวันที่ ๙ ธันวาคม อันถือได้ว่าเป็นวันที่มีความสำคัญในประวัติศาสตร์การกีฬาของไทย โดยเป็นวันที่เปิดการแข่งขันเอเชี่ยเกมส์ครั้งที่ ๕ ที่กรุงเทพฯ เมื่อปี ๒๕๐๙ ในขึ้นปฏิบัติการได้มีความเห็นว่าเพื่อเป็นการประหยัด และเริ่มต้น ควรจัดการแข่งขันที่ได้รับความนิยมแพร่หลาย ๔-๕ ประเภทก่อน เช่น ฟุตบอล บาสเกตบอล แบดมินตัน ลอนเทนนิส และได้มีการวางแผนในรายละเอียดรวมทั้งงบประมาณค่าใช้จ่ายต่างๆ ขึ้นพร้อมที่จะปฏิบัติการได้ในเดือนธันวาคม ๒๕๑๐ ตามแผนการขั้นแรกนี้ องค์การฯ ได้จัดกลุ่มจังหวัดใกล้เคียงขึ้นในภาคสมมติ ๕ ภาค คือ ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคใต้ และจะได้ขอให้จังหวัดต่างๆ ที่อยู่ในภาคหนึ่งเลือกจังหวัดศูนย์กลางหรือจังหวัดหัวหน้าภาคกันเอง จังหวัดหัวหน้าภาคนี้ จะเป็นตัวแทนจังหวัดอื่นๆ จัดการแข่งขันกีฬาระหว่างจังหวัดภายในภาค เพื่อให้ได้นักกีฬาผู้แทนของภาคนี้ขึ้นไว้ องค์การฯ จะเป็นฝ่ายนำนักกีฬาของภาคไปแข่งขันชิงชนะเลิศที่กรุงเทพฯ ต่อไป

 

ขอบคุณhttp://www.lib.ru.ac.th/journal/dec/dec16-DayForThaiSport.html

^-^    รักษาสุขภาพ....กันด้วยนะคะ   ^-^



ความเห็น (4)

สัญลักษณ์ประจำการแข่งขัน

สัญลักษณ์การแข่งขัน คือเส้นสายแถบสีที่ร้อยเรียงกันเป็นรูป ไก่ชนพระนเรศวร โดยการนำภาพไก่ชนพระนเรศวรจัด องค์ประกอบกับตัวอักษร P (สีฟ้า) คืออักษรนำหน้าของจังหวัดพิษณุโลก (Phitsanulok) มีการผสมผสานกับแถบโค้งให้สวยงามและดูเคลื่อนไหวให้เหมาะสมกับลักษณะการแข่งขันกีฬา แถบสีที่แตกต่างกันหมายถึงกลุ่มจังหวัดที่เข้าร่วมการแข่งขัน

แถบสีเขียว คือ ความอุดมสมบูรณ์ของป่าไม้ซึ่งหมายถึง กลุ่มจังหวัดในภาคเหนือ

แถบสีเหลือง คือ สีแห่งความเจริญรุ่งเรืองของศิลปวัฒนธรรมและศาสนา ซึ่งหมายถึงกลุ่มจังหวัดในภาคกลาง

แถบสีส้ม คือ สีแห่งความเจริญของอารยธรรมโบราณ หมายถึงกลุ่มจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

แถบสีฟ้า คือ สีแห่งสภาพแวดล้อมของธรรมชาติท้องทะเล ซึ่งหมายถึงกลุ่มจังหวัดในภาคใต้

แถบสีม่วง คือ สีประจำจังหวัดพิษณุโลก อันเป็นสีที่หมายถึงสมเด็จพระนเรศวรมหาราช โดยมีที่มาจากสีม่วงเป็นสีผสมผสานระหว่างสีน้ำเงิน (สีแห่งความเป็นกษัตริย์) และสีแดง (คือสีแห่งความกล้าหาญ)

นอกจากนั้น การนำไก่ชนมาเป็นองค์ประกอบของสัญลักษณ์ ยังหมายถึงการแข่งขันกีฬาที่ต้องมีการต่อสู้เพื่อชัยชนะด้วยความกล้าหาญอีกด้วย

                                            

สัตว์นำโชค

"ดีใจ" เป็นชื่อสุนัขพันธุ์ไทยบางแก้ว มีขนาดเท่าสุนัขไทย หรือเล็กกว่าเล็กน้อย ขนปุยยาว สง่างาม ว่องไว แข็งแรง หางเป็นพวง สายพันธุ์สืบทอดมาจากหมาจิ้งจอกคือลักษณะหางตั้งโค้งไปข้างหน้า ลักษณะนิสัยของสุนัข บางแก้ว คือ ดุ ดมกลิ่นดีมาก กินง่าย กล้าหาญ จำเสียงได้แม่นยำ อดทน กัดโดยไม่เห่า หวงเจ้าของ รักเจ้าของมาก ซื่อสัตย์

สุนัขบางแก้วมีถิ่นกำเนิดที่หมู่บ้านบางแก้ว อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก ในอดีตบ้านบางแก้วเต็มไปด้วยป่าระกำ ป่าไม้และต้นไม้อื่น ๆ หนาแน่น มีสัตว์ป่าชุกชุม สุนัขพันธุ์ไทยที่บ้านบางแก้ว จึงมีโอกาสผสมพันธุ์กับสุนัขพันธุ์จิ้งจอก และสุนัขพันธุ์หมาป่า ทำให้เกิดพันธุ์ใหม่เรียกว่าสุนัขบางแก้ว ปัจจุบันมีผู้นิยมเลี้ยงและเพาะพันธุ์สุนัขบางแก้วขาย ซึ่งทำรายได้ดีแก่ผู้เลี้ยง สามารถฝึกใช้งานได้ มีความสามารถเท่ากับสุนัขพันธุ์ต่างประเทศมีการประกวดสุนัขบางแก้วเกือบทุกปี จึงนับได้ว่าสุนัขบางแก้ว เป็นมรดกของแผ่นดินไทย และของชาวจังหวัดพิษณุโลกที่ตกทอดสายพันธุ์สุนัขอีกสายพันธุ์หนึ่งของคนไทยและสร้างชื่อเสียงดังไปทั่วโลก จึงได้นำมาเป็นสัญลักษณ์นำโชคในการแข่งขันกีฬาแห่งชาติ ครั้งที่ 37 (พ.ศ. 2551) พิษณุโลกเกมส์ ใช้ชื่อว่า "ดีใจ" ต้องการสื่อความหมายถึง การได้ต้อนรับ ผู้มาเยือนจังหวัดพิษณุโลกด้วยความปิติยินดี และดีใจเป็นอย่างยิ่งที่ได้เป็นเจ้าภาพต้อนรับแขกบ้านแขกเมืองของชาวจังหวัดพิษณุโลก เป็นสิ่งบ่งบอกถึงสัญลักษณ์ที่จะนำแต่ความโชคดี มาสู่ผู้มาเยือนจังหวัดพิษณุโลกได้เป็นอย่างดี

ดีใจเป็นสุนัขบางแก้วสีขาวน้ำตาล จะใส่เสื้อสีเหลืองเพราะสีเหลืองให้ความรู้สึกถึงความมุ่งมั่น ความสำเร็จ นุ่งกางเกงสีม่วง เพราะสีม่วง ให้ความรู้สึกถึงความสุภาพและเป็นมิตรกับทุก ๆ คน

                                    

Pขอบคุณที่แวะมาทักทายค่ะ

มีความสุขเสมอๆนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท