ภาวะคลื่นไส้ อาเจียนภายหลังการผ่าตัด


ผู้เขียนเคยเผชิญด้วยตนเองเพราะได้รับผลข้างเคียงของยาแก้ปวดทุกตัวที่ได้รับ เรียกว่าอาเจียนมากจนสงสารคนเฝ้ามากที่สุด

 

ช่วงนี้มีคำถามจากคนใกล้ตัวบ่อยมาก เป็นเรื่องของความข้องใจเกี่ยวกับการเกิด  ภาวะคลื่นไส้อาเจียนภายหลังการผ่าตัด(Postoperative nausea and vomiting : PONV)  สภาวะนี้หากเกิดกับใครก็จะทราบว่าทรมานมาก  ทั้งคนไข้  และคนเฝ้าไข้...

ผู้เขียนเคยเผชิญด้วยตนเองเพราะได้รับผลข้างเคียงของยาแก้ปวดทุกตัวที่ได้รับ  เรียกว่าอาเจียนมากจนสงสารคนเฝ้ามากที่สุด หากใครเป็นแฟนกันหรือเพื่อนกัน สามารถผ่านพ้นสถานการณ์นี้ไปและทนกันได้...นั่นแหละ  เบื้องต้นของรักแท้หรือเพื่อนแท้เกิดขึ้นแล้ว

 

อาการคลื่นไส้อาเจียนเกิดจากร่างกายถูกกระตุ้นchemoreceptor trigger zone ซึ่งจะหลั่งสารสื่อประสาท (neurotransmitters) เช่น Dopamine, serotonin ไปกระตุ้นศูนย์การอาเจียน (vomiting center) ส่ง impulse ไปกระตุ้น salivation, respiratory center, pharyngeal, gastrointestinal, abdominal muscle ทำให้เกิดการคลื่นไส้อาเจียน หรือเกิดจากจิตใจ เป็นการรับรู้ข้อมูล เช่น กลิ่น, แสง, เสียง, ความเจ็บปวด ผู้ป่วยจะเกิดอารมณ์ทางด้านลบซึ่งจะไปกระตุ้นการทำงานของ cerebral cortex ซึ่งจะไปกระตุ้นศูนย์การอาเจียนโดยตรง นอกจากนี้อาจมีปัจจัยร่วมที่เกิดขึ้น ได้แก่ มีการกระตุ้นผ่านทางระบบการทรงตัวของ Vestibular เช่น ในกรณีผู้ป่วยมีประวัติ ของ motion sickness โดยมีปัจจัยส่งเสริม ได้แก่ ประสบการณ์, อายุ, เพศ, ประวัติการดื่มสุรา, ความวิตกกังวล ความคาดหวังต่อผลข้างเคียง, ระยะเวลาการนอนหลับ, ชนิดและขนาดของยาเคมีบำบัดที่ได้รับ

ภาวะคลื่นไส้อาเจียนภายหลังการผ่าตัดเป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบบ่อยมาก ประมาณร้อยละ 20-30 ของผู้ป่วยที่มารับการผ่าตัดซึ่งทำให้ไม่สุขสบาย

 

ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง

ปัจจัยที่ดูเหมือนจะเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดภาวะคลื่นไส้อาเจียนหลังผ่าตัด ได้แก่

1.     เพศหญิง(อาจจากฮอร์โมนเอสโตรเจน) พบมากกว่าเพศชาย 2-4 เท่า

2.     คนอ้วน

3.     ผู้ป่วยอายุน้อย

4.     เคยมีประวัติคลื่นไส้อาเจียน

5.     เคยได้รับยาสลบ

6.     มีอาการปวด ภาวะความดันโลหิตต่ำ หรือภาวะน้ำตาลในกระแสเลือดสูงในระยะหลังผ่าตัด

7.     ชนิดของการผ่าตัด  การทำหัตถการบริเวณหูชั้นกลาง การผ่าตัดตา(โดยเฉพาะ strabismus surgery)  peritoneal irrigation การได้รับความบอบช้ำของกระเพาะอาหารและลำไส้ หรือการผ่าตัด

 

ปัจจัยจากการให้ยาระงับความรู้สึก

อาการนี้พบบ่อยภายหลังการได้รับยา ethomedate และ ketamine ไนตรัสออกไซด์  ยาดมสลบ ยาในกลุ่ม opioids  การใช้ positive pressure ventilation ผ่านหน้ากากช่วยหายใจ หรือได้รับยากลุ่ม anticholinesterase   ผู้เขียนเคยเฝ้าผู้ป่วยที่ได้รับการฉีดยาชาเข้าไขสันหลัง  ผู้ป่วยก็นอนสบายๆ  แต่พอให้ไนตรัสออกไซด์เสริมเมื่อผู้ป่วยเริ่มปวดเมื่อใกล้เสร็จ  ไม่นานนักหลังให้ก๊าซดังกล่าว ผู้ป่วยก็แสดงอาการคลื่นไส้ อาเจียน

 

เทคนิคของการให้ยาระงับความรู้สึก

ที่อาจช่วยลดอาการคลื่นไส้อาเจียนได้แก่

1.     หลีกเลี่ยงยาที่ทำให้เกิดอาการคลื่นไส้อาเจียน หากหลีกเลี่ยงได้

2.     หลีกเลี่ยงการอัดลมเข้าทางเดินอาหารขณะช่วยหายใจ

3.     รักษาระดับการสลบให้ลึกเพียงพอ

4.     รักษาหรือทดแทนภาวะขาดน้ำ

5.     ให้ยาแก้ปวดเพียงพอ เพราะความปวดสามารถทำให้เกิดอาการคลื่นไส้อาเจียนได้

6.     ให้ยาป้องกันอาการคลื่นไส้อาเจียนในการผ่าตัดที่มีความเสี่ยง

 

การป้องกันและรักษา

1.     แพทย์สามารถให้ยาป้องกันได้ โดยเฉพาะในรายที่มีปัจจัยเสริม เช่น meto-clopramide, droperidol(ยาตัวนี้ผู้เขียนไม่เห็นมีใช้มานานแล้ว) minor และmajor  tranquilizer

2.     การแก้ไขสภาวะผิดปกติที่ทำให้เกิดอาการ เช่นอาการปวดแผล  ความดันเลือดต่ำ ภาวะขาดออกซิเจน ภาวะคาร์บอนไดออกไซด์คั่ง

 

การเกิดภาวะคลื่นไส้อาเจียนสร้างปัญหาความไม่สุขสบายทั้งกับผู้ป่วยเอง รวมถึงผู้ดูแลหลังผ่าตัด อันอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้การจำหน่ายกลับบ้านต้องล่าช้าออกไป  ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น  วิสัญญีพยาบาลผู้มีบทบาทให้การพยาบาลทางวิสัญญีแก่ผู้ป่วยสามารถประเมินความเสี่ยงของผู้ป่วยได้ก่อน  นับตั้งแต่ การซักประวัติ การพูดคุย และประสานกับแพทย์เพื่อสั่งการใช้ยาในการป้องกันได้  อีกทั้งการดูแล เฝ้าระวังใกล้ชิดขณะให้บริการทางวิสัญญีเพื่อป้องกันมิให้เกิดภาวะที่เสี่ยงต่อการเกิด เช่นการพยายามมิให้เกิดความดันเลือดต่ำมากเกินไป  รวมถึงการดูแลใกล้ชิดเพื่อให้การช่วยเหลือได้ทันทีหากเกิดอาการ  ป้องกันการสำลักเข้าปอดอันทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่อันตรายตามมาแล้ว

ซึ่งหากเราสามารถหาทางป้องกันไม่ให้เกิดได้  ก็จะทำให้ผู้ป่วยเกิดความสุขสบาย  ประทับใจในบริการและสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายได้อีกด้วย

 

เอกสารอ้างอิง

1.     เทวารักษ์ วีระวัฒกานนท์, วิชัย อิทธิชัยกุลฑล, มานี รักษาเกียรติศักดิ์, ปิ่น ศรีประจิตติชัย. ฟื้นฟูวิชาการวิสัญญีวิทยา, 2549.

2.     มาลินี วงศ์สวัสดิวัฒน์. Postoperative Nausea and Vomiting : An Update. ภาควิสัญญีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2550)

3.     โครงการใช้ผลงานวิจัย เรื่องแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อลดอาการคลื่นไส้อาเจียนในผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับเคมีบำบัด (http://www.ns.mahidol.ac.th/fongcum)

หมายเลขบันทึก: 230879เขียนเมื่อ 20 ธันวาคม 2008 15:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 22:43 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (15)
  • สวัสดีค่ะ อ.พี่ติ๋ว
  • ที่โรงบาลหมอเขาก็ทำวิจัย แต่ป้าแดงจำข้อมูลไม่ได้ กะว่าจะส่งไป พรพ.จัดนิทรรศการ แต่ไม่รู้จะเข้าประเด็นที่เขาอยากได้ได้รึป่าว
  • ขอบคุณค่ะ

ขอบคุณ ที่นำความรู้ดีๆๆมาฝาก

เขียนบ่อยๆๆนะรออ่าน

  • มาขอบคุณที่ไปเยี่ยมบันทึกค่ะ
  • ยินดีที่ได้รู้จักนะคะ
  • เคย..อาเจียนออกมาเป็นน้ำ  แต่ไม่รู้สึกคลื่นไส้นะคะ
  • แต่..กลับไปโรงพยาบาลหมอบอกว่าแพ้ยาค่ะ

เคยมีอาการคลื่นไส้อาเจียนหลังผ่าตัดค่ะ...

ตื่นขึ้นมาแล้วห้องหมุนๆๆๆๆ...คนเฝ้าไข้ก็ไม่อยู่ต้องลำบากพยาบาลเข้ามาดูแล ทรมานมากๆ ทั้งคนไข้และพยาบาล..

ขอบคุณค่ะ

สวัสดีค่ะ  pa_daeng [มณีแดง คนสวย แซ่เฮ]

  • มีThemeงาน HA National Forum ครั้งที่10 ที่นี่ ค่ะ...เป็นแนวคิดของการนำผลงานการพัฒนาอะไรก็ได้ที่แสดงถึงการเชื่อมโยง เชื่อมต่อที่ไร้รอยต่อหรือไร้ตะเข็บ.. ป้าแดงคงอ่านแล้ว...
  • ถ้าป้าแดงสนใจเรื่องซึ่งคุณหมอทำไว้แล้ว  ลองนำผลการวิจัยมาใช้กับผู้ป่วยจริงก็เป็นการแสดงถึงการไม่สะดุดระหว่างผลของวิจัยกับการนำมาใช้กับผู้ป่วยได้จริงค่ะ...ทำเลยค่ะป้าแดง
  • ...ดิฉันคงไม่ได้ไปงานนี้เพราะจัดตรงกันกับการประชุมฟื้นฟูวิชาการวิสัญญีพยาบาล ของภาควิชาวิสัญญีฯ มข. พอดีค่ะ...น่าเสียดายจริง...
  • ขอบคุณค่ะ

เรียน คุณ rittichai

  • จะพยายามค่ะ...ขอบคุณนะคะ...

สวัสดีค่ะ ครูคิม

  • เคยอ่านบันทึกของครูคิมบ่อยๆค่ะ แต่ไม่ได้แสดงตัว
  • ยินดีที่รู้จักเช่นกันค่ะ

สวัสดีค่ะ Gutjang

  • เคยเป็นเหมือนกันค่ะ เหมือนบ้านหมุนๆๆๆ...ต้องคลานเข้าห้องน้ำไปอาเจียนเลยค่ะ ไม่มีความสุขเอาซะเลย ได้ยาแล้วดีขึ้น
  • ขอบคุณนะคะ

เคยคิดว่างานพยาบาลเป็นอะไรได้แค่ จัดยา ฉีดยา เขียนบันทึกการพยาบาล

และก็เป็นอย่างนั้นวนเวียนซ้ำไปซ้ำมาตลอดจนแก่เป็นพยาบาลเฝ้าหวอด

แต่งานที่พี่ทำน่าสนใจกว่าเยอะเลย ทำให้มีกะลังใจที่จะเดินต่อ

ในวิชาชีพเดิมแต่งานที่ท้าทายขึ้น

หวัดดีคับพี่ติ๋ว ผมอยากได้ข้อมูลเกี่ยวกับคุณภาพงานบริการด้านวิสัญญี หากจะขอพี่ติ๋วจะได้ไหมคับผ๋ม

Anesth'22

สวัสดีค่ะ คุณ มณีนุช

  • เราเป็นอะไรก็ได้...ที่เราอยากจะเป็นค่ะ...
  • ถ้าพี่ทำแค่จัดยา แจกยา ฉีดยาก็ทำได้...แต่ไม่สนุกค่ะ  ชีวิตวันๆคงหงอยแย่...
  • วิชาชีพพยาบาลของเราโชคดีค่ะที่ได้บริการ "คน...ตัวเป็นๆ.." ซึ่งก็มีความต่างของคนให้ได้เรียนรู้...แม้กระทั่ง "คน" ที่ทำหน้าที่ในโรงพยาบาลร่วมกับเราก็น่าศึกษาเพราะมีความต่างเช่นกัน
  • ดีใจค่ะที่เรื่องเล่าต่างๆทำให้คนในวิชาชีพเดียวกันมีไฟในการพัฒนาตนเพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยมากขึ้นค่ะ
  • ให้กำลังใจคุณเช่นกันค่ะ
  • ขอบคุณนะคะ

สวัสดีค่ะ น้องดมยา'22

  • มาไม่ให้สุ้มให้เสียงเลยเชียว...จะรู้มั้ยเนี่ยว่าชื่อไรกัน..อิอิ
  • ...ข้อมูลคุณภาพนั้นพี่บันทึกไว้มากมายค่ะ...สามารถนำไปดัดแปลงใช้ให้เหมาะสมได้เลย...ยินดีค่ะ
  • ข้อมูลเก็บไว้ทั้งที่ website ภาควิชาฯ  และที่นี่ แต่ตอนนี้ website คณะแพทย์มีปัญหาที่ serverค่ะ...ต้องคอยหน่อย
  • ที่ภาควิชาไปที่  http://anaes1.md.kku.ac.th  (แต่ตอนนี้เสีย) นอกนั้นก็หาดูใน GotoKnowนี่แหละค่ะ http://gotoknow.org/blog/nurseanaesthqa
  • ดีใจค่ะที่แวะมา
  • โชคดีนะคะ

พอดีผ่านเข้ามาเจอ เลยขอคำปรึกษาพี่ที่มากประสบการณ์หน่อยนะคะว่า ตอนนี้หนูกำลังจะทำวิจัยเกี่ยวกับวิสัญญีแต่คิดไม่ออกว่าจะทำเรื่องอะไรดีคะ เอาที่ใช้ได้จริงไม่ยุ่งยากซับซ้อนไม่ซ้ำกับใคร

เรื่องที่คิดไว้ บ้างแต่ไม่ค่อยเท่าไหร่1. ปัจจัยที่มีผลต่อความเครียดของวิสัญญีพยาบาล

2. ปัจจัยทำนายการเกิดภาวะคลื่นไส้อาเจียนหลังดมยาสลบ

3. การให้สารละลายก่อนฉีดยาเข้าช่องน้ำไขสันหลังในผู้ป่วยผ่าตัดTHAและTKA เพื่อปัองกันความดันเลือดต่ำ - เปรียบเทียบการใช้ colloid กับ cystalloid

หนูคิดไว้เล่น พี่ช่วยแนะนำหน่อยนะ มือใหม่

ปล อยากทำอะไรที่เกี่ยวกับอาการที่เกิดขึ้นและวิธีจัดการกับอาการนั้นๆ คะของดมยาแต่คิดชื่อเรืองไม่ออกว่าจะscopอย่างไรดี

กำลังหาหัวข้อวิเคราะห์งานคะมีอะไรช่วยแนะนำด้วยขอบคุณพี่มาก

การเลือกเรื่องอะไรบางเรื่อง เพื่อตอบอะไรบางอย่างนั้น สิ่งที่ต้องคำนึงเป็นเบื้องต้นคือ...เรามีเป้าหมายอะไร แก้ปัญหาอะไรในงาน หรือหน่วยงานอยากให้เราทำเพื่ออะไร เรียกว่าหากจะทำงานอะไรสักงานต้องเกิดความคุ้มค่าแรงที่เราลงทุนลงแรงค้นหาข้อมูลหรือวิเคราะห์หาทางแก้ปัญหา ส่งผลลัพธ์ที่ได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้

ดังนั้น...

การจะเลือกหัวข้อที่อยากทำ หากมองในมุมผู้ปฏิบัติงานคุณภาพก็ต้องวกกลับมาคิดว่า ในหน่วยงานของเรานั้น อะไรเป็นปัญหาที่สำคัญที่สุด หากกระทำหรือไม่กระทำจะเกิดผลลัพธ์หรือผลกระทบมากที่สุด(ในบริบทของเรา...คล้ายการเขียนที่มาและความสำคัญ)จึงเลือกทำค่ะ

โชคดีนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท