สวนมอนหลังบ้านคนอีสาน


เรื่องเล่าจากโรงทอผ้า

โดยปกติผมนิยมให้ช่างทอของผมใช้เส้นไหมบ้านที่สาวด้วยมือเป็นหลักในการทอผ้าของผม ซึ่งเมื่อนำผ้าที่ทอได้ไปจำหน่าย ผมพบว่า ลูกค้าของผม(ซึ่งอาจจะไม่เหมือนลูกค้าคนอื่น)นิยมซื้อผ้าไหมที่ทอด้วยไหมพื้นบ้านมากกว่าเส้นไหมแท้ที่สาวด้วยเครื่องจากโรงงาน

ความนิยมนี้ ทำให้ผมต้องหาแหล่งผลิตเส้นไหมสาวมือแบบพื้นบ้าน  เมื่อผมค้นพบวัตถุดิบที่ตลาดต้องการ ในทางกลับกันผมก็พบว่าวัตถุดิบดังกล่าวหายากเต็มทน ที่หาได้บางครั้งก็เป็นเส้นไหมคุณภาพปานกลาง มีให้เลือกน้อยกว่าเมื่อหลายปีก่อนมาก

เมื่อเข้าไปในหมู่บ้านเราก็พบความจริงข้อหนึ่งที่ส่งผลให้เส้นใยไหมพื้นบ้านลดลงคือ การใช้พื้นที่ของคนอีสานเปลี่ยนไป 

 

เมื่อก่อน(ผมยังเด็ก) ทุกบ้านจะมีส่วนเป็นของตัวเอง ผมเรียกสวนหลังบ้านหรือสวนข้างบ้าน ซึ่งมีพื้นที่พอที่จะใช้ในการปลูกพืชผักสวนครัวเอาพออยู่พอกิน ใครใคร่ปลูกกล้วยก็ได้กล้วยกิน ใครใคร่ปลูกกระถินก็ได้กระถินกิน เรียกได้ว่า สวนหลังบ้านคือตลาดสดชั้นดี  ดังนั้นเมื่อพ้นหน้านา ท่งนาก็กลายเป็นเพียงที่เลี้ยงสัตว์และแหล่งหาอาหารท่งเท่านั้น  ส่วนผักและเครื่องเคียงเราใช้สวนหลังบ้านเป็นแหล่งผลิตกัน

สวนหลังบ้านกับสวนหม่อน ภาษาอีสานเรียก สวนมอน เป็นของคู่กันมาแต่ไหน ๆ เพราะแม่หญิงทุกคนต้องเรียนรู้การทอผ้าการผลตเส้นใย ดังนั้นจึงมสวนหม่อนเอาไว้ผลิตวัตถุดิบในการเรียนรู้ความเป็นผู้หญิงที่สมบูรณ์เช่นเดียวกับผู้ชายที่มีก่ไผ่เอาไว้เป็นแหล่งผลิตวัตถุดิบการจักสานเพื่อเพื่อความสมบูรณ์ของความเป็นพ่อชาย

ปัจจุบันการใช้พื้นที่ในชุมชนเปลี่ยนแปลงไป สวนหลังบ้านถูกครอบครัวขยายกินพื้นที่นำเอาไปสร้างบ้าน สวนในบ้านจึงถูกแบ่งออกเป็นส่วน ๆ เพื่อให้ลูกหลานใช้สร้างครอบครัว ดังนั้นสวนหม่อนจึงถูกลดจำนวนลง หลายหมู่บ้านสวนหม่อนแถบจะสูญพันธุ์ไปก็มี ไม่เหลือแนว(พันธุ์)ไว้เลี้ยงไหมอีกต่อไป

ดังนั้นความเปลี่ยนแปลงทางสังคม ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

 

หมายเลขบันทึก: 231657เขียนเมื่อ 24 ธันวาคม 2008 13:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:03 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

ได้ความรู้ดีจริง ๆ ครับ อ่านแล้วเห็นภาพในสมัยที่อุดมด้วยวัฒนธรรมอีสานที่หอมหวานจริง ๆ

นอกจากเครือข่าย ของ อาจารย์ออต แล้แหล่งที่ยังดำรงการต่ำทอ ด้วยเส้นใยไหมพื้นบ้าน สาวมือ ก็ยังมี กลุ่ม Silk Net เครือข่ายหม่อนไหม 5 จังหวัดภาคอีสาน ก็ยังดำเนินวิธีการเดียวกันเพื่อคงอัตลักษณ์ และความเงาวาวตามธรรมชาติของไหมพื้นเมืองสาวมือและยังคงมีเส้นใยพอเจือจานแบ่งปันกลุ่มอื่นด้วยราคายุติธรรม

สนใจติดต่อ เอื้อยนิ่ม เด้อ น้องซายผู้น่าฮัก

สบายดี

สวัสดีอีกรอบค่ะ

สวนมอน ไม่ค่อยเห็นแล้วจริงๆด้วยค่ะ

สมัยเป็นเด็กยังเคยไปเก็บใบมอน มาเลี้ยงม่อน

เก็บหมากมอนกินอยู่เลยค่ะ

อ่า ขนาดในเพลงกล่อมเด็ก ยังมีเนื้อเพลงเกี่ยวกับสวนมอนเลยค่ะ

ขอบคุณค่ะสำหรับเรื่องราวดีๆอีกเช่นเคย

สวัสดีครับ

"สวนมอน" คุ้นๆ ว่าเคยได้ยินจากเพลงกล่อมเด็ก

สวนอ้ายสีที่วังเวียง

ขายใบหม่อนชุบแป้งทอดแกล้ม....เครื่องดื่ม...แซบหลายนาย

ผลหม่อนทำน้ำปั่นผสมกล้วย....ฝรั่งแย่งกันกิน

บ้านเฮาเอาใบหม่อนใส่ต้มไก่

ใบหม่อนวัตถุดิบหลักในการเฮดผงนัวของอินแปง

ใบหม่อนๆๆๆๆ

ว่าแต่ว่าจะส่งเสริมให้พี่น้องหงสาปลูกหม่อนเลี้ยงม้อนเนี่ย

คงต้องพึ่งเจ้าพ่อออตช่วยแนะนำการตลาดแล้วครับ

หงสาเปิดเป็นด่านสากลแล้วครับน้องออต เข้ามาเที่ยวแล้วเลยออกทางหลวงพระบาง หรือจะนั่งเรือทวนน้ำขึ้นไปออกที่เชียงของได้แล้วนา...สนใจมั้ย

สวนหม่อนไม่มีรูป

เป็นเพราะตัวไหมกินต้นหม่อนจนถึงรากถึงโคนรึ อาจารย์ออต

ควรจะมีภาพให้ดูบ้าง อิ อิ ..

ขอบพระคุณทุกความคิดเห็นครับ

  •    
  • มีความสุขเจ้าคะทุกวันๆนะเจ้าคะ
  • เป็นเรื่องราวละเอียดที่น้อยคนจะใส่ใจ แต่เรื่องเช่นนี้มีความสำคัญมากกับการสืบทอดภูมิปัญญานะคะ

    เป็นกำลังใจให้ค่ะ ทำงานทวนกระแสก็เหนื่อยหน่อย แต่มีความสุขใช่มั้ยคะ

    อาจารย์นุช

    • ขอบพระคุณมากครับ ที่แวะมาให้กำลังใจ
    • ทวนกระแสจริงๆครับ กระแสใหญ่ซะด้วยครับ
    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท