มัทนา
มัทนา (พฤกษาพงษ์) เกษตระทัต

สถาบันมายา | กลุ่ม 10° North | มูลนิธิวิจัยการพัฒนายั่งยืน


16 มกราคม 2552

วิทยากรจากสถาบันมายา (สถาบันศิลปวัฒนธรรมเพื่อการพัฒนา) มาสอนนักศึกษาปี 3 ทำ EAP (Experiential Activities Planner) ทั้งวัน

กิจกรรมนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา Foundations of Health Promotion and Health Communication for Oral Health Promotion วันจันทร์หน้า นศ.ก็จะได้ลองไปทำกิจกรรมกลุ่มกับนักเรียนป. 1-2 ของรร.ประถมธรรมศาสตร์

ชอบการเรียนการสอนวันนี้มากเพราะเห็นผลทันที และได้เห็นศักยภาพของนศ.ในเรื่องความคิดสร้างสรรค์ การทำสื่อ และการเล่นละคร ประทับใจวิทยากร (อ.สมศักดิ์และคณะ รวม 5 ท่าน) ที่ทำให้การเรียนการสอนไม่น่าเบื่อเลยตลอดทั้งวัน (จะนำรูปภาพมาลงอีกทีค่ะ)

อ.สมศักดิ์เล่าเรื่องให้ฉุกคิดว่าทำไมการค้าขายขนมและน้ำอัดลมในโรงเรียนถึงแก้ได้ไม่ง่าย เพราะบางที่ครูขายเอง นำเงินเข้าสหกรณ์โรงเรียน บางที่ทำสัญญากับบริษัทเป็นรายปี ลองคิดดูว่าถ้าเด็กมีค่าขนมคนละ 20 บาทต่อวัน โรงเรียนนึงมีนักเรียนกี่คน เดือนๆนึงรายได้จากค่าขนมเด็กจะเป็นเท่าไหร่ เป็นแหล่งเงินที่ได้เห็นๆทางบริษัทก็ย่อมจะอยากทำการตลาดด้วย

-----------------------------------------------------------

ส่วนพอทางกลุ่มมายากลับกันไปแล้ว อ.ปิยะชวนเราไปนั่งคุยกับกลุ่ม 10° North Foundation จากอเมริกาซึ่งประกอบไปด้วยหมอ internal med หมอฟัน (pediatric dent) และ Public health (หมอรุ่น 20 ปลายๆ 30 ต้นๆ เป็นคนเอเชียที่โตในอเมริกา) ร่วมทำงานกับ มูลนิธิวิจัยการพัฒนายั่งยืนของไทย เค้าขอมาพบเพื่อปรึกษาความเป็นไปได้ในการมาทำงานเพื่อสังคมที่จังหวัดน่าน อ.ปิยะก็ให้แนวคิดไปว่าไม่อยากให้มาให้บริการทางการแพทย์/ทันตกรรมเฉยๆ แต่อยากให้มาวิเคาระห์และช่วยกันทำงานเกี่ยวกันการใช้ชีวิตของคนในชุมชนมากกว่าเพราะปัญหามันซับซ้อนและมีเรื่องอื่นๆมากมายไปกว่า access to care กลุ่มนี้ยังดีที่มาคุยก่อน มาหาข้อมูลว่าจะทำอะไรดี แถมยังมากันเป็น multidisciplinary ไม่เหมือนกลุ่มอื่นๆที่มาขอออกหน่วยทันตกรรมเคลื่อนที่เอาดื้อๆ จะพาหมออาสามารักษาให้ฟรี (พร้อมได้มาเที่ยวเมืองไทย) แล้วก็กลับกันไป ไม่มี follow-up ไม่มีการสานต่อกับระบบสาธารณสุขในชุมชน

-----------------------------------------------------------


 

หมายเลขบันทึก: 235660เขียนเมื่อ 16 มกราคม 2009 21:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 มิถุนายน 2012 23:44 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ประเด็นเรื่องขนมในโรงเรียนประถม

มันเป็นประเด็นเรื่องของอำนาจล่ะ

ถ้ามันผลักดันให้เป็นนโยบายของโรงเรียนได้ มันก็สำเร็จ

ยิ่งตอนนี้เรื่องอ่อนหวานกำลังฮิตอยู่ เอาแนวคิดนี้ไปขายผู้บริหารคงไม่ยากนัก

ประสบการณ์ตอนทำงานคูคต พี่ศึกษาเรื่องนี้ในโรงเรียนประถมสิบสองโรง ปรากฎว่า

จะแตะเรื่องขนมในโรงเรียนรัฐ ยากกว่าโรงเรียนเอกชนมาก

เพราะเรื่องผลประโยชน์นี่แหละ ทั้งผลประโยชน์ทางตรง และทางอ้อม

โรงเรียนที่น่ายกย่องและผู้บริหารจัดการกับเรื่องนี้อย่างจริงจังเห็นจะเป็น

ปัญหาเรื่องฟันผุ มันไม่มี impact ต่อผู้บริหารโรงเรียนรัฐ เพราะมันเรื้อรัง และชินชาเสียแล้ว

มันเลยไม่คุ้มที่จะไปยุ่งกับอำนาจและผลประโยชน์เกี่ยวกับขนมในโรงเรียน

พี่แพรที่บางใหญ่ สามารถผลักดันให้เรื่องฟันผุในเด็ก เป็นดัชนีที่ใช้ประเมินผู้บริหารได้ อันนี้ก็จะทำให้คุณครูขยับมาสนใจปัญหาขนม กล้าที่จะชนกับกลุ่มผลประโยชน์ เพราะความมันคุ้มกับความเสี่ยง

เล่าเรื่องโรงเรียนประถมของลูกสาวให้ฟัง กฎหมายของรัฐนี้ (South Australia) ไม่อนุญาตให้มีการขายของแบบรถเข็น เลยไม่มีร้านขนมสัญจรที่นักเรียนจะซื้อกินหลังเลิกเรียน, นโยบายคุณครูใหญ่ก็ไม่ส่งเสริมให้มีการขายอาหารทุกประเภทในโรงเรียน (ปัดความเสี่ยงเรื่องโรคที่มาจากอาหารทั้งหมดออกไปพ้นความรับผิดชอบของโรงเรียน โดยสิ้นเชิง) ผู้ปกครองมีหน้าที่เตรียมอาหารสามแพค ในแต่ละวัน

อาหารแพคแรก เรียก brain break กำหนดให้เป็นผลไม้ ผัก หรือ ชีส

คุณครูเขียนมาในใบปฐมนิเทศว่า

Brain Break:

This is a time where children can have a quick snack of fruit or vegetable and a drink of water. Brain snack will be taken in the morning after fitness before we get started with our daily school work. This snack is disignated to be an energy boost for the brain and it would be greatly appreciated if you could each day supply your child with pre-cut fruit, vegetable or cheese in easy to eat pieces.

แพคที่สอง เรียก recess ให้กินเวลาพักน้อย เป็นอาหารตามสะดวก อาจจะเป็นขนม หรือบิสกิต หรือโยเกิร์ต อะไรก็แล้วแต่ ตามใจ ไม่มีใครว่า

แพคที่สามเป็นอาหารเที่ยง พ่อแม่อยากให้ลูกกินอะไรเป็นมื้อเที่ยงก็เตรียมไปเอง โรงเรียนจะไม่มายุ่งเกี่ยว

เท่าที่ทราบโรงเรียนภาครัฐส่วนใหญ่จะเป็นอย่างนี้ล่ะ ตัดวงจรเรื่องอาหารไปจากอ้อมอกของโรงเรียนโดยสิ้นเชิง โยนหน้าที่ไปให้กับพ่อแม่ มีปัญญาเบ่งลูกออกมาได้ ก็ต้องมีปัญญาเตรียมอาหารในแต่ละวันให้ลูกได้ด้วย ใช่ไหม ไม่ต้องมาโทษโรงเรียน เรื่องฟันผุ เรื่องลูกตัวเล็ก ไม่โต ขาดสารอาหาร ฯลฯ "มันเป็นความรับผิดชอบของพ่อแม่"

มองในแง่นี้ โรงเรียนบ้านเราใจดี และคิดเผื่อให้พ่อแม่มากเลย เอาภาระหลายๆ เรื่องมาอุ้มไว้เอง

สรุปว่าเอาใจช่วยนักเรียนทุกท่านนะ สู้ต่อไป เก็บประสบการณ์ไว้ใช้ในภายหน้า

คิดถึงกลุ่มมายา ที่เคยมาให้การอบรมกับคณะครูที่ อ.ท่าตูม จ.สุรินทร์ เมื่อ พ.ศ. 2528 ได้ความรู้มากมายที่เป็นประโยชน์ต่อการจัดการเรียนการสอน

  1. ขอบคุณ และชื่นชมในการยืนหยัดเติบโต โดดเด่นเป็นสถาบันที่สร้างคุณค่าให้กับสังคม ขอบคุณจริงๆค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท