...ปราชญ์เดินดิน...ของไทย...


..คนที่เรายกย่องว่าเป็นปราชญ์ต้องมีคุณสมบัติแบบไหน ต้องเป็นคนอย่างไร...

สวัสดีคะ.....

      สวัสดีปีใหม่ด้วยนะคะ...อาจจะช้าไปสักนิด...แต่คงไม่เป็นไร...(แอบเข้าข้างตัวเอง...)มาวันนี้มีเรื่องชวนคุยเพราะสงสัย...สงสัยว่ามีคนบอกว่าการพูดเรื่องเดิมซ้ำๆ อย่างต่อเนื่องจะทำให้คนฟังเชื่ออย่างสนิทใจว่าเรื่องที่พูดนั้นเป็นเรื่องจริง  แม้ว่าความจริงแล้วเรื่องที่พรำบอกนั้นเป็นเรื่องเท็จก็ตาม  ลักษณะวิธีการที่ว่านี้คงคล้ายกับหลักการโฆษณานะ  ในแง่ที่ว่าบอกบ่อยๆ พูดให้ฟังบ่อยๆ ทำให้เห็นบ่อยๆ  คนเราก็จะรับรู้ไปโดยอัตโนมัติ เชื่อเพราะฟังตามๆ กันมา ....แต่ไม่น่าจะใช่ทั้งหมด  ที่จะเชื่อและเห็นไปตามนั้น

      อย่างตอนนี้ที่พูดกันบ่อย  ได้ยินติดหูมากๆ  อย่างคำว่า..ปราชญ์..หรือปราชญ์เดินดิน.. ได้ยินบ่อย  ว่าคนโน้นเป็นปราชญ์  ด้านนั้น  คนนี้เป็นปราชญ์ด้านนี้  ตกลงแล้วเขาเป็นปราชญ์จริงเหรอ  หรือเขาเป็นเพียงผู้รู้ หรือเขาเป็นผู้เชี่ยวชาญ  หรือเป็นผู้ชำนาญการด้านต่างๆ 

      ปราชญ์  นักปราชญ์ราชบัณฑิต  มักจะพูดต่อกันเช่นนี้  ก่อนนี้เคยมีคนตั้งข้อสงสัยว่า ทำไมนะ  ในปัจจุบันนี้เราถึงไม่เคยได้ยินว่ามีปราชญ์เกิดขึ้นเลย  ต่างกับในอดีตที่มีปราชญ์มากมายหลายต่อหลายคน  มันเป็นเพราะอะไรนะ...  นั่นซิ  เป็นเพราะอะไร  แล้วคนที่เรายกย่องว่าเป็นนักปราชญ์ ต้องมีคุณสมบัติแบบไหน  ต้องเป็นคนอย่างไร  เราจึงเห็นพ้องต้องกันว่า  ใช่เลย  ถูกต้อง ....เขาคือปราชญ์ .. เอ..หรือเพราะที่ว่าปัจจุบันนี้ไม่มีปราชญ์บังเกิดขึ้นเลยในโลก (ยังไม่เคยได้ยินนะคะว่ามี  ..ถ้าใครมีข้อมูลบอกกันได้นะคะ) ประเทศเราเลยผลิตปราชญ์ขึ้นให้กับโลกเอง...นั่นคือ  ปราชญ์เดินดิน...

      ในอดีต เท่าที่จำได้สมัยเรียนนักปราชญ์ที่คนทั่วไปยกย่อง หยิบยกแนวคิดมาศึกษากันทั่วโลก ก็อย่างเช่น ขงจื้อ  เล่าจื้อ  แพลโต้  โสคราตีส  อืมม์  ..  ล้วนแต่เอกอุทุกคน หรือมีใครบ้างจะโต้แย้ง 

      แล้วปราชญ์ที่ตอนนี้ที่เราเราท่านๆ ได้รับการบอกเล่า..ว่า เขาคือปราชญ์เดินดินของไทย  คนคิดทำกังหันเพื่อใช่ผลิตพลังงงาน ก็บอกว่าเป็นปราชญ์  อืมม์... คนทำสวนผลไม้ยึดหลักการพึ่งพาอาศัยรรมชาติ ก็เป็นปราชญ์  ...  เอ...หรือเราจะใช้คำว่าปราชญ์กันพร่ำเพื่อเกินไป  หรือยังงัย  หรือมาตรฐานปราชญ์ของเรากับของโลกมันคนละมาตรฐานกัน... 

      มีคนยกย่อง จิตร  ภูมิศักดิ์  ว่ามีความรู้ความสามารถมากๆ  แต่เราก็ยังเรียกจิตร ว่าเป็นนักคิดนักเขียน   หรือ  ครูบาอาจารย์ที่มีความรู้มากมายในแต่ละสาขา  เราก็เรียกท่านว่าครู  อาจารย์   พูดถึงโสคราตีส..โสคราติสเองก็เป็นอาจารย์ เป็นครูสอนลูกศิษย์เช่นกัน แต่เขาได้รับการยกย่องว่าเป็นปราชญ์ ปัจจุบันนี้ยังมีการศึกษาเรื่องราวของเขาทั้งๆ ที่เขาเป็นคนที่มีชีวิตอยู่ในช่วงก่อนคริสตกาลด้วยซ้ำไป...ส่วนในเมืองไทย..ปราชญ์ของเรา...ยังมองไม่เห็นเลยว่าจะเทียบอย่างไรถึงจะใกล้เคียงกับปราชญ์ในอดีต  เช่น โสคราติส ขงจื้อ แพลโต้   แต่แปลกนะ  ปัจจุบันเราได้ยินบ่อยจนติดหูว่า ว่าคนนั้นเป็นปราชญ์  คนนี้เป็นปราชญ์   หรือคำว่าปราชญ์  ในมุมมองของคนไทย  มันไม่ใช่ปราชญ์ ที่ทั่วโลกเขามองกัน.....

หมายเลขบันทึก: 236593เขียนเมื่อ 21 มกราคม 2009 22:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 17:06 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

สวัสดีค่ะ

* มาดูปาด(เขียด)เดินดินเอ้ย..ปราชญ์เดินดินค่ะ

* จุดประกายคิดได้ดี...แถมชวนคนมาเติมฟืนด้วยนะนี่

* รอบนี้ป๊อกๆ (เคาะค่ะ)

* สุขกายสุขใจนะคะ

สวัสดีคะ..พี่พรรณา...

ขอบคุณคะที่แวะมาป๊อกๆๆ

พยายามจุดคะ...ติดบ้างไม่ติดบ้าง ก็จะจุดต่อไปคะ..

แต่ปราชญ์พื้นบ้านถือว่าเป็นผู้ที่ให้ความรู้กับชุมชนมากที่สุด

แต่อย่ากจะเชิญชวนเข้ามาศึกษาเรื่องปราชญ์ชาวบ้านกับสถาบันวิจัยหริภุญชัยที่ มจร.ลำพูน

ที่ศูนย์วิจัยเป็นศูนย์รวมของปราชญ์ชาวบ้าน

แต่ปราชญ์พื้นบ้านถือว่าเป็นผู้ที่ให้ความรู้กับชุมชนมากที่สุด

แต่อย่ากจะเชิญชวนเข้ามาศึกษาเรื่องปราชญ์ชาวบ้านกับสถาบันวิจัยหริภุญชัยที่ มจร.ลำพูน

ที่ศูนย์วิจัยเป็นศูนย์รวมของปราชญ์ชาวบ้าน

เมื่อมอง "ความรู้ใหญ่" และบันทึกในหัวว่านั่น คือ ความรู้ ที่ฉันต้องการ

เมื่อเห็น "ความรู้เล็กๆ" ที่มีเยอะแยะเต็มไปหมด หาง่าย ทุกคนมี แต่เรามองไม่เห็น เพราะหัวเราบันทึกความจำว่า นี่ไม่ใช่ความรู้

เหมือนตอนที่เรายังเด็ก เวลาไปโรงเรียน ครูสอนอะไร เราก็คิดว่า นั่น คือความรู้

พออยู่ที่บ้าน พ่อ-แม่สอนอะไร เราก็จะไม่เห็นว่ามันเป็นความรู้

แค่ไหน จึงจะเป็นความรู้?

แค่ไหน จึงจะเข้าขั้นปราชญ์?

เพียงกระโดดข้าม "สมมุติ" ที่ว่า ก็น่าจะเห็น .......

ปราชญ์ [ปฺราด] น. ผู้มีปัญญารอบรู้. (ส. ปฺราชฺ?).มาจากภาษาสันสกฤต ดังนั้น การใช้คำว่า ปราชญ์ จึงน่าจะใช้ในคนที่มีปัญญารอบรู้ในเรื่องใดเรื่องเรื่องหนึ่ง คำว่า ปัญญารอบรู้คือ รู้แจ้ง เห็นจริงในเรื่องต่างๆ หรือรู้ทุกสิ่ง อย่าง องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเราก็ทรงเป็นจอมปราชญ์ ส่วนที่เราเรียก คนตามภูมิรู้ต่างๆ ว่า ปราชญ์ นั้นไม่น่าจะผิด อย่างมี กลุ่มปราชญ์ชาวบ้าน ปราชญ์เดินดิน เพียงแต่ว่า ต้องสามารถรู้แจ้ง เห็นจริง ฝึกฝนด้วยตนเอง เรียนรู้ ฝึกฝน รู้แจ้ง เห็นจริง สามารถถ่ายทอดความรู้นั้นด้วย ภาษาอีสานน่าจะพูดว่า ส่องซอด และปัจจุบัน เขาก็เอามาใส่เป็นปริญญาเอกด้วย ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต หรือภาษาอังกฤษที่ว่า philosophy or doctor ส่วนนักปราชญ์ก็เรียกว่า philosopher

น่าจะใข่ความหมายและคุณภาพเปลี่ยนไป

เป็นการยกย่องเพื่อแลกกับภูมิรู้ ที่ผิดเพี้ยนจากชาวบ้าน

กระทรวงเกษตร(สำนักปลัด)นั้นแหละตัวดี ศุนย์ปราชญ์

แต่ก็ดี เป็นการแลกเปลี่ยน อย่าคิดมาก..ปวดหมองเปล่าๆ

อิๆๆ

สวัสดีครับ

  • ซิน เจีย ยู่ อี่  ซินนี้ฮวดไช้   
  • เฮง เฮง เฮง

สวัสดีครับ คุณแดงน้อย

ดูไปดูมา นอกจากชอบบ่นแล้ว ยังชอบจุดประกายด้วยนะครับ

ขงจื้อ เล่าจื้อ แพลโต้ โสคราตีส ถูกเรียกขานว่า ปราชญ์

อาจเป็นเพราะยุคนั้นยังไม่อาจหาคำที่เหมาะมาใช้เรียกขานท่านเหล่านี้ก็เป็นได้นะ

ต้องโทษ ผู้คิดค้นคำนี้ในยุคนั้นที่ ด่วนเรียกท่านเหล่านี้ว่าปราชญ์

หากรอให้ถึงยุคนี้ อาจจะถูกเรียกขานเพียงว่า ผู้วาดฝันหรืออะไรทำนองนี้ก็ได้นะ ขอจุดบางนะ...ไปหละ อิอิ

อืมม์.....

มีคนกล่าวว่า ปราชญ์ ในโลกนี้ มีด้วยกัน 4 คน (ยากจะมีคนที่ 5) แพลโต โสคราตีส ขงจื้อ และพระพุทธเจ้า คนเหล่านี้เป็นปราชญ์เพราะ ความคิดของเขาทรงอิทธิพลกับการดำเนินชีวิตของคนทั้งในโลกนี้และโลกหน้านับพันล้านคนนับพันปี คำว่าปราชญ์ที่เรานำมาใช้กันในปัจจุบันมันเป็นเพียงวาทะกรรมที่ประดิษฐ์มาใช้เพื่อโปรโมตอะไรบางอย่าง ยกย่องใครบางคนจนเกินงาม...

สวัสดีคะ คุณชาวฝนแปดแดดสี่

แหม..มีแต่เค้าว่าเราเหมือนแม่นะคะ ยังไม่เคยมีใครบอกว่าแม่เหมือนเรานะ

ขอบคุณคะที่แวะมา...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท