โรงเรียนชาวนา


โรงเรียนชาวนา นครสวรรค์

 

            ต่อจาก KM workshop ของ สช. และพันธมิตร ที่ อ.วิจารณ์ เขียนไว้แล้วใน ชีวิตที่พอเพียง : ๖๗๐. สัมมนาไปเที่ยวไป  นั้น    ดิฉันเป็นหนึ่งในทีมเก็บข้อมูลกระบวนการยกร่างฯ ดังนั้นหน้าที่ใน workshop ส่วนใหญ่ก็เก็บข้อมูลโดยการพิมพ์ (นั่งอยู่หน้า notebook)  ค่อยสังเกตกระบวนการและผู้เข้าร่วม  รวมทั้ง อัดเสียง  และเป็น คุณอำนวย ในกลุ่มย่อยด้วยในบางช่วง    สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่ดิฉันทำเป็นกิจวัตรอยู่แล้วใน workshop แต่ละครั้ง   แต่มา workshop ครั้งนี้ มีสิ่งหนึ่งที่ได้ทำเกินคาดคือ  อยู่ๆ เช้าวันที่ ๒ ของ workshop  อ.วิจารณ์ ก็เดินมาบอกว่า อุ ไปสัมภาษณ์คุณไพศาล เจียนศิริจินดา หน่อยสิ  เรื่อง โรงเรียนชาวนา นครสวรรค์  น่าจะมีอะไรเกิดขึ้นเยอะเลยนะ  แล้วเธอก็เอาไปลงบล็อก  ...

            ดังนั้นบันทึกนี้ จะขอเล่าเรื่องโรงเรียนชาวนา นครสวรรค์ ที่สัมภาษณ์ คุณไพศาล มานะคะ

 

            ภาพรวม  ก่อนตั้ง โรงเรียนชาวนา

เริ่มแรกมีการรวมกลุ่มตั้งเป็นนครสวรรค์ฟอรั่ม เพื่อขับเคลื่อนงานด้านสิ่งแวดล้อม   ก็เริ่มจาก sip ทำงานกับชาวบ้าน กับชนบทต่างอำเภอ    ปลาย sip หยุดตัวลงก็มาทำเรื่องชีวภาพ เป็นตัวงานที่แตะมือกับพี่น้องต่างอำเภอ

ปี 47  เริ่มตั้งแต่ 44 ก็ร่วมมือกับ สปรส. เพราะตอนนั้นกำลังยกร่างสมัชชาสุขภาพก็มีประเด็นเรื่องสมัชชาสุขภาพ ว่าจะจัดอะไร ยังไง     ในปี 47 เอาประเด็นสมัชชาสุขภาพ ในเรื่องของข้าวและเกษตรกร  ก็เอาประเด็นนี้เป็นตัวขับเคลื่อนวิธีการทำงาน และไปหาความรู้ ความจริงเกี่ยวกับชาวนา  ตอนแรกที่ทำนั้น นพ.สมพงษ์ ก็ให้ตั้งประเด็นก่อนว่าชาวนานครสวรรค์เป็นยังไง  ก็พบว่ามีหนี้สินเยอะ  ข้าวที่เขาปลูกก็พึ่งตนเองไม่ได้เรื่องพันธุ์ข้าว  วิถีผลิตก็ใช้เคมี  สุขภาพก็มีปัญหา  ไม่มีการรวมกลุ่ม  ก็หาข้อมูลมา จากแบบสอบถาม  เจาะเลือดบ้าง  แล้วตอบสมมุติฐานเหล่านั้น  แล้วทำสมัชชาสุขภาพที่ ท่าข้าม กำนันทรง  วันที่ 9 กรกฎาคม  เอาชาวนาท่าข้าม กำนันทรง   โรงสี   ปีนั้นเราได้ร่วมมือทั้ง  เอกชน โรงสี  พี่น้องจากโรงสี ก็มา  แต่ภาคราชการไม่มากนั้น แต่ชาวบ้านเยอะ  เพราะก่อนหน้านั้นเราทำเกษตรชีวภาพอยู่ ก็มีสัมพันธภาพอยู่ 

           

 

           

                       

หมายเลขบันทึก: 236731เขียนเมื่อ 22 มกราคม 2009 17:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 13:57 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท