3.นวัตกรรมด้านหลักสูตร


นวัตกรรมด้านหลักสูตร

1.หลักสูตรเศรษฐกิจพอเพียง

คณะผู้จัดทำตัวอย่างหน่วยการเรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

คณะผู้จัดทำชุดตัวอย่างหน่วยการเรียนรู้นี้ ประกอบด้วยผู้บริหารสถานศึกษา ศึกษานิเทศก์ และครูผู้สอนจากสถานศึกษาในสังกัดต่างๆ ทั้งของภาครัฐ  เอกชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 132 คน ที่มีประสบการณ์ในการจัดการเรียนการสอนที่เกี่ยวกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีประสบการณ์ในการจัดทำหน่วยการเรียนรู้ และสมัครเข้าร่วมสัมมนาเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาหลักสูตรบูรณาการ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การเรียนการสอน โดยผ่านการคัดเลือกจากคณะทำงานบูรณาการเศรษฐกิจพอเพียงสู่การเรียนการสอนให้เข้าร่วมในการดำเนินงาน

2               หลักคิดในการจัดทำชุดตัวอย่างหน่วยการเรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  

2.1       สาระหลักของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง  ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน อยู่ในสาระที่ 3 เศรษฐศาสตร์  ในกลุ่มสังคมศึกษา  ศาสนา และวัฒนธรรม ภายใต้มาตรฐาน  ส 3.1 ซึ่งกำหนดให้ เข้าใจและสามารถบริหารจัดการทรัพยากรในการผลิตและการบริโภค การใช้ทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดได้อย่างมีประสิทธิภาพและคุ้มค่า รวมทั้งเข้าใจหลักการของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการดำรงชีวิตอย่างมีดุลยภาพ โดยมีมาตรฐานช่วงชั้นแยกได้ดังนี้

§   ช่วงชั้นที่  1 2  ส 3.1  (4)  เข้าใจระบบและวิธีการของเศรษฐกิจพอเพียงและสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับชีวิตประจำวันได้

§   ช่วงชั้นที่  3 4  ส 3.1  (5)  เข้าใจเกี่ยวกับระบบและวิธีการของเศรษฐกิจพอเพียง  และสามารถนำไปใช้ประยุกต์กับชีวิตประจำวันได้

2.2       การจัดทำตัวอย่างหน่วยการเรียนรู้เริ่มจากการจัดทำร่างหลักสูตรเศรษฐกิจพอเพียง โดยกำหนดมาตรฐานเรียนรู้ในแต่ละชั้นปี ที่เหมาะสมและสอดคล้องกับสาระเรียนรู้วิชาต่างๆในแต่ละชั้น แล้วจึงจัดทำหน่วยการเรียนรู้หลัก ในกลุ่มสาระสังคมศึกษา  ศาสนา  และวัฒนธรรม และตัวอย่างหน่วยการเรียนรู้ที่บูรณาการหลักคิด และหลักปฏิบัติตนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง แบบสหวิทยากร หรือบูรณาการข้ามกลุ่มสาระการเรียนรู้อีก 7 กลุ่มสาระ ได้แก่ ภาษาไทย  คณิตศาสตร์  วิทยาศาสตร์  สุขศึกษาและพลศึกษา  การงานอาชีพและเทคโนโลยี  ศิลปะ และ ภาษาต่างประเทศ 

2.3       การจัดทำหน่วยการเรียนรู้ และแผนการเรียนรู้ ได้เน้นกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริม และปลูกฝังวิธีการคิด และการปฏิบัติตนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 3 หลักการ คือ ความพอประมาณ ความมีเหตุมีผล และการสร้างภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี บนพื้นฐานของการใช้ คุณธรรมนำความรู้ ซึ่งรวมถึงความซื่อสัตย์ สุจริต ขยัน อดทน ความเพียร การใช้สติ ปัญญาในการดำเนินชีวิต และการใช้ความรู้ทางหลักวิชาการอย่างรอบรู้ รอบคอบ และระมัดระวัง เพื่อนำไปสู่การพัฒนาตนให้ก้าวหน้าไปพร้อมกับความสมดุลและพร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมได้อย่างมั่นคง และยั่งยืน

3               ขั้นตอนการจัดทำตัวอย่างหน่วยการเรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

3.1       การจัดทำหน่วยการเรียนรู้ / แผนการเรียนรู้บูรณาการปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ไม่เคร่งครัดในรูปแบบของการเขียนหน่วย /แผนการเรียนรู้  สามารถปรับใช้ได้ตามธรรมชาติของวิชา ระดับชั้น ตามบริบทของโรงเรียน  แต่คงหัวข้อสำคัญไว้ ได้แก่  (1)  ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง (2)  สาระการเรียนรู้  (3)  กิจกรรมการเรียนรู้  (4)  สื่อ / แหล่งการเรียนรู้  (5)  การวัดและประเมินผล

3.2       การจัดทำหน่วยการเรียนรู้บูรณาการปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีขั้นตอน ดังนี้

§   เริ่มจากการกำหนดหน่วยการเรียนรู้ โดยศึกษา และเลือกมาตรฐานการเรียนรู้ของแต่ละกลุ่มสาระ และกำหนดขอบข่ายของเนื้อหาสาระที่จะเรียน แต่สามารถยืดหยุ่นได้ในแต่ละสถานศึกษา

§    วิเคราะห์เนื้อหาให้สอดคล้องกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 

§    จัดกิจกรรมการเรียนรู้ 

§    เลือกสื่อและแหล่งการเรียนรู้ประกอบการจัดการเรียนการสอน

§   กำหนดเครื่องมือ วิธีการวัดและเกณฑ์การประเมินผล  ตลอดจนผลสัมฤทธิ์ที่ผู้เรียนได้รับ ได้แก่  (1) นักเรียนได้รับความรู้ที่ชัดเจน  (2) นักเรียนมีแนวทางในการประยุกต์ใช้ความคิดในชีวิตประจำวัน  (3) นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติจริง  (4) นักเรียนได้รับการวัดผลตามสภาพจริง

4               วิธีการใช้ตัวอย่างหน่วยการเรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

4.1       ก่อนอื่น ผู้ใช้ต้องทำความเข้าใจความหมายหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ใน 3 หลักการ คือ ความพอประมาณ ความมีเหตุมีผล และการสร้างภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี โดยใช้ 2 เงื่อนไข คือ คุณธรรมและความรู้ ในการสร้างความพอเพียงให้เกิดขึ้นใน 4 มิติ ได้แก่ ด้านวัตถุหรือเศรษฐกิจ  สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม โดยสามารถศึกษาได้จาก ภาคผนวก ก และ ภาคผนวก ข ท้ายเล่ม หรือศึกษาเพิ่มเติมจากเว็บไซท์ www.sufficiencyeconomy.org 

4.2       หลังจากนั้น ผู้ใช้ต้องทำการศึกษาร่างหลักสูตรเศรษฐกิจพอเพียงก่อน โดยทำความเข้าใจสาระที่ควรสอนในแต่ละชั้นปีที่จะนำไปใช้สอน อย่างเป็นองค์รวม และศึกษาโครงสร้างของหลักสูตรโดยรวมของทุกช่วงชั้น เพื่อให้เห็นความเชื่อมโยงพัฒนาของหลักสูตรโดยรวม

4.3       ในการนำตัวอย่างหน่วยการเรียนรู้ไปทดลองใช้ในการเรียนการสอนนั้น ผู้สอนสามารถปรับเวลาการสอน เนื้อหาสาระ และกิจกรรมการเรียนรู้ ให้สอดคล้องเหมาะสมกับ สภาพภูมิสังคมของแต่ละสถานศึกษา โดยให้ยึดมาตรฐานเรียนรู้ของแต่ละชั้นปีเป็นหลัก

อย่างไรก็ดี หากผู้สอนพบว่า มาตรฐานเรียนรู้ของแต่ละชั้นปีที่นำเสนอ โดยคณะทำงานฯ มีปัญหาในการนำไปใช้เป็นเกณฑ์ในการกำหนดสาระในการสอน หรือหากมีข้อคิดเห็นเพิ่มเติมที่จะเสนอให้ปรับปรุง

หมายเลขบันทึก: 237358เขียนเมื่อ 25 มกราคม 2009 10:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 04:44 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท