เทคนิคการเพิ่มการอ้างอิงให้บทความวิจัย (How to increase your citation)


จำนวนการอ้างอิงสะท้อนคุณภาพของงานวิจัย เทคนิคเล็กๆ น้อยๆ จะช่วยให้งานวิจัยของท่านได้รับการอ้างอิงเพิ่มขึ้นครับ

ปัจจุบัน การวิจัยของไทยก้าวหน้าไปพอสมควร เรามีนักวิจัยและงานวิจัยที่หลากหลายสาขา มีแหล่งทุนจำนวนมาก และสามารถตอบโจทย์ของประเทศชาติได้บ้างนะครับ พวกเราเหล่านักวิทยาศาสตร์ นักวิจัย ก็ฝันว่า การวิจัยจะเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันให้กับประเทศไทยได้อย่างยั่งยืน แม้ว่าตอนนี้เราจะยังห่างไกลจากจุดนั้นพอสมควรครับ

งานวิจัยที่มีคุณภาพคืองานวิจัยที่เป็นที่สนใจของวงการวิชาการนะครับ โดยเราดูความสนใจ ความมีคุณค่า หรือวัดผลกระทบต่อวงการวิชาการ จากจำนวนการอ้างอิง (citation)  และยิ่งบทความหรืองานวิจัยได้รับการอ้างอิงมากก็แปลว่างานนั้นส่งผลกระทบสูงครับ ในเมืองนอกเวลาขอตำแหน่งวิชาการ นอกจากจะดูจำนวนครั้งที่ได้รับการอ้างอิงแล้ว เขาดูไปถึงว่า การอ้างอิงนั้น เป็นบวกต่องานวิจัยที่มาอ้างอิง (มีแนวคิดหรือผลงานที่เอาไปต่อยอดได้) หรือเป็นลบ (ประมาณว่าอ้างถึงแบบถูกด่า หรือใช้เป็นเป้าเพื่อแสดงความผิดพลาด) เลยนะครับ

งานวิจัยที่แหกกฏ กระชากโฉมหน้าของวิทยาศาสตร์ จะเป็นงานที่คนสนใจน้อยในตอนแรก แต่อาจ "บูม" หรือส่งผลอย่างกว้างขวางเมื่อเวลาผ่านไปนานๆ งานแบบนี้ก็เกิดขึ้นบ้าง แต่โอกาสเกิดมันน้อยมากๆ ครับ ส่วนตัวผมเห็นว่า เราต้องทำทั้งสองส่วนนะครับ คือ งานที่ตอบโจทย์ของวงการวิชาการ และ งานขั้นสุดยอดที่เปลี่ยมโฉมหน้าของวิทยาศาสตร์

ในตอนนี้ ผมจะเสนอเทคนิคเล็กๆ น้อยๆ ในการเพิ่มจำนวนการได้รับการอ้างอิงครับ

1.เราควรไปประชุมวิชาการเป็นครั้งคราว นำบทความงานวิจัยไปด้วย และแจกให้กับผู้ที่ทำงานวิจัยเรื่องเดียวกัน หรือใกล้เคียงกันครับ เมื่อบทความหมด อาจแจกเป็นนามบัตรไว้ก็ยังดี โดยนามบัตรนี้ควรมี อีเมล์ และ website ที่บรรจุงานวิจัยของเราอยู่ด้วยครับ สมัยผมเรียนอยู่ ไปเสนอผลงานแบบโปสเตอร์ บางโปสเตอร์มีกล่องอยู่สองกล่อง กล่องนึงเอาไว้แจกนามบัตร เอกสารที่เกี่ยวข้อง หรือตัวบทความ อีกกล่องนึงเอาไว้รับ นามบัตร บทความ หรือคำแนะนำ เกิดการแลกเปลี่ยนอย่างชัดเจนอีกช่องทางนึง นอกเหนือไปจากการพูดคุยซักถามกันครับ 

2.เราควรพยายามหาไฟล์อิเล็กทรอนิกส์ของบทความ (electronic reprint) ไว้ครับ จากนั้น ปฏิบัติการเชิงรุกโดยส่งอีเมล์แนบไฟล์บทความถึง เพื่อนร่วมงาน คนในภาควิชา นักวิจัยที่เคยอ้างอิงผลงานของเรา นักวิจัยที่เราอ้างอิงผลงานของเขา กลุ่มวิจัยที่ทำงานเรื่องเดียวกัน นักเรียนที่กำลังทำวิจัยสาขาเดียวกัน ห้องสมุด ฯลฯ ถ้าส่งให้ผู้ที่ไม่มีความเชี่ยวชาญ อย่างเช่น กองทุน เจ้านาย ผู้บริหาร ควรมีหน้าสรุปเนื้อหาที่ใช้คำพูดสามัญ เข้าใจง่าย ประกอบไปด้วยครับ

3.เราควรมี website ที่บรรจุงานวิจัยและมีบทความ (reprint) ให้ดาวน์โหลด (download) ด้วย อันนี้จะดีมากเลยครับ เคล็ดลับเล็กๆ น้อยๆ คือ ใส่คำสำคัญ (keywords) ไว้ใน website ด้วย เผื่อเวลามีคนค้นหาคำสำคัญทาง internet หรือ "google" ชื่อของบทความเราก็จะปรากฎขึ้นมาทันทีครับ จริงๆ แล้วเราควรวางแผนเรื่องนี้ตั้งแต่ตอนที่ตั้งชื่อบทความ (title) เลย โดยพยายามใส่คำสำคัญเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของชื่อบทความและบทคัดย่อด้วยก็ดีนะครับ

อีกอย่างนึงก็คือ ถ้าการอ้างอิงเพิ่มขึ้น ก็มีแนวโน้มที่ดีว่าค่า h-index จะเพิ่มขึ้นด้วยนะครับ

เทคนิคบางส่วนนำมาจาก http://www.sfedit.net/newsletters.htm ครับ

หมายเลขบันทึก: 239817เขียนเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2009 12:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มิถุนายน 2012 09:11 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ขอบคุณค่ะอาจารย์

จะนำเทคนิคไปใช้ให้เกิดประโยชน์นะคะ

  • สามข้อล่าง
  • ช่วยได้มาก
  • ถ้าผมจะส่งผลงานวิจัย
  • ไปให้คุณครูในที่ต่างๆๆ
  • ขอบคุณอาจารย์มากครับ
ดร.อภิชัย คุณีพงษ์

เป็นข้อแนะนำที่ดีมากๆนะครับ ขอบพระคุณมากนะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท