ตุ่ม
นางสาว ปรารถนา อารีย์ คุ้มครองญาติ

เสริมสร้างพลังปัญญาเทศบาลตำบลบางนมโค


ถอดบทเรียน

โครงการประสานพลังปัญญาเพื่อการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ชุมชน

 

โครงการประสานพลังปัญญาเพื่อการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ชุมชน

 

 

เทศบาลตำบลบางนมโค  อำเภอเสนา  จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

 

                                               

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

สนับสนุนโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

 

 

 

โครงการประสานพลังปัญญาเพื่อการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ชุมชน : เทศบาลตำบลบางนมโค

 

 

 

๑.  ความนำและความเป็นมา

                   การสร้างเสริมสุขภาพของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้แก่ การส่งเสริมสนับสนุนและพัฒนาขบวนการสร้างเสริมสุขภาพอันนำไปสู่สุขภาวะยั่งยืนของประชาชนชาวไทยให้ดีขึ้น พันธกิจหนึ่งของ สสส. คือการส่งเสริมและสนับสนุนการขยายพื้นที่ทางปัญญาซึ่งเป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์ของ สสส. ที่เรียกว่า "สามยุทธศาสตร์ขับเคลื่อนขบวนการทางสังคม" ประกอบด้วย พลังปัญญา พลังนโยบาย และพลังสังคม โดยผ่านการสร้างสุขภาวะให้เกิดขึ้นในชุมชนหรือพื้นที่ซึ่งเป็นช่องทางหนึ่งของการผลักดันงานสร้างเสริมสุขภาพ

                   "เทศบาลตำบลบางนมโค" ตระหนักดีว่าการพัฒนา "ปัญญา" ของชุมชนเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาคน ให้มีทางเลือกในการดำรงชีวิตได้ดีขึ้น การส่งเสริม สนับสนุนให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ โดยการประสานกลุ่มกิจกรรมต่างๆ ที่ดำเนินงานในชุมชนอยู่แล้วได้มาร่วมกันจัดการความรู้                                          (Knowledge Management - KM) เพื่อก่อให้เกิด "ชุมชนแห่งการเรียนรู้" และนำไปสู่การพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ชุมชนในระยะต่อไป

                    "เทศบาลตำบลบางนมโค" ได้จัดกระบวนการพิจารณาร่วมกับกลุ่มกิจกรรมที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ และได้ทบทวนการดำเนินงานและสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องแล้ว เห็นควรเข้าร่วมดำเนินโครงการประสานพลังปัญญาเพื่อการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ชุมชน ถือเป็นหนึ่งในหุ้นส่วนการพัฒนา (Boundary Partners) ของโครงการ เทศบาลตำบลบางนมโคได้วิเคราะห์แล้วเห็นว่ากลุ่มกิจกรรมต่อไปนี้เป็นกลุ่มที่สมควรให้การส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดกระบวนการเรียนรู้และพัฒนาไปสู่ศูนย์การเรียนรู้ระดับตำบลที่เหมาะสมกับบริบทและความเปลี่ยนแปลงของชุมชน ได้แก่

  • ๑) การถ่ายโอนภารกิจกลุ่มกิจกรรมเรื่อง "การศึกษา"
  • ๒) การถ่ายโอนภารกิจกลุ่มกิจกรรมเรื่อง "สาธารณสุข"
  • ๓) การถ่ายโอนภารกิจกลุ่มกิจกรรมเรื่อง "ศูนย์เด็กเล็ก"
  • ๔) กลุ่มกิจกรรมการบริหารจัดการของเทศบาลประเด็นธรรมาภิบาล
  • ๕) กลุ่มกิจกรรม "นวดแผนไทย"
  • ๖) กลุ่มกิจกรรม "เกษตรชีวภาพ"
  • ๗) กลุ่มกิจกรรม "กองทุนหมู่บ้าน ๑ ล้านบาท" (บ้านหัวไผ่ หมู่ ๓)

กลุ่มกิจกรรมเหล่านี้ "เทศบาลตำบลบางนมโค" ได้จัดทำเป็นแผนดำเนินงานสำหรับโครงการฯ เพื่อดำเนินการให้เกิดกระบวนการเรียนรู้และพัฒนาไปสู่เป้าหมายหลักของการดำเนินโครงการนี้ในที่สุด คือ "ศูนย์การเรียนรู้เทศบาลตำบลบางนมโค" ด้วยเหตุดังนั้น จึงได้วางวัตถุประสงค์โครงการฯ ไว้ดังนี้

 

 

๒.  วัตถุประสงค์ของโครงการ

  • (๑) เพื่อส่งเสริมสนับสนุน และผลักดันให้เกิดกระบวนการเรียนรู้กับกลุ่มกิจกรรมทั้ง ๗ กลุ่ม กล่าวคือ กลุ่มกิจกรรมเรื่อง "การศึกษา" กลุ่มกิจกรรมเรื่อง "สาธารณสุข" กลุ่มกิจกรรมเรื่อง "ศูนย์เด็กเล็ก" กลุ่มกิจกรรมการบริหารจัดการของเทศบาลประเด็นธรรมาภิบาล กลุ่มกิจกรรม "นวดแผนไทย" กลุ่มกิจกรรม "เกษตรชีวภาพ" และกลุ่มกิจกรรม "กองทุนหมู่บ้าน ๑ ล้านบาท" (บ้านหัวไผ่ หมู่ ๓)
  • (๒) เพื่อสนับสนุนให้ผู้คนในท้องถิ่นเข้ามาร่วมในกิจกรรมโดยเฉพาะแกนนำชุมชน ได้จัดและพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ที่เหมาะสมกับบริบทและความเปลี่ยนแปลงของชุมชน

๓.  ยุทธศาสตร์การดำเนินงาน

             "เทศบาลตำบลบางนมโค" มีความเชื่ออย่างหนักแน่นว่าคนในชุมชนแห่งนี้มีกลุ่ม               แกนนำที่ดำเนินกิจกรรมและ "เอาธุระ" กับเรื่องการจัดการความรู้ในชุมชนอยู่ จึงได้ร่วมกันวางแผนยุทธศาสตร์การดำเนินงานไว้ดังนี้

  • (๑) สร้าง รวบรวม และจัดการความรู้ด้วยวิธีการถอดบทเรียนเพื่อมุ่งเป้านำไปใช้ในการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ในชุมชนระดับตำบล
  • (๒) สนับสนุนการพัฒนาศักยภาพของกลุ่มกิจกรรม และภาคประชาชนเพื่อให้สามารถมีส่วนร่วมในการพัฒนาเป็นศูนย์การเรียนรู้ในชุมชนระดับตำบล
  • (๓) เชื่อมโยง/บูรณาการกลุ่มกิจกรรม ๗ กลุ่มและสร้างเป้าหมายการทำงานร่วมกันในแต่ละ

ประเด็นซึ่งเป็นจุดคานงัดที่จะสามารถยกระดับพัฒนาเป็นศูนย์การเรียนรู้ในชุมชนระดับตำบลและเพิ่มปัจจัยกระบวนการเรียนรู้ในชุมชนที่ยั่งยืนได้

๔.  เป้าหมายการดำเนินงาน

"เทศบาลตำบลบางนมโค" ได้วางเป้าหมายการดำเนินงานไว้ดังนี้

  • (๑) เกิดกลุ่มแกนนำที่เข้มแข็งในการดำเนินการที่มีเป้าหมายร่วมในการจัดการความรู้ในชุมชน
  • (๒) ชุดความรู้ที่เกิดจากการทำงานของกลุ่มกิจกรรมต่างๆที่สามารถสื่อสารไปยังกลุ่มเป้าหมายอย่างเหมาะสม
  • (๓) กลุ่มกิจกรรมทั้ง ๗ กลุ่ม มีกระบวนการเรียนรู้ในแต่ละเรื่อง (ประเด็น) อย่างมีประสิทธิภาพ
  • (๔) พัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพการจัดการของกลุ่มกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง และภาคประชาชน เพื่อให้มีการจัดการความรู้ในชุมชนอย่างมีประสิทธิผล โดยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ บูรณาการหรือเชื่อมโยงเนื้อหาร่วมกัน การสื่อสารสาธารณะและอื่นๆ

             กลุ่มเป้าหมาย : แกนนำชุมชนและประชาชนในชุมชนที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรม

 

 

๕.  ตัวชี้วัดผลลัพธ์สำคัญ

วัตถุประสงค์ที่ ๑

    เพื่อส่งเสริมสนับสนุน และผลักดันให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับทรัพยากรและความต้องการของสมาชิกในชุมชน กับกลุ่มกิจกรรมทั้ง ๗ กลุ่ม กล่าวคือ กลุ่มกิจกรรมเรื่อง "การศึกษา" กลุ่มกิจกรรมเรื่อง "สาธารณสุข"  กลุ่มกิจกรรมเรื่อง "ศูนย์เด็กเล็ก"   กลุ่มกิจกรรมการบริหารจัดการของเทศบาลประเด็นธรรมาภิบาล  กลุ่มกิจกรรม "นวดแผนไทย"   กลุ่มกิจกรรม "เกษตรชีวภาพ"   กลุ่มกิจกรรม "กองทุนหมู่บ้าน ๑ ล้านบาท" (บ้านหัวไผ่ หมู่ ๓)

   ตัวชี้วัดเชิงปริมาณ

  • (๑) การจัดกิจกรรมการจัดการความรู้เพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้ในชุมชน
  • (๒) ชุดความรู้จากการจัดการความรู้ จำนวน ๗ ชุด
  • (๓) แนวทาง/ข้อเสนอแนะในการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ในชุมชนระดับตำบล

วัตถุประสงค์ที่ ๒

เพื่อสนับสนุนให้ผู้คนในท้องถิ่นเข้ามาร่วมในกิจกรรมโดยเฉพาะแกนนำชุมชน ได้จัดและพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ที่เหมาะสมกับบริบทและความเปลี่ยนแปลงของชุมชน

ตัวชี้วัดเชิงปริมาณ

  • (๑) จำนวนสมาชิกที่เข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มๆ ละ ๒O คน (๗ กลุ่ม รวมไม่น้อยกว่า ๑๔O คน)
  • (๒) จำนวนแกนนำชุมชนเพื่อพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ในชุมชนไม่น้อยกว่า ๒O คน (กลุ่มละ ๓ คน)
  • (๓) แกนนำชุมชนที่มีศักยภาพในการขยายผลได้ไม่น้อยกว่า ๑๒ คน (ร้อยละ ๖O)
  • (๔) เครือข่ายแกนนำชุมชนผู้ปฏิบัติ (CoPs) ๑ เครือข่ายจาก ๗ แหล่งเรียนรู้ในชุมชน

ตัวชี้วัดเชิงคุณภาพ (วัตถุประสงค์ที่ ๑ และ ๒)

  • (๑) รูปแบบการจัดการความรู้โดยวิธีการ "ถอดบทเรียน" ด้วยเทคนิค AAR (After Action Review)
  • (๒) มีระบบการรวบรวมข้อมูลศูนย์การเรียนรู้ ระดับตำบล (เทศบาลตำบลบางนมโค) ที่ได้รับความร่วมมือจากพื้นที่และเชื่อมโยงการทำงานจากแหล่งเรียนรู้ ๗ แห่งในชุมชน
  • (๓) องค์ความรู้เพื่อการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้เทศบาลตำบลบางนมโค ที่สอดคล้องในประเด็นสำคัญ ๒ เรื่อง คือ ทรัพยากรการเรียนรู้ กับความต้องการของสมาชิกในชุมชน และที่เหมาะสมกับบริบทท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงของชุมชน

๖.  ระยะเวลาในการดำเนินการ : ๑๒ เดือน

             การดำเนินโครงการนี้มีกรอบเวลาในการดำเนินงานรวม ๑๒ เดือน เริ่มตั้งแต่เดือน พฤศจิกายน ๒๕๕๑ - ตุลาคม ๒๕๕๒ โดยมีวิธีการดำเนินกิจกรรมหลัก ดังนี้

 

 

๗.  วิธีดำเนินการ

  • (๑) จัดประชุมชี้แจงการดำเนินโครงการประสานพลังปัญญาเพื่อการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ในชุมชนระดับตำบลให้แก่แกนนำชุมชน ผู้เกี่ยวข้อง และผู้รับผิดชอบกลุ่มกิจกรรม ๗ กลุ่ม
  • (๒) จัดประชุมคณะทำงานเพื่อการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ในชุมชนระดับตำบล ให้แก่ทีมบริหารเทศบาล นักวิชาการ แกนนำ/ตัวแทนกลุ่มกิจกรรม
  • (๓) จัดให้มีการอบรม/ชี้แจงทำความเข้าใจร่วมกันถึงกระบวนการ ขั้นตอนในการจัดการความรู้ และการถอดบทเรียนด้วยเทคนิค AAR ให้แก่ทีมบริหารเทศบาล นักวิชาการ แกนนำ/ตัวแทนกลุ่มกิจกรรม
  • (๔) สนับสนุนงบประมาณดำเนินการเพื่อการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ชุมชน
  • - สนับสนุนการจัดหาสถานที่ และอุปกรณ์ในการจัดกิจกรรม
  • - สนับสนุนการจัดกิจกรรมการถอดบทเรียนของกลุ่มกิจกรรม
  • - สนับสนุนและให้คำปรึกษาการจัดกิจกรรม/วิชาการ/ประสานงาน หรืออื่นๆ ที่เอื้อต่อการดำเนินกิจกรรมกลุ่ม
  • (๕) ดำเนินการถอดบทเรียนทั้ง ๗ กลุ่มกิจกรรม สรุปและรายงานผลเบื้องต้น (Inception Report) โดยแกนนำในแต่ละกลุ่มกิจกรรม (ผู้เข้าร่วม : ทีมบริหารเทศบาล นักวิชาการ/ที่ปรึกษาโครงการ)
  • (๖) จัดให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกลุ่มทั้ง ๗ กลุ่ม เพื่อเชื่อมโยงหรือบูรณาการงานร่วมกัน (ผู้เข้าร่วม ทีมบริหารเทศบาล นักวิชาการ/ที่ปรึกษาโครงการฯ แกนนำ/ตัวแทนกลุ่มกิจกรรม)
  • (๗) วิเคราะห์จัดทำรายงานขั้นกลาง (Interim Report) ที่ประชุมร่วมกันตรวจสอบเนื้อหา และปรับปรุงแก้ไข
  • (๘) จัดทำรายงานขั้นสุดท้าย (Final Report) โดยนักวิชาการ/ที่ปรึกษา และนำส่งผู้สนับสนุนทุน

•๘.    ผู้รับผิดชอบดำเนินการโครงการ

คณะทำงานโครงการประสานพลังปัญญาเพื่อการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ในชุมชน ระดับตำบล ประกอบด้วย

๑)   นายปรีชา  ดัสดุลย์             นายกเทศมนตรีตำบลบางนมโค       ประธานคณะทำงาน

๒)  นายดำรงค์  เพ็ชรน้อย          ประธานชมรมแพทย์แผนไทย ต.บางนมโค  รองประธานฯ

๓)  นายดำรงค์  เหมือนประสาท   ผอ.โรงเรียนวัดสุธาโภชน์              คณะทำงาน

๔)  นายณรงค์  ธนะจันทร์           รองนายกเทศมนตรี                    คณะทำงาน

๕)  ส.ต.ต.สินชัย  ขวัญเขียว        ปลัดเทศบาล                            คณะทำงาน

๖)  น.ส.ปรารถนา  คุ้มครองญาติ  รองปลัดเทศบาล                        คณะทำงาน

๗)  นายประสาน  ดัสดุลย์           เลขานายกเทศมนตรี                   คณะทำงาน

๘)  นางศิริภรณ์  คืนคลีบ            เจ้าหน้าที่ธุรการ                        คณะทำงาน

๙)  นางชนัดดา  สุขใจ               จพง.สาธารณสุขชุมชน                 คณะทำงาน

๑O) นายทรงวุฒิ  เรืองยุบล         นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร         คณะทำงาน

๑๑) น.ส.ศุภรัสมิ์  ลำต้น             ผู้ช่วยนักวิชาการส่งเสริมการเกษตร  คณะทำงาน

๑๒) นายสุรินทร์  กิตนิจชีว์          ผู้ทรงคุณวุฒิ                            คณะทำงาน

๑๓) นายสันติ  จียะพันธ์             ที่ปรึกษาโครงการ                      คณะทำงาน

๑๔) น.ส.สมคิด  คำมงคล            ที่ปรึกษาโครงการ                      คณะทำงาน

๑๕) นายสุกิจ  กิจนาวี               เลขาสภาเทศบาล          คณะทำงาน/เลขานุการ

๙.  ข้อกำหนดในการส่งมอบงาน

ร่างรายงานฉบับสมบูรณ์ (Draft Final Report) จำนวน ๑ ชุด พร้อมซีดี ๑ แผ่น หลังจากปรับปรุงแก้ไขตามมติที่ประชุมของคณะกรรมการโครงการส่วนกลางแล้วจะดำเนินการจัดทำรายงานขั้นสุดท้าย  (Final Report) และส่งมอบตามกำหนดเวลา

๑๐.  งบประมาณ :

             งบประมาณรวมทั้งสิ้น  ๒๐๕,๐๐๐   บาท

                   - งบสนับสนุนจาก สสส.                      ๒๐๐,๐๐๐      บาท

                   - งบเทศบาลตำบลบางนมโคสมทบ           ๕,๐๐๐       บาท             

             "เทศบาลตำบลบางนมโค" จะดำเนินงานด้วยการผลักดัน สนับสนุนและส่งเสริมให้มีผู้รับผิดชอบกลุ่มกิจกรรมต่างๆ ทั้ง ๗ กลุ่ม และได้พิจารณาเสนอขออนุมัติงบประมาณ

 

๑๑.  แผนการดำเนินงาน 

 

งบประมาณการดำเนินงานตามแผนการดำเนินงานโครงการฯ

ลำดับ

กิจกรรมหลักตามวิธีการ/กระบวนการ

เป้าหมาย

งบ ประมาณ

(บาท)

กรอบระยะเวลา

พย

ธค

มค

กพ

มีค

เมย

พค

มิย

กค

สค

กย

ตค

จัดประชุมชี้แจงการดำเนินโครงการประสานพลังปัญญาเพื่อการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ในชุมชนระดับตำบลให้แก่แกนนำชุมชน ผู้เกี่ยวข้อง และผู้รับผิดชอบกลุ่มกิจกรรม ๗ กลุ่ม

๑ ครั้ง

๒O  คน

๑๐,๒๕๐

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

จัดประชุมคณะทำงานเพื่อการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ในชุมชนระดับตำบล ให้แก่ทีมบริหารเทศบาล นักวิชาการ แกนนำ/ตัวแทนกลุ่มกิจกรรม

๑ ครั้ง

๒O  คน

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

จัดให้มีการอบรม/ชี้แจงทำความเข้าใจร่วมกันถึงกระบวนการ ขั้นตอนในการถอดบทเรียนด้วยเทคนิค AAR ให้แก่ทีมบริหารเทศบาล นักวิชาการ แกนนำ/ตัวแทนกลุ่มกิจกรรม

๑ ครั้ง

๒O  คน

   ๓๙,๙๐๐

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

สนับสนุนงบประมาณดำเนินการเพื่อการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ชุมชน

-สนับสนุนการจัดหาสถานที่ และอุปกรณ์ในการจัดกิจกรรม

-สนับสนุนการจัดกิจกรรมการถอดบทเรียนของกลุ่มกิจกรรม

-สนับสนุนและให้คำปรึกษาการจัดกิจกรรม/วิชาการ/ประสานงาน หรืออื่นๆ ที่เอื้อต่อการดำเนินกิจกรรมกลุ่ม

 

๑๑๙,๗๐๐

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ดำเนินการถอดบทเรียนทั้ง ๗ กลุ่มกิจกรรม สรุปและรายงานผลเบื้องต้น (Inception Report) โดยแกนนำในแต่ละกลุ่มกิจกรรม (ผู้เข้าร่วม : ทีมบริหารเทศบาล นักวิชาการ/ที่ปรึกษาโครงการ)

๒ ครั้ง

๑๔O  คน

๖,๐๐๐

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

จัดให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกลุ่มทั้ง ๗ กลุ่ม เพื่อเชื่อมโยงหรือบูรณาการงานร่วมกัน (ผู้เข้าร่วม  ทีมบริหารเทศบาล นักวิชาการ/ที่ปรึกษาโครงการฯ แกนนำ/ตัวแทนกลุ่ม)

๒ ครั้ง

๔O  คน

๖,๙๕๐

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

วิเคราะห์จัดทำรายงานขั้นกลาง (Interim Report) ที่ประชุมร่วมกันตรวจสอบเนื้อหา และปรับปรุงแก้ไข

๒ ครั้ง

๒O  คน

๖,๙๕๐

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ร่างรายงานฉบับสมบูรณ์ (Draft Final Report) หลังจากปรับปรุงแก้ไขตามมติที่ประชุมของคณะกรรมการ สสส.แล้วจะดำเนินการจัดทำรายงานขั้นสุดท้าย  (Final Report) โดยนักวิชาการ/ที่ปรึกษา

๒ ครั้ง

๒ คน

๑๐,๐๐๐

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

จัดประชุมคณะทำงานเพื่อการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ในชุมชนระดับตำบล ให้แก่ทีมบริหารเทศบาล นักวิชาการ แกนนำ/ตัวแทนกลุ่มกิจกรรม หลังจากจัดทำรายงานขั้นสุดท้ายให้คณะกรรมการ สสส. แล้ว เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้

๒ ครั้ง

๒O  คน

๕,๒๕๐

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

รวมงบประมาณในการดำเนินการ  ๒๐๕,๐๐๐บาท  ระยะเวลา  ๑๒ เดือน

 

แผนปฏิบัติการโครงการประสานพลังปัญญาเพื่อพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ตำบลบางนมโค

อำเภอเสนา  จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

กิจกรรม

วัตถุประสงค์

วิธีการ

กลุ่มเป้าหมาย

งบประมาน

1. จัดประชุมทำความข้าใจโครงการและการวาง

แผนดำเนินงานของคณะทำงาน

1.  เพื่อทำความเข้าใจโครงการและร่วมวางแนวทางการดำเนินโครงการร่วมกัน

2.  เพื่อกำหนดประเด็นถอดความรู้และการออกแบบกระบวนการถอดความรู้

- จัดประชุมคณะทำงาน  จำนวน  2  ครั้ง

-  แกนนำกลุ่ม  7  กิจกรรม

-  นักวิชาการ  2  คน

-  ทีมบริหารเทศบาล  5  คน

-  ผู้ประสานงาน  1  คน

รวม  15  คน

-ค่าอาหารจำนวน 15 คนx50บาทx2วัน=1,500 บาท

-ค่าอาหารว่างจำนวน 15คนx25บาทx2วัน=750บาท

-ค่าตอบแทนประชุม 13คนx100บาทx2ครั้ง=2,600บาท

-ค่าตอบแทนนักวิชาการ 2คนx1,000x2ครั้ง=4,000บาท

-ค่าวัสดุ อุปกรณ์ 200บาทx2ครั้ง=400บาท

-ค่าประสานงาน/สรุปรายงานการประชุม 500x2ครั้ง

 =1,000 บาท

รวม10,250บาท

2.  เวทีกำหนดเป้าหมายและประเด็นที่จะถอดความรู้ของแต่ละกลุ่มกิจกรรม

1.  เพื่อให้สมาชิกและแกนนำของแต่ละกลุ่มเน้นความสำคัญของการถอดองค์ความรู้แต่ละกลุ่ม

2.  เพื่อให้ได้เป้าหมายของการถอดความรู้และได้ประเด็นในการถอดความรู้และวิธีการถอดความรู้ร่วมกันของแต่ละกลุ่ม

-  จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของแต่ละกลุ่มอย่างน้อยกลุ่มละ  1  ครั้ง

-  แกนนำกลุ่ม  7  กิจกรรม

-  นักวิชาการ  2  คน

-  ทีมบริหารเทศบาล  5  คน

-  ผู้ประสานงาน  1  คน

-  สมาชิกกลุ่มๆละ  15  คน

รวมครั้งละ  30  คนx 7  ครั้ง

-ค่าอาหารจำนวน 30 คนx50บาทx7มื้อ=10,500 บาท

-ค่าอาหารว่างจำนวน 30คนx25บาทx7มื้อ=750บาท

-ค่าพาหนะจำนวน 15คนx50บาทx7ครั้ง=5250บาท

-ค่าตอบแทนนักวิชาการ 2คนx1,000x7ครั้ง=14,000บาท

-ค่าวัสดุ อุปกรณ์ 200บาทx7ครั้ง=1,400บาท

-ค่าประสานงาน/สรุปรายงานการประชุม 500x7ครั้ง

  =3,500 บาท

รวม 39,900 บาท

3.  เวทีถอดบทเรียนองค์ความรู้การดำเนินงานของ  7  กลุ่มกิจกรรม

1.  เพื่อให้ได้ชุดความรู้บทเรียนการบริหารจัดการแนวทางการดำเนินงานของ  7  กลุ่มกิจกรรม

2.  เพื่อเสริมสร้างกระบวนการเรียนรู้การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการดำเนินงานของกลุ่ม

-จัดเวทีถอดความรู้การดำเนินงานของแต่ละกลุ่ม  กลุ่มละ  3  ครั้ง

-  แกนนำกลุ่ม  7  กิจกรรม

-  สมาชิกกลุ่มๆละ  15  คน

-  ทีมบริหารเทศบาล  5 คน

-  นักวิชาการ  2  คน

-  ผู้ประสานงาน  1  คนรวม  30  คนx 21  ครั้ง

-ค่าอาหารจำนวน 30 คนx50บาทx21มื้อ=31,500 บาท

-ค่าอาหารว่างจำนวน 30คนx25บาทx21มื้อ=15,750บาท

-ค่าพาหนะจำนวน 15คนx50บาทx21ครั้ง=15,750บาท

-ค่าตอบแทนนักวิชาการ 2คนx1,000x21ครั้ง=42,000บาท

-ค่าวัสดุ อุปกรณ์ 200บาทx21ครั้ง=4,200บาท

-ค่าประสานงาน/สรุปรายงานการประชุม 500x21ครั้ง

 =10,500 บาท

รวม 119,700 บาท

4.  เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สรุปบทเรียน  การดำเนินงานระหว่าง  7  กลุ่มกิจกรรม

1.  เพื่อรวบรวมและสรุปองค์ความรู้ที่ได้จากการถอดบทเรียน  ทั้ง  7กลุ่มกิจกรรม

1.  จัดประชุมเตรียมข้อมูลและกระบวนการ

จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้

 

 

 

 

2.  จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงาน

ของ  7  กลุ่มกิจกรรม

-  แกนนำจำนวน 7 กลุ่มๆ

   ละ 3 คน = 21คน

-  ทีมบริหารเทศบาล  5 คน

-  นักวิชาการ  3  คน

-  ผู้ประสานงาน  1  คน

 

 

 

 

-  แกนนำจำนวน 7 กลุ่มๆ

   ละ 3 คน = 21คน

-  ทีมบริหารเทศบาล  5 คน

-  นักวิชาการ  5  คน

-  ผู้ประสานงาน  1  คน

-ค่าอาหารจำนวน 30 คนx50บาทx1มื้อ=1,500 บาท

-ค่าอาหารว่างจำนวน 30คนx25บาทx1มื้อ=750บาท

-ค่าพาหนะแกนนำ 21คนx50บาท=1,050บาท

-ค่าตอบแทนนักวิชาการ 2คนx1,000=2,000บาท

-ค่าวัสดุ อุปกรณ์ 200บาท

-ค่าประสานงาน/สรุปรายงานการประชุม 500 บาท

 

รวม 6,000 บาท

 

-ค่าอาหาร 30คนx50บาทx1มื้อ = 1,500บาท

-ค่าอาหารว่าง 30คนx25บาทx1มื้อ = 750บาท

-ค่าพาหนะแกนนำ 20คนx50บาท = 1,000บาท

-ค่าตอบแทนนักวิชาการ 3คนx1,000บาท = 3,000บาท

-ค่าวัสดุ อุปกรณ์ 200บาท

-ค่าประสานงาน/สรุปรายงานการประชุม 500บาท

รวม 6,950 บาท

5.  เวทีกำหนดแนวทางพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ระดับตำบล

1.  เพื่อกำหนดแนวทางการยกระดับแหล่งเรียนรู้  7  กลุ่ม  และการพัฒนากิจกรรมไปสู่ศูนย์การเรียนรู้ระดับตำบลร่วมกัน

-  จัดประชุมแกนนำกลุ่ม

-  แกนนำกลุ่ม  7  กิจกรรม

    จำนวน  21  คน

-  ทีมบริหารเทศบาล  5  คน

-  นักวิชาการ  5  คน

-  ผู้ประสานงาน  1  คน

 

 

-ค่าอาหารจำนวน 30 คนx50บาทx1มื้อ=1,500 บาท

-ค่าอาหารว่างจำนวน 30คนx25บาทx1มื้อ=750บาท

-ค่าพาหนะแกนนำ 20คนx50บาท = 1,000บาท

-ค่าตอบแทนนักวิชาการ 3คนx1,000บาท = 3,000บาท

-ค่าวัสดุ อุปกรณ์ 200บาท

-ค่าประสานงาน/สรุปเอกสาร 500บาท

                                         รวม 6,950 บาท

6.  การจัดทำรายงาน  สรุปผลการดำเนินงาน

1.  เพื่อสรุปผลการดำเนินงานระยะ  6  เดือนที่ผ่านมา

 

-  จัดทำเอกสาร รายงานโครงการ

-  ค่าจัดทำสื่อวิดีทัศน์สรุปผลการดำเนินงาน

-  จำนวนเอกสาร  5  ชุด

-  จำนวนสื่อวิดีทัศน์ 1 เรื่อง

 

-ค่าจัดทำเอกสาร       5,000         บาท

-ค่าจัดทำวีดิทัศน์       5,000         บาท

 

 

 

                                           รวม 10,000 บาท

7.  จัดประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของคณะทำงานเพื่อนำไปสู่การพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ต่อไป

1.  เพื่อคณะทำงานมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้สรุปโครงการหลังจากรายงานคณะกรรมการโครงการส่วนกลางแล้ว

2.  เพื่อคณะทำงานแลกเปลี่ยนหาแนวทางในการพัฒนาการเรียนรู้ต่อไป

-  จัดประชุมคณะ

ทำงานจำนวน 2 ครั้ง

-  แกนนำกลุ่ม  7  กิจกรรม

-  ทีมบริหารเทศบาล  5 คน

-  นักวิชาการ  2  คน

-  ผู้ประสานงาน  1  คน

    รวม 15 คน

 

-ค่าอาหารจำนวน 15 คนx50บาทx2วัน=1,500 บาท

-ค่าอาหารว่างจำนวน 15คนx25บาทx2วัน=750บาท

-ค่าตอบแทนประชุม 13คนx100บาทx2ครั้ง = 2,600 บาท

-ค่าตอบแทนนักวิชาการ 2คนx1,000บาทx2ครั้ง

 = 4,000บาท

รวม 5,250 บาท

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

คำสำคัญ (Tags): #thaiclc
หมายเลขบันทึก: 241746เขียนเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2009 08:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:17 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

สวัสดีครับ  มาเยี่ยม มาชื่นชม เป็นกำลังใจ ฝากถามตุ๊กด้วยว่าทำไงจึงจะให้เนื้อหาทั้งหมดอยู่ในกรอก ยอดเยี่ยมดีมากครับ

ตัวอย่าง ผลการจัดการศึกษาของโรงเรียนเทศบาลวัดมารวิชัย

 

คณะครูและนักเรียนโรงเรียนเทศบาลวัดมารวิชัยร่วมพิธีเปิดค่ายกิจกรรมวิชาการ

พิธีตีฆ้องร้องป่าว ในพิธีเปิดค่ายวิชาการ

ครูปิ๊กสอนปั้นแป้งให้กับเด็กๆ นำไปเป็นพื้นฐานการประกอบอาชีพได้นะเนี่ย

แม่ครูปิ๊กมาช่วยสอนทำผ้าบาติกให้ด้วย

นี่ไงผลงานของนักเรียนโรงเรียนเทศบาลวัดมารวิชัย

ยินดีด้วยกับการริเริ่มโครงการประสานพลังปัญญาเพื่อการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ชุมชน

ผมมีประสบการณ์ฝึกฝนการใช้เครื่องมือการจัดการความรู้ในชุมชน

ได้บันทึกไว้ที่

การจัดการความรู้ภาคปฏิบัติในชุมชน(1)เครื่องมือและกระบวนการจัดการความรู้ในชุมชน

http://gotoknow.org/blog/suthepkm/344050

ยินดีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท