video conference


video conference
Introduction to Video Conference System
   
  การดำเนินธุรกิจในปัจจุบันนี้การติดต่อสื่อสารถือเป็นหัวใจสำคัญอย่างหนึ่งในองค์ประกอบที่จะนำไปสู่ความสำเร็จ ทำให้ระบบการติดต่อสื่อสารที่มีประสิทธิภาพและมีความรวดเร็วเป็นตัวแปรสำคัญอย่างหนึ่ง ในการเพิ่มโอกาสทางธุรกิจและในการติดต่อทางธุรกิจสิ่งหนึ่งที่จะขาดไปเสียมิได้คือ การประชุม แต่การประชุมก็เป็นสิ่งหนึ่งที่ทำให้เราต้องเสียเวลาและพลาดโอกาสต่างๆ ที่สำคัญ เนื่องจากต้องมีการเดินทางจากที่ต่างๆ เพื่อมาประชุมกัน ณ สถานที่ที่กำหนดที่ใดที่หนึ่ง ซึ่งในการเดินทางนั้นจะต้องเสียเวลา ค่าใช้จ่ายและยังเกิดความเสี่ยงในการเดินทางขึ้นอีกด้วย ดังนั้นเพื่อเป็นการแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นและเพื่อเป็นการสร้างโอกาสทางธุรกิจให้เพิ่มมากขึ้น จึงมีความจำเป็นในการนำอุปกรณ์สื่อสารเข้ามาใช้ประโยชน์
  Video Conference System เป็น การติดต่อสื่อสารระหว่างบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่อยู่ต่างสถานที่กันได้ทั้งภาพ เสียง และข้อมูลในเวลาเดียวกัน
   
ประโยชน์ที่ได้รับจากการใช้ Video Conference System
 

ในการนำระบบ Video Conference เข้ามาใช้ในธุรกิจนั้นช่วยให้เกิดประโยชน์ต่าง ๆ ได้ทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยทางตรง คือ สามารถวัดผลที่ได้ออกมาในรูปของตัวเงิน คือเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ส่วนในทางอ้อมนั้นวัดเป็นรูปตัวเงินได้ยาก เช่น ช่วยให้ประหยัดเวลา ช่วยอำนวยความสะดวก ช่วยลดความเสี่ยงจากอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการเดินทาง ดังสามารถสรุปประโยชน์ที่ได้เป็นดังนี้

  1. ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทางจากที่ต่าง ๆ เพื่อมาประชุม, อบรม
  2. สามารถทำการประชุมเพื่อวิเคราะห์ แก้ไขปัญหา และตัดสินใจได้อย่างรวดเร็ว
  3. ทำให้เกิดความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในองค์กรมากขึ้น
  4. ลดความเสี่ยงจากอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นจากการเดินทาง
   
มาตรฐานสำหรับระบบ Video Conference System
  เพื่อให้ระบบวีดีโอคอนร์เฟอร์เรนซ์ มีมาตรฐานและสามารถทำงานร่วมกันได้ ITU-T ซึ่งเป็นองค์การด้านโทรคมนาคมสากล ได้กำหนดมาตรฐานระบบการประชุมทางไกลผ่านจอภาพ (Videoconferancing System) เพื่อนำไปใช้ในเครือข่ายข้อมูลแบบต่าง ๆ โดยแบ่งออกเป็น 4 หมวดหลัก ๆ ได้แก่
 
  1. H.320 เป็นมาตรฐานที่ใช้ในเครือข่าย WAN มีความเหมาะสมในการใช้เชิงธุรกิจ รองรับเครือข่ายได้หลายประเภท เช่น ISDN (Intergrated Service Digital Network) Leased Line รวมทั้งวงจรเช่าอื่น ๆ (satellite,microwave) มาตรฐาน H.320 นี้เป็นที่นิยมใช้โดยทั่วไป เนื่องจากให้คุณภาพในระดับที่ดีง่ายต่อการติดต่อ อีกทั้งค่าใช้จ่ายก็ไม่สูง โดยเฉพาะเมื่อใช้กับเครือข่าย ISDN
  2. H.321 และ H.310 เป็นมาตรฐานที่รองรับระบบเครือข่าย ATM เพื่อให้ได้คุณภาพของภาพและเสียงในระดับสูงสุด โดยทั่วไปจะใช้ในอาคารหรือใน Campus เดียวกัน
  3. H.323 เป็นมาตรฐานที่ใช้ในเครือข่าย LAN หรือ WAN ที่ส่งข้อมูลโดยใช้ IP Protocol เป็นหลักมีคุณภาพในระดับเดียวกับ H.320 มาตรฐานนี้มีแนวโน้มที่จะได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ
  4. H.324 เป็นมาตรฐานที่ใช้ในเครือข่ายโทรศัพท์ (POTS : Plain Old Telephone System) มีคุณภาพ ค่อนข้างต่ำ ไม่เหมาะสมที่จะนำไปใช้ในเชิงธุรกิจ
  ที่กล่าวมาแล้วนั้นเป็นการกล่าวถึงมาตรฐานทางด้านทางด้านเครือข่าย ในระบบ VideoConferance ยังประกอบด้วยมาตรฐานทางด้านภาพ (Video) และเสียง (Audio) ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
   
มาตรฐานด้านภาพ
 
  1. การบีบอัดข้อมูลภาพ ประกอบด้วย 2 มาตรฐานหลัก ได้แก่ H.261 และ H.263 (H.263+ หรือ H.263 V2) H.263 เป็นมาตรฐานที่ออกมาภายหลังเพื่อปรับปรุงให้สามารถบีบอัดสัญญาณภาพได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ในขณะที่ใช้ Bandwidth น้อยลง
  2. ขนาดของภาพ โดยทั่วไปในระบบ Videconferance จะมีวิธีการสร้างภาพอยู่ 2 วิธี คือ FCIF หรือ CIF และ QCF ซึ่งขนาดของภาพที่ปรากฎบนจอภาพจะมีขนาดเท่ากัน แต่จะมีความละเอียดแตกต่างกัน โดยภาพแบบ FCIF จะมีความละเอียดกว่า เพราะมีจุดที่ประกอบเป็นรูปภาพ 352ด288 จุด ในขณะที่ภาพแบบ QIF จะมีจุดที่ประกอบเป็นรูปภาพเสียง 176ด144 จุด (ขนาดของภาพเมื่อเปรียบเทียบจากปริมาณของจุดจะเท่ากับ 1/4 ของ FCIF)
    นอกจากนี้ ล่าสุดทางบริษัทผู้ผลิตอุปกรณ์ Videoconferance ได้พัฒนานวัตกรรมใหม่ทำให้ระบบ Videconferanceสามารถรองรับความละเอียดทางด้านภาพได้สูงสุดในระดับ XGA (1024ด768) ทำให้ภาพที่ได้มีความละเอียดและคมชัดมากกว่ามาตรฐานทั่วไป
  3. ความเร็วในการสร้างภาพ (Frame Rate) คือจำนวนภาพที่ปรากฏบนหน้าจอใน 1 วินาที ซึ่งหากมีจำนวนภาพ ยิ่งมาก ก็จะทำให้คุณภาพของภาพเคลื่อนไหวที่ปรากฎเป็นไปอย่างราบรื่น ไม่กระตุกในระบบ Videoconfrance จะใช้อยู่ 2 ระดับ คือ 15 ภาพต่อวินาที (15 frame/sec หรือ fps) และ 30 ภาพต่อวินาที (30 frame/sec) โดยภาพที่มี frame rate สูง ก็จำเป็นที่จะต้องใช้ Bandwidth สูงตามไปด้วย ซึ่งที่ 30 fps จะใช้ Bandwdith อย่างต่ำ 384 Kbps อย่างไรก็ตามด้วยความเทคโนโลยี่ของทางบริษัทผู้ผลิตบางรายซึ่งได้ทำการศึกษาค้นคว้าวิจัย และพัฒนาจนสามารถส่งภาพที่ความเร็ว 30 fps โดยใช้ Bandwidth เพียง 256 Kbps ได้

อ้างอิง: [ออนไลน์].เข้าถึงได้จาก:http://www.thaipresentation./22 ก.พ.51  เวลา 08.56 น.

คำสำคัญ (Tags): #video conference
หมายเลขบันทึก: 243808เขียนเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2009 08:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 05:17 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท