Pod Cast


Pod Cast

ระบบเพื่อการกระจายบทเรียนตามความต้องการของผู้เรียน

นฤดล ดามพ์สุกรี

            จากที่คุณศยามนได้กล่าวถึงการส่งบทเรียนไปให้กับผู้เรียนโดยใช้ช่องทางการสื่อสารแบบต่าง ๆ นั้น ในส่วนของการนำเทคโนโลยีมาใช้ ซึ่งคิดกันไว้ในช่วงแรกคือ 1. เราจะปรับสื่อที่เรามีอยู่และที่กำลังจะผลิตขึ้น เพื่อให้กระบวนการส่งถึงผู้เรียนมีประสิทธิภาพ เช่น เราจะเลือกใช้ไฟล์เสียง และวีดิโอ ที่มีขนาดเล็ก มีความคมชัด ชนิดของไฟล์ได้มาตรฐาน และสามารถส่งไปเล่นที่อุปกรณ์ของนักศึกษาให้ได้มากที่สุด เช่น บนโทรศัพท์มือถือ เครื่องเล่น MP3 , MPEG4 หรือ ซอฟแวร์ประเภท Podcast Reader บนเครื่องคอมพิวเตอร์ เมื่อตกลงเรื่องชนิดของไฟล์ได้แล้ว เราจะจัดทำระบบจัดเก็บสื่อ การใส่ข้อมูลของสื่อแต่ละชิ้น เพื่อให้ง่ายเมื่อค้นหา และเตรียมพร้อมสำหรับการเชื่อมไปยังอินเตอร์เฟส บนเว็บที่จะจัดทำขึ้นในลักษณะของ Podcating 2. สื่อที่เราให้บริการจะต้องมีฟังก์ชั่นของการ Streaming เพื่อให้นักศึกษาเปิดชมได้ออนไลน์ ในลักษณะการ Preview

รูปที่ 1 กระบวนการปรับปรุงการผลิตเพื่อรองรับ U-Learning

                 นอกจากนั้น สื่อนักศึกษาจะสามารถเลือกช่อง (Channel) ได้ตรงตามความต้องการของตนเองเพื่อชม และเลือกเก็บสื่อเฉพาะที่ตนเองสนใจ ลงอุปกรณ์ที่ตนเองมี ไม่ว่าจะเป็น iTune , Windows Media Player ในกรณีเก็บในเครื่องที่หอพัก แต่ที่เราเน้นจะเป็นอุปกรณ์ (Device) ที่เคลื่อนที่ไปกับตัวนักศึกษาได้ เช่น โทรศัพท์มือถือ เครื่องเล่น MP3,MP4  ดังนั้นระบบที่เราสร้างขึ้นจะต้องให้บริการสื่อได้ตรงตามความต้องการของนักศึกษา เปรียบเหมือนกับการมีรสชาดอาหารต่าง ๆ ให้นักศึกษาเลือกเหมือนบุฟเฟต์โออิชิเลยทีเดียว ฮา..    ขั้นตอนนี้เราสามารถใช้เทคนิค Podcasting มาประยุกต์ใช้ได้ ตามความหมายของ Podcast.com แล้ว Pod  มาจากการที่ไฟล์มัลติมีเดียมีความเป็น Portable และ On-Demand  คือเคลื่อนที่ไปกับผู้เรียนได้ และตรงตามความต้องการของผู้เรียน ส่วน CAST การที่ไฟล์นั้นถูกส่งไปให้ผู้เรียนผ่านทางเครือข่าย ไม่ว่าจะเป็นอินเทอร์เน็ต หรือการออกอากาศแบบอื่น

ที่มา: http://www.thaicyberpoint.com/ford/blog/id/168/

               3. จากขั้นตอนที่ 2 นักศึกษาจะเป็นผู้กำหนดรสชาดที่ชอบด้วยตนเอง ขั้นตอนนี้จะเป็นการ Delivery ส่งถึงมือประมาณพิซซ่าฮัท ซึ่งเป็นปัญหาที่ต้องพิจารณากันหลายประเด็น เพื่อที่จะให้นักศึกษาเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการใช้อุปกรณ์ให้น้อยที่สุด จะได้ไม่ไปกระทบสตางค์ในกระเป๋าของน้อง ๆ เราต้องศึกษาว่านักศึกษาใช้อุปกรณ์อะไรอยู่ แล้วเราจะนำสื่อของเราไปเล่นบนอุปกรณ์นั้นอย่างมีประสิทธิภาพได้อย่างไร  เราจะต้องปรับการผลิตสื่อที่แสดงบนหน้าจอขนาดเล็กอย่างไร ช่องทางในการ Delivery ที่คิดไว้ก็มีหลายช่องทางเช่น Kiosk, PodReader,             

     อ้างอิง:นฤดล ดามพ์สุกรี.ออนไลน์.เข้าถึงได้จาก:http://ceit.sut.ac.th./22 ก.พ.52 เวลา 09.04 น.

คำสำคัญ (Tags): #pod cast
หมายเลขบันทึก: 243815เขียนเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2009 09:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 05:17 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท