Wiki


Wiki

 

  Wiki คืออะไร

 

 

ความหมายของ Wiki

วิกิ หรือ วิกี้

 

(wiki) คือ ลักษณะของเว็บไซต์แบบหนึ่ง ที่อนุญาต ให้ผู้ใช้ เพิ่มและแก้ไขเนื้อหาได้โดยง่าย ซึ่งบางครั้งไม่จำเป็นต้องการลงทะเบียนเพื่อแก้ไข ด้วยความง่ายในการแก้ไขและโต้ตอบ วิกิเว็บไซต์มักจะถูกนำมาใช้ในการร่วมเขียนบทความ คำว่า "วิกิ" นี่ยังรวมหมายถึงวิกิซอฟต์แวร์ซึ่งเป็น ตัวซอฟต์แวร์รองรับการทำงานระบบนี้ หรือยังสามารถหมายถึงตัวเว็บไซต์เองที่นำระบบนี้มาใช้งาน ตัวอย่างเช่น เว็บสารานุกรมออนไลน์ วิกิพีเดีย (www.wikipedia.org) ซึ่งใช้ซอฟต์แวร์ MediaWiki (www. mediawiki.org) ในการบริหารจัดสารานุกรมออนไลน์ สามารถ Download มาติดตั้งได้โดยไม่มีค่าใช้จ่ายจากเว็บไซต์ http://www.mediawiki.org/wiki/Download_from_SVN#Download ซึ่งปัจจุบันเผยแพร่เวอร์ชั่นล่าสุด คือ mediawiki-1.9.3

ซึ่ง

 

ประวัติความเป็นมาของ Wiki

วิกิตัวแรกชื่อว่า

 

WikiWikiWeb สร้างโดย วอร์ด คันนิงแฮม เมื่อ.. 2537 สำหรับโครงการ Portland Pattern Repository ของเขา โดยได้เขียนโปรแกรมขึ้นด้วยภาษาเพิร์ลและติดตั้งลงที่เว็บ c2.com โดยชื่อของ วิกิ นั้นมาจากชื่อรถประจำทางสาย "วิกิ วิกิ" (Wiki Wiki) ของระบบรถขนส่งแชนซ์ อาร์ที-52 ที่ สนามบินฮอโนลูลูในรัฐฮาวาย คำว่าวิกิในภาษาฮาวายมีความหมายว่าเร็ว ดังนั้นคำว่า "วิกิวิกิ" หมายถึง "เร็วเร็ว"

นั่นเอง

ระบบวิกิเริ่มเป็นที่รู้จักภายหลังจากที่สารานุกรมวิกิพีเดียได้นำมาใช้ ซึ่งต่อมาได้มีหน่วยงานหลายส่วนได้นำระบบวิกิมาใช้ไม่ว่าในการจัดการเอกสาร การติดต่อสื่อสาร หรือแม้แต่การร่วมเขียนโปรแกรม

สัญลักษณ์รถบัส

 

"วิกิวิกิ" ที่

ท่าอากาศยานนานาชาติฮอโนลูลู

ลักษณะสำคัญของ

Wiki

นายศิริชัย นามบุรี

 

[email protected] or

[email protected]

2

วิกิเน้นการทำงานแบบง่าย ซึ่งผู้เขียนสามารถสร้างเนื้อหาบนเว็บได้โดยไม่จำเป็นต้องมีความรู้ใน

 

ภาษาเอชทีเอ็มแอล โดยข้อมูลถูกเขียนร่วมกันด้วยภาษามาร์กอัปอย่างง่ายโดยผ่านเว็บเบราว์เซอร์ ในแต่ละหน้าจะถูกเรียกว่า "หน้าวิกิ" และเนื้อหาภายในจะเชื่อมต่อกันผ่านทางไฮเปอร์ลิงก์ ซึ่งส่งผลให้ในแต่ละวิกิสามารถทำงานผ่านระบบที่เรียบง่ายและสามารถใช้เป็นฐานข้อมูล

สำหรับสืบค้น ดูแลรักษา ที่ง่าย

นิยามลักษณะของเทคโนโลยีวิกิคือความง่ายในการสร้างและแก้ไข

 

หน้าเว็บ โดยไม่จำเป็นต้องผ่านการตรวจสอบหรือยืนยันจากเจ้าของเว็บนั้น เว็บวิกิหลายแห่งเปิดให้ผู้ใช้บริการทั่วไปในขณะที่บางกรณี ขึ้นอยู่กับการตั้งค่าวิกิบน เซิร์ฟเวอร์

ผู้ใช้อาจจะต้องล็อกอินเพื่อแก้ไข หรือเพื่ออ่านบางหน้า

การแก้ไขเอกสารในหน้าวิกิ

รูปแบบรหัสต้นฉบับบางครั้งก็รู้จักกันในชื่อ

 

"ข้อความวิกิ" ซึ่งประกอบไปด้วยข้อความธรรมดารวมกับภาษามาร์กอัปอย่างง่ายซึ่งใช้ในการกำหนดโครงสร้างของเอกสารและรูปลักษณ์ในการแสดงผล ตัวอย่างที่มักยกบ่อยได้แก่ การใช้เครื่องหมายดอกจัน ("*") ขึ้นต้นบรรทัด เพื่อเป็นสัญลักษณ์บอกว่าบรรทัดนั้นเป็นรายการหนึ่งในรายการแบบจุดนำ รูปแบบและวากยสัมพันธ์สามารถแตกต่างกันออกไปได้หลายแบบขึ้นอยู่กับการนำไปใช้ ในบางระบบอนุญาตให้ใช้แท็ก HTML

ได้

การออกแบบข้อความวิกิมีเหตุผลมากจาก

 

HTML ซึ่งแท็กหลายแท็กมีความคลุมเครือ ทำให้จากรหัสต้นฉบับ HTML ผู้ใช้สร้างจินตนาภาพถึงผลลัพธ์ได้ยาก สำหรับผู้ใช้ส่วนมากการอ่านและการแก้ไขเนื้อหาบนรหัสต้นฉบับ HTML

โดยตรงเป็นสิ่งที่ทำได้ยากมาก ดังนั้นการส่งเสริมให้แก้ไขบนข้อความธรรมดากับข้อตกลงอีกนิดหน่อยเพื่อการกำหนดโครงสร้างและรูปแบบจึงเป็นสิ่งที่ดีกว่า

นอกจากนั้นการที่ผู้ใช้ไม่สามารถใช้ความสามารถบางอย่างของภาษา

 

HTML เช่น จาวาสคริปต์ และ Cascading Style Sheet ได้โดยตรง ทำให้ได้ประโยชน์คือรูปลักษณ์และความรู้สึก (Look and Feel) ในการใช้งานวิกิมีความสอดคล้องกัน เนื่องจากผู้ใช้แก้ไขรูปแบบได้อย่างจำกัด พร้อมทั้งความปลอดภัยที่เพิ่มขึ้น ในการนำวิกิไปใช้หลายระบบแสดงให้เห็นไฮเปอร์ลิงก์ที่ใช้งานได้เสมอ ไม่เหมือนในการใช้ HTML

ซึ่งข้อความที่ไม่สามารถมองเห็นจากการแสดงผลว่าเป็นไฮเปอร์ลิงก์ก็อาจจะเป็นไฮเปอร์ลิงก์ได้

นายศิริชัย นามบุรี

 

[email protected] or

[email protected]

3

ตัวอย่างเปรียบเทียบคำสั่ง

คำสั่งใน

มีเดียวิกิ

คำสั่ง

เอชทีเอ็มแอล

ผลลัพธ์ที่แสดงออกมา

'''

 

เพลงพระราชนิพนธ์แสงเทียน''' หรือ ''Candlelight Blues'' เป็นเพลงพระราชนิพนธ์เพลงแรก ทรงพระราชนิพนธ์ในเดือนเมษายน พ.. ๒๔๘๙ ครั้งดำรงพระราชอิสริยยศเป็นสมเด็จพระอนุชาธิราช เป็นงานทดลองของพระองค์ในจังหวะ[[บลูส์

]]

<p><b>

 

เพลงพระราชนิพนธ์แสงเทียน</b> หรือ <i>Candlelight Blues</i> เป็นเพลงพระราชนิพนธ์เพลงแรก ทรงพระราชนิพนธ์ในเดือนเมษายน พ.. ๒๔๘๙ ครั้งดำรงพระราชอิสริยยศเป็นสมเด็จพระอนุชาธิราช เป็นงานทดลองของพระองค์ในจังหวะ <a href="http://th.wikipedia.org/wiki/บลูส์> บลูส์

</a>

เพลงพระราชนิพนธ์แสงเทียน

 

หรือ Candlelight Blues เป็นเพลงพระราชนิพนธ์เพลงแรก ทรงพระราชนิพนธ์ในเดือนเมษายน พ.. ๒๔๘๙ ครั้งดำรงพระราชอิสริยยศเป็นสมเด็จพระอนุชาธิราช เป็นงานทดลองของพระองค์ในจังหวะ

บลูส์

 

การควบคุมความเปลี่ยนแปลงเนื้อหาในหน้า Wiki

โดยทั่วไปแล้ววิกิออกมาบนปรัชญาที่ว่าทำการแก้ไขสิ่งที่ผิดให้ง่ายมากกว่าทำให้การสร้างสรรค์ยาก ดังนั้นเมื่อวิกิเป็นระบบเปิดจึงจัดสิ่งที่มีความสำคัญ ในการยืนยันความถูกต้องของการแก้ไขเนื้อหาของหน้าวิกิล่าสุด สิ่งที่โดดเด่นที่สุดของวิกิทุกตัวก็คือหน้า

 

"ปรับปรุงล่าสุด" ซึ่งเป็นรายการที่เรียงลำดับการเปลี่ยนแปลงจากล่าสุดจำนวนหนึ่งหรือเป็นรายการการเปลี่ยนแปลงที่ทำในช่วงเวลาหนึ่ง วิกิบางตัวสามารถเลือกกรองโดยเพื่อที่จะไม่แสดงเอาการเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อยและไม่แสดงการแปลงที่ทำโดยสคริปต์อัตโนมัติ ("บอต

")

จากปูมบันทึกการเปลี่ยนแปลง ความสามารถอื่นของวิกิส่วนมากคือ

 

"ประวัติการแก้ไขปรับปรุง" ซึ่งแสดงหน้าวิกิรุ่นก่อนและยังมีลักษณะพิเศษในการ "ดิฟฟ์" (diff) ที่เน้นให้เห็นความเปลี่ยนแปลงระหว่างการแก้ไขปรับปรุง 2 ครั้ง ด้วยการใช้ประวัติการแก้ไขปรับปรุง บรรณาธิการสามารถดูหรือนำหน้าวิกิรุ่นก่อนหน้ากลับคืนมาได้ลักษณะเด่นดิฟฟ์สามารถใช้ในการตัดสินใจว่ามีความจำเป็นในการนำหน้าวิกิรุ่นก่อนกลับคืนมาหรือไม่ ผู้ใช้วิกิธรรมดาสามารถดูดิฟฟ์ของรายการหน้าที่ถูกแก้ไขจากหน้า "ปรับปรุงล่าสุด"

ถ้าหากว่ามีการแก้ไขที่ไม่เป็นที่ยอมรับโดยดูจากประวัติก็สามารถนำหน้าวิกิรุ่นก่อนหน้ากลับคืนมาได้ การนำหน้าวิกิรุ่นก่อนกลับคืนมามีความสะดวกระดับที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับซอฟต์แวร์วิกิที่ใช้

นายศิริชัย นามบุรี

 

[email protected] or

[email protected]

4

เทคโนโลยีของ

Wiki

 

Wiki ทำงานอย่างไร เว็บไซต์ Wiki ใช้ซอฟต์แวร์ MediaWiki ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ไม่ค่าลิขสิทธิ์ทำงาน เป็นประเภท GNU General Public License (GPL). เผยแพร่ภายใต้ข้อกำหนดขอ GNU General ออกแบบติดตั้งที่คอมพิวเตอร์ฝั่ง Server ซอฟต์แวร์ MediaWiki ถูกออกแบบให้ทำงานบน Sever ขนาดใหญ่ มีขีดความสามารถสูง พัฒนาโดยใช้ภาษา PHP ร่วมกับระบบบริหารจัดการฐานข้อมูล MySQL การสร้างเอกสารเผยแพร่ใช้รูปแบบของ wikitext format โดยที่ผู้ใช้ไม่ต้องมีความรู้ภาษา XHTML หรือ CSS (Cascading Style Sheets) ซึ่งเป็นภาษาหลักในการสร้างและจัดรูปแบบเอกสารที่เผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ ดังตัวอย่าง

ในรูป

 

ความต้องการของระบบ (Requirements) เว็บไซต์ประเภท Wiki ที่มีชื่อเสียง เช่น www.wikipedia.org ใช้ซอฟต์แวร์บริหารจัดการคือ MediaWiki ซึ่งสามารถ Download ได้ที่เว็บไซต์ของ http://www.mediawiki.org/wiki/Download/ ซึ่ง MediaWiki รุ่นที่เผยแพร่ปัจจุบัน คือ version .19.3 การติดตั้งมีความต้องการของระบบเบื้องต้นดังนี้ นายศิริชัย นามบุรี [email protected] or

[email protected]

5

 

Web Server such as Apache or

IIS

 

PHP

version 5.0 or later (5.1.x recommended)

 

Database Server MySQL 4.0 or later or PostgreSQL 8.1 or later (also requires plpgsql and tsearch2

)

 

ที่ตั้งเครื่องแม่ข่าย ( Sever) ของ Wiki ปัจจุบัน Wikimedia Foundation มีการติดตั้งเครื่องแม่ข่ายไว้ที่รัฐ Florida สหรัฐอเมริกา ที่เมือง Amsterdam

และที่กรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ ดังรูป

แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้แบบ

Wiki

โครงการพัฒนาเว็บไซต์ประเภท

 

Wiki มีหลายภาษาทั่วโลก สำหรับภาษาไทยเองก็มีการพัฒนาเว็บไซต์ประเภท Wiki หลายโครงการ ซึ่งแต่ละโครงการสามารถนำมาใช้เป็นแหล่งเรียนรู้และสร้างกิจกรรมการเรียนการสอนทั้งในระบบชั้นเรียนปกติและในระบบอีเลิร์นนิ่งได้เป็นอย่างดี โครงการ ที่เป็นเว็บไซต์ประเภท Wiki

ในภาษาไทย มีรายละเอียด ดังนี้

วิกิพีเดีย

 

สารานุกรมเสรี

วิกิตำรา

 

ตำราและคู่มือ

วิกิคำคม

 

ที่รวบรวมคำคม สุภาษิต

วิกิซอร์ซ

 

เอกสารต้นฉบับ

วิกิข่าว

 

แหล่งข่าวเนื้อหาเสรี

วิกิสปีซีส์

 

สารบบอนุกรมวิธาน

คอมมอนส์

 

แหล่งรวบรวมแบ่งปันสื่อ

เมต้าวิกิ

 

ศูนย์กลางโครงการวิกิมีเดีย นายศิริชัย นามบุรี [email protected] or

[email protected]

6

 

วิกิพีเดียสารานุกรมเสรี (http://th.wikipedia.org/wiki/ ) วิกิพีเดีย คือ สารานุกรมเสรี ที่ร่วมสร้างขึ้นโดยผู้อ่านหลายคนร่วมกันปรับปรุงวิกิพีเดียอย่างสม่ำเสมอ ระบบของวิกิพีเดียจะแตกต่างจากแหล่งข้อมูลอื่น ที่ทุกคนสามารถร่วมแก้ไขได้ ไม่เฉพาะเจ้าของเว็บไซต์ วิกิพีเดียจะแตกต่างจากบล็อกและเว็บบอร์ด

ที่เรื่องทุกเรื่องถูกจัดเรียงตามชื่อหัวข้อนั้นในลักษณะสารานุกรม

 

วิกิตำรา ( http://th.wikibooks.org/wiki ) วิกิตำรา คือ หนังสือที่ร่วมกันสร้างขึ้นโดยผู้อ่าน มีคนหลายๆ คนร่วมกันปรับปรุงวิกิตำราอย่างสม่ำเสมอ แม้แต่คุณก็แก้ได้ โดยบทความจะสมบูรณ์ยิ่งขึ้นทุกๆ การแก้ไขโดยการเปลี่ยนแปลงทั้งหมดถูกบันทึกไว้ในหน้าประวัติ ซึ่งจะเก็บไว้ทุกครั้งและตลอดไป นายศิริชัย นามบุรี [email protected] or

[email protected]

7

 

วิกิคำคม ( http://th.wikiquote.org/wiki/ ) วิกิคำคม แหล่งรวบรวมคำคม สุภาษิตและคำพังเพยจากทั่วโลกในทุกภาษา วิกิคำคมเป็นหนึ่งในโครงการของวิกิมีเดีย

โครงการวิกิคำคมเปิดโอกาสให้ทุกคน สามารถเขียนคำคมที่ชื่นชม คำคมจากบุคคลที่สำคัญ ได้อย่างเต็มที่

 

วิกิซอร์ซ (http://th.wikisource.org/wiki/ ) แหล่งรวบรวมและจัดเก็บเอกสารต้นฉบับที่สามารถนำไปอ้างอิงได้ เช่น กฎหมาย พระราชบัญญัติ เอกสารทางราชการอื่น ๆ นายศิริชัย นามบุรี [email protected] or

[email protected]

8

 

วิกิข่าว (http://th.wikinews.org/wiki/) แหล่งข่าวเนื้อหาเสรี โดยกลุ่มอาสาสมัครซึ่งมีภารกิจเพื่อสร้างเว็บไซต์ที่มีการนำเสนอข้อมูลที่ทันสมัย, ตรงประเด็น,

น่าสนใจ และให้ความเพลิดเพลินโดยปราศจากอคติ เนื้อหาทั้งหมดอยู่ภายใต้สัญญาอนุญาต โดยการทำให้เนื้อหาของเราสามารถนำไปเผยแพร่และนำไปใช้ต่อได้

 

วิกิพจนานุกรม (http://th.wiktionary.org/wiki/ ) วิกิพจนานุกรม คือ แหล่งรวบรวมและเก็บคำศัพท์เสรี นายศิริชัย นามบุรี [email protected] or

[email protected]

9

 

วิกิสปีซีส์ (http://species.wikimedia.org/wiki ) สารบบอนุกรมวิธานหรือวิกิสปีชีส์เป็นโครงการของ มูลนิธีวิกิมีเดีย โดยเป็นสารานุกรมเสรีเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตต่างๆ ซึ่งรวมถึง สัตว์ พืช เห็ดรา แบคทีเรีย อาร์เคีย โพรทิสตา และสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ขณะนี้มีบทความทั้งหมด 93,896

บทความ

 

คอมมอนส์ ( http://commons.wikimedia.org/wiki/ ) วิกิมีเดียคอมมอนส์ เป็นโครงการหลายภาษา เพื่อให้บริการคลังข้อมูลกลางสำหรับภาพ ดนตรี เสียง และวีดิทัศน์ลิขสิทธิ์เสรี และอาจรวมถึงข้อความและคำพูด เพื่อใช้ในหน้าเอกสารในโครงการต่าง ๆ ของวิกิมีเดีย ภาพทุกภาพที่เก็บในคอมมอนส์จะสามารถเรียกใช้ได้ จากหน้าเอกสารของโครงการวิกิมีเดียทุกโครงการ นายศิริชัย นามบุรี [email protected] or

[email protected]

10

 

เมต้าวิกิ (http://meta.wikimedia.org/wiki/) เมต้าวิกิ คือ ศูนย์กลางโครงการวิกิมีเดียที่เป็นเว็บไซต์เกี่ยวกับ โครงการทั้งหมดในองค์กรวิกิมีเดีย รวมถึง วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรีสำหรับทุกคน และ ซอฟต์แวร์ มีเดียวิกิ ที่เป็นซอฟท์แวร์ในการพัฒนาทั้งหมด ซึ่งเป็นกลุ่มสนทนาเกี่ยวกับมูลนิธิ,

บันทึกและข้อเขียนอื่นซึ่งมีผลโดยตรงต่อโครงการนี้

1.

ข้อดีของ

Wiki

1.

 

วิกิจะแตกต่างจากระบบการจัดการเนื้อหาอื่นๆ ในส่วนของการโต้ตอบ ซึ่งเห็นได้จากระบบของกระดานสนทนาออนไลน์หรือบล็อก จะอนุญาตให้ผู้อื่นโต้ตอบโดยการส่งข้อความต่อท้าย และไม่สามารถมีส่วนร่วมในส่วนของเนื้อหาหลักได้ แต่วิกิจะอนุญาตให้ทุกคนมีสิทธิ์ในการแก้ไขในเนื้อหาได้โดยเสรี และติดตามผู้แก้ไขเนื้อหาได้ เป็นการร่วมมือกันสร้างองค์ความรู้และเรียนรู้ร่วมกัน

2.

 

ด้านเนื้อหาของสารานุกรมวิกิพีเดียได้รับการยอมรับจากนักวิชาการและสื่อมวลชน เนื่องจากเนื้อหาเปิดเสรีให้สามารถนำไปใช้ได้ รวมถึงเปิดเสรีที่ให้ทุกคนแก้ไข รวมถึงนโยบายมุมมองที่เป็นกลางจากทุกฝ่ายที่เขียนในสารานุกรม

อย่างไรก็ตามการนำไปใช้อ้างอิงในเอกสารทางวิชาการยังคงเป็นข้อถกเถียงเนื่องจากการเปิดโอกาสให้ทุกคนแก้ไข ซึ่งง่ายต่อการปรับเปลี่ยนข้อมูล เมื่อผู้ประสงค์ร้ายที่มือบอนเข้าไปทำลายข้อมูลหรือสิ่งดีๆ ในวิกิพีเดีย ยังเป็นปัญหาที่เกิดบ่อย แม้ว่าส่วนใหญ่ผู้ก่อการร้ายเหล่านั้นจะถูกจับได้ และมีการเข้าไปแก้ไขเนื้อหาเพิ่มเติมที่ไม่ถูกต้องเหล่านั้นอย่างรวดเร็ว โดยผู้ใช้วิกิพีเดียที่ทำหน้าที่ตรวจสอบ

นายศิริชัย นามบุรี

 

[email protected] or

[email protected]

11

ติดตามการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นล่าสุด ความน่าเชื่อถือของวิกิพีเดียได้ถูกทำการทดสอบ ในเดือนธันวาคม พ

 

.. 2548 ได้มีทีมนักวิจัยทดสอบความถูกต้องของวิกิพีเดียฉบับภาษาอังกฤษ เปรียบเทียบกับสารานุกรมบริเตนนิกา สารานุกรมที่เก่าแก่ที่สุดในโลก โดยนำเรื่องราวเกี่ยวกับด้านวิทยาศาสตร์ไปทดสอบ ผลลัพธ์ที่ออกมาสรุปว่าความถูกต้องใกล้เคียงกัน โดยมีการผิดพลาดทางข้อมูลและการใช้ภาษาใกล้เคียงกัน (http://th.wikipedia.org/wiki

คำสำคัญ (Tags): #wiki
หมายเลขบันทึก: 243827เขียนเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2009 09:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 05:17 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท