เข้าพบนายกคุยเรื่องศูนย์การเรียนรู้ชุมชน


ท่านนายกธนาวุฒิ ถาวรพราหมณ์ หรือนายกปู บอกว่าสิ่งที่ท่านทำคือการเรียนรู้ตามอัธยาศัย การเรียนรู้ในวิถีชีวิต คิด วิเคราะห์ สังเคราะห์ วิจัยแบบชาวบ้าน สกัดและถอดความรู้นั้นมาเพื่อกลับไปใช้ใหม่ เป็นวงจรไม่รู้จบ บูรณาการเรียนรู้ทุกเรื่องเข้ากับกิจกรรมที่ดำเนินการ

ดร.สุวัฒน์ เงินฉ่ำ เลาขาธิการมูลนิธิเพื่อพัฒนาการศึกษาไทย ในฐานะหัวหน้าโครงการประสานพลังปัญญาเพื่อการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ชุมชน สสส. ตั้งให้ผมเป็นที่ปรึกษาโครงการประจำพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งพื้นที่ดำเนินการโครงการนี้ที่จังหวัดนครศรีธรรมราช คือ ที่ตำบลปากพูน อำเภอเมือง หน่วยที่ดำเนินการขับเคลื่อนศูนย์การเรียนรู้ชุมชนในพื้นที่คือ อบต.ปากพูน (โครงการฯคัดเลือกพื้นที่ดำเนินการ 25 ตำบลทั่วประเทศ มีทั้งหน่วยดำเนินการที่เป็น อบต.หรือเป็นเทศบาล ) ภารกิจคือจะต้องดำเนินการให้เกิดการประสานพลังปัญญาเพื่อการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ชุมชนให้เกิดขึ้นให้ได้ ให้สำเร็จให้ได้ภายในระยะเวลาโครงการ 10 เดือน ตั้งแต่ กพ.- พฤศจิกายน 2552

เมื่อวานผมได้ไปรายตัวกับท่านนายก อบต.ปากพูน ตามนัด เวลา 08.30 น. ดังที่ได้เขียนเอาไว้ที่บันทึกนี้ ที่สถานีอนามัยปากพูน หากท่านอยากรู้จัก อบต.ปากพูนเพิ่มเติมหรืออยากรู้จักนายกธนาวุฒิ ถาวรพราหมณ์ หรือนายกปู เชิญที่ องค์การบริหารส่วนตำบลปากพูน 

สำหรับตัวผมเองซึ่งได้รับมอบหมายให้เป็นที่ปรึกษาโครงการประจำพื้นที่นั้น โครงการฯได้กำหนดบทบาทไว้ 5 ประการ ดังต่อไปนี้ คือ


1.ติดตามและกระตุ้นการดำเนินงานให้เป็นไปตามแผนปฏิบัติการของ อบต.
2.ให้คำปรึกษาการดำเนินงานของศูนย์การเรียนรู้ชุมชน ในกรณีทีมีปัญหาให้สอบถามมายังสำนักงานโครงการส่วนกลาง
3.ร่วมประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงานของศูนย์การเรียนรู้ชุมชน ตามที่สำนักงานโครงการส่วนกลางขอความร่วมมือ
4.ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงานกับเครือข่ายที่ปรึกษาโครงการประจำพื้นที่
5.เก็บข้อมูลการดำเนินงาน พร้อมสรุปสาระเสนอสำนักงานโครงการส่วนกลางอย่างน้อยเดือนละครั้ง และรายงานผลสรุปโครงการของพื้นที่ 1 ฉบับ หลังสิ้นสุดโครงการ

ผมศึกษาโครงการฯนี้อย่างละเอียด รู้สึกว่าชอบมาก เพราะว่าตรงกับบทบาทหน้าที่ ครู กศน.อย่างผม เป็นเนื้องานในบทบาทหน่วยงานของผม สามารถเชื่อมกิจกรรมของศูนย์การเรียนรู้ชุมชน นำสิ่งดีสิ่งเด่นของศูนย์การเรียนรู้ชุมชนไปแชร์และโชว์ในห้องสมุดประชาชนจังหวัดนครศรีธรรมราชตามโครงการห้องสมุดมีชีวิตชีวาได้อีกต่อหนึ่ง นายก อบต.เห็นดีเห็นงามด้วย ซึ่งในหลักการได้คุยกันอย่างนั้น


ท่านนายกธนาวุฒิ ถาวรพราหมณ์ หรือนายกปู บอกว่าสิ่งที่ท่านทำคือการเรียนรู้ตามอัธยาศัย การเรียนรู้ในวิถีชีวิต คิด วิเคราะห์ สังเคราะห์ วิจัยแบบชาวบ้าน สกัดและถอดความรู้นั้นมาเพื่อกลับไปใช้ใหม่ เป็นวงจรไม่รู้จบ บูรณาการเรียนรู้ทุกเรื่องเข้ากับกิจกรรมที่ดำเนินการ ไม่ว่าจะเป็น เศรษฐกิจพอเพียง คุณธรรม สิ่งแวดล้อม วิทยาศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรม

ท่านนายกท่านชอบคิด เมื่อคิดได้แล้วก็บันทึกลงสมุดบันทึกงานทันที ปิ้งอะไร แว้ปอะไรดีๆขึ้นมา ก็จดทันที และแปลงสู่การปฏิบัติทันที ตั้งชื่อให้ดึงดูดใจชาวบ้าน เช่น


กลุ่มเด็กฟิช (fish) คือกลุ่มเรียนรู้เลี้ยงปลา
กลุ่มเด็กเอาถ่าน คือกลุ่มเรียนรู้เกี่ยวกับการเผาถ่าน
กลุ่มเษตร(เศษ)เด็ก คือกลุ่มเรียนรู้เกี่ยวกับการเกษตร
กลุ่มเด็กขี้ๆ คือกลุ่มที่เรียนรู้เกี่ยวกับปุ๋ยหมักเกษตรอินทรีย์ ชีวภาพ
กลุ่มเด็กอดอยาก คือกลุ่มเรียนรู้เกี่ยวกับการทำกับข้าว อาหารการกิน
ฯลฯ

ผมคิดว่าจะใช้บล็อกนี้เป็นช่องทางสื่อสารรายงานความเคลื่อนไหวให้ทางโครงการส่วนกลางทราบอีกช่องทางหนึ่งนอกจากช่องทางปกติที่มีอยู่

แต่เอ....ไม่รู้จะให้คำปรึกษาอะไรได้ เพราะตามไม่ค่อยทันความคิดนายกฯและคณะสักเท่าไหร่ เขาคิดเขาทำเก่งๆกันจริง

คิดว่าสิบเดือนต่อไปนี้คงจะได้มีอะไรดีๆเล่าสู่กันฟังอย่างแน่นอนครับ

 

หมายเลขบันทึก: 245303เขียนเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2009 17:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:22 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

น่าเรียนรู้ครับ มาตรา ๑๕ วรรค ๓ เรียนรู้ ตามอัชณาศัย

สวัสดีครับครู ตามมาเรียนรู้ตามอัธยาศัย กับนายกปูด้วยครับ อบต.ปากพูน กับ อบต.ปากพะยูน คล้ายกัน ครับ แต่อบต.ปากพะยูนนายกเป็นผู้หญิง ทีให้ความร่วมือเป็นอย่างดีกับพวกเราชาวเครือข่ายพวกเรา

*ดีใจจ้านที่ท่านกลับมาอีกครั้ง ครับ////

เป็นนิมิตรที่ดีมากที่มีผู้นำอย่าวนายก ปู กศน.ปากท่อจะนำไปใช้บ้างกับผู้นำการเปลี่ยนแปลง การเรียนรู้ตามอัธยาศัย

สวัสดี หมอเจเจ

ในชีวิตและในประสบการณ์การเรียนรู้ของคุณหมอก็คงจะมีการเรียนรู้ตามอัธยาศัยเยอะมากทีเดียวใช่ไหมครับ

มีโอกาสถ่ายทอดเพื่อพวกเราชาว กศน. ชาว G2Kจะได้เรียนเรียนรู้บ้างนะครับ

พี่บัง ครับ

เราต่างเจออะไรดีๆที่ในพื้นที่เราชัญชีกันนะครับว่าเราจะนำมาเล่า ณ ลานวัด G2K แห่งนี้

สวัสดีครับท่าน ผอ. ajankoy


             ดีใจที่ท่านเข้ามาทักทาย แลกเปลี่ยนเรียนรู้ การศึกษาตามอัธยาศัยคืออะไรและรูปแบบเป็นอย่างไรบ้าง ยากที่จะตอบจริงๆ กศน.เราทำเรื่องนี้มาก็นาน ก็ไม่พ้นร่องความคิดเดิม คือ ห้องสมุดประชาชน ศูนย์วิทยาศาสตร์ฯ.....แต่ชนิดที่ง่ายและชาวบ้านเข้าถึงได้ในวิถีชีวิตคืออะไรนั้นเนี่ย เรื่องนี้จะต้องช่วยกันส้างหรือถอดจากที่ ผู้คนสังคม ชุมชน เขาทำและเขาเคลื่อนอยู่ใช่ไหมละครับ

            ท่าน ผอ.ครับ มีอะไรดีทางราชบุรี เขียนบอกมานะครับ

            ผมนำบล็อกทั้งสองของท่าน ผอ. ไว้ในแพลนเน็ต ชุมชน คน กศน.และ กศ.ตามอัธยาศัย เพื่อศึกษาแลกเปลี่ยนเรียนรู้แล้วครับ

  • ได้ดูรายการ ของนายก ทางทีวี แล้วชื่นชมจริงครับ
  • ภูมิใจที่ มีผู้นำท้องถิ่นต้นแบบ ครับ

น้องชัยพร  หนุ่ม ร้อยเกาะ

พี่ก็ได้ดูเทปแล้ว สุดยอดมากครับ ยังบันทึกไว้เป็นซีดีเลยครับเอาไว้ประกอบงาน สสส. ที่พี่เป็นที่ปรึกษาให้เขานี่แหละ

ขอบคุณนะครับ เมื่อไหร่มาเยี่ยมเมืองนครศรีฯบ้านเกิดครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท