Eco Design


“การออกแบบชีวิต” เพื่อสิ่งแวดล้อม

Eco  Design  ....

ในการเรียนการสอนด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ และบรรจุภัณฑ์ ปัจจุบันนี้เรื่อง  ภาวะโลกร้อน หรือ Global warming  เป็นสิ่งที่ต้องบรรจุไปในเนื้อหาทั้งทฤษฎี และงานปฏิบัติ    ปัญหามลภาวะที่กระทบสิ่งแวดล้อม  ส่วนหนึ่งมาจากความเจริญทางเทคโนโลยี ที่ส่งผลไปถึงการออกแบบผลิตภัณฑ์ และบรรจุภัณฑ์ ที่สอดคล้องกับการผลิต และวิถีชีวิตของผู้บริโภคที่ปรับเปลี่ยนไป  ในอดีตที่ผ่านมา การออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์นั้นจะมุ่งเน้นการออกแบบผลิตภัณฑ์เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าและผู้ผลิตเป็นสำคัญ โดยเน้นพิจารณาต้นทุน หน้าที่ ความสวยงาม และความปลอดภัยเป็นหลัก  แต่จากแนวคิดการพัฒนาผลิตภัณฑ์ไปสู่แนวคิดผลิตภัณฑ์ยั่งยืน ทำให้มุมมองการออกแบบผลิตภัณฑ์เปลี่ยนแปลงไปสู่แนวคิดที่มีการพิจารณาด้านอื่นๆมากขึ้นนั่นคือการพิจารณาด้านสิ่งแวดล้อม และด้านสังคม

นักออกแบบใน ปัจจุบัน  มิใช่เพียงมีความคิดสร้างสรรค์ทางการออกแบบดี แต่เพียงอย่างเดียวแต่ต้องมีความตระหนักในปัญหา ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในโลกใบนี้ด้วย  ซึ่งจะเป็นโจทย์ที่ท้าทาย  เพราะจะเชื่อมโยงมาถึงเรื่อง EcoDesign  หรือการออกแบบเชิงนิเวศเศรษฐกิจ (Economic & Ecological Design )  ถือเป็นเครื่องมือสู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม  หรือจะเรียกอีกนัยหนึ่งว่า     การออกแบบชีวิต    เพื่อสิ่งแวดล้อม ก็ได้ 

        โดยหลักการแล้ว Eco Design มีกรอบความคิดหลักคือ ครอบคลุมวงจรผลิตภัณฑ์ให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมแบ่งให้ชัดเจน คือ ใช้หลัก 4 R ในด้าน รีไซเคิลมาใช้กับตั้งแต่ช่วงแรกคือ การวางแผนการผลิต (Planning Phase) ช่วงการออกแบบ (Design Phase) ช่วงการผลิต (Manufacturing Phase) ช่วงการนำไปใช้ (Usage Phase) และช่วงการทำลายหลังการใช้เสร็จ (Disposal Phase)

หลักการ4 R ก่อนนั้น เคยรณรงค์ให้ผู้บริโภคเข้าใจ  แต่  Eco Design  หมายถึงนำ4 R มาใช้กับกระบวนการในโรงงานผลิตด้วยในทุกขั้นตอน     เรื่อง 4 R นี้ไม่รู้ท่านทั้งหลายลืมกันหรือยัง  จะขอทบทวนดังนี้  ประกอบด้วย Reduce คือการลด  /  Reuse คือการใช้ซ้ำ  /   Recycle คือการนำกลับมาใช้ใหม่    และ /   Repair คือการซ่อมบำรุง  (ดังแผนภูมิ)

Thai Environment

http://www.thaienv.com/th/index.php?option=com_content&task=view&id=745&Itemid=27

สืบค้นเมื่อ 30 ม.ค.52 / อ้างอิงจาก  หนังสือสกุลไทย ปีที่ 54 ฉบับที่ 2805

ประจำวันอังคารที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ.2551 หน้า 102

ตัวอย่างต่อไปนี้ เป็นตัวอย่างการออกแบบผลิตภัณฑ์ EcoDesign  บางส่วน ที่นักศึกษา หลักสูตรออกแบบอุตสาหกรรม ที่ มทร. ล้านนา ภาคพายัพ  เชียงใหม่     ได้ร่วมกันค้นคว้ามานำเสนอผ่านสื่อทาง เว็บไซต์ของนักศึกษาเอง  ใน http://www.idrmutl.com/forum/index.php  คอลัมภ์ห้องแลคเชอร์  ตัวอย่างเช่น ...

          นี่เป็นเพียงบางส่วนเท่านั้น ที่นักออกแบบ  ทำการออกแบบ ผลิตและจำหน่ายในต่างประเทศ   ทั้งทางร้านค้า และทาง เว็บไซต์  เป็นที่ให้ความสนใจแก่ผู้บริโภคที่ใช้ผลิตภัณฑ์ ที่ทำลายสิ่งแวดล้อมกันมานาน    หันกลับมาเปลี่ยนการใช้ผลิตภัณฑ์   Eco Design กันมาก     เนื่องจากความตระหนัก และ การได้มีส่วนร่วมในการลดภาวะโลกร้อน

                                                                                   *****************

หมายเลขบันทึก: 245739เขียนเมื่อ 1 มีนาคม 2009 21:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:22 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (20)
  • น่าสนใจมากค่ะ อาจารย์
  • อาจารย์มีเรื่องของ Ecolodge ไหมค่ะ

    ถ้าเป็นเรื่องของ..ที่พักในแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ หรือการรักษาสภาพแวดล้อมในเชิงการออกแบบที่พักเชิงการท่องเที่ยว ในเชิงลึกจริงๆ ต้องเป็นพวกสถาปนิก และที่เรียนด้านสิ่งแวดล้อมครับ.. ผมคงมีแค่หลักการที่ว่าใครจะดำเนินการด้านนี้ จะต้องคำนึง หรือศึกษาอะไรบ้างเป็นกรอบกว้างๆ เท่าที่เคยศึกษามาเอง   และอ่านมาครับ คือ....

1.ใช้วัสดุท้องถิ่น ที่เป็นธรรมชาติของท้องถิ่นนั้นๆในการออกแบบทางสถาปัตยกรรม  

2.ใช้เทคโนโลยี หรือภูมิปัญญาท้องถิ่นมาปรับใช้กับระบบ ปัจจัยประกอบร่วม ในการสร้างที่พักที่รักษาสภาพแวดล้อม

3.การบริหารจัดการ ไม่เป็นเชิงอุตสาหกรรมที่ใหญ่โต ควรทำกันภายในท้องถิ่นครอบครัว หรือสังคมชุมชน

4.ด้านงบประมาณ การลงทุนในการทำ ควรเป็นภายในท้องถื่น ไม่น่าจะหาหรือทุ่มงบประมาณมาจากต่างถิ่นหรือนอกพื้นที่

5.ผู้ดำเนินการ และผู้ร่วมงานรวมถึงพนักงานต่างๆ ต้องเข้าใจเรื่อง Ecolodge /Economic & Ecological Design หรือ EcoDesignหรือภาพกว้างของ Global warming และมีใจที่จะรักษ์ .. โลกใบนี้ร่วมกัน

6.ระบบการระบบบำบัด ต่างๆ ต้องเน้น วัฎจักรของ 4 R (Reduce / Repair /Reuse / Recycle )

*** ผิดพลาดประการใด หรือถ้ารู้แล้ว ก็ต้องขออภัยด้วย .. อยากให้ผู้รู้เข้ามาตอบจะดีกว่า ครับ

“การออกแบบชีวิต” เพื่อสิ่งแวดล้อม ชอบวลีนี้มากค่ะ  ดิฉันจะเอาไปคิด  แล้ว "ออกแบบชีวิต" ตัวเองเพื่อสิ่งแวดล้อม   

ขอบคุณค่

ขอบคุณครับ คุณ nui ที่แวะมาเยี่ยมชม

ช่วงนี้อากาศร้อนมากครับ และจะร้อนทวีขึ้นทุกๆปี... ถ้าทุกครัวเรือนวิ่งไปซื้อแอร์มาติดตั้งให้คลายร้อนก็ถือว่าจบ ... แต่ต้องเสียพลังงานไปเท่าไร เพื่อให้เราเย็นสบาย

ถ้าเรามีการ "ออกแบบชีวิต" ตัวเองเพื่อสิ่งแวดล้อม แล้ว ... ก็จะเข้าใจว่าแอร์ ไม่ใช่ตัวช่วยแก้ปัญหาที่แท้จริงได้

สวัสดีค่ะอาจารย์

 จัดศิลปะควบคู่กับธรรมชาติและลงตัว

ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม อีกทั้งนำเสนอผลงานที่น่าชื่นชม

ว่าแต่ราคาสูงไหมค่ะ

สวัสดีครับ ครูเอ ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยม

ว่างๆก็..แวะมาเยี่ยมชม..ผลงานศิลปะของนักศึกษา..ที่นี่ได้นะครับ

สวัสดีค่ะอาจารย์

ครูเอเป็นศิษย์เก่าออกบแบบสิ่งทอค่ะ 

ยินดีค่ะ จะติดตามผลงานน้องๆค่ะ

ยินดีครับ.. ที่ได้เจอศิษย์เก่า มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ณ ที่นี้

สวัสดีค่ะ อาจารย์ พอดีหาข้อมูลเกี่ยวกับ eco design แล้วเจอของอาจารย์พอดีเลย

แล้วหนูจะแวะมาชมอีกนะค้า

เป็นเรื่องที่สำคัญของนักออกแบบที่จะต้องศึกษาอย่างจริงจังแล้วละครับ..

เพื่อประโยชน์ของมวลมนุษยชาติอย่างแท้จริง

ชอบครับ อยากให้ผู้คนได้ตระหนักเรื่องนี้อย่างจริงจัง หวังว่าจะมีงานdesign ที่รักษ์สิ่งแวดล้อมมากๆๆ นะครับ ผมว่าถึงเวลาแล้วที่จะกลับไปอยู่กับธรรมชาติที่แท้จริง มิใช่มนุษย์พลาสติกที่เห็นกันเต็มบ้านเต็มเมืองอย่างทุกวันนี้

พอดีเปิดมาอ่าน เห็นว่ามีหลายท่านที่สนใจงาน ECO Design จึงขอแนะนำโครงการ EcoDesign2010 หรือ การจัดประกวดออกแบบผลิตภัณฑ์และบริการเชิงนิเวศเศรษฐกิจ ประจำปี 2553 ที่ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ หรือ MTEC เป็นผู้จัดการประกวดค่ะ เค้ากำลังเปิดรับสมัครไอเดียผลงานส่งเข้าประกวด ทั้งสาขาการออกแบบผลิตภัณฑ์ และการออกแบบบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ช่วยลดภาวะโลกร้อนค่ะ ลองเข้าไปดูรายละเอียดได้ที่ www.mtec.or.th/ecodesign2010 นะคะ

ขอขอบคุณทุกท่านครับ ที่เข้ามาเยี่ยมกัน

ทั้ง ดร.ภิญโญ และ Eco Design 2010

****************

เรื่อง การจัดประกวดออกแบบผลิตภัณฑ์และบริการเชิงนิเวศเศรษฐกิจ ประจำปี 2553

จะ เชิญชวน ประชาสัมพันธ์ ให้อาจารย์ และนักศึกษาออกแบบผลิตภัณฑ์ ที่นี่ ได้รับทราบครับ

เป็นเรื่องที่ตอนนี้ทุกคนให้ความสนใจกันมากเลยค่ะ

บุศรินทร์ นันทะเขต

พอดีแวะเข้ามาหาข้อมูลเกี่ยวกับวัศดุเหลือทิ้งทางการเกษตร แล้วบังเอิญเจอblog อาจารย์ค่ะ มีประโยชน์และมีความรู้มากเลยค่ะ หนูขอนุญาตินำข้อมูลอาจารย์บางส่วนไปเป็นข้อมูลอ้างอิงเกี่ยวกับงานดีไซด์ของหนูจะได้ไหมค่ะ เและถ้าหนูมีปัญหาอยากจะขอปรึกษาอาจารย์ได้หรือเปล่าค่ะ อ้อ หนูขอแนะนำตัวเองค่ะ เป็นนักศึกษา ป โท มศว ค่ะ ขอบคุณค่ะ

ยินดีครับคุณ.. บุศรินทร์

ถ้าเป็นในเชิงของการออกแบบ (Design) การประยุกต์ ศิลปะ สร้างสรรค์เป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่นในบล็อกที่ผมเคยลงนี้ http://gotoknow.org/blog/teerachai4/356844 ซึ่งเป็นผลงานของ นักศึกษา ก็ไม่มีปัญหา

แต่ถ้าเป็น เชิงวิทยาศาสตร์ คงต้องค้นคว้า และถามผู้รู้มาให้ครับ

Search หา Eco - Design ก็มาพบเรื่องของอาจารย์หมอ อ่านแล้วเข้าใจได้ง่ายๆ เลยค่ะ

เหลือการสอนอีก 2 อาทิตย์ ว่าจะสอนเรื่อง Eco Design Package พอดี

เลยขออนุญาตนำไปอ้างอิงในการเรียนการสอน ECO - Package ด้วยนะคะ

ขอบคุณค่ะ ที่มีเรื่องน่าสนใจมาให้อ่านเป็นประจำ

เด็กหญิงปีย์รดา ใจตรง

ดีมากแต่7reมีแค่4อย่างอยากให้เพิ่มอีก

เด็กหญิงปีย์รดา ใจตรง

ขออภัยที่เขียนไปอย่างนั้นบ๊าย บาย

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท