เปิดพื้นที่สังคมอุดมปัญญาด้วยการศึกษาตามอัธยาศัย


การศึกษาตามอัธยาศัยเป็นการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มุ่งให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ โดยผู้เรียนสามารถกำหนดวิธีการเรียน เนื้อหา เวลา สถานที่ ซึ่งสอดคล้องกับวิถีชีวิต ความต้องการ หรือเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของสถาบัน องค์กร แหล่งเรียนรู้ ฯลฯ เพื่อให้บุคคลมีโอกาสแสวงหาและได้รับความรู้ อันจะนำไปสู่การพัฒนาตนเอง ครอบคราว ชุมชน และสังคม

ชุมชนอินทรีย์หรือชุมชนเรียนรู้


ชุมชนอินทรีย์หรือชุมชนเรียนรู้
ที่นครศรีธรรมราชดำเนินการมาแต่ปี 2548 แล้ว

เป็นการเรียนรู้ที่มีทั้งที่เป็นหลักสูตรและที่ไม่เป็นหลักสูตร ทั้งเกิดขึ้นเองทั้งแบบไม่ได้จัดการ และที่เกิดขึ้นจากการจัดการของฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด

การเรียนรู้ส่วนใหญ่เป็นการเรียนรู้ตามอัธยาศัย ตามสไตล์การเรียนรู้ของประชาชน ชุมชนไหนอยากรู้อยากเรียนอยากปรับปรุงความเป็นอยู่ในเรื่องอะไรก็ให้เลือกหรือกำหนดวิธีการเรียนรู้ สื่อ เครื่องมือ ตามที่ตนถนัดและมีความพร้อม จัดว่าเป็นการศึกษาหรือการเรียนรู้ของภาคประชาชน

โครงการจัดการความรู้สู่ชุมชนอินทรีย์ที่นครศรีธรรมราชนั้น โครงการได้ออกแบบกลไกโครงสร้างเอาไว้หลายอย่าง เช่น การเซ็ทวงเรียนรู้ของผู้รับผิดชอบระดับต่างๆ ออกเป็นวงเรียนรู้คุณเอื้อ คุณอำนวย (การพัฒนาสมรรถนะให้กับบุคลากรที่ดำเนินงานโครงการในรูปแบบโรงเรียนคุณอำนวย) คุณกิจแกนนำและคุณกิจครัวเรือน การทำงานร่วมกันหลายหน่วยงานแบบบูรณาการ และการแบ่งมอบหมายกันเป็นเจ้าภาพในแต่ละเรื่องแต่ะระยะเวลาของแต่ละหน่วยงาน การจับภาพ ถอดบทเรียน ตลาดนัดความรู้ มหกรรมจัดการความรู้ ฯลฯ ทำให้จังหวัดทั้งจังหวัดมีสภาพเป็นห้องเรียนนอกระบบและการศึกษามอัธยาศัยทั้งจังหวัด

เกิดความรู้และประสบการณ์มากมายทั้งประชาชน หน่วยงาน ชุมชน องค์กร เครือข่าย ฯลฯ ที่เข้าร่วมโครงการ (แต่ยังไม่ค่อยได้ถอดความรู้กันอย่างจริงจังและเข้มข้น)

การดำเนินการดังกล่าวได้ดำเนินการมาหลายปี เมื่อเปรียบเทียบกับความหมายของการศึกษาตามอัธยาศัยที่ผู้รู้กำหนดนิยามความหมายไว้ว่า การศึกษาตามอัธยาศัยเป็นการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มุ่งให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ โดยผู้เรียนสามารถกำหนดวิธีการเรียน เนื้อหา เวลา สถานที่ ซึ่งสอดคล้องกับวิถีชีวิต ความต้องการ หรือเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของสถาบัน องค์กร แหล่งเรียนรู้ ฯลฯ เพื่อให้บุคคลมีโอกาสแสวงหาและได้รับความรู้ อันจะนำไปสู่การพัฒนาตนเอง ครอบคราว ชุมชน และสังคม ซึ่งลักษณะการเรียนรู้ตามอัธยาศัยมี 2 ประเภท คือ

  1. ประเภทที่การศึกษาตามอัธยาศัยที่ไม่ต้องจัดกระบวนการ แต่ให้เป็นไปตามวิถีชีวิต วิถีชุมชน

  2. ประเภทการศึกษาตามอัธยาศัยที่มีการจัดกระบวนการ

เมื่อได้พิจารณาตามลักษณะดังกล่าว ชุมชนอินทรีย์ที่นครศรีธรรมราชเราก็มีลักษณะดังกล่าวอย่างไม่ต้องสงสัย แต่นี่ผมอาจจะพูดเอาด้วยความรู้สึกของผมเอง อาจจะต้องเสวนา อภิปราย สกัด ถอดบทเรียนจากหลายภาคีหุ้นส่วนทั้งภายในและภายนอกพื้นที่ จึงจะยืนยันว่ามีหรือไม่มีลักษณะดังกล่าว

ส่วนหลักการจัดการศึกษาตามอัธยาศัย ผู้รู้อธิบายอีกว่า การจัดการศึกษาตามอัธยาศัยจะต้องยึดหลักดังต่อไปนี้ คือ

  1. การศึกษาจากวิถีชีวิต

  2. การศึกษาที่เป็นส่วนหนึ่งของชุมชน

  3. การเรียนรู้จากของจริง

  4. การเรียนรู้ร่วมกันด้วยการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น

  5. การเรียนรู้ผ่านประสบการณ์และข้อมูลรอบๆตัว

ชุมชนอินทรีย์ที่นครศรีธรรมราชเราก็เป็นไปตามหลักการดังกล่าวอีกเช่นกัน ส่วนจะมีมีมากมีน้อยในประการใดก็ต้องเสวนากันอีกนั่นแหละ

อีกทั้งรูปแบบและวิธีการการศึกษาตามอัธยาศัยนั้น ผู้รู้อธิบายอีกว่าอาจจะมีรูปแบบและวิธีการดังต่อไปนี้

  1. การเรียนรู้ที่เกิดจากการสร้างเงื่อนไขในการเรียนรู้

  2. รูปแบบการเรียนรู้ที่มีการสร้างบรรยากาศและจำลองสภาพแวดล้อมไว้หลายๆด้านหลายๆมิติ

  3. รูปแบบการเรียนรู้ตามวิถีชีวิตวิถีธรรมชาติวิถีชุมชน

  4. การเรียนรู้ที่จัดเพื่อให้คนได้เรียนรู้ตามความต้องการ

  5. การเรียนรู้ด้วยตนเอง

ชุมชนอินทรีย์ที่นครศรีธรรมราชเราจะมีรูปแบบและวิธีการเรียนรู้ตามอัธยาศัยประการใดมากน้อยระดับใดก็ต้องวิจัย ตรวจสอบ เพื่อความน่าเชื่อถือ

ต้องถอดและสกัดความรู้ออกมา เรียกร้องทุกฝ่ายได้โปรดให้คำแนะนำช่วยเหลือเพื่อความเจริญก้าวหน้าของการดำเนินงาน

ท้ายนี้ กศน.ในฐานะผู้ที่จะต้องปฏิบัติการส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ตามอัธยาศัยแก่ผู้คนตามกฏหมาย มีบทบาทภารกิจในการส่งเสริมการเรียนรู้ตามอัธยาศัย ทำอย่างไรให้ทุกผู้คนในสังคมมีพื้นที่เรียนรู้และเข้าถึงการศึกษารูปแบบนี้ได้โดยง่าย สอดคล้องกับวิถีชีวิต มีคำถามสำหรับชาว G2K ช่วยกันตอบ แสดงความคิดเห็น ต่อไปนี้ครับ

  1. จะพัฒนาศักยภาพและทักษะในการเรียนรู้ของประชาชนกันอย่างไร

  2. จะพัฒนาแหล่งเรียนรู้ให้เกิดขึ้นในทุกถิ่นทุกที่ได้อย่างไร

  3. จะพัฒนานักจัดการศึกษาตามอัธยาศัยและนักจัดการเรียนรู้หรือนักจัดการความรู้ชุมชนได้อย่างไร

  4. จะพัฒนาและแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับรูปแบบและกระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลายได้อย่างไร

เชิญนะครับ เชิญบรรเลงครับ

หมายเลขบันทึก: 245748เขียนเมื่อ 1 มีนาคม 2009 22:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 05:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

สวัสดีค่ะ ครูนงเมืองคอน

เป็นการเรียนรู้ฉีกออกมาจากกรอบเดิมๆ ที่เน้นทฤษฎี ให้ผู้เรียนได้คิดและวางแผนการเรียน เรียนจากชุมชน วิถีชาวบ้าน

คุณ berger0123 ครับคุณ

มันเป็นเรื่องใหญ่โตมโหฬารจริงๆ สังคมต้องช่วยกันคิดพื้นที่เรียนรู้ที่มีความหมายมากที่สุดสำหรับชีวิตครับ ขอบคุณที่ให้ความเห็นครับ

ยายธีคิดว่า ๑.ตอบว่าเข้าถึงประชาชน(เขาต้องการอะไร)

๒.สร้าง (ปฏิบัติ ไม่ใช่คิดและเขียนอย่างเดียว)

๓.เมื่อเข้าถึงชุมชนนักพัฒนาก็น่าจะปิ้งได้เองว่าตนจะทำอะไรอย่างกับโจทย์และจำเลย

๔.เมื่อผู้เรียนถ่องแท้กับความต้องการเรียนรู้ของตัวเองว่าคืออะไรเพื่ออะไร(เป็นต้นว่า ไม่ใช่การศึกษาบังคับ ไม่ใช่ศึกษาเพื่อ เงิน การงาน ตำแหน่งหน้าที่)การพัฒาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กระบวนการเรียนรู้ก็จะเกิด(เป็นธรรมชาติ)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท