การบริหารความร่วมมือผลิตและพัฒนาศักยภาพกำลังคนทางอาชีวศึกษา


ขับเคลื่อนสถาบันการอาชีวศึกษาภาคเหนือ

 

การจัดประชุมครั้งนี้  เป็นอีกแนวทางหนึ่งที่ อาชีวศึกษาจังหวัดเชียงใหม่ จัดขึ้นเพื่อเตรียมพร้อมในการจัดตั้งเป็นสถาบันการอาชีวศึกษา (เชียงใหม่, ลำพูน, แม่ฮ่องสอนและลำปาง) ได้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นมาชุดหนึ่งดำเนินการโดยนำเรียนขอคำปรึกษาผู้ว่าราชการฯ และลงนามเพื่อให้การจัดการศึกษาในจังหวัดนี้หรือใกล้เคียงได้ทำงานนลักษณะบูรณาการทั่วทั้งทุกหน่วยงานที่จัดการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับอาชีวศึกษา โดยจัดตั้งเป็นคณะกรรมการการบริหารความร่วมมือผลิตและพัฒนาศักยภาพกำลังคนอาชีวศึกษาจังหวัดเชียงใหม่ ในการประชุมครั้งนี้ ได้รับฟังแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกันจากหลายหน่วยงาน  ดังนี้


 co
บรรยากาศชั้นเรียน โรงเรียนศรีธนาพณิชยการเทคโนโลยี เชียงใหม่
 

bottom รองผู้ว่าราชการฯ  ได้พูดคุยถึงยุทธศาสตร์ของจังหวัด ซึ่งมีอยู่ 5 กลุ่มภารกิจ ซึ่งเรื่องนี้เป็นนโยบายหลัก หากมีการเปลี่ยนแปลงย้ายผู้บริหาร ก็ยังยึดภารกิจนี้อยู่  ในเรื่องการศึกษานั้น จังหวัดเชียงใหม่ ยังใช้กรอบของรัฐบาลที่เน้นความรู้คู่คุณธรรม จริยธรรม  ขณะนี้เรื่องที่ต้องดำเนินการที่ทางจังหวัดได้ทำหนังสือให้กับองค์กรท้องถิ่นร่วมดำเนินการได้แก่  บุคคลทั้งสามประเภท คือ  คนตกงาน  เรียนจบแล้วยังไม่มีงานทำ  นักเรียน/นักศึกษาระหว่างปิดภาคเรียน  เพื่อดำเนินการฝึกอบรมและจัดหารายได้

bottom หอการค้ ตัวแทนหอการค้า ได้ให้ข้อมูลของสถานประกอบยังมีความต้องการแรงงานของอาชีวศึกษา กลุ่มที่ต้องการได้แก่ เทคนิคยานยนต์  ไฟฟ้าทั้งระบบอิเล็กทรอนิกส์ ส่วนคุณสมบัติของผู้จบด้านนี้ที่ต้องการและสำคัญกับสถานประกอบการ ทักษะ 5 ด้านได้แก่  ความรู้ความสามารถ   ภาษาอังกฤษ คุณธรรม จริยธรรมและสามัญสานึกในการทำงาน  และสิ่งที่พบในปัจจุบันคือ  นักเรียน/นักศึกษาที่จบแล้ว เมื่อเริ่มทำงานครั้งแรกไม่สามารถทำงานได้ทันที ต้องใช้เวลาในการฝึกใหม่และนาน ทำให้เสียเวลาและต้นทุนตรงนี้


bottom สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชียงใหม่ เขต 1 - เขต 6  ได้ส่งเสริมให้อัตราส่วนเป็น 50 : 50  ขยับจาก 70 : 30 มีโครงการที่เกี่ยวข้องกับอาชีวศึกษา เช่น  โครงการทำดีมีอาชีพ  โครงการสอนน้องก่อนเข้าเมือง โครงการเด็กดีมีที่เรียน  สิ่งที่เขตพื้นที่พบมีข้อจำกัดได้แก่   ขาดสถานศึกษาที่จัดทางด้านอาชีวศึกษาในท้องที่  ผู้ปกครองส่วนใหญ่ต้องการให้บุตรหลานเรียนอยู่ในท้องถิ่นไม่อยากให้เข้าไปอยู่ในเมืองใหญ่ ซึ่งได้รับข่าวสารจากสื่อและคนใกล้เคียงถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นกับบุตรหลานของตนเอง และต้องการให้เรียนทางด้านอาชีพ แต่ก็มีส่วนหนึ่งยังมีค่านิยมที่ไม่ถูกต้องในการเรียนสายอาชีพ  โรงเรียนในเขตพื้นที่ต้องการให้นักเรียนที่ต้องการเรียนทางด้านอาชีพได้มีโอกาสเข้ามาเรียนในจังหวัดเมื่อจบการศึกษา ก็จะได้กลับไปพัฒนาท้องถิ่น การกำหนดโควตาก็เป็นเรื่องที่ทางเขตยังเห็นความสำคัญ แต่ส่วนใหญ่โรงเรียนติดต่อโดยตรงกับสถานศึกษาอาชีวศึกษา โดยไม่ได้ผ่านเรื่องทางสำนักงานเขตพื้นที่  เขตพื้นที่ยังมองเห็นว่า อาชีวศึกษาขาดการประชาสัมพันธ์สร้างความเข้าใจในการเรียนสายอาชีพ และยังมองไม่ออกถึงบางสาขาอาชีพว่า จะเรียนอะไรและจบแล้วจะทำงานอะไร เช่น สาขาโลหะการ 

bottom กศน.  ได้เปลี่ยนจากศูนย์ เป็น สำนัก ตาม พรบ.ใหม่ เน้นการจัดการศึกษาสำหรับผู้ด้อยโอกาส และคนที่มีงานทำ ปัจจุบันได้ทำ MOU  กับ อบต. ในการจัดการศึกษา ส่วนทางด้านอาชีพนั้น จะจัด อบรมระยะสั้น  ไม่ได้จัดการอาชีวศึกษา

 

 co
บรรยากาศชั้นเรียน วิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงราย จ.เชียงราย



bottom องค์การบริหารส่วนจังหวัด   ปรับการทำงานการศึกษาเป็นภารกิจแรก ๆ ที่จะต้องดำเนินการ โดยเฉพาะในปัจจุบันที่สนับสนุนโครงการอาหารกลางวัน  ด้านอาชีวศึกษาพบว่า มีนักเรียนต้องการเรียนทางด้านนี้แต่ไม่มีสถานศึกษาที่เปิดสอนในท้องถิ่น  การเข้ามาในเมืองหรืออำเภอที่ห่างไกลพื้นที่ ทำให้เพิ่มภาระแก่ผู้ปกครองและสร้างความกังวลที่บุตรหลานจะต้องอยู่ไกล ยากแก่การดูแลและปรึกษาแนะนำ

ทั้งนี้ ได้ดำเนินการร่วมกับวิทยาลัยเทคนิคเชียงใหม่ เปิดสอน สาขาโลหะการ โดยได้โอกาสกับตัวแทนนักเรียนในทุกอำเภอของจังหวัดเชียงใหม่ได้เข้าร่วมโครงการนี้ จะรับผิดชอบค่าใช้จ่ายด้านที่พักและให้ทุนการศึกษา โดยขอให้ทางสถานศึกษาสอดแทรกเนื้อหา การเรียนการสอนในเรื่อง คุณธรรม ความรับผิดชอบ ตลอดจนเรื่องเกี่ยวกับสภาพแวดล้อม ดูแลผืนป่าและเรื่องป่าไม้ไว้ในเนื้อหารายวิชา  และเห็นความสำคัญทางด้านการเกษตร ที่น่าจะสอดคล้องกับวิถีชีวิตในท้องถิ่น แต่ยังไม่มีรายละเอียดหลักสูตรทางด้านเกษตรกรรม  ซึ่งในเขตดูแลของสถาบันฯ  จะมีวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี จำนวน 2 แห่ง คือ  วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีเชียงใหม่ และวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีลำพูน  จัดการศึกษาด้านนี้  

สิ่งที่ทางองค์การบริหารส่วนจังหวัด สนใจในรายละเอียดในการเปิดสอนทางด้านวิชาชีพ โดยจะจัดการศึกษาเอง เช่นเดียวกับหลายจังหวัดที่ได้ดำเนินการควบคู่ไปกับสถานศึกษาในสังกัดของ สอศ. เช่น  เทศบาลจังหวัดนครปฐม  เทศบาลจังหวัดสระบุรี ที่ได้ดำเนินการไปแล้ว


bottom  สถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชน  จากการรวมตัวกันของอาชีวศึกษาเอกชน ทั้งหมด 10 แห่ง เป็นกลุ่มสมาคมโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชน แจ้งให้ทราบว่า อาชีวศึกษานั้นต้องการลงทุนการศึกษา ไม่ได้รับงบประมาณโดยตรงจากรัฐบาล ดังนั้น การจัดการศึกษาในเขตพื้นที่ห่างไกลออกไปต้องใช้เงินทุนสูง  สิ่งที่ได้รับผลกระทบก็คือ นโยบายการศึกษาที่ให้เรียนต่อเนื่องของบางสถานศึกษาของเขตพื้นที่  และการรับไม่อั้นของสถานศึกษาอาชีวศึกษาของรัฐ ที่ว่า  อยากเรียนอะไรต้องได้เรียน และรับว่า ผ่อนคลายลงเมื่อมีการปรับเปลี่ยนให้เน้นด้านคุณภาพมากขึ้น  และมองเห็นว่า ข้อดีของการจัดการศึกษาในพื้นที่เชียงใหม่  เราไม่ได้รับผลกระทบในเรื่อง นักเรียนตีกัน เหมือนกับ กทม. หรือจังหวัดใหญ่บางแห่ง  และเป็นเรื่องที่ทุกสถานศึกษาก็พยายามช่วยกันดูแล ขณะเดียวกัน อาชีวศึกษาเอกชนก็ได้พยายามรักษาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง เรื่อง การจ่ายครบ จบแน่  เป็นสิ่งที่ทุกแห่งหลีกเลี่ยงจะปฏิบัติเพราะคำนึงถึงชื่อเสียงในระยะยาว 

ในที่นี้ มองเห็นว่า  โรงเรียนที่จัดการศึกษาของ สพฐ. น่าจะจัดการศึกษาพื้นฐานมากกว่าจะจัดทางด้านอาชีวศึกษา  และความไม่เห็นด้วยในเรื่อง การจัดการศึกษาขององค์การบริหารส่วนจังหวัดที่จะดำเนินการ จัดอาชีวศึกษาเพิ่มขึ้น หากไม่มีความพร้อมหรือจัดทับซ้อนในเขตเมืองที่มีสถานศึกษาอาชีวศึกษาทั้งของ สอศ. และอาชีวศึกษาเอกชนแล้ว



co
บรรยากาศชั้นเรียน วิทยาลัยเทคนิคเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่

 

ทั้งหมดป็นการแลกเปลี่ยนแสดงความเห็นร่วมกัน ของทุกภาคส่วนการศึกษา และการจัดประชุมครั้งนี้ ทุกฝ่ายเห็นพ้องต้องกันว่า  เป็นนิมิตหมายที่ดีที่จะทำให้อาชีวศึกษาได้ดำเนินการทุกส่วนร่วมกันจริง ๆ  ซึ่งที่ประชุมก็เสนอให้มีการจัดประชุมในลักษณะนี้ ภาคเรียนละ 1 ครั้ง หรือหากมีเรื่องเร่งด่วนก็อาจจะต้องขอความร่วมมือเป็นครั้ง ๆ ไป   สำหรับเรื่องของสถาบันฯ ที่จะแจ้งให้ที่ประชุมทราบได้แก่
 

bottom จัดทำกรอบข้อมูลการรับสมัครและจำนวนนักเรียนนักศึกษาที่แต่ละสถานศึกษาของ สอศ. ในเขตจังหวัดเชียงใหม่ จะเริ่มดำเนินการและระยะเวลาสิ้นสุดการรับสมัคร  เพื่อให้สถานศึกษาเอกชนได้วางแผนงานของตนได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ขณะที่ก่อนหน้านั้น การประสานงานในลักษณะนี้จะเกิดขึ้นน้อยมาก รวมถึงเขตพื้นที่การศึกษาก็ได้รับทราบข้อมูลที่จะนำไปวางแผนในการส่งเสริมสนับสนุนให้นักเรียนเรียนทางสายอาชีพให้เพิ่มขึ้น

bottom สถาบันการอาชีวศึกษา  โดยขณะนี้อยู่ระหว่าง การกำหนด กฎ ระเบียบ หลักการและการพัฒนาหลักสูตร เพื่อจะเปิดสอนในระดับปริญญาตรี  แต่เป็นปริญญาตรีสายเทคโนโลยี สาขาที่ค่อนข้างชัดเจนที่จะเปิดสอนในระดับปริญญาตรีได้แก่  อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและโรงแรม  โดยมีวิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงใหม่ เป็นผู้ดูแลรายละเอียด   อุตสาหกรรมเทคโนโลยีการบัญชี อยู่ในการดูแลของวิทยาลัยอาชีวศึกษาลำปาง 

การจัดการเรียนการสอนในระดับนี้  หลักการคือ จะต้องมีการ  MOU  กับสถานประกอบการในการจัดสถานที่ฝึกงา  รายละเอียดข้อมูลอื่นได้แก่   เป็นการจัดการเรียนการสอนต่อจากระดับ ปวส.  ดังนั้น จะรับสมัครนักศึกษาระดับ ปวส.  ทั้งของ สอศ. และอาชีวศึกษาเอกชน ไม่รับ ม.6 ซึ่งการจัดการศึกษาแบบนี้มีคู่แข่งในท้องที่ทั้ง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล  มหาวิทยาลัยราชภัฏ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยแม่โจ้และมหาวิทยาลัยเอกชนดำเนินการอยู่แล้ว   

การเปิดสาขาวิชาจะจัดได้เฉพาะทางด้านเทคโนโลยีและวิชาชีพ  ศาสตร์ทางด้านศิลปศาสตร์และสังคมศาสตร์จะไม่มีในสถาบันแห่งนี้  สำหรับสาขาอื่น ๆ ที่คาดว่าจะดำเนินการต่อไปได้แก่  ช่างยนต์  (เชียงใหม่), ไฟฟ้า (ลำปาง), ช่างกลโรงงาน (ลำพูน), ไอซีที (เชียงใหม่) และการบำรุงรักษาอาคารขนาดใหญ่ (รวมไฟฟ้าและก่อสร้าง, เชียงใหม่)
 

bottom ทำดี มีอาชีพ เป็นโครงการที่กองทัพบกได้ประสานงานกับหน่วยงานสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงแรงงาน กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงมหาดไทย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาการอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย  หอการค้า  โดยจะเลือกเยาวชนบริเวณตะเข็บชายแดนซึ่งมีอยู่ 31 จังหวัดทั่วประเทศ  ในส่วนของภาคเหนือที่เกี่ยวข้องกับสถาบันการอาชีวศึกษาภาคเหนือ  อศจ.ลำพูน ได้นำร่องจัดอบรมอาชีพให้กับกลุ่มดังกล่าว จำนวน 150 ชั่วโมง ได้แก่ ช่างเชื่อม  ซ่อมมอเตอร์ไซต์ ช่างไฟฟ้า ฯลฯ  สิ่งที่เป็นข้อสังเกตของคณะทำงานฯ คือ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ของแต่ละกระทรวงยังไม่ทราบถึงโครงการนี้และเรื่องการประสานงานจะต้องได้รับการปรับปรุง

 

  

พิมพร  ศะริจันทร์  ศึกษานิเทศก์  เขียนวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2552  จากการเข้าร่วมประชุมคณะกรรมการบริหารความร่วมมือผลิตและพัฒนาศักยภาพกำลังคนอาชีวศึกษาจังหวัดเชียงใหม่ วันพุธที่ 25 ก.พ. 2552 ณ ห้องประชุมสุทธาสิริ วิทยาลัยเทคนิคเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่

 

หมายเลขบันทึก: 245816เขียนเมื่อ 2 มีนาคม 2009 10:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 16:02 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท