ภูมิปัญญาท้องถิ่นภาคใต้


สมุนไพรพื้นบ้าน : ภูมิปัญญาของหมอยาพื้นบ้านภาคใต้

สมุนไพรพื้นบ้าน  :  ภูมิปัญญาของหมอยาพื้นบ้านภาคใต้

 บทความโดย  สุจิตรา  หนูชูและคณะ

1  มีนาคม  2552

            สมุนไพรพื้นบ้าน   ถือเป็นภูมิปัญญาของคนไทยที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ   ซึ่งในปัจจุบันสมุนไพรพื้นบ้านกำลังอยู่ในกระแสความนิยมของสังคมอีกครั้ง   เมื่อผู้คนในสังคมเริ่มกลับมาแสวงหารากเหง้าอันดีงามของตนเอง  

สมุนไพรพื้นบ้านกับการยอมรับ

                คำว่า สมุนไพรหรือ  (Herbs) สามารถให้ความหมายได้หลายด้าน ได้แก่ ถ้าเป็นทางด้านพฤกษศาสตร์ หมายถึง พืชมีเมล็ดที่ไม่มีแก่นไม้และตาย เมื่อสิ้นสุดฤดูกาลปลูก แต่ถ้าใช้เกี่ยวกับอาหาร สมุนไพร  จะหมายถึงเครื่องเทศหรือผักที่ใช้แต่งกลิ่น รสชาติของอาหาร ซึ่งในวางการยาสมุนไพรจะหมายถึง ยาที่มาจากพืช ส่วนในทางกฎหมายสมุนไพรจะถูกจัดแบ่งแยกออกเป็นกลุ่มพิเศษ คือ กลุ่มอาหารและผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร หากผลิตภัณฑ์สมุนไพรนั้น เกี่ยวข้องกับการวินิจฉัยโรคหรือป้องกันโรคจึงจะจัดเป็นยา สำหรับประเทศไทยนั้นพระราชบัญญัติยา  (พ.. 2510)   ได้ให้ความหมายว่า   สมุนไพร   คือ   ยาที่ได้พฤกษชาติ  สัตว์  หรือแร่  ซึ่งมิได้ผสม  ปรุง  หรือแปรสภาพ[1]

                ในอดีตสมุนไพรพื้นบ้าน  เป็นที่ยอมรับของคนไทยเป็นอย่างมาก  คนไทยในสมัยโบราณได้นำสมุนไพรพื้นบ้าน  มาใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน  ทั้งในเรื่องการทำอาหาร   การบำรุงร่างกาย   เสริมความงาม   จนถึงการรักษาโรค   ล้วนแต่ใช้สมุนไพรพื้นบ้านทั้งสิ้น   สมุนไพรพื้นบ้านจึงถือเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตของคนไทย

                ในเวลาต่อมา  เมื่อภาครัฐมีการพยายามพัฒนาสังคมไปสู่ความเจริญก้าวหน้า  ทำให้สังคมไทยเปิดรับต่อการเข้ามาของเทคโนโลยี  หลงเชื่อเลื่อมใสศรัทธาในหลักการวิทยาศาสตร์  สิ่งเหล่านี้ได้เข้ามาบ่อนทำลายภูมิปัญญาดั้งเดิมของคนไทยจนเกือบจะหมดสิ้น  โดยเฉพาะภูมิปัญญาด้านการรักษาโรคด้วยสมุนไพรพื้นบ้าน  จากอดีตที่ชาวบ้านได้ใช้สมุนไพรพื้นบ้านในการรักษาโรคภัยไข้เจ็บที่เกิดกับตนเองและครอบครัว  เมื่อการพัฒนาเข้ามา  ทำให้ชาวบ้านไม่เชื่อในองค์ความรู้  ไม่เชื่อในศักยภาพของตนเอง  จนเปลี่ยนวิถีจากการรักษาโรคด้วยตนเอง  ด้วยยาสมุนไพร  มาเป็นการพึ่งพาแพทย์  พึ่งพายาแผนปัจจุบัน  ที่ต้องผ่านกระบวนการทางวิทยาศาสตร์มากมาย  จนตัวยามีราคาสูง  ก่อเกิดเป็นปัญหาต่างๆ  ตามมาอีกมาก    จากการเร่งรัดการพัฒนาในด้านต่างๆ  ของภาครัฐ  ได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในสังคมในด้านลบอย่างเห็นได้ชัด    ผู้คนในสังคมอาศัยอยู่อย่างไม่มีความสุข  สิ่งเหล่านี้ล้วนทำให้คนในสังคมหันกลับมาหาหากเหง้าอันดีงามของตนเอง  เฉกเช่นที่เคยมีมาในอดีต 

                สมุนไพรพื้นบ้าน  ถือเป็นรากเหง้าแห่งภูมิปัญญาของคนไทยอย่างหนึ่ง  ที่ผู้คนในสังคมปัจจุบันแสวงหา  ทั้งจากการประสบกับปัญหาสิ่งแวดล้อม  ปัญหาสารเคมีที่คอยบั่นทอนสุขภาพ  ทำให้ผู้คนในสังคมปัจจุบันต้องการหลีกหนีให้ห่างจากสภาพปัญหาต่างๆ  เหล่านี้  จนก่อเกิดเป็นกระแสใหม่ขึ้นในสังคม  เป็นกระแสแห่งการดูแลใส่ใจสุขภาพ  ปราศจากสารเคมี  โดยการหันมาสู่ธรรมชาติ  ทำให้สมุนไพรพื้นบ้านกลับมาได้รับความนิยมอีกครั้ง  ทั้งในแง่ของการนำมาปรุงแต่งเป็นอาหาร  บำรุงร่างกาย  เสริมความงาม  หรือแม้กระทั่งแต่การใช้สมุนไพรในการรักษาโรค  ก็กลับมาได้รับความนิยมในสังคมมากขึ้น 

               

โลกทัศน์และชีวทัศน์ของหมอชาวบ้าน

                จากอดีตจนถึงปัจจุบัน  ถึงแม้สมุนไพรพื้นบ้านจะอยู่ในกระแสความนิยมของสังคมหรือไม่  แต่หมอยาพื้นบ้าน  หมอที่ใช้องค์ความรู้ของตนเองในเรื่องยาสมุนไพรพื้นบ้าน  ที่เกิดจากกระบวนการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์  การฝึกฝน  จนสามารถได้องค์ความรู้ที่นำมาใช้ในการรักษาผู้คนให้หายจากโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ  ด้วยวิถีแห่งธรรมชาติ  ต่างใช้สมุนไพรพื้นบ้านในการรักษาโรคให้แก่ตนเองและครอบครัวตลอดมา

                หมอยาพื้นบ้านจะเชื่อและให้ความสำคัญกับพืชสมุนไพร  ที่สามารถนำมาใช้ในการรักษาโรคได้  เชื่อว่ามนุษย์มีชีวิตอยู่ได้จนถึงวันนี้  ก็เพราะธรรมชาติ  ธรรมชาติเป็นผู้ให้ปัจจัยสี่แก่มนุษย์  ให้ที่อยู่อาศัย ให้อาหาร  ให้เครื่องนุ่งห่ม และให้ยารักษา  มนุษย์จะอยู่ในโลกใบนี้ไม่ได้  หากขาดทรัพยากรธรรมชาติ 

                แต่ปัจจุบันนี้  มนุษย์ได้เป็นผู้ทำลายทรัพยากรธรรมชาติลงไปมาก  พืชสมุนไพรหลากหลายชนิดที่บรรพบุรุษใช้รักษาโรคต่างๆ  กันมา  กลับกลายเป็นพืชหายาก  บางชนิดก็สูญพันธุ์ไป  ทำให้ขาดพืชหลายชนิด  ที่จะใช้ในการรักษาโรคในปัจจุบัน  เมื่อไม่มีพืชสมุนไพร  ทำให้หมอยาพื้นบ้านต้องพึ่งพาพืชสมุนไพรจากภายนอกโดยการซื้อ  เพื่อนำมาประกอบเป็นยาสำหรับใช้ในการรักษา  สำหรับสมุนไพรบางชนิดที่ไม่สามารถหาได้ในท้องถิ่นเช่นในอดีต  ที่บรรพบุรุษสามารถหาสมุนไพรพื้นบ้านได้โดยง่าย

                หมอยาพื้นบ้านเชื่อว่า  ตนคือผู้รักษาทรัพยากรธรรมชาติ  ถือแม้จะนำพืชสมุนไพรมาใช้  ก็ใช้อย่างทะนุถนอม  และเป็นการนำทรัพยากรธรรมชาติมาใช้ในแง่ของการทำบุญ  คือ  นำมาใช้เป็นยาสำหรับการรักษาผู้ป่วยให้หายจากอาการทุกข์ทรมานจากความเจ็บป่วยที่กำลังประสบอยู่ 

                หมอยาพื้นบ้านต่างมีความเห็นและเชื่อตรงกันว่า  ความไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ

 

หมอชาวบ้านกับการเรียนรู้  :  กระบวนการสู่องค์ความรู้

                หมอยาพื้นบ้าน  ส่วนใหญ่จะเติบโตขึ้นจากชนบท  ที่มีวิถีชีวิตแบบเรียบง่าย  พึ่งตนเองในด้านๆ  เช่น  เรื่องอาหารการกิน  ก็จะทำกินแบบง่ายๆ  พออยู่พอกิน  มีการเลี้ยงสัตว์  ปลูกพืชไว้ใช้บริโภคเองภายในครัวเรือน    เรื่องข้าวของเครื่องใช้  จะทำขึ้นใช้เอง  ไม่นิยมที่จะซื้อมาใช้  เช่น  กระด้ง  ตะกร้าใส่ของ  ก็จะสานขึ้นใช้เองจากวัสดุต่างๆ  ที่มีอยู่ในท้องถิ่น   เหล่านี้เป็นต้น 

                จากวิถีแห่งการพึ่งตนเองในด้านต่างๆ  ล้วนแสดงให้เห็นถึงการพึ่งตนเองของชาวบ้านในชนบทที่พึ่งพาทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาใช้ในการดำรงชีวิตประจำวัน  ทำให้ชีวิตมีความผูกพันอยู่กับทรัพยากรธรรมชาติ  ประกอบกับความสำนึก  ความพอใจของในตัวตนของตนเอง  ทำให้มีความสนใจในทรัพยากรธรรมชาติที่อยู่รอบๆ  ตัว  ที่มีความสำคัญและมีประโยชน์อย่างหลากหลายสำหรับการดำเนินชีวิตของตนเองและครอบครัว

                จากความใส่ใจและการเล็งเห็นถึงประโยชน์ของทรัพยากรธรรมชาติ  ทำให้หมอยาพื้นบ้านภาคใต้  ยังคงสานต่อภูมิปัญญาด้านการรักษาโรคด้วยยาสมุนไพรพื้นบ้านต่อจากพ่อแม่ ปู่ย่า ตายายของตนเอง  ที่ได้ส่งต่อมาเป็นทอดๆ  จนมาถึงรุ่นของตนเอง  ไม่ว่าจะเป็น  นางคลิ้ง  บุญวิจิตร, นางตุ้ย  ทองเสนอ, นางปุหร่าย  ฆังคะมณี, นายสนิท  ควนกล้า  และนางละเอียด  คงสุด  ที่ต่างได้เริ่มต้นเรียนรู้การทำยาสมุนไพรพื้นบ้านในรักษาโรคต่างๆ ตั้งแต่เด็กๆ จากบรรพบุรุษของตนเอง 

                เริ่มจากการเป็นผู้รับการใช้ยานั้นยามเจ็บป่วย  ไม่สบาย  พ่อแม่  ปู่ย่าตายาย  ก็จะไปเก็บพืชสมุนไพรที่อยู่รอบๆ  บ้าน  มาทำเป็นยารักษาให้หายจากอาการเจ็บป่วยเหล่านั้น  ก่อเกิดเป็นความสงสัย  ความอยากรู้เกี่ยวกับยาที่นำมาให้กิน  จึงเกิดการซักถาม  แลกเปลี่ยน  พูดคุยกัน  จึงทำให้มีข้อมูลในยาสมุนไพรนั้นๆ  

                เมื่อหมอยาพื้นบ้านได้มีครอบครัวเป็นของตนเอง  จึงได้เปลี่ยนบทบาทจากการเป็นผู้รับการรักษาด้วยยาสมุนไพรจากพ่อแม่  ปู่ย่า  ตายาย  มาเป็นผู้ให้การรักษาแก่ตนเองและบุตรหลาน โดยใช้ความรู้ที่ตนเองมีอยู่มาปฏิบัติจริงอย่างเต็มตัวในการรักษาโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ  หากรู้สึกว่าสมุนไพรชนิดใดมีคุณสมบัติไม่ดี  ไม่เหมาะสมกับโรค  ก็จะเปลี่ยนไปทดลองใช้ชนิดอื่นๆ  โดยปราศจากการเรียนรู้จากตำราใดๆ 

                แตกต่างกับนายเมฆ  เวชภัณฑ์  นายสุเทพ  ขวัญปาน  และนายประกอบ  อุบลขาว  ที่นอกจากจะเริ่มต้นเรียนรู้เรื่องจากสมุนไพรพื้นบ้านจากพ่อแม่  ปู่ย่า  ตายายของตนเองแล้ว  ยังเริ่มต้นเรียนรู้จากตำราวิชาการเรื่องยาสมุนไพรต่างๆ  ที่บรรพบุรุษของตนเองได้รวบรวมความรู้เรื่องยาสมุนไพรพื้นบ้านไว้อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร  ทำให้สามารถนำมาข้อมูลที่เป็นความรู้ของบรรพบุรุษเหล่านั้น  มาเรียนรู้เพิ่มต่อยอดกับข้อมูลของตนเอง  จนก่อเกิดเป็นองค์ความรู้ในการใช้ยาสมุนไพรรักษาอาการเจ็บป่วยต่างๆ 

                หมอยาพื้นบ้านภาคใต้ต่างมีความสนใจและเรียนรู้เรื่องยาสมุนไพรพื้นบ้านมาตั้งแต่เด็กๆ  แตกต่างจากนายเมฆ  เวชภัณฑ์  ที่หันมาเรียนรู้เรื่องยาสมุนไพร  จากที่ลูกต้องป่วยเป็นลมชัก  หาหมอรักษาก็ไม่หาย  จึงทำให้ตนเองหันหน้าสู่ยาสมุนไพร  จนเป็นหมอยาสมุนไพรในที่สุด   นายสลับ  เองเพชร  ก็เช่นกัน  ที่หันมาเรียนรู้เรื่องจากสมุนไพรจากการที่น้องของตนเองต้องประสบกับโรค  หากหมดก็ไม่หาย  ตนจึงหันหน้าหาสมุนไพรพื้นบ้าน

                ถึงแม้การเริ่มต้นการเรียนรู้เรื่องยาสมุนไพรของหมอยาพื้นบ้านจะแตกต่างกัน  แต่ต่างก็แสวงหาความรู้เพิ่มเติมมาตลอด  ทั้งจากการซักถามจากผู้รู้เรื่องยาสมุนไพรต่างๆ  เกี่ยวกับโรคที่เกิดขึ้นใหม่ๆ  จะใช้ยาสมุนไพรอะไร  และอย่างไร  ได้เรียนรู้เพิ่มเติมจากข่าวสารที่ได้รับจากสื่อต่างๆ  ที่เริ่มมีมากขึ้น  เช่น  โทรทัศน์  วิทยุ  หนังสือ  เป็นต้น  ทำให้สามารถนำข้อมูลที่ได้มารวมกับข้อมูลที่ตนเองมีอยู่   จนก่อเกิดเป็นองค์ความรู้เรื่องการใช้สมุนไพรในการรักษาโรคที่เป็นแบบเฉพาะของตนเอง

                จะเห็นได้ว่า  ยาสมุนไพรพื้นบ้านของหมอยาพื้นบ้านในปัจจุบัน  จะมีการเปิดกว้างมากขึ้น  คือ  ยอมรับฟังข้อมูลใหม่ๆ  ในเรื่องยาสมุนไพรที่ผ่านทางสื่อต่างๆ  มากขึ้น  และนำข้อมูลเหล่านั้นมาปรับใช้กับยาสมุนไพรของตนเอง  เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการรักษาให้มีมากขึ้น  ประกอบกับโรคมีความหลากหลายมากขึ้น  มีโรคใหม่ๆ  เกิดขึ้นมากมาย  ทำให้หมอยาพื้นบ้านได้ทราบข้อมูลใหม่ๆ  ซึ่งแตกต่างจากยาสมุนไพรพื้นบ้านและรูปแบบการรักษาของหมอยาพื้นบ้านในอดีต  ที่ได้เรียนรู้เฉพาะจากผู้รู้  จากการแลกเปลี่ยนพูดคุย  และทดลองทำ  เพราะเทคโนโลยีต่างๆ  ยังเข้าไม่ถึง  ทำให้ไม่ได้รับข้อมูลใหม่ๆ  จากสื่อรูปแบบต่างๆ  และยาสมุนไพรพื้นบ้านที่ได้  ก็เหมาะสำหรับโรคที่เกิดขึ้นในขณะนั้น  ที่ไม่มีโรคที่หลากหลายมากนัก  เช่น  การรักษาโรคด้วยสมุนไพรพื้นบ้านของยายคลิ้ง  บุญวิจิตร  ที่ยังคงใช้การรักษาโรคผิวหนัง  จากใบชุมเห็ดเทศเหมือนกับพ่อแม่  และได้ทราบข้อมูลจากการดูโทรทัศน์ว่าบอระเพ็ดสามารถช่วยล้างสารพิษได้  ก็นำมาใช้ในการรักษาลูกหลานเช่นกัน  เป็นต้น

                ดังนั้นจะเห็นได้ว่า  หมอยาพื้นบ้านได้เริ่มต้นการเรียนรู้เรื่องยาสมุนไพร  จากการที่ตนเองมีวิถีชีวิตแบบเรียงง่าย  พึ่งพิงทรัพยากรธรรมชาติอย่างเกื้อกูลในการพึ่งตนเอง  เรียนรู้จากการเป็นผู้รับการรักษาด้วยยาสมุนไพรพื้นบ้าน  จนผันตัวเองสู่การเป็นทั้งผู้ให้และผู้รับการรักษาด้วยองค์ความรู้ของตนเอง  เรียนรู้เพิ่มเติมจากสื่อต่างๆ  เพื่อให้ก้าวทันโรคภัยไข้เจ็บ  และทันโลกมากขึ้นตามยุคสมัย 

               

สมุนไพรพื้นบ้าน  :  วิถีแห่งการพึ่งตนเองอย่างเกื้อกูลธรรมชาติ

                หมอยาพื้นบ้าน  จะมีชีวิตที่มีความผูกพันกับทรัพยากรธรรมชาติ  อันเนื่องมาจากหมอยาพื้นบ้านส่วนใหญ่จะเติบโตขึ้นท่ามกลางวิถีชีวิตแบบเรียบง่าย  ที่ผูกพันกับทรัพยากรธรรมชาติ  พึ่งพิงทรัพยากรธรรมชาติที่อยู่รอบๆ  ตัว  รอบๆ  บ้านในการนำมาใช้  เพื่อทำให้ชีวิตอยู่รอด  ทั้งการกิน  การอยู่อาศัย  และการรักษาโรค  ล้วนแล้วแต่ต้องอาศัยทรัพยากรธรรมชาติทั้งสิ้น 

                จากการที่หมอยาพื้นบ้านได้นำสมุนไพรพื้นบ้านมาใช้ในการรักษาโรคที่เกิดขึ้น  โดยใช้องค์ความรู้ของตนเองที่สั่งสมมา  เป็นการพึ่งตนเองในเรื่องความรู้  ซึ่งเมื่อตนเองมีความรู้ก็ได้ใช้ความรู้ที่ตนเองมีอยู่มาใช้รักษาโรค  ก่อให้เกิดประโยชน์ทั้งต่อตนเองและผู้อื่น  อันเกิดจากความเชื่อมั่นในศักยภาพ   ความรู้ของตนเอง   ไม่จำเป็นต้องไปหาหมอให้สิ้นเปลืองเงินทอง 

                นอกจากจะเป็นการพึ่งตนเองในเรื่องของความรู้ ซึ่งถือเป็นสิ่งที่เป็นนามธรรมแล้ว  หมอยาพื้นบ้านยังพึ่งตนเองในเรื่องของการใช้ยา  ที่ได้จากทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่รอบๆ  และในท้องถิ่น  สามารถหาได้ง่าย  มีราคาถูก  มีความปลอดภัยสูง  โดยไม่จำเป็นต้องไปซื้อยาราคาแพง  ที่ต้องผ่านกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่มีความเสี่ยงสูง 

                หมอยาพื้นบ้านจะดูแลและเอาใจใส่ต่อพืชสมุนไพรที่อยู่รอบๆ  บ้านและในท้องถิ่น  ซึ่งพืชสมุนไพรเหล่านั้นมีประโยชน์เป็นอย่างมากต่ออาชีพ  ต่อการรักษาชีวิตมนุษย์ให้อยู่รอด  หากไม่มีพืชสมุนไพร  ก็คงไม่มีหมอยาพื้นบ้านเช่นกัน

                จากวิถีแห่งการเจริญเติบโตถึงท่ามกลางการพึ่งตนเอง  และกระแสสังคมที่ไม่หยุดนิ่ง  แต่หมอยาพื้นบ้านยังคงรูปแบบการดำเนินชีวิตแบบเดิมไว้  ใช้หลักการพึ่งตนเองอย่างเกื้อกูลธรรมชาติเป็นตัวขับเคลื่อนการดำเนินตามแนวทางของหมอยาพื้นบ้าน  ผู้มีภูมิปัญญาด้านสมุนไพรพื้นบ้าน

 

จากพืชสู่สมุนไพรพื้นบ้าน  :  กรรมวิธีประยุกต์สู่ยาช่วยคน

                หมอยาพื้นบ้านภาคใต้  จะพึ่งพาทรัพยากรธรรมชาติ  โดยการใช้ยาสมุนไพรที่ได้จากธรรมชาติในการรักษาโรคให้ผู้ป่วย   อาศัยองค์ความรู้ที่ได้จากการถ่ายทอดจากบรรพบุรุษ  ซึ่งแต่ละโรค  แต่ละอาการนั้นจะมีตัวยาที่มีสรรพคุณเฉพาะ  บางโรคต้องใช้ตัวยาที่ได้มาจากพืชสมุนไพรหลากหลายชนิด  บางโรคก็ใช้แค่พืชสมุนไพรชนิดเดียว  ก็สามารถรักษาโรคนั้นได้เลย 

                ส่วนประกอบของพืชสมุนไพรแต่ละชนิดก็มีสรรพคุณที่แตกต่างกันเช่นกัน  ไม่ว่าเป็นราก  เปลือก  ต้น  กิ่ง  ใบ  ยอด  ผล ก็ล้วนมีสรรพคุณที่แตกต่างกันไป 

                แต่ไม่ว่าจะใช้พืชสมุนไพรชนิดเดียว  หรือหลายชนิด  หรือจะเป็นส่วนใดของพืชสมุนไพรก็ตาม  ล้วนต้องผ่านกรรมวิธีการแปลงพืชสมุนไพรนั้นสู่ยาพื้นบ้าน  ด้วยวิธีการต่างๆ  เช่น  นำมาต้ม  คั่ว  ตำ    เป็นต้น

                หมอยาพื้นบ้านแต่ละคน  จะมีสูตรการรักษาโรคเฉพาะตัว  ที่เกิดจาการถ่ายทอดความรู้และการเรียนรู้เพิ่มเติมของแต่ละคน  จนก่อเกิดเป็นภูมิปัญญาหมอสมุนไพรพื้นบ้าน  ที่มีองค์ความรู้ในการรักษาโรคที่แตกต่างกันออกไป  โรคบางโรค  หมอยาพื้นบ้านจะมีสูตรการรักษาที่แตกต่างกัน  ตามองค์ความรู้เฉพาะของแต่ละคน  แต่ก็ต่างมีเป้าหมายร่วมกันเพื่อให้ผู้ป่วยหายจากความเจ็บป่วยเหล่านี้  

                โรคส่วนใหญ่ที่หมอยาพื้นบ้านภาคใต้สามารถใช้องค์ความรู้ของตนในการรักษาได้  มีดังนี้

               

1.  โรคซาง   หมอยาพื้นบ้านแต่ละท่านก็จะใช้ยาและวิธีการรักษาที่แตกต่างกัน   เช่น  ภูมิปัญญาโรคซางของนายหรี  ท่าชะมวง  ที่ใช้ต้นหายตายเป็น  มะกรูด  ทราดำ  ใบของหัวไพร  นำพืชสมุนไพรทั้ง  4  ชนิด 

หมายเลขบันทึก: 247515เขียนเมื่อ 10 มีนาคม 2009 19:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 19:17 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

เจริญพร โยมลูกเจี๊ยบ

เสียดายภูมิปัญญาด้านสมุนไพรของไทยที่หาคนสนใจน้อยลง

ทุกคนไปพึ่งยาฝรั่งกันหมด ทำให้เราเสียเงินสั่งยามากมายมหาศาล

อาตมาเห็นโยมบางคนแค่เป็นหวัดแต่ไปกินยาแผนปัจจุบัน

ทั้งๆที่หวัดสามารถหายเองได้หากรู้จักดูแลตัวเอง ซึ่งอาตมาใช้วิธีนี้

เป็นประจำและไม่เคยเป็นไข้หวัด

โรคซางอาตมาเห็นหลวงพ่อท่านหนึ่งที่ยะลาท่านแนะให้ใช้ใบ

แก้วป่าเคี้ยวอมไว้แก้ซางที่บริเวณปากได้

เจริญพร

น่าเบื่อที่สุด

ดีที่ยังมีคนนึกถึงภิมิปัญญาท้องถิ่น

 

ไม่แน่ใจ แต่ที่แน่ๆหล่อไม่แพ้ใคร

เว็ปนี้จงเจริญมีงานส่งอาจารย์แล้ว คร้าบ

ไม่แน่ใจ แต่ที่แน่ๆหล่อไม่แพ้ใคร

แถมอีกนิดจะไปดีแล้ว เจ้ย ไม่ใช่ ขอฝากไว้สำหรับ คน ที่ แวะ มา เยือน ลง ความ คิด เห็น หน่อย ก็ ดี นะ ขอ แบบ ดีๆ นะ ไม่ เอา ... นะ กลัวแม่ว่า

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท