ราษฎรไทย คือ ใคร ???


๑.๑.                    นิยามคำว่า “ราษฎร” ในกฎหมายไทยว่าด้วยทะเบียนราษฎร

จากการศึกษา ผู้เขียนวิทยานิพนธ์พบว่า คำว่า ราษฎร (Civilian[1] or Population[2])” หมายถึง บุคคลซึ่งมีทะเบียนบ้านตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎรของรัฐนั้น ทั้งนี้ ถูกกำหนดขึ้นโดยแนวคิดพื้นฐานของรัฐสมัยใหม่ที่ว่า รัฐเจ้าของดินแดนย่อมมีอำนาจอธิปไตยเหนือบุคคลที่มีจุดเกาะเกี่ยวกับดินแดนของตน กล่าวคือ บุคคลที่มี ภูมิลำเนา (domicile)” ในดินแดนที่ตนมีอำนาจอธิปไตย  โดยมิได้เจาะจงว่าราษฎรจะต้องหมายถึงคนชาติเท่านั้น แต่หมายรวมถึงบุคคลทุกคนที่รัฐเจ้าของดินแดนก็ ยอมรับในสิทธิที่บุคคลนั้นจะอาศัยอยู่ในบ้านซึ่งตั้งอยู่บนดินแดนแห่งตน หรือกล่าวได้อีกนัยว่าเป็นบุคคลที่มีภูมิลำเนาตามกฎหมายมหาชนอยู่ในดินแดนนั้น จึงไม่เป็นที่น่าสงสัยที่กฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฏรของนานารัฐจะบัญญัติว่า ผู้ใดมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านใด ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า ผู้นั้นอยู่และมีภูมิลำเนาอยู่ ณ ที่นั้น[3] ดังนั้น บุคคลที่รัฐเจ้าของดินแดนอนุญาตให้ตั้งบ้านเรือนอยู่ในอาณาเขตของตนและพิสูจน์ได้ว่า บ้านที่อาศัยอยู่ตั้งอยู่ในดินแดนของรัฐนั้น ก็ย่อมจะมีสถานะเป็น ราษฎรของรัฐนั้น [4] ซึ่งอาจเป็นราษฎรที่มีสัญชาติของรัฐเจ้าของดินแดน หรือมีสัญชาติของรัฐต่างประเทศ หรือไม่มีสัญชาติของรัฐใดเลยก็ได้

ทั้งนี้ เพื่อสร้างความเข้าใจอย่างเป็นรูปธรรม ผู้ทำวิทยานิพนธ์จึงใคร่ ยกตัวอย่างกรณีศึกษาของราษฎรไทย ดังต่อไปนี้

กรณีศึกษาที่ ๑  ว่าด้วยราษฎรไทยที่เกิดในประเทศไทย และมีสัญชาติไทย: กรณี ด.ญ.สุพัตรา ซอหริ่ง

กรณีศึกษาที่ ๒  ว่าด้วยราษฎรไทยที่เกิดนอกประเทศไทย แต่มีสัญชาติไทย: กรณีนายบ็อบบี้ สุทธิบุตร

กรณีศึกษาที่ ๓  ว่าด้วยราษฎรไทยที่มีสัญชาติของรัฐต่างประเทศ ซึ่งเข้าเมืองมาโดยชอบด้วยกฎหมาย และมีสิทธิอาศัยชั่วคราว: กรณีนายบุญยืน สุขเสน่ห์

กรณีศึกษาที่ ๔  ว่าด้วยราษฎรไทยที่มีสัญชาติของรัฐต่างประเทศ ซึ่งเข้าเมืองมาโดยชอบด้วยกฎหมาย และมีสิทธิอาศัยถาวร: กรณีนางจุ้ยม่วย

 

กรณีศึกษาที่ ๕  ว่าด้วยราษฎรไทยที่มีสัญชาติของรัฐต่างประเทศ ซึ่งเข้าเมืองมาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย และได้รับการผ่อนผันให้มีสิทธิอาศัยชั่วคราว: กรณีนางกาวีพร

กรณีศึกษาที่ ๖  ว่าด้วยราษฎรไทยที่เกิดในประเทศไทย แต่มีสัญชาติของรัฐต่างประเทศ และมีสิทธิเข้าเมืองและสิทธิอาศัยในลักษณะชั่วคราวในประเทศไทย: กรณีนางสาวฟองจันทร์ สุขเสน่ห์

กรณีศึกษาที่ ๗  ว่าด้วยราษฎรไทยที่เกิดในประเทศไทย แต่มีสถานะเป็นคนต่างด้าวที่เข้าเมืองผิดกฎหมาย และมีเพียงสิทธิอาศัยในลักษณะชั่วคราวในประเทศไทย: กรณีนางสาวศรีนวล เสาร์คำนวล

กรณีศึกษาที่ ๘  ว่าด้วยราษฎรไทยประเภทบุคคลผู้ไม่มีสถานะทางทะเบียน ที่ไม่มีสัญชาติของรัฐใดเลย ซึ่งเข้าเมืองมาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย: กรณี อ.อายุ นามเทพ

 



[1] Bryan A. Garner ,Black’s Law Dictionary 8th edition ,2004, p.262.

[2] Bryan A. Garner ,Black’s Law Dictionary 8th edition ,2004, p.263.

[3] มาตรา ๒๙ แห่ง ...การทะเบียนราษฎร ..๒๕๓๔

ผู้ใดมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านใด ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้นั้นอยู่และมีภูมิลำเนาอยู่ ณ ที่นั้น

[4] พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร. ราษฎรไทยคือใครกัน ? ..... แล้วคนไม่มีสัญชาติไทยอาจมีสถานะเป็นราษฎรไทยได้ไหม ? หนังสือรพีประจำปี พ.ศ.๒๕๔๙ ของคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวรเมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๙http://www.archanwell.org/autopage/show_page.php?t=1&s_id=312&d_id=311

หมายเลขบันทึก: 249380เขียนเมื่อ 18 มีนาคม 2009 20:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 05:43 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

อ่านแล้วนะครับ เดี๋ยวช่วยกันแก้ไขเนอะ

อยากจะเอาใจช่วยพี่ไหมของพวกเรา

สู้ๆคับ

หุหุ

...

คนที่จะใส่ใจเรื่องนี้จริงๆก็มีในแวดวงสิทธิมนุษยชนที่ต่อสู้เพื่อชนไร้สัญชาติ

ขอเป็นกำลังใจให้นะคะ

กรณีศึกษาที่ยกมาครบทุกประเด็นหรือยังเหรอ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท